1.24k likes | 3.66k Views
ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (Health Information System). Benjawan Nunthachai. ประเด็นการสอนและการเรียนรู้. ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข ความสำคัญของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ.
E N D
ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ(Health Information System) BenjawanNunthachai
ประเด็นการสอนและการเรียนรู้ประเด็นการสอนและการเรียนรู้ • ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข • ความสำคัญของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข • แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร • การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ • ตัวชี้วัด ความหมาย แลละการจำแนกประเภทและชนิดของตัวชี้วัด • ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ • การใช้ประโยชนืจากตัวชี้วัด
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข • ข้อมูล (Data) : ข้อความจริงหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ อาจเป็น ตัวเลข ตัวอักษร (เชิงปริมาณ) ข้อความ เครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์ (เชิงคุณภาพ) • ข่าวสาร/ข้อสนเทศ (Information) : ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกต และบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือข้อความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตัดสินใจปฏิบัติการ • สถิติ (Statistics) ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่างเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น เช่น สุ่มตัวอย่างคนในหมู่บ้านมาจำนวนหนึ่งแล้วคำนวณรายได้เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยที่ได้นี้จะเป็นค่าสถิติ
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข • ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข(Health information) **ข้อมูลสถานะสุขภาพ เช่น การเกิด การตาย การเจ็บป่วย การระบาดของโรค **ข้อมูลด้านทรัพยากร เช่น อัตรากำลังของบุคลากร ประเภทของสถานบริการสุขภาพ งบประมาณ **ข้อมูลด้านกิจกรรม เช่น การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ **ข้อมูลภาวะสุขภาพของบุคคลที่มารับบริการสุขภาพ เช่น อายุ เพศ น้ำหนัก ความดันโลหิต อาการ ประวัติการรักษา
ข้อมูลข่าวสารอื่นที่ไม่ใช่สาธารณสุขโดยตรงแต่มีความสัมพันธ์กับสาธารณสุขข้อมูลข่าวสารอื่นที่ไม่ใช่สาธารณสุขโดยตรงแต่มีความสัมพันธ์กับสาธารณสุข ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม อาชีพ ระดับการศึกษา
ความสำคัญของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขความสำคัญของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข ระบุปัญหาสาธารณสุข เลือกตัดสินใจแก้ปัญหา ควบคุมการปฏิบัติงานทุกประเภท ประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผล ทันสมัย= ทันเหตุการณ์ ตรงความเป็นจริง= เชื่อถือ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร • แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources)ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆเช่น การสำรวจ ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามเฉพาะเรื่อง การสัมภาษณ์การจดบันทึก ทะเบียนการแจ้งเกิด แจ้งตาย การย้ายที่อยู่ • แหล่งทุติยภูมิ (Secondary sources)ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเองเช่นสถิติต่างๆ
ข้อมูล Data ประมวลผลข้อมูลProcessing Data สารสนเทศ Information
ตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศ
ตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศ
ตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศตัวอย่างการแสดงข้อมูลสารสนเทศ
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
ประโยชน์ของระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสาธารณสุขประโยชน์ของระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสาธารณสุข • ประกอบการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดตัวชี้วัด (KPI) กำหนดเป้าหมายในการประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข • ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับการดำเนินงาน • เป็นข้อมูลความรู้(Knowledge) ช่วยในการตัดสินใจ(Dicision Making) 1. เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพของงานสาธารณสุข 2. เพื่อการบริหารงานสาธารณสุข 3. เพื่อการตรวจสอบการบริหารงานสาธารณสุข
ประโยชน์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของงานสาธารณสุขประโยชน์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของงานสาธารณสุข • เพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดี รวมถึงการให้บริการด้านต่าง ๆ ต้องครอบคลุมพื้นที่และประชากรในเขตรับผิดชอบ 1 ด้านการรักษาพยาบาล:ประวัติผู้มารับบริการ ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลการรักษาพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลมีความต่อเนื่อง 2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เป็นการให้บริการทางด้านอนามัยเด็ก อนามัยมารดา หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ การวางแผนครอบครัว
ประโยชน์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของงานสาธารณสุขประโยชน์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของงานสาธารณสุข 3. ด้านบริการการควบคุมป้องกันโรคเช่น ประวัติการให้ภูมิคุ้มกันโรค ข้อมูลการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงผู้มารับบริการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล 4. ด้านการฟื้นฟูสภาพภายหลังได้รับการรักษาแล้ว เช่น ผู้ป่วยโรคอัมพาต ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือข้อมูลที่จำเป็น เช่น ประวัติครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วย ข้อมูลการรักษาพยาบาล จำนวนผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพทั้งในสถานพยาบาลและในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น
ประโยชน์การใช้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศเพื่อการบริหารงานสาธารณสุขประโยชน์การใช้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศเพื่อการบริหารงานสาธารณสุข 1.ด้านการวางแผนและกำหนดนโยบายอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ 2.ด้านการควบคุมกำกับงาน โดยใช้ผังปฏิบัติงานประจำ การตรวจงาน การนิเทศและติดตามการปฏิบัติงานซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย
ประโยชน์การใช้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบการบริหารงานสาธารณสุขประโยชน์การใช้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบการบริหารงานสาธารณสุข 1.ด้านการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เช่น การกระจายบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง พิจารณาความดีความชอบ การสอบคัดเลือก การดำเนินการทางวินัย การลงโทษ 2. ด้านการบริหารงบประมาณ ต้องมีข้อมูลด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุที่เป็นปัจจุบัน สำหรับใช้ในการติดตามการใช้จ่ายเงิน และควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
ตัวชี้วัดคืออะไร • ตัวชี้วัด หรือ “เครื่องชี้วัด” หรือ “ดัชนีชี้วัด” ภาษาอังกฤษ เรียกว่า “indicator” คือตัวแปรหรือกลุ่มของตัวแปรต่างๆที่จะวัดสภาวะอย่างหนึ่งออกมาเป็นปริมาณ และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ทราบถึง ระดับ ขนาด หรือความรุนแรงของสภาพปัญหาหรือปรากฏการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการวัด • ตัวชี้วัดจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือและมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการเปลี่ยนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามสภาพที่เป็นอยู่ให้เป็นข่าวสารที่มีความหมายสำหรับผู้บริหารและต่อสาธารณชน
ความหมาย ตัวชี้วัด(Indicator) และ เกณฑ์ชี้วัด (criteria) เกณฑ์(Criteria) • ระดับที่ถือว่าเป็นความสำเร็จของการดำเนินงาน • เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ ในการตัดสินคุณภาพของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะเป็นที่ยอมรับว่า มีความเป็นมาตรฐาน หรือเหมาะสมตามสภาพหรือคุณลักษณะของสิ่งเหล่านั้น มาตรฐาน(Standard) • มาตรฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.Absolute standard มาตรฐานสมบูรณ์ เป็นมาตรฐานที่ได้จากทฤษฎี การวิจัย หลักการ • 2.Relative standard มาตรฐานสัมพัทธ์ เป็นมาตรฐานที่ได้จาก การเปรียบเทียบกับผลงานกลุ่มต่างๆ เกณฑ์ที่ดีจะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่ตัวชี้วัดคือสิ่งที่สะท้อนถึงสิ่งที่ต้องการวัด
ตัวอย่าง: ตัวชี้วัด - เกณฑ์ • เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอครบ 3 ครั้ง มากกว่าร้อยละ 90 • ตัวชี้วัด คือ จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอครบ 3 ครั้ง • เกณฑ์ คือ มากกว่าร้อยละ 90 ของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ทั้งหมด ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอครบ 3 ครั้ง
การจัดทำตัวชี้วัด ทำเพื่ออะไร 1. วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการใช้งาน คือ การควบคุมกำกับและการติดตามประเมินผล 2. กระบวนการดำเนินงาน คือ การนำเข้าซึ่งทรัพยากร(input) กิจกรรมที่ดำเนินการ(process) ผลผลิต(output) ผลสำเร็จ(outcome) และผลกระทบ(impact) 3. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวัด คือ ระบบทะเบียน ระบบบริการสุขภาพ ระบบการเงินการคลัง ระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบตรวจสอบติดตาม และระบบบริหารจัดการทั่วไป 4. ระดับของตัวชี้วัด เช่น ระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ เป็นต้น 5. ช่วงเวลาในการวัด คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
จำแนกประเภทตัวชี้วัด • ตัวชี้วัดเป็นได้ทั้งตัวชี้วัดเชิงปริมาณและตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ การจำแนกประเภทจึงไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวชัดเจนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเรื่องที่จะใช้ตัวชี้วัดนั้นไปดำเนินการ เช่น **จำแนกตามประเด็นหรือเรื่องที่ต้องการจะวัด ….. ……. ตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจสังคม (Social indicators) ……..ตัวชี้วัดทางด้านสุขภาพ (Health indicators) ซึ่งแบ่งย่อยลงไปได้ >>>>ตัวชี้วัดด้านนโยบายสุขภาพ (Health policy indicators) >>>>ตัวชี้วัดด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Social and economic indicators related to health) >>>>ตัวชี้วัดด้านบริการสุขภาพ (Indicators for provision of health care) >>>> ตัวชี้วัดด้านสถานะสุขภาพ (Health status indicators) เป็นต้น
จำแนกประเภทตัวชี้วัด **จำแนกตามลำดับหรือขั้นตอนการดำเนินโครงการ เช่น • ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (input indicators) • ตัวชี้วัดกระบวนการ (process indicators) • ตัวชี้วัดผลผลิตหรือผลการดำเนินงาน (output indicators) • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (outcome indicators) • ตัวชี้วัดผลกระทบ (impact indicators)
จำแนกประเภทตัวชี้วัด ** จำแนกตามประเด็นสำคัญที่ต้องการวัด เช่น • ตัวชี้วัดความเป็นธรรม (equity indicators) ในด้านสุขภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ - ความเป็นธรรมด้านการจ่ายเงิน - ความเป็นธรรมของการบริการ • ตัวชี้วัดคุณภาพ (quality indicators) ตัวชี้วัดนี้จะใช้ในการวัดการบริการสุขภาพของสถานบริการต่างๆ - ตัวชี้วัดด้านโครงสร้างของการจัดบริการของระบบ เช่น จำนวนเตียงของสถานพยาบาล - ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ (Process indicators) ประเมินกระบวนการ กิจกรรม หรือขั้นตอนในการให้บริการผู้ป่วย เช่น การให้ยา การรักษาพยาบาล - ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome indicators) แบ่งเป็นผลลัพธ์ระหว่างกระบวนการ(Proximate outcome) และ (Ultimate outcome) ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงความพิการ การเสียชีวิต หรือความพึงพอใจ
จำแนกประเภทตัวชี้วัด • ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (efficiency indicators) ใช้เพื่อวัดผลการดำเนินการที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไป -อาจใช้เปรียบเทียบระหว่างโครงการหรือกิจกรรมว่าโครงการหรือกิจกรรมใดให้ ผลมากหรือน้อยกว่ากัน ในจำนวนงบประมาณ หรือบุคลากร หรือเวลาที่ใช้เท่ากัน - อาจเปรียบเทียบว่าผลเท่ากันโครงการใดใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเป็นต้น ตัวชี้วัดในด้านนี้ เช่น ต้นทุนการรักษาพยาบาลต่อผู้ป่วย 1 ราย ภาระงานต่อบุคลากร 1 คน เป็นต้น • ตัวชี้วัดประสิทธิผล (effectiveness indicators) การวัดประสิทธิผลของโครงการใดจะวัดโดยเปรียบเทียบผลงานที่ทำได้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้
จำแนกประเภทตัวชี้วัด ** จำแนกตามคุณลักษณะจำเพาะของตัวชี้วัดเอง • ตัวชี้วัดจำเพาะหรือตัวชี้วัดเดี่ยว (specific indicators) ตัวชี้วัดชนิดนี้จะมีตัวชี้วัดตัวเดียวที่สามารถบ่งบอกสภาพของสิ่งที่จะวัดได้ เช่นอัตราเกิด อัตราตายตาย เป็นต้น • ตัวชี้วัดแบบองค์ประกอบ (composite indicators) ตัวชี้วัดชนิดนี้จะประกอบด้วยตัวชี้วัดหลายๆตัว มาประกอบการวิเคราะห์หรือพิจารณาร่วมกันเช่น Human development Index-HDI ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัว คือ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth), ระดับการศึกษา (Educational level) และ ระดับรายได้ (Income level)
คุณลักษณะที่ดีของตัวชี้วัดคุณลักษณะที่ดีของตัวชี้วัด 1. มีความตรง (Valid) สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ 2. มีความจำเพาะเจาะจง (Specific) จะเปลี่ยนแปลงก็แต่เฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรโดยตรงเท่านั้น 3. สามารถสะท้อนสภาพที่แท้จริงของสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างครบถ้วน (Complete) 4. มีความไว (Sensitive) สามารถแสดงความแตกต่างได้ แม้สถานการณ์ที่วัดจะเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย 5. มีความเชื่อถือได้ (Reliable) ค่าที่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพควรจะเท่ากัน ถ้าวัดในสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าผู้วัดจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม 6. สามารถเก็บข้อมูลได้โดยใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ (Low cost) 7. ได้รับการนิยามและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย (Acceptable) 8. ไม่เป็นภาระในการเก็บและประมวลผล (Affordable)
ตัวชี้วัดสุขภาพ (Health Indicators) ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย โดยแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ **ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพ **ตัวชี้วัดที่เป็นปัจจัยกำหนดสถานะทางสุขภาพ **ตัวชี้วัดระบบสุขภาพ **อาศัยเค้าโครงหลักของคณะกรรมการแห่งชาติออสเตรเลีย (National Report on Health Sector Performance Indicators 2001 by the National Health Performance Committee) และคณะกรรมการแห่งชาติประเทศคานาดา (Canadian Institute of Health Information) เนื่องจากมีมิติของการวัดครอบคลุมมากกว่าระบบสุขภาพอื่น และนำมาปรับ/ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
ตัวชี้วัดสุขภาพ (Health Indicators) 1.ตัวชี้วัดทางด้านสถานะสุขภาพ(Health status indicators) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพอนามัย 2. ตัวชี้วัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพอนามัย (Health Determinant Indicators) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานะสุขภาพของประชาชน ปัจจัยด้านบุคคล ซึ่งรวมถึงทักษะส่วนบุคคลในการรับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ปัจจัยทางด้านชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม 3. ตัวชี้วัดระบบสุขภาพ(Health system indicators) ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร ประเมินแผนงาน ประเมินผลการปฏิบัติงาน และปรับปรุงผลงาน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการจัดบริการสาธารณสุข นโยบายสาธารณะ ข้อมูลข่าวสารและการวิจัย
ตัวอย่างของตัวชี้วัดทางสุขภาพตัวอย่างของตัวชี้วัดทางสุขภาพ
การตายของผู้ป่วย ในโรงพยาบาล (In hospital mortality rate) ความหมาย: การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประโยชน์ของตัวชี้วัด :ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการรักษา วิธีการคำนวณ : จำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล ทั้งหมด ใน 1 เดือน หารด้วย จำนวนผู้ป่วยในที่จำหน่ายออกทั้งหมด ของโรงพยาบาล ใน 1 เดือน หน่วยการวัด : ร้อยละ
การตายของผู้ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้จากการให้การดูแล (In-hospital mortality rate for preventable disease) ความหมาย ความสามารถในการป้องกันการเสียชีวิตจากโรค ซึ่งสามารถป้องกันหรือรักษาได้ เช่น อุบัติเหตุ โรคหัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ วัณโรค โรคหลอดเลือดสมอง ประโยชน์ของตัวชี้วัด ประสิทธิภาพและคุณภาพของการดูแลรักษาพยาบาล การจัดบริการสุขภาพ และการเฝ้าระวังโรคในเขตพื้นที่ วิธีการคำนวณ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ในเขตพื้นที่ หารด้วย จำนวนประชากร กลางปีในเขตพื้นที่เดียว หน่วยการวัด อัตรา
อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (Mortality rates from acute myocardial infarction) ความหมาย การเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ประโยชน์ของตัวชี้วัด แนวโน้มอัตราการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สะท้อนการให้การบริการดูแลรักษาและประสิทธิภาพของการรักษา การคำนวณ จำนวนผู้ป่วยที่ตายจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หารด้วย จำนวนประชากร หน่วยการวัด อัตรา ต่อ ประชากร 100,000 คน : แหล่งข้อมูล สถิติโรงพยาบาล
ค่าใช้จ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ของครัวเรือน (Drug and medical supplies expenditures) ความหมาย ค่าใช้จ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ของครัวเรือนเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่เดียวกันที่ใช้ไปในการดูแลรักษาสุขภาพ ประโยชน์ของตัวชี้วัด ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรยาเพื่อการรักษาโรคภายในจังหวัด วิธีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ของครัวเรือนในระยะเวลา 1 เดือน หารด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือนทั้งหมด ในระยะเวลา 1 เดือน หน่วยการวัด ร้อยละ : แหล่งข้อมูล การสำรวจประชาชนในระดับจังหวัด
ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการผู้ป่วยนอก (Patient satisfaction with outpatient service) ความหมาย ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้การบริการดูแลรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก ประโยชน์ของตัวชี้วัด ประสิทธิผลและความรับผิดชอบต่อการรักษา วิธีการคำนวณ จำนวนผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง ที่มีผลรวมของคะแนนความพึงพอใจ ต่อบริการในระดับที่ถือว่าพึงพอใจ หารด้วย จำนวนผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างให้ตอบแบบสอบถาม หน่วยการวัด ร้อยละ : แหล่งข้อมูล สุ่มสำรวจด้วยแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์มาตรฐาน หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ต้นทุนต่อหน่วยงานบริการผู้ป่วยนอก (Unit cost of out-patient) ความหมาย จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตการบริการสุขภาพ ณ แผนกผู้ป่วยนอก ประโยชน์ของตัวชี้วัด ทำให้ทราบต้นทุนที่ใช้ไปในการให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก สามารถนำไปใช้ในการวางแผนงบประมาณ การประกันสุขภาพ และการจัดสรรงบประมาณ การคำนวณ ต้นทุน หรือ จำนวนงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ไปในการให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกหารด้วย จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยนอกมารับบริการตลอดปี หน่วยการวัด อัตราส่วน : แหล่งข้อมูล เวชสถิติจากสถานพยาบาล
การตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง (Hypertension screening) ความหมาย การคัดกรองความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้นและให้การรักษาในระยะเริ่มต้น โดยวิธีการวัดความดันโลหิตโดยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท เพื่อลดจำนวนการป่วยและการตายจากโรคที่มีผลสืบเนื่องจากความดันโลหิตสูง เช่น Ischemic heart disease, Stroke, Kidney failure เป็นต้น โดยดูจากสัดส่วนความครอบคลุมของการให้บริการในกลุ่มเป้าหมาย ประโยชน์ของตัวชี้วัด บอกถึงคุณภาพการให้บริการประชาชน และ แสดงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรค วิธีการคำนวณ จำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตและพบว่า เป็นความดันโลหิตสูง ในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา หารด้วย จำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งหมด หน่วยการวัด ร้อยละ : แหล่งข้อมูล ข้อมูลรายงานจากสถานพยาบาล กรมการแพทย์ และกรมควบคุมโรค (การสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในประชากรไทย)
ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้
ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ • การนำตัวชี้วัดไปใช้ในเชิงปฏิบัติการ (Operational indicators) ใช้ในระดับปฏิบัติการเอง โดยนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเบื้องต้นมาแล้ว มาวิเคราะห์ปัญหาของผลการปฏิบัติงาน เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานโดยตรง เช่น ** ความครอบคลุมของการฝากครรภ์ครบกำหนดตามเกณฑ์ **สัดส่วนของหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ผู้ใช้ข้อมูลในระดับนี้ ได้แก่ นักวิชาการ หรือ ผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ที่ต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้งานต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย
ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ 2. การนำตัวชี้วัดไปใช้ในเชิงบริหาร (Management indicators) ใช้ในระดับจังหวัด โดยใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาระดับหนึ่งแล้ว มาจัดลำดับความสำคัญและเลือกสรรข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อใช้ตัดสินใจในการบริหารจัดการ เช่น **ความชุกของโรคที่พบมาก 5 อันดับแรกในพื้นที่ **งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานแต่ละประเภท **จำนวนบุคลากรที่ใช้ ผู้ใช้ข้อมูลและตัวชี้วัดในระดับนี้ได้แก่ ผู้บริหารระดับต้นและผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมักจะเป็นระดับจังหวัด ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
การนำตัวชี้วัดไปใช้ 3. การนำตัวชี้วัดไปใช้ในเชิงนโยบาย (Strategic indicators) ใช้ในระดับวางแผนนโยบาย หรือในระดับประเทศ สำหรับผู้บริหารระดับสูง ใช้ในการวางแผนด้านต่าง ๆ ขององค์กร ประกอบด้วยตัวชี้วัดในระดับมหภาค เช่น **สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง **แนวโน้มในการเกิดโรค สภาพภูมิศาสตร์ **การเปลี่ยนแปลงของประชากร ** ทรัพยากรด้านต่างๆขององค์กรทั้ง คน เงิน ของ ผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการสาธารณสุข **ค่าใช้จ่ายของบริการสาธารณสุข ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญบางอย่าง ที่จะใช้ในการวางแผนเชิงนโยบายและกลยุทธ์ ผู้ใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวมักจะเป็นหน่วยบริหารและวิชาการระดับสูง ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งมักจะเป็นระดับประเทศ ได้แก่ ระดับกระทรวงสาธารณสุข
Reference • http://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=152&Itemid=74 • เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และกนิษฐา บุญธรรมเจริญ. ดัชนีสถานะสุขภาพเชิงลบ. สถาบันวิจัยระบบ • สาธารณสุข : 2544. • สุนี ชลาภิรมย์ และคณะ. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา. 2535. • สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดการประเมินผลการพัฒนาสุขภาพใน ส่วนของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์; 2544. • จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, สมเกียรติ โพธิสัตย์, ยุพิน อังสุโรจน์, จารุวรรณ ธาธาเดช, ศรานุช โตมรศักดิ์.เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, 2543. • คงเดช ลีโทชวลิต. ระบบสุขภาพ. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2544.