350 likes | 876 Views
หลักประชาธิปไตย. บรรยายครั้งที่ 3 โดย...อาจารย์สุภา วิณี จิตต์ สุวรรณ์. อริสโตเติล. ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบดังนี้ 1. ระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) 2. ระบอบทรราชย์ (Tyranny) 3. ระบอบอภิชณาธิปไตย (Aristocracy) 4. ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) 5. ระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
E N D
หลักประชาธิปไตย บรรยายครั้งที่ 3 โดย...อาจารย์สุภาวิณี จิตต์สุวรรณ์
อริสโตเติล ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 รูปแบบดังนี้ 1. ระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) 2. ระบอบทรราชย์ (Tyranny) 3. ระบอบอภิชณาธิปไตย (Aristocracy) 4. ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) 5. ระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity) 6. ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)
อริสโตเติล ให้ความเห็นว่า ประชาธิปไตยมีข้อเสียอยู่ 5 ประการ 1. คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความรู้และคุณธรรม แม้จะมีความเห็นก็เป็นความเห็นที่ไม่มีความรู้ 2. คนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ ทำให้เกิดการปกครองที่ไม่ดี 3. คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการตัดสินใจ 4. คนส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความยุ่งเหยิง โกลาหล วุ่นวาย 5. ประชาธิปไตยมีสมมติฐานที่ผิดพลาดในเรื่องความเท่าเทียมกันในทุกเรื่อง
มีการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ “ดุสิตธานี” ผลปรากฏว่า ล้มเหลว เนื่องจากข้าราชการและราษฎรไม่เข้าใจว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยควรเป็นอย่างไร รัชกาลที่ 6 ทรงวินิจฉัยเรื่องการปกครองระบอบต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 1. กรณีประชาธิปไตย ทรงเห็นว่า ประชาชนยังไม่มีความพร้อมและอาจสร้าง มติมหาชนไปในทางที่ผิดได้ ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนของตนเพราะมีผู้มาชักจูงให้ เลือกหรือติดสินบนให้เลือก อาจเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยได้ 2. กรณีสังคมนิยม ทรงเปรียบว่า เหมือนความเชื่อทางศาสนาของพระศรี – อารย์ คือ มีความรักในมวลมนุษยชาติ ความเสมอภาคทางสังคมและทางเศรษฐ- กิจ อันเป็นหลักการที่ดี แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะคนเรามีความรู้ความสามารถและ ความชำนาญไม่เท่าเทียมกัน การรวมทรัพย์สมบัติไว้เป็นกองกลางแล้วเฉลี่ย จะสร้างระบบที่ทำลายล้างศาสนา
3. กรณีของการปกครองระบอบสาธารณรัฐ ทรงเห็นว่า ระบอบ นี้เป็นระบอบที่น่าต่อต้านมากที่สุด ถ้าไทยนำมาใช้มีแต่จะทำให้เสีย ประโยชน์ โดยพระองค์ได้สรุปว่า การปกครองระบอบต่าง ๆ ล้วนแต่เป็น ระบบที่ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ระบบการปกครองที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุดก็คือ การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบราชาธิปไตย เนื่องจาก เป็นระบบที่จะทำให้เกิดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติและเป็นระบบที่จะทำให้ชาติไทย เจริญก้าวหน้าได้
หลักการแบ่งแยกอำนาจตามทฤษฎีประชาธิปไตยหลักการแบ่งแยกอำนาจตามทฤษฎีประชาธิปไตย 1. อำนาจนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน 2. อำนาจบริหาร มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายกฎหมาย 3. อำนาจตุลาการ มีหน้าที่ในการใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน วิรัช วิรัชนิภาวรรณ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศตนเองอย่างเป็นอิสระ สามารถออกกฎหมาย บริหารงานและมีศาลเป็นของตนเอง ไม่เป็นเมืองขึ้นหรือเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลหรืออยู่ภายใต้การปกครองของรัฐหรือประเทศอื่นใด ประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองย่อมแสดงว่าเป็นรัฐหรือเป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริง
เชาวนะ ไตรมาศ อธิบายว่า ประชาธิปไตย (Democracy) กับรัฐที่ปกครองโดยฝ่ายข้างมาก (Majority Rule) สามารถแยกหลักได้ดังนี้ 1. หลักประกันขั้นพื้นฐานของประชาธิปไตย เนื่องจากการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน การได้อำนาจหรือการเข้าสู่อำนาจและการพ้นจากอำนาจของผู้ปกครองจึงต้องเป็นไปตามความตกลงใจของประชาชน ซึ่งกำหนดขึ้นเป็นเจตนารมณ์ทั่วไป ผ่านรูปแบบของการออกเสียงประชามติ หรือการเลือกตั้งทั่วไปที่เป็นไปอย่างอิสระ เป็นความลับ เป็นการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยทั่วไป มีวาระที่แน่นอน มีความเสมอภาค มีทางเลือกและการแข่งขัน ตลอดจนมีกติกากำกับควบคุมเพื่อสร้างกระบวนการที่มีความเชื่อมั่นเพื่อผลลัพธ์อันเป็นเจตนารมณ์ที่แท้จริงและเจตนารมณ์ของฝ่ายข้างมากที่หลอมรวมกันเป็นความยุติธรรม 2. หลักประกันขั้นกลางของประชาธิปไตย เป็นหลักที่ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองโดยแสดงออกถึงผลประโยชน์ความต้องการและเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์และความต้องการเหล่านั้น
3. หลักประกันขั้นสูงของประชาธิปไตย เนื่องจากความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนส่งผลผูกพันให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นการปกครองเพื่อประชาชน อันเป็นเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดให้ผู้ปกครองต้องเป็นผู้พิทักษ์ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงผู้แสวงหาผลประโยชน์และอำนาจ อันเป็นหลักประกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของประชาชนจำนวนมากที่สุด โดยได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ถือเป็นเป้าหมายอันพึงปรารถนาของอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชนพลเมืองของประเทศตามหลักการของนิติรัฐ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักกฎหมายในการปกครองสูงสุด ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
ข้อดีของประชาธิปไตย 1. เป็นการปกครองที่ได้รับการเชื่อถือ 2. เป็นระบอบเดียวเท่านั้นที่ทำให้ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบการดำเนินงานของตนต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง มีผลทำให้ผู้ปกครองต้องมีนโยบายที่มุ่งเพื่อสวัสดิภาพของคนทุกคน 3. ข้าราชการซึ่งเข้ามาครองตำแหน่งน่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ 4. ยึดหลักความเสมอภาค เน้นประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมสวัสดิภาพได้ดีกว่าการปกครองแบบอื่น ๆ 5. มีรากฐานมาจากความยินยอมโดยสมัครใจของประชาชน รัฐก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเอกชน ไม่ใช่เอกชนมีชีวิตอยู่เพื่อรัฐ เสรีภาพส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย 6. เป็นการปกครองที่มุ่งการทำนุบำรุงประชาชนส่วนใหญ่ ส่งเสริมประชาชนให้สนใจในกิจการสาธารณะและได้รับความจงรักภักดีและไว้วางใจจากประชาชน 7. ทำให้ประชาชนมีสติปัญญาความคิดและคุณธรรมสูง
ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตยข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย 1. ทำลายระบอบราชาธิปไตยและระบอบอภิชณาธิปไตย 2. เป็นระบอบที่มีอันตราย เป็นระบอบของผู้ก่อกวนที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้ายุ่งเกี่ยว 3. เป็นระบอบของการยึดหลักปริมาณ ไม่ได้ยึดหลักคุณภาพ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญาและความสามารถแตกต่างกัน ควรนึกถึงคุณค่าของการฝึกหัดอบรม หรือความชัดเจนในกิจการบ้านเมืองเป็นสำคัญ 4. เป็นระบอบการปกครองของคนที่โง่เขลา ไม่เหมาะสม เนื่องจากได้บุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เป็นส่วนมาก ได้บุคคลที่มีมาตรฐานในการดำเนินชีวิตในชั้นต่ำเข้ามาเป็นประมุขมากกว่าที่จะได้คนที่มีความสามารถ 5. การเลือกตั้งแบบระยะเวลาอันสั้นเพื่อครองตำแหน่งเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ผู้ที่ครองตำแหน่งได้ความชำนาญในการงาน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติที่สามารถได้เข้ามามีส่วนร่วม
มีผู้วิจารณ์ว่า... แม้ระบบประชาธิปไตยจะให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาประชาชน แต่ถ้าพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วมาตรฐานการศึกษาในระบอบประชาธิปไตยยิ่งต่ำ กล่าวคือ หันไปสนใจทางวิชาการเทคนิคมากขึ้น ละเลยเรื่องวัฒนธรรม วรรณคดี ศิลปกรรม นอกจากนี้ ระบอบประชาธิปไตยยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและทำงานล่าช้าเสียเวลา คือ ภาษีที่เก็บมาจากประชาชนส่วนมากได้จากคนร่ำรวยเพียงไม่กี่คนมากกว่าประชาชนซึ่งเป็นคนจน ผลคือ ประชาชนส่วนใหญ่ที่จะใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยเพราะเป็นภาษีของคนรวยเพียงไม่กี่คน ระบอบนี้มีข้าราชการมากเกินความจำเป็น ต้องจ่ายเงินเดือนมาก ซึ่งบางครั้งยังได้บุคคลที่ไม่มีความสามารถมาทำงานในตำแหน่งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีผู้โจมตีอีกว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองโดยประชาชนส่วนใหญ่ ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่ใช้อำนาจกดขี่เป็นทรราชย์ก็ยิ่งเป็นอันตรายยิ่งกว่าทรราชย์โดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มหนึ่ง อนึ่ง รัฐบาลระบอบประชาธิปไตยไม่มีนโยบายภายในประเทศหรือนโยบายการต่างประเทศแน่นอนมั่นคงสืบต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้ เพราะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นพรรคซึ่งมีนโยบายตรงกันข้าม นโยบายประเทศทั้งภายในและภายนอกก็เปลี่ยนไป
ปรัชญากฎหมายมหาชนในรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตย คือ การประสานความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะ อันเป็นการใช้อำนาจรัฐกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนอันเป็นประโยชน์ของเอกชน แต่การแบ่งชนชั้น การเอาเปรียบทางสังคม การเอา เปรียบของผู้ปกครอง และเรื่องการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ในทางการเมืองการปกครอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมการ ใช้อำนาจของผู้ปกครองหรือตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้
การประกาศอิสรภาพของอเมริกาให้พ้นจากอังกฤษ ทำให้เกิดสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังนี้ 1. ทุกคนมีความเท่าเทียมกันและมีความเสมอภาคกัน 2. การใช้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน 3. ผู้ปกครองจะต้องใช้อำนาจเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและเพื่อประโยชน์ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ 4. การใช้อำนาจจะต้องสามารถตรวจสอบและควบคุมให้อยู่ในความ เหมาะสมได้ (check and balance)
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 1. ประชาธิปไตยทางตรง 2. ประชาธิปไตยทางอ้อม 2.1 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา 2.2 ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี 2.3 ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
ประชาธิปไตยของประเทศไทยประชาธิปไตยของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทำ ให้ประเทศไทยมีการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ในระยะ 2-3 วันแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะ ผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ประกอบด้วย พันเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา, พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิ อาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรม- นูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่น ดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญมีว่า การกำหนดให้อำนาจสูงสุด ในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้ง หลาย ไม่ใช่ เป็นของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ส่วนการใช้ อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคล เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังนี้ 1. พระมหากษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร 4. ศาล
John Locke:1632-1704 ได้อธิบายทฤษฎีการเมืองว่า “ความชอบธรรมของการใช้อำนาจ ปกครองบ้านเมืองต้องเกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันของประชาชน ฝ่ายข้างมาก ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองจะต้อง ใช้อำนาจของตนตามที่ประชาชนได้ไว้เนื้อเชื่อใจให้มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง สิทธิตามธรรมชาติของทุกคน หากผู้ปกครองบ้านเมืองประพฤติผิดคำ มั่นสัญญาหรือใช้อำนาจไปในทางทำลายล้างสิทธิตามธรรมชาติของ ประชาชนโดยไม่คุ้มครองรักษาประชาชน ย่อมมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลง และเพิกถอนอำนาจของผู้ปกครองนั้นเสียได้” (สัญญาประชาคม)
ทฤษฎีสัญญาประชาคมของล็อคมีหน้าที่สองอย่างคือทฤษฎีสัญญาประชาคมของล็อคมีหน้าที่สองอย่างคือ 1. เป็นสัญญาดั้งเดิมที่มนุษย์ตกลงรวมตัวกันเป็นสังคมการเมืองและได้ รวมข้อตกลงทั้งมวลเท่าที่จำเป็นในการก่อตั้งสังคมของมนุษย์ขึ้นไว้ โดยข้อ ตกลงของฝ่ายข้างมากย่อมมีผลเท่ากับเป็นข้อตกลงของมนุษย์ทุกคนใน สังคม 2. รัฐบาลที่จะมาปกครองบ้านเมืองย่อมขึ้นอยู่กับมติของฝ่ายที่มีเสียงข้าง มาก รัฐบาลมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองสิทธิตามธรรมชาติของพลเมืองทุกคน ตราบใดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาลยังมีความมั่น คงในการพิทักษ์สิทธิตามธรรมชาติของพลเมือง รัฐบาลนั้นก็จะมีอำนาจใน การปกครองบ้านเมืองต่อไป โดยจะมีใครมาล้มล้างหรือโค่นล้มมิได้ “อันเป็นบ่อเกิดของแนวความคิดของทฤษฎีการเมืองแบบประชาธิปไตย”
ฌอง ฌาคส์ รุสโซ (Jean Jaque Rousseau:1712-1778) ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐว่า รัฐถือ กำเนิดจากการที่มนุษย์จำนวนหลายคนมาอยู่รวมกันจนเกิดเป็น สังคมขึ้นและได้ทำสัญญาผูกพันซึ่งกันและกันโดยชัดเจนว่า จะโอน อำนาจอธิปไตยที่ตนมีอยู่ให้แก่สังคม ซึ่งก็คือ สัญญาประชาคม โดยสัญญาประชาคม เป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน
Thomas Hobbes:1588-1679 ได้วิเคราะห์ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่ไม่สุขและไม่มั่นคง ถูกผลัก ดันไปทุกทางโดยความชอบและไม่ชอบของตัวเอง เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัว และใช้เหตุผลที่จะทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงของ ตัวเอง วิธีการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด คือ การโจมตีก่อน ซึ่งทำให้เกิด การแย่งชิง สงคราม และความตาย ทำให้ไม่มีศิลปะ ไม่มีอักษรศาสตร์ ที่ร้ายที่สุดคือ ชีวิตมนุษย์อยู่อย่างเปลี่ยวเปล่า ยากไร้ น่าเกลียด โหด ร้าย และอายุสั้น ดังนั้น จึงต้องมีองค์อธิปัตย์เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ให้ มนุษย์ต้องเชื่อฟังและทำตามกฎธรรมชาติที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอด ของมนุษย์
ดังนั้น หลักการสำคัญตามทฤษฎีประชาธิปไตย คือ หลักนิติรัฐ นิติรัฐ เป็นหลักการปกครองโดยกฎหมาย เพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยขาดความเป็นธรรม ของผู้ปกครอง มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน 2. ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ประชาชนส่วนใหญ่ 3. การใช้อำนาจปกครองต้องใช้อำนาจนั้นเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ 4. การใช้อำนาจต้องสามารถควบคุมตรวจสอบให้อยู่ในความพอดีและ เหมาะสมได้
คำถามประเทืองสมอง ? การเมืองของประเทศไทย ในปัจจุบัน เป็นประชาธิปไตยแบบไหนกันเอ่ย ?