1 / 33

Thailand – EFTA FTA โอกาสและความท้าทาย

Thailand – EFTA FTA โอกาสและความท้าทาย. วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 กรุงเทพฯ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. ศักยภาพระดับโลกของ EFTA. EFTA Nordic countries : Iceland และ Norway

gent
Download Presentation

Thailand – EFTA FTA โอกาสและความท้าทาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Thailand – EFTA FTAโอกาสและความท้าทาย วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 กรุงเทพฯ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

  2. ศักยภาพระดับโลกของ EFTA EFTA Nordic countries: Iceland และ Norway • เป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมประมง (Fish production) การขนส่งทางทะเล (Maritime transport) และธุรกิจบริการหลายสาขา • เป็นประเทศที่มีแร่ธาตุและทรัพยากรทางธรรมชาติมากที่สำคัญได้แก่ อลูมิเนียม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นอร์เว เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่สำคัญ

  3. ศักยภาพระดับโลกของ EFTA EFTA Alpine countries: Switzerland และ Liechtenstein • เป็นศูนย์กลางทางการเงินและบริษัทชั้นนำระดับโลก • เป็นประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ • สวิสเซอร์แลนด์ถือเป็นผู้นำระดับโลกในด้าน High Technology , knowledge based production

  4. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : ICELAND • ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมประมง การผลิต software biotechnology และการท่องเที่ยว • การส่งออกจะค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้าจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากทะเล อลูมิเนียม และ Ferro Silicon • มีพลังงานจากธรรมชาติมาก ทั้งนี้ ในปี 2009 ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydroelectricity) คิดเป็น 72% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ขณะที่ ไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก คิดเป็น 22.4 % • การลงทุนจากต่างชาติส่วนใหญ่จะเน้น Green Industries การผลิต Software /IT การท่องเที่ยว ธุรกิจ/สินค้าที่มีนวัตกรรม

  5. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : NORWAY • ภาคบริการ พลังงาน ป่าไม้ เหมืองแร่ ประมงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของนอร์เว • เป็นประเทศที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ กองเรือของนอร์เว (Merchant fleet) ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก • นอร์เวเป็นชาติหนึ่งที่มีอุตสาหกรรมประมงใหญ่ที่สุดในยุโรป

  6. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : SWITZERLAND • เป็นศูนย์กลางทางการเงินและบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศกว่า 300 องค์กร • การเติบโตทางเศรษฐกิจของสวิสฯ มาจากสาขาที่สำคัญได้แก่ High technology, knowledge based production

  7. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : LIECHTENSTEIN • ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมส่งออก และ บริการสาขาการเงิน ทั้งนี้ การส่งออกส่วนใหญ่จะมาจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีระดับสูง • ประมาณ 3 ใน 5 แรงงานทั้งหมดอยู่ในภาคบริการ ได้แก่ การเงินและประกันภัย ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษี • 36% ของประชากรเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และเยอรมัน

  8. GDP per capital (current million USD) Source: World Development Indicators database 2012

  9. ภาพรวมของการค้าบริการภาพรวมของการค้าบริการ

  10. การจำแนกสาขาบริการ 12 ประเภทภายใต้ WTO • บริการด้านธุรกิจและวิชาชีพ • บริการด้านสื่อสารคมนาคม • บริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง • บริการด้านการจัดจำหน่าย • บริการด้านการศึกษา • บริการด้านสิ่งแวดล้อม • บริการด้านการเงิน • บริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม • บริการด้านการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่อง • บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา • บริการด้านการขนส่ง • บริการอื่นๆ

  11. โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ Source: OECD

  12. สัดส่วนการค้าบริการต่อ GDP 25 Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein)

  13. การส่งออกและนำเข้าบริการของ EFTA และ ไทย Source: World Development Indicators database 2012

  14. Part III ภาพรวมของการลงทุน

  15. รายรับจาก FDI Inflows ของ EFTA และบางประเทศที่สำคัญ Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein) Unit: Million USD

  16. FDI Current BoP ของ EFTA และบางประเทศที่สำคัญ Unit: Million USD Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein)

  17. บริษัทข้ามชาติ:ตัวแปรสำคัญต่อการลงทุนบริษัทข้ามชาติ:ตัวแปรสำคัญต่อการลงทุน

  18. บริษัทชั้นนำของ EFTA

  19. ธุรกิจที่มีศักยภาพของ EFTA วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) : Bioscience , Biomedical การเงิน (Finance) : ธนาคารและการประกันภัย พลังงาน (Energy) : น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหมืองแร่ สื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ : Hardware software Internet Mobile

  20. นโยบายและกฎระเบียบของ EFTA ด้านการลงทุน และการจัดตั้งธุรกิจ

  21. ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ ICELAND • โดยทั่วไปแล้ว ไอซ์แลนด์จะให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมคนชาติ (NT) แก่นักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งไม่มีข้อจำกัดด้านหุ้นส่วนของต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ไอซ์แลนด์ยังมีข้อจำกัดต่างๆสำหรับต่างชาติในสาขาสำคัญคือ Fisheries, Primary fish processing, Energy, และ Airline operation โดยอาจมีการจำกัดหุ้นส่วนของต่างชาติ หรือไม่ให้ต่างชาติทำธุรกิจดังกล่าวเลย • ไอซ์แลนด์ ให้ความสำคัญต่อการลงทุนของต่างชาติ โดยมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน “Invest in Iceland” เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆให้เอื้อต่อการลงทุน อย่างไรก็ดี การเข้าไปลงทุนในบางธุรกิจยังมีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคอยู่ เช่น สาขาพลังงาน ประมง และการขนส่งทางอากาศ • ไอซ์แลนด์ยังมีกฎระเบียบเกี่ยวกับ การจัดตั้งธุรกิจ การถือครองที่ดิน และถิ่นที่อยู่ ซึ่งใช้กับเฉพาะ non-EEA หรือ non-OECD เช่น ผู้มีอำนาจของบริษัท (Board of Directors and Management) ต้อง มีถิ่นที่อยู่ (Residency) ในไอซ์แลนด์ และหากเป็นนิติบุคคลต่างชาติต้องขออนุญาตก่อนหรือต้องมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศก่อนจึงสามารถจัดตั้งสาขาธุรกิจในไอซ์แลนด์ได้ • คนชาติที่เป็น non-EEA จะต้องขอ Work Permit ก่อนทำงานหรือดำเนินธุรกิจในไอซ์แลนด์ได้ และหากเป็นงาน Unskilled จะต้องได้รับอนุญาตจาก Local labour union ก่อนและอยู่ภายใต้สัญญาจ้าง ICELAND

  22. ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ NORWAY • กฎระเบียบการลงทุนจะอิงหลักการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน (ระหว่างคนชาติกับต่างชาติ) และเน้นเรื่องกฎระเบียบให้ง่าย (Simplifying) ต่อการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจ และมักไม่ค่อยมีข้อจำกัดด้านหุ้นส่วนของต่างชาติ ยกเว้นเรือประมง (ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 40 %) บริการโสตทัศน์ การขนส่งทางอากาศและการขนส่งทางทะเล อย่างไรก็ตาม นอร์เวยังสงวนข้อจำกัดเรื่องสัญชาติ (Nationalityrestrictions) สำหรับธุรกิจสำคัญคือ ประมงและการขนส่งทางทะเล นอกจากนี้ ทั้งนักลงทุนนอร์เวและต่างชาติต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในการเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อทำการเกษตร ป่าไม้ • สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในนอร์เวโดยทั่วไปแล้วจะให้กับทั้งคนชาติและต่างชาติ การคืนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายด้าน R&D จะสามารถกระทำได้สำหรับทุกบริษัทในนอร์เว • นอร์เวมีกฎระเบียบในเรื่อง Board of Directors สำหรับ Private limited liability company ว่าต้องมีจำนวน 3 คนหรือมากกว่า และครึ่งหนึ่งต้องมีถิ่นที่อยู่ (Residency) ในประเทศกลุ่ม EEA • นอร์เวได้ปรับปรุงนโยบายด้านการเข้าเมืองให้เปิดกว้างมากขึ้นเพื่อดึงดูดแรงงานที่เชี่ยวชาญระดับสูงจากนอกกลุ่ม EEA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเช่น สุขภาพ (Healthcare) ก่อสร้าง (Construction) งานฝีมือ (various Crafts) และรวมถึงบุคลากรด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมด้วย (Technical and industrial) NORWAY

  23. ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ SWITZERLAND • มีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งนี้ หลักการ freedom of trade and industry ได้รับการรับรองภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งอนุญาตให้ใครก็ได้ รวมทั้งต่างชาติ สามารถจัดตั้งและดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่างๆ ในสวิสฯ ได้ • อย่างไรก็ตาม สวิสฯ ยังสงวนข้อจำกัดด้านการลงทุนสำหรับสาขาที่เป็น State monopolies ได้แก่ การขนส่งทางรางไปรษณีย์ ประกันภัยและการขายบางประเภท (เช่น การขายเกลือ) • มีกฎระเบียบในเรื่องสัญชาติและถิ่นที่อยู่สำหรับธุรกิจการขนส่งทางอากาศและทางทะเล พลังงานน้ำและนิวเคลียร์ การขนส่งน้ำมันทางท่อ และการขนส่งวัตถุระเบิด • มีนโยบายการเข้าเมืองเพื่อทำงานของต่างชาติที่เข้มงวดมากและจำกัดแต่เฉพาะแรงงาน ที่มีคุณภาพระดับสูง หรือขาดแคลนมาก หรือด้วยเหตุผลพิเศษเท่านั้น โดยการกำหนดโควตา การใช้ Labour market test การกำหนดเงื่อนไขการทำงานและค่าจ้าง SWITZERLAND

  24. ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ LIECHTENSTEIN • ลิกเทนสไตน์ เป็นประเทศที่เปิดกว้างมากสำหรับการลงทุนและการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติ (Free-enterprise economy) ยกเว้นบางธุรกิจยังถูกควบคุม เช่น การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ บริการการเงินบางสาขา เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน การจัดการอสังหาริมทรัพย์ • อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดเรื่องสัญชาติ (Nationality requirement) ในสาขาเกี่ยวกับบริการด้านวิศวกรรม ขณะที่ธุรกิจบริการด้านบัญชี การตรวจสอบบัญชี และด้านภาษี จะต้องมีคนชาติ EEA เป็นเจ้าของเกินกว่า 50% • ลิกเทนสไตน์ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารที่เป็นต่างชาติ แต่มีกฎระเบียบ ให้เจ้าของธุรกิจ หรือผู้จัดการ หรือหนึ่งในผู้บริหาร แล้วแต่กรณี ต้องมีถิ่นที่อยู่ (Residency) ใน และ/ หรือ มีสัญชาติของ EEA หรือ สวิสฯ รวมทั้งต้องมี Professional qualifications ด้วย ทั้งนี้ คนชาติ non-EEA/ non-Swiss ในบางกรณีต้องมีถิ่นที่อยู่ในลิกเทนสไตน์มาไม่น้อยกว่า 12 ปี (12-year prior residency) • Residence permits จะออกให้พร้อมกับ Work permits ทั้งนี้ คนชาติ EU และ สวิสฯ จะได้รับ Priority เหนือคนชาติอื่น ในการเข้ามาทำงานและพำนักในลิกเทนสไตน์ LIECHTENSTEIN

  25. สรุปประเด็นนโยบายและกฎระเบียบด้านธุรกิจของ EFTA • ได้รับอิทธิพลด้านนโยบายจาก EU • เปิดกว้างสำหรับการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติ มักให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และมักไม่มีข้อจำกัดด้านสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ • แต่ละประเทศยังมีข้อสงวนสำหรับต่างชาติในบางสาขาธุรกิจที่สำคัญ • มีกฎระเบียบด้าน Residency and Nationality requirements สำหรับผู้บริหารและดำเนินธุรกิจ • นโยบายการเข้าเมืองเพื่อทำงานสำหรับต่างชาติจะเน้นเปิดให้แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง และขาดแคลน • คนชาติ EEA/EU/Swiss/OECD จะมีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนชาติอื่นในเรื่อง Residency/Nationality requirements และการเข้าเมือง/ทำงาน

  26. สาขาที่มีความอ่อนไหวหรือมีข้อสงวนของ EFTA Norway: • Fisheries Agriculture • Maritime transport Iceland: • Fisheries • Primary fish processing • Energy • Airline operation Switzerland: • Railtransport • Postal • Insurance (บางอย่าง) • Commercial activities Liechtenstein: • Engineering • Accounting • Auditing • Taxation

  27. การเจรจา FTA ไทย-EFTA • ได้มีการประชุมเจรจาด้านการค้าบริการและการลงทุนอย่างเป็นทางการทั้งหมด 2 ครั้ง • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 – 15 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่ • การเจรจาได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนกันยายน 2549

  28. การเจรจา FTA ไทย-EFTA (ต่อ) • ใช้ GATS/WTO เป็นพื้นฐาน แต่เพิ่มเติมเนื้อหาให้เข้มขึ้น เช่น ไทยเน้นให้มีข้อบทว่าด้วยมาตรการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน มาตรการปกป้องฉุกเฉิน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ส่วน EFTA ได้เสนอให้มีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมจากWTO ในสาขาการการเงินและโทรคมนาคม เพิ่มเติมซึ่งเน้นด้าน discipline และ market access แนวทางการเปิดตลาดแบบ Positive-list approach ซึ่งมีตารางข้อผูกพันของแต่ละประเทศเป็นส่วนผนวกความตกลง และใช้รูปแบบข้อผูกพันเหมือนที่ใช้ในความตกลง GATS • สำหรับการลงทุน ให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง การส่งเสริม (Promotion) การคุ้มครอง (Protection) และการเปิดเสรี (Liberalisation) โดยไม่รวมการลงทุนสาขาบริการ

  29. สาขาบริการที่อาจมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทยสาขาบริการที่อาจมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทย บริการวิชาชีพ เช่น กฎหมาย วิศวกร สถาปนิก บริการที่เกี่ยวเนื่องกับ การทำเหมืองแร่ โทรคมนาคม ค้าส่งค้าปลีก งานก่อสร้าง การเงิน ที่ปรึกษาด้านการเงิน การประกันภัย ท่องเที่ยว นส่งทางอากาศ ขนส่ง ทางทะเล โลจิสติกส์ โดยสวิสเซอร์แลนด์จะเป็นประเทศหลักในกลุ่ม EFTA ที่จะมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด

  30. มุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุนมุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุน ภาพรวม • เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเข้าสู่ตลาด ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวย และการปฏิบัติที่เป็นธรรม เปิดตลาดให้ไทย • ปรับปรุงเงื่อนไขการเข้าสู่ตลาดสำหรับสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพเช่น ท่องเที่ยว Medical Tourism ภัตตาคาร สุขภาพ และสาขาอาชีพที่ไทยมีศักยภาพ เช่น พ่อครัว/แม่ครัว ผู้ดูแลเด็กและคนสูงอายุ ผู้ให้บริการสปา และผู้ช่วยงานบ้าน เป็นต้น • อำนวยความสะดวกต่อการจัดตั้งธุรกิจและการเคลื่อนย้ายบุคลากรของไทย รวมทั้ง การจัดทำความตกลงยอมรับคุณสมบัติของบุคลากรไทยด้วย

  31. มุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุนมุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุน (ต่อ) เปิดตลาดให้ EFTA • เปิดตลาดของไทยสำหรับการค้าบริการและการลงทุนของต่างชาติในสาขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความสามารถในการแข่งของไทย • เสริมสร้างความสมดุลในการลงทุนจากประเทศต่างๆ เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดจากประเทศที่ไทยได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงด้านการลงทุนไว้แล้ว • เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในแง่ของการมีบริการที่เพิ่มขึ้นหลากหลาย และการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและรับบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสมได้

  32. ขอบคุณ

More Related