1 / 63

รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

การกระจายอำนาจการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาประเทศไทย ( Fiscal Decentralization: in Thailand). รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หัวข้อการนำเสนอ. อะไรคือการกระจายอำนาจการคลังฯ ปัจจัยกำหนดการกระจายอำนาจการคลังฯ ประเภทหน้าที่และรายรับของ อปท.

merle
Download Presentation

รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกระจายอำนาจการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาประเทศไทย(Fiscal Decentralization: in Thailand) รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

  2. หัวข้อการนำเสนอ • อะไรคือการกระจายอำนาจการคลังฯ • ปัจจัยกำหนดการกระจายอำนาจการคลังฯ • ประเภทหน้าที่และรายรับของ อปท. • ปัญหาของการกระจายอำนาจการคลังฯ ของประเทศไทย • แนวทางการกระจายอำนาจการคลังฯที่ควรพิจารณา

  3. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ อปท. และบทบาทของภาครัฐ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท:locally-self government) มีลักษณะแตกต่างจากองค์กรมหาชนโดยทั่วไป • เป็นองค์กรที่มีอิสระ (independence) มีสถานะเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและนโยบายของชาติ ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐ ทำงาน “เสริม” ไม่ใช่แข่งขันกับราชการส่วนกลาง - ข้อดีคือสะท้อนความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ • เป็นระบบการให้บริการที่สมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained service system) คือให้บริการครบถ้วน หลายด้าน - แตกต่างจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมักทำหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ • มีอำนาจในการจัดเก็บภาษี (power to tax)

  4. ทบทวนหลักทฤษฎีการคลังท้องถิ่นทบทวนหลักทฤษฎีการคลังท้องถิ่น • Charles Tiebout 1956 เสนอหลักทฤษฎีที่อธิบายว่า รัฐบาลท้องถิ่น ที่มีจำนวนมาก ความหลากหลาย เพื่อสะท้อนความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกัน จะมีประสิทธิภาพ มีกลไกสองแบบ หนึ่ง การแข่งขันทางการเมือง เลือกตั้งเข้ามา อีกกลไกหนึ่งเรียกว่า voting by feetหมายถึง ประชาชนมีทางเลือก – หากว่า ปัจเจกไม่ชอบใจผู้บริหารท้องถิ่น อย่างน้อยที่สุด มีทางเลือกอพยพไปอยู่ท้องถิ่นอื่นๆ ที่ทำงานได้ถูกใจ ทฤษฎี exit & voice • Wallace E. Oates อธิบาย Theorem of Decentralization, Principle of Subsidiaryหมายความว่า ควรถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานระดับล่างที่สุด – ทั้งนี้โดยคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสม economies-of-scale

  5. รูปแบบการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้ท้องถิ่นDecentralization, Devolution, Delegation • ประเทศต่างๆทั่วโลกมีโครงการปฏิรูปภาครัฐ ในแนวทางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น แสดงถึงมีความเห็นร่วมกันว่า การเพิ่มบทบาทให้ อปท. จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล • ความเห็นกังวลและเห็นปัญหาของการกระจายอำนาจฯ เช่น การขยายปัญหาคอรัปชั่น การผูกขาดของการเมืองท้องถิ่น ประชาชนจะไม่ได้รับบริการที่หลากหลายดังคาด • อาจจะนำไปสู่ปัญหาการใช้จ่ายเงินเกินตัว ปัญหาขาดวินัยทางการคลัง

  6. การกระจายอำนาจฯ คืออะไร การกระจายอำนาจทางการเมือง (Political Decentralization) การกระจายอำนาจการบริหาร (Administrative Decentralization) Deconcentration Delegation Devolution การกระจายอำนาจคลัง ( Fiscal decentralization)

  7. การกระจายอำนาจการคลังฯการกระจายอำนาจการคลังฯ Citizen Demands • Decentralization • Revenue assignment • Expenditure assignment Government Resources and Capabilities

  8. เหตุผลและหลักการกระจายอำนาจฯเหตุผลและหลักการกระจายอำนาจฯ • เพื่อการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม (Resource Allocation) • สินค้าสาธารณะระดับท้องถิ่น (Local Public Goods) • รู้ความต้องการของประชาชนที่ดีกว่า • นักการเมืองท้องถิ่นปรับการให้บริการได้ง่ายกว่ารัฐบาล ปัญหาคือทำอย่างไรให้มีการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง • เพื่อการแก้ไขความยากจนของประชาชน

  9. ความหมายของการกระจายการคลังสู่ท้องถิ่น เป็นการถ่ายโอนมอบอำนาจการตัดสินใจทางการคลังแก่ท้องถิ่นอย่างอิสระตามกรอบที่กำหนด สร้างความรับผิดชอบทางการคลังของท้องถิ่น มอบอำนาจการหารายได้แก่ท้องถิ่น ท้องถิ่นสามารถกำหนดการใช้จ่ายทั้งขนาดและประเภทได้ด้วยตัวเอง ท้องถิ่นกำหนดและจัดทำงบประมาณได้ด้วยตัวเอง

  10. ความท้าทายในการกระจายอำนาจทางการคลังของประเทศไทยความท้าทายในการกระจายอำนาจทางการคลังของประเทศไทย การเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง การที่ต้องสร้างความรับผิดและรับชอบของท้องถิ่นในทางการคลัง ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน การพัฒนาระบบเงินอุดหนุนหรือเงินโอนที่สะท้อนวัตถุประสงค์แท้จริง

  11. ท้องถิ่นต้องมีอำนาจ การจัดเก็บภาษี ของตัวเอง มีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง การกระจายอำนาจ การคลัง มีอิสระและรับผิดชอบ ในการกำหนด ประเภทรายจ่ายได้เอง ท้องถิ่นมีอำนาจจัดทำและ กำหนดงบประมาณได้เอง มีอำนาจบริหารและ จัดเก็บรายได้ด้วยตนเอง

  12. การกระจายอำนาจการคลังฯ กับมุมมองด้านเศรษฐกิจมหภาค • ความเสี่ยง: • การกระจายรายรับที่ไม่มีขั้นตอนที่ดีพอในการเสริมสร้างรายรับของท้องถิ่นเองที่เพียงพอกับการทำหน้าที่ ทำให้อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค • การกระจายการคลังจากด้านรายจ่าย อาจทำให้คุณภาพบริการสาธารณะตกต่ำลงหรือท้องถิ่นเรียกร้องเงินอุดหนุนเพื่อ หรือเรียกร้องการกู้ยืมจากแหล่งทุนมากขึ้น • การไม่มีความสามารถเพียงพอในการบริหารของท้องถิ่นในการทำหน้าที่ในระดับที่น่าพอใจ

  13. เงื่อนไขความสำเร็จของการกระจายอำนาจการคลังฯเงื่อนไขความสำเร็จของการกระจายอำนาจการคลังฯ • ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic) ต้นทุนและประโยชน์จากการตัดสินใจโปร่งใส และทุกๆคนมีโอกาสแสดงความเห็นของตนเอง แต่ในประเทศที่ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์อาจเป็นแบบ Top down • ผู้ที่ตัดสินใจเป็นผู้ที่รับภาระการตัดสินใจหรืออีกนัยคือไม่มีการผลักผลักออกจากพื้นที่ (No tax-exporting) • การมี (Hard budget constraint) เพราะทำให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability)

  14. ประเด็นการศึกษาของการกระจายอำนาจการคลังฯประเด็นการศึกษาของการกระจายอำนาจการคลังฯ • ใครทำอะไร?(การกำหนดรายจ่าย expenditure assignment) • ใครเก็บภาษีหรือรายรับอะไร (การกำหนดรายรับ Revenue Assignment) • การแก้ไขความไม่เท่าเทียบระหว่างรายรับและรายจ่าย (Vertical Imbalance) • จะปรับตัวด้านการคลังอย่างไรเพื่อชดเชยความต้องการและความสามารถที่แตกต่างกันระหว่างท้องถิ่น(Horizontal imbalance)

  15. องค์ประกอบของระบบบริหารการเงินที่มีประสิทธิผลComponents of an Effective Financial Management System การมีส่วนร่วมชุมชน และเป็นเจ้าของในการวัดผลงานCommunity Driven Performance Measurements Community Ownership Budget Policies Formulation and Execution Community (Participation) Driven Effective Treasury and Cash Management Systems มาตรฐานบัญชีที่ดี Standardized ความโปร่งใส Transparent/ Accountable Chart of Accounts (External / Internal Audits)Accounting Systems ประสิทธิผลของการมีระบบการบริหารการเงินการคลังที่ดีของ อปท.คืออะไร

  16. การกำหนดรายจ่าย/ภาระหน้าที่ของ อปท.

  17. การกำหนดรายจ่าย (ภารกิจหน้าที่) • ทำเพื่อเป็นการระบุ “ใครได้ทำหน้าที่อะไร”ที่เป็นคำถามพื้นฐานของการกระจายอำนาจฯ • สินค้าสาธารณะระดับชาติ (การป้องกันประเทศ ยุติธรรม ฯลฯ) • สินค้าสาธารณะระดับท้องถิ่น (การดูแลความสะอาด ฯลฯ) • สินค้าที่ต้องร่วมกันให้บริการ (การประหยัดจากขนาด Externalities ฯลฯ) • การกำหนดรายจ่ายต้องมาก่อนรายรับ • การกำหนดรายจ่าย/ภารกิจนำไปสู่การกำหนดรายรับ โดยเฉพาะประเภทภาษีที่ต้องจัดเก็บ • เพื่อให้เกิด Cost effective ในการทำหน้าที่ของท้องถิ่น

  18. การเรียนรู้ความต้องการของประชาชนการเรียนรู้ความต้องการของประชาชน • การสำรวจความต้องการ (Survey) • การออกเสียงเรียนร้อง (Voice) • การอพยพย้ายหนี (Exit)

  19. 1. เพื่อปรับปรุงในการให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา สาธารณสุข ทรัพยากรน้ำ และการกำจัดสิ่งปฏิกูล การกระจายอำนาจ จึงเป็นเครื่องที่ใช้เพื่อขจัดปัญหาความล้มเหลวในการให้บริการสาธารณะทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. การกระจายอำนาจเป็นกลไกที่ช่วยให้การส่งมอบบริการสาธารณะแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาที่ลดลง ซึ่งปัญหาของความล่าช้าในการให้บริการนั้นมักเกิดจากระบบการบริหารราชการที่มีการรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ไว้ที่ส่วนกลาง และขาดผู้รับผิดชอบที่แท้จริงในการให้บริการระดับท้องถิ่น

  20. ลดความแตกต่างระหว่าง อปท. ขจัดปัญหาการเอาเปรียบทางสังคม (free Riders) ความรับผิดรับชอบทางการเมือง การเข้าถึงและควบคุม การมีส่วนร่วมของประชาชน การร่วมมือจากประชาชน รับผิดชอบต่อพื้นที่ ความเป็นมืออาชีพในการบริหาร ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ลดการแทรกแซงของรัฐบาล ประสิทธิผลทางการบริหาร สอดคล้องความต้องการทางภูมิศาสตร์ ความสามารถในการบริหาร 4 ปัจจัยในการกำหนดภารกิจหน้าที่ ผลลัพธ์ เกณฑ์ • ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ • การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) • การแข่งขันให้บริการสาธารณะ • การกำหนดราคาของบริการ ต้นทุนต่ำสุด ตอบสนองความต้องการประชาชน ใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะดีที่สุด ความเท่าเทียมทางการคลัง แก้ไขปัญหาผลภายนอกและ ความเท่าเทียมทางการคลัง

  21. สรุปภาพรวมการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท.

  22. ปัญหาระบบรายจ่ายของท้องถิ่นไทยปัจจุบันปัญหาระบบรายจ่ายของท้องถิ่นไทยปัจจุบัน • ไม่สามารถกำหนดประเภทรายจ่ายได้อย่างอิสระ • (มีการกำหนดรายการใช้จ่ายล่วงหน้าไว้มาก) • ขาดทิศทางการใช้จ่ายที่ชัดเจน • คาดการณ์ไม่ได้ • มีข้อผูกพันรายจ่ายมาก (รายจ่ายผูกพันมีมาก)

  23. การกำหนดรายรับของ อปท(Revenue Assignment)

  24. โครงสร้างรายได้ภาษีของ อปท. ในประเทศไทยปัจจุบัน

  25. ประเภทรายได้ของท้องถิ่นประเภทรายได้ของท้องถิ่น • ภาษีที่จัดเก็บเอง • ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้ (อาจบางส่วนหรือทั้งหมด) • เงินอุดหนุน • ค่าธรรมเนียม (User Charges) • เงินกู้ (Borrowing)

  26. ลักษณะรายได้ที่ดีของท้องถิ่นลักษณะรายได้ที่ดีของท้องถิ่น • มีความแน่นอน และสม่ำเสมอ เพียงพอต่อความต้องการใช้จ่ายของท้องถิ่น • ต้นทุนจัดเก็บต่ำ • เป็นรายได้ที่บริหารจัดการโดยท้องถิ่น ตั้งแต่การประเมินภาษี การกำหนดฐานภาษี และการจัดเก็บภาษี • ประชาชนยอมรับได้ • รายได้ที่เป็นของท้องถิ่น ควรจัดเก็บจากประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้น • ภาระภาษีของประชาชนควรสะท้อนถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ

  27. การกำหนดรายรับ แบ่งออกเป็นสองแนวคิดคือ การกำหนดจากการแบ่งรายรับ(Revenue Sharing Approach) การกำหนดจากรายรับ(Revenue Assignment Approach)

  28. การกำหนดแบ่งรายรับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Revenue Assignment) • เป็นวิธีการที่กำหนดให้มีการจำแนกประเภทของรายได้ว่ารายได้ใดสมควรเป็นของรัฐบาลหรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • การแบ่งประเภทรายได้จะต้องคำนึงถึง • ความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ • ต้นทุนในการจัดเก็บ • อำนาจการบังคับใช้ (ความครอบคลุมของรายได้ เช่น ภาษีเงินได้)

  29. ทางเลือกของรายรับเพื่อใช้จ่ายของ อปท. จัดเก็บเองโดย อปท. รายรับของ อปท. • ภาษีทรัพย์สิน หรือรายได้จากฐานที่ดิน • ภาษี/รายได้จากธุรกิจ (ค่าใบอนุญาต/ค่าธรรมเนียม) • ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ (User Charges and Fees/Licenses) • ภาษียานยนต์ล้อเลื่อน (Vehicle and Transportation-Related Taxes) • ภาษีสรรพสามิต (Selective Excise Taxes) สร้างความรับผิด (Accountability) ระหว่าง อปท. กับ ประชาชนในพื้นที่

  30. ทำไมต้องให้ อปท. จัดเก็บรายรับเอง • เพื่อให้ได้รับประโยชน์ ประสิทธิภาพ จากการกระจายอำนาจฯ อย่างแท้จริง (การมีอิสระในการคิดเอง ทำเอง แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ฯลฯ) • ช่วยส่งเสริมการมีความรับผิดและความเป็นเจ้าของของประชาชน (Accountability and Ownership) • มั่นใจในความเป็นอิสระของ อปท. (Ensures Local Autonomy) • ส่งเสริมการบริหารกระแสการเงินของ อปท.(Facilitates Cash Flow management) • ช่วยลดแรงจูงใจใช้เงินนอกงบประมาณ (เช่น เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ)

  31. ทำไมต้องให้ อปท. จัดเก็บรายรับเอง (2) รายรับของ อปท. ที่เก็บเองต้องการการตัดสินใจ (Discretion) จาก อปท. เองในด้านอัตราภาษี และการบริหาร ทั้งนี้การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอาจไม่จำเป็นต้องมีอย่างเต็มที่ เพียงมีอำนาจบางส่วน (at the margin) ก็เพียงพอแล้ว เพื่อให้สามารถปรับการใช้ภาษีเพื่อเกิดความร่วมรับผิดชอบในการจ่าย/รับภาระต้นทุนของประชาชน รายรับของ อปท.ที่จัดเก็บเอง เป็นความจำเป็นที่ต้องมี (Necessary) แต่ไม่ ต้องเงื่อนไขเหตุผลทั้งหมด (Sufficient) ของการมีประสิทธิผลของการ กระจายอำนาจการคลังให้แก่ อปท. และเพื่อการพัฒนาการให้บริการ สาธารณะของ อปท.

  32. ทางเลือกของรายรับเพื่อใช้จ่ายของ อปท. รายรับจากการเก็บเพิ่ม Local Surcharges/Piggyback Taxes (โดยมีการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราโดย อปท.) รายรับจากการโอน (Revenue Transfers) รับโดย อปท. • เงินอุดหนุนให้ อปท. (Grant Transfers) • ภาษีแบ่ง (Shared Taxes) เช่น ภาษี VAT สรรพสามิต ล้อเลื่อน ฯลฯ

  33. รายได้จากค่าธรรมเนียม (User Charges) • ยุติธรรม และอยู่บนฐานของผลประโยชน์ (Fair and base on benefit principle) • มีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Efficient) แนวโน้ม • ไม่ค่อยถูกนำมาใช้ • การนำมาใช้มักไม่ก่อประสิทธิภาพ • ต้นทุนในการจัดการสูง • เรียบง่าย • อย่าเก็บเล็กเก็บน้อย • สร้างการยอมรับของประชาชน • คิดการ Outsourcing ในการเก็บ การออกแบบการใช้ค่าธรรมเนียม

  34. ภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง(เทศบาล อบต. กทม. พัทยา) • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน • ภาษีบำรุงท้องที่ • อากรรังนกอีแอ่น • อากรฆ่าสัตว์ • ภาษีการศึกษา • ภาษีน้ำมัน • ภาษียาสูบ • ภาษีโรงแรม • ภาษีการศึกษา ภาษีที่ อบจ. จัดเก็บเอง

  35. ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้(อบจ. เทศบาล อบต. กทม. และพัทยา) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม • ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายจัดตั้ง (1 ใน 9) • ภาษีมูลค่าเพิ่มตามพ.ร.บ. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ • ภาษีสุราและสรรพสามิต • ภาษียานยนต์และล้อเลื่อน • ภาษีจากทรัพยากรธรรมชาติ

  36. ปัญหาโครงสร้างรายได้ของ อปท. • ไม่ได้คำนึงความสอดคล้องเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างระหว่าง อปท. • โครงสร้างค่อนข้างล้าสมัย ไม่มีการปรับปรุงมาเป็นเวลานาน • ความทับซ้อนของรายได้ระหว่าง อปท. ด้วยกันเอง

  37. เปรียบเทียบรายได้ของ อปท. ปีงบประมาณ 2544-2547( หลัง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ )

  38. รายได้ของ อปท. ปีงบประมาณ 2549-2550( หลัง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ )

  39. ปัญหาการพัฒนารายได้ของท้องถิ่นไทยปัจจุบันปัญหาการพัฒนารายได้ของท้องถิ่นไทยปัจจุบัน • แหล่งรายได้ไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย • ขาดเครื่องมือในการจัดเก็บรายได้ • ขาดการพัฒนาระบบบริหารจัดการ • ไม่มีระบบลงโทษและให้คุณแก่ทุกฝ่าย

  40. ปัญหาจากการจัดสรรรายรับให้แก่ อปท. • ไม่มีความแน่นอนของสูตรการจัดสรร • อปท. ไม่สามารถวางแผนทางการเงิน การคลังได้ • ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณบ่อย • อปท.ไม่มีแรงจูงใจพึ่งตนเองทางการเงินการคลัง • มีความพยายามเพิ่มการอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อ • ลดบทบาท อปท. • การจัดสรรเป็นการการันตีรายได้แก่ อปท.

  41. ผลการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาผลการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมา • การถ่ายโอนงานที่กำหนด 245 แผนงาน 6 ด้านระหว่าง 2544-2551สามารถทำได้มากกว่า 177 แผนงาน • การถ่ายโอนงบประมาณทำให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงประมาณแปดหมื่นล้านบาท ในปี 2543 เพิ่มเป็นมากกว่า 376 แสนล้านบาทในปี 2551 (ร้อยละ 25.2 ของรายได้รัฐบาล) • รายได้เก็บเอง 35,223.6ล้านบาท (ร้อยละ 9.35ของรายได้ทั้งหมด) • ภาษีจัดสรรให้ 110,189.59 ล้านบาท (ร้อยละ 33.69 ของรายได้ทั้งหมด) • รายได้แบ่งให้ 61,800 ล้านบาท (ร้อยละ 18.89 ของรายได้ทั้งหมด) • เงินอุดหนุน 147840ล้านบาท (ร้อยละ 39.2ของรายได้ทั้งหมด

  42. ระบบเงินโอน/เงินอุดหนุนระบบเงินโอน/เงินอุดหนุน

  43. มุมมองที่แตกต่างในการให้เงินอุดหนุนมุมมองที่แตกต่างในการให้เงินอุดหนุน • รัฐบาล • เสมือนเป็นการให้กุญแจรถยนต์พร้อมเหล้ากับวัยรุ่น • จังหวัดและ อปท. • เงินไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกอย่าง • ประชาชน • เป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายไม่ได้ว่าเงินผ่านจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเงินหายไปไหน ที่มา: Anwar Shah, World Bank 2006

  44. เหตุผลของการมีเงินโอน/อุดหนุนเหตุผลของการมีเงินโอน/อุดหนุน • ปัญหาความไม่เท่าเทียมแนวตั้ง (Vertical Imbalances) • ความไม่เท่าเทียมแนวนอน (Horizontal Imbalance) • แก้ไขปัญหาผลภายนอกระหว่างท้องถิ่น (Externalities) • ส่งเสริมกิจกรรมของรัฐบาลที่ดำเนินการในท้องถิ่น • เป็นค่าใช้จ่ายของโครงการรัฐบาลที่ทำในท้องถิ่น

  45. หลักเกณฑ์การให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขหลักเกณฑ์การให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข • ลดช่องว่างทางการคลัง (Fiscal Gap) • สร้างความเท่าเทียมทางการคลัง (Fiscal Inequity) • เสริมสร้างความมีประสิทธิภาพทางการคลัง (Fiscal Efficiency) • แก้ไขปัญหาส่วนเกินระหว่างท้องถิ่น (Inter Locality Spillover) • สร้างความสมานฉันท์ทางการคลัง (Fiscal Harmonization)

  46. เงินอุดหนุนทั่วไป มีผลทางรายได้ ทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ที่จะใช้จ่าย เพิ่มขึ้น โดยไม่จำกัดว่าจะใช้ในเรื่องอะไร จึงเปรียบ เสมือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่น แต่การให้เงินอุดหนุนแบบนี้อาจทำให้ท้องถิ่น ไม่พัฒนาศักยภาพการเงินคลังของตนเอง

  47. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นการให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นเพื่อทำกิจกรรม บางอย่างเป็นการเฉพาะ อาจจัดสรรให้ได้ทั้งแบบ เปิดปลาย (opened-end) หรือปิดปลาย (Closed-end)

  48. เงินอุดหนุนเฉพาะด้าน เป็นเงินอุดหนุนที่ให้เป็นการเฉพาะด้าน และ อาจเป็นการให้แบบมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้

More Related