331 likes | 667 Views
Knowledge Management (KM). การบริหารจัดการความรู้. Knowledge Management. เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้องค์กรต่างๆมีข้อมูลจัดเก็บอยู่จำนวนมาก และเกิดความต้องการที่จะจัดให้อยู่อย่างเป็นระเบียบ เข้าถึงง่าย ทันต่อการนำไปใช้งาน. ความหมายของความรู้. ดาเวนพอร์ท (2542)
E N D
Knowledge Management (KM) การบริหารจัดการความรู้
Knowledge Management • เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้องค์กรต่างๆมีข้อมูลจัดเก็บอยู่จำนวนมาก และเกิดความต้องการที่จะจัดให้อยู่อย่างเป็นระเบียบ เข้าถึงง่าย ทันต่อการนำไปใช้งาน
ความหมายของความรู้ • ดาเวนพอร์ท (2542) ความรู้ คือ กรอบของการประสบประสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบสำหรับ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน มันเกิดขึ้นและถูกนำไปประยุกต์ในใจของคนที่รู้ สำหรับในแง่ขององค์กรนั้น ความรู้มักจะสั่งสมอยู่ในรูปของเอกสาร หรือแฟ้มเก็บเอกสารต่างๆ รวมถึง สั่งสมอยู่ในการทำงาน อยู่ในกระบวนการ อยู่ในการปฏิบัติงานและอยู่ในบรรทัดฐานขององค์กรนั่นเอง
ความหมายของความรู้ • สิ่งที่ใช้อธิบายสิ่งต่างๆที่พบเห็นได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูล ทักษะ และประสบการณ์ที่มีอยู่ เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ
ประเภทของความรู้ • ความรู้ก่อนประสบการณ์ (Priori knowledge) • ความรู้หลังประสบการณ์ (Posteriori knowledge) • ความรู้โดยประจักษ์ (Knowledge by Acquaintance) • ความรู้โดยบอกกล่าว (knowledge by Description) • ความรู้เชิงประสบการณ์ (Expirical knowledge) • ความรู้โดยตรง (Immediate knowledge) • ความรู้เชิงวัตถุวิสัย (Objective knowledge) • ความรู้เชิงจิตวิสัย (Subjective knowledge)
ความหมายของการบริหารจัดการความรู้ (KM) • Stair(2001) การบริหารจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ รวบรวม จัดการ ความรู้ ความชำนาญ ไม่ว่าความรู้นั้นจะอยู่ใน คอมพิวเตอร์ ในกระดาษ หรือตัวบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการให้บุคลากร ได้รับความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิม โดยให้เกิดประสบการณ์และความชำนาญเพิ่มขึ้น
ความหมายของการบริหารจัดการความรู้ (KM) • การบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ
เหตุผลของการนำ KM มาใช้ • การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน • ความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด • ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด • สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด • การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ความรู้ในองค์กร(Knowledge in Organizations) • ความรู้อย่างไม่เป็นทางการ (Tacit knowledge) เป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อ หรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การถ่ายทอดความรู้ ความคิดผ่านการสังเกต การสนทนา การฝึกอบรม • ความรู้อย่างเป็นทางการ (Explicit knowledge) • Object base ความรู้ที่เกิดจากการสร้างขึ้นมา เช่นคู่มือ สิทธิบัตร • Rule base ความรู้ที่ถูกนำมาประมวลเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ • ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Cultural knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากศรัทธา ความเชื่อ ที่ทำให้กลายเป็นความจริง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การเฝ้าสังเกต และการสะท้อนกลับของผลของตัวควบคุมและของสภาพแวดล้อม
องค์ประกอบของ KM • คน (People) ผู้ที่มีผลกระทบกับองค์กร KM จะรวบรวมว่าใครเชี่ยวชาญในด้านใดบ้าง ถ้ามีงานใหม่เข้ามาจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ • สถานที่ (Place) ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วมกันได้ อาจอยู่ในรูปของเวปบอร์ด การประชุมทางไกล หรือโปรแกรมออนไลน์อื่นๆ • ข้อมูล (Thing) ทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยง่าย การวิเคราะห์แยกแยะหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
องค์ประกอบหลักในการพัฒนา KM • ผู้นำ (Leadership) • วัฒนธรรม (Culture) • การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access) • เทคโนโลยี (Technology) • วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) • บรรยากาศอิสระ แต่จริงจัง
แนวทางการพัฒนา KM • กำหนดให้มีหัวหน้าคณะทำงาน (Chief Knowledge Officer) หรือการสร้างทีมงานในแต่ละสาขามาร่วมกันพัฒนากระบวนการทำงาน • ระบุข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจให้ชัดเจน • จัดทำ Workflow พัฒนากระบวนการทำงาน โดยการสร้างความรู้ การรวบรวมและการจัดเก็บ เพื่อเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์ที่ได้จากระบวนการดังกล่าวโดยให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปรับปรุง Workflow
แนวทางการพัฒนา KM • การสร้างและการถ่ายทอดความรู้ของบุคคลในองค์กรจะช่วยแก้ปัญหาให้งานสำเร็จและมีประสิทธิภาพขึ้น • พัฒนาศูนย์ข้อมูลโดยอาศัยทักษะการถ่ายทอดหรือการเคลื่อนย้ายความรู้ • ทำระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประสานงานความร่วมมือ และการส่งเสริมการใช้ความรู้ร่วมกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM • ระบบสารสนเทศ • เทคโนโลยี • เทคโนโลยีสนับสนุน
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM • ระบบสารสนเทศ • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) • ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Work System : KWS) • ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม(Group Collaboration System : GCS) • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM • เทคโนโลยี • Business Intelligence การวิเคราะห์ข้อมูล Data Mining • Collaboration การผสมผสานการใช้ Tool หลายๆตัวในการจัดเก็บ • Knowledge Transfer การถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบ e-Learning • Knowledge Discovery การหาวิธีที่จะเข้าถึงส่วนต่างๆ การสกัดข้อมูล • Expertise Location การหาว่าใครในองค์กรทีมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM • เทคโนโลยีสนับสนุน • เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) • เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) • เทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage Technology)
ประโยชน์ของ KM • เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา • เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น • เปลี่ยนวัฒนธรรมอำนาจ สู่ วัฒนธรรมความรู้ • ฯลฯ
Knowledge Management จบการบรรยาย คำถาม