1 / 29

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต. จัดทำโดย นาย วร โชติ วรรณ วงศ์ ม.4/15 เลขที่4. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว.

Download Presentation

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต จัดทำโดย นาย วรโชติ วรรณวงศ์ ม.4/15 เลขที่4

  2. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 1.การเคลื่อนที่ของอะมีบาอะมีบาไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่โดยเฉพาะ แต่จะเคลื่อนที่โดยการไหลของไซโทพลาสซึมเป็นเท้าเทียม (pseudopodium) ไซโทพลาสซึมในอะมีบา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. เอ็กโทพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นนอกที่มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล 2.เอนโดพลาสซึม เป็นไซโทพลาสซึมชั้นในมีลักษณะค่อนข้างเหลว เรียกว่า โซล เนื่องจากการรวมตัวและแยกตัวของโปรตีนแอกทีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไมโครฟิลาเมนต์ทำให้สมบัติของไซโทพลาสซึมเปลี่ยนจากเจลเป็นโซลและจากโซลเป็นเจล จึงเกิดการไหลของไซโทพลาสซึมไปในทิศทางที่เซลล์เคลื่อนที่ไป และดันเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนนั้นให้โป่งออกเป็นเท้าเทียม ทำให้อะมีบาเคลื่อนที่ได้ เรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement)

  3. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 2.การเคลื่อนไหวโดยใช้แฟลลเจลลัมหรือซีเลีย พารามีเซียมเคลื่อนที่โดยการโบกพัดของซีเลียไปทางด้านหลัง ทำให้ตัวของพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากการโบกพักของซีเลียทำให้ตัวของพารามีเซียมหมุนไปด้วย เนื่องจากไม่มีอวัยวะคอยปรับสมดุล และเนื่องจากซีเลียที่ร่องปากซึ่งมีจำนวนมากกว่าโบกพัดแรงกว่าบริเวณอื่นจึงทำให้หมุน แบคทีเรีย ยูกลีนา พารามีเซียม ไม่มีกล้ามเนื้อแต่อาศัยโครงสร้างที่เรียกว่า ซีเลีย (cilia) หรือ แฟลเจลลัม (flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่ จากการศึกษาภาคตัดตามขวางของแฟลเจลลัมและซีเลียภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะพบว่าส่วนประกอบที่สำคัญ คือ     1.ไมโครทิวบูล เป็นหลอดเส้นเล็กๆซึ่งประกอบด้วยโปรตีน เรียกว่า ทิวบูลิน ไมโครทิวบูล เรียงตัวเป็นวง 9 กลุ่มๆละ 2 หลอด ตรงแกนกลางมี 2 หลอด ไมโครทิวบูลถูกล้องรอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ ระหว่างไมโครทิวบูลที่เรียงเป็นวงจะมีโปรตีนที่เรียกว่า ไดนีน เป็นเสมือนแขนที่เกาะกับไมโครทิวบูล เรียกว่า ไดนีนอาร์ม ทำให้แฟลเจลลัมหรือซีเลียโค้งงอและสามารถพัดโบกได้ (มีโครงสร้างเป็นแบบ 9+2)     2.เบซอลบอดี หรือไคนีโทโซม เป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไปในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นฐาน แฟลเจลลัมหรือซีเลีย (มีโครงสร้างเป็นแบบ 9+0) จากการทดลองพบว่าถ้าตัดเอาเบซอลบอดีออกจะมีผลทำให้แฟลเจลลัมหรือซีเลียนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

  4. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน แมงกะพรุน มีของเหลวที่ เรียกว่า  มีโซเกลียแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อ ชั้นใน มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุนเคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลำตัวสลับกันทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางน้ำที่พ่นออกมาการหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย การเคลื่อนที่ของหมึกหมึกมีการเคลื่อนที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำให้น้ำภายในลำตัวพ่นออกทางท่อน้ำหือไซฟอน(Siphon) ซึ่งเป็นท่อสำหรับพ่นน้ำออกมาดันให้ลำตัวของหมึกเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของน้ำที่พ่นออกมา

  5. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของดาวทะเลดาวทะเลมีการเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันของน้ำเช่นเดียวกับหมึก แต่อาศัยระบบท่อน้ำ(Water Vascular System)ภายในระบบท่อน้ำประกอบด้วยตะแกรงน้ำเข้าคือ มาดรีโพไรต์ (madrepolite) ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของดาวทะเล ต่อจากช่องตะแกรง เป็นท่อเล็กๆ เรียกว่า สโตนแคแนลเชื่อมต่อกับท่อวงแหวนที่อยู่รอบปาก เรียกว่า ริงแคแนล (ring canal) จากท่อวงแหวนนี้จะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขนทั้ง 5 ของดาวทะเล เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล (radial canal) ทางด้านข้างของเรเดียลแคแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต (tube feet) ทางด้านบนของทิวบ์ฟีต จะมีลักษณะพองเป็นกระเปาะเรียกว่า แอมพูลลา (ampulla)น้ำเข้าสู่ระบบท่อน้ำทางมาดรีโพไรต์ และไหลผ่านท่อวงแหวนรอบปากเข้าสู่ท่อเรเดียลแคแนลและทิวบ์ฟีต เมื่อกล้ามเนื้อที่แอมพูลลาหดตัวทำให้ดันน้ำในทิวบ์ฟีต ยืดยาวออกไปดันกับพื้นที่อยู่ด้านล่างทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้ว ทิวบ์ฟีตจะหดสั้นเข้า น้ำกลับเข้าไปอยู่ในแอมพูลลาใหม่ การยืดและหดของทิวบ์ฟีต ของดาวทะเล และมีความสัมพันธ์กันทำให้ช่วยในการเคลื่อนที่

  6. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม และมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ ตลอดลำตัว การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินอาศัยโครงสร้างดังนี้ 1. กล้ามเนื้อ 2 ชุด ประกอบด้วยกล้ามเนื้อวง (circular muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เรียงตัวเป็นวงรอบลำตัว และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ที่มีการจัดเรียงตัวตามยาวขนานกับลำตัว กล้ามเนื้อทั้ง 2 ชุดจะทำงานในแบบสภาวะตรงกันข้าม (antagonism) 2. เดือย (setae)เป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำตัวของแต่ละปล้อง ทำหน้าที่ช่วยบังคับทิศทางในการเคลื่อนที่โดยเดือยจะจิกดินไว้ขณะมีการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินเคลื่อนที่โดยจะใช้เดือยส่วนท้ายจิกดินไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนท้ายเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อวงจะหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว ปล้องของลำตัวจะยืดยาวออก ทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าจากนั้นเดือยที่ปล้องส่วนหน้าจะจิกดินไว้ กล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ทำให้ปล้องโป่งออกดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้า การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวโดยการหดและคลายตัวต่อเนื่องกันเป็นระลอกคลื่นทางด้านหน้ามาส่วนท้ายของลำตัว ทำให้ไส้เดือนดินสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้

  7. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แมลงแมลง (insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแต่แมลงมีโครงร่างภายนอก(exoskeleton) ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรงเกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัว เป็นข้อต่อแบบบอลแอนด์ซอกเก็ต (ball and socket) ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบ บานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) และเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดยกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) ทำหน้าที่ในการเหยียดขา ซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism) เหมือนกับคน

  8. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของแมลง แมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเบา แต่มีปีกขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว แมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ 1.ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง มีกล้ามเนื้อคู่หนึ่งเกาะอยู่ที่โคนปีกด้านในและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หด ตัวจะทำให้ปีกยกขึ้น และกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งเกาะอยู่กับโคนปีกด้านนอกและส่วนท้องเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้ หดตัวจะทำให้ปีกลดตัวต่ำลง การทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้เป็นแบบแอนทาโกนิซึม (antagonism)ทำให้ปีกของแมลงยกขึ้นและกดลง จึงทำให้เกิดการบินขึ้นได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่นแมลงปอ ผีเสื้อ 2.ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดกับปีกโดยตรง แต่ติดต่อกับผนังส่วนอก กล้ามเนื้อคู่หนึ่งเป็นกล้ามเนื้อตามขวาง โดยเกาะอยู่กับผนังด้านบนของส่วนอกกับผนังด้านล่างของส่วนอก เมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัวทำให้ช่องอกแคบเข้าและลดต่ำลงเกิดการยกปีกขึ้น ส่วนกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งจะเป็นกล้ามเนื้อตามยาวไปตามลำตัวเมื่อกล้ามเนื้อคู่นี้หดตัว ทำให้ช่วงอกยกสูงขึ้นทำให้กดปีกลงด้านล่าง การทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองคู่นี้จะทำงานประสานกันเป็นแบบ แอนทาโกนิซึม(antagonism) จึงทำให้ปีกขยับขึ้นลงและบินไปได้ ได้แก่ แมลง

  9. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การทำงานของกล้ามเนื้อแมลงที่บินได้

  10. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของปลาการเคลื่อนที่ของปลาปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศปลาจึงมีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ดังนี้ 1. ปลามีรูปร่างเพรียว ผิวเรียบลื่นและมีเมือก ช่วยลดแรงเสียดทานของน้ำ นอกจากนี้ปลายังมีครีบที่แบนบางยังช่วยให้ปลาสามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ทั้ง 3 มิติ คือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลัง หรือการเคลื่อนที่ในลักษณะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา รวมทั้งการเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้ 2. ปลามีครีบ ช่วยในการเคลื่อนที่ประกอบด้วยครีบคู่ ได้แก่ ครีบอก (pectoral fin) และครีบสะโพก (pelvic fin) ทำหน้าที่ช่วยในการพยุงตัวปลาและการเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ส่วนครีบเดี่ยว ได้แก่ ครีบหลัง (dorsal fin) และครีบหาง (caudal fin) ทำหน้าที่ในการพัดโบกให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ นอกจากนี้แล้วครีบต่าง ๆ เหล่านี้ยังช่วยในการทรงตัวของปลา เพื่อป้องกันไม่ให้เสียทิศทางในการเคลื่อนที่อีกด้วย ทรงตัวและควบคุมทิศทางในการเคลื่อนที่ 

  11. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของปลา 3.ปลามีกล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกสันหลัง  การหดตัวของกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของลำตัวปลาและกล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกครีบต่าง ๆ ไม่พร้อมกันทำให้ปลาเคลื่อนที่ได้ 4.ปลามีกระเพาะลม ซึ่งช่วยในการลอยตัวของปลาที่นอกเหนือจากการลอยตัวของน้ำ พบในปลากระดูกแข็ง เช่น ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาทู  การเคลื่อนที่ของปลา เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงสร้างลำตัวส่วนต่าง ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกสันหลังมีการหดและคลายตัว โดยการหดตัวจะเกิดขึ้นตรงข้ามกัน (antagonism)  ของกล้ามเนื้อทั้งสองข้างของลำตัว และจะค่อย ๆ หดตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหางทำให้ลำตัวปลามีลักษณะโค้งไปมาคล้ายรูปตัวเอส (S)

  12. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของนกนกสามารถบินได้โดยอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุดที่ยึดระหว่างกระดูกโคนปีก(humerus)และ กระดูกอก(Sternum) ได้แก่ กล้ามเนื้อยกปีกและกล้ามเนื้อกดปีก ทำงานแบบสภาวะตรงกันข้ามทำให้นกสามารถขยับปีกขึ้นลงได้ มีผลให้นกบินได้

  13. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของเสือชีต้าเสือชีต้ามีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่ที่แข็งแรงมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการกระโดด  นอกจากนี้กระดูกสันหลังของเสือชีต้าก็ช่วยได้มาก  เนื่องจากมีขนาดยาวและเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ดี  ทำให้ช่วงการก้าวของขาหน้าและขาหลังห่างกันมาก  มันจึงวิ่งได้เร็ว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยให้ความถี่และความแรงของการก้าวสูง  เสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็วมาก  

  14. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของคนการเคลื่อนที่ของคนนั้นไม่ว่าจะเป็นอากัปกิริยาต่างๆ เช่น การกิน การนอน การวิ่ง ล้วนแล้วเป็นการเคลื่อนไหว ที่เกิดจากระบบโครงกระดูกและระบบกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ในเรื่องนี้เราจะมาดูในเรื่องของโครงกระดูกของคน ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของมนุษย์

  15. ระบบโครงกระดูก ระบบโครงกระดูก ร่างกายของมนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งเป็น กระดูกแกน 80 ชิ้น และ กระดูกรยางค์ จำนวน 126 ชิ้น กระดูกแกน กระดูกแกนมี 80 ชิ้น เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกอก กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนังของร่างกาย ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นรองกระดูกอ่อน(Cartilage) หรือที่เรียกกันว่า หมอนรองกระดูก(Intervertebral Disc) ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ โดยกระดูกสันหลังมีทั้งหมด 26 ชิ้น

  16. กระดูกแกน กระดูกอกกระดูกสันอก (Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้วย มีทั้งหมด 1 ชิ้น กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น กระดูกซี่โครงทุกๆซี่จะไปต่อกับด้านข้างของกระดูกสันหลังบริเวณทรวงอกโดยปลายอีกด้านหนึ่งเชื่อมกับกระดูกอก ยกเว้นกระดูกซี่โครงคู่ที่11 และ 12 จะเป็นซี่สั้นๆไม่เชื่อมกับกระดูกอกเรียกว่า ซี่โครงลอย

  17. กระดูกแกน กะโหลกศีรษะเป็นกระดูกที่เป็นแผ่นเชื่อมติดกันภายในมีลักษณะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมองทำหน้าที่ป้องกันสมองไม่ให้ได้รับอันตราย มีทั้งหมด 29 ชิ้น กระดูกรยางค์มีทั้งหมด 126 ชิ้น ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา รวมไปถึงกระดูกสะบัก กระดูกไหปลาร้าและกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นที่ยึดเกาะกับขาและแขน

  18. กระดูกรยางค์ กระดูกแขนมีทั้งหมด 60 ชิ้น แบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น กระดูกขา มีทั้งหมด 60 ชิ้นแบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น

  19. กระดูกรยางค์ กระดูกสะบัก(Scapula) เป็นกระดูกแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) มีข้างละ 2 ชิ้น เชิงกราน(pelvis)เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone) , กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum) , และกระดูกก้นกบ (coccyx) มีข้างละ 1 ชิ้น

  20. ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูกข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูกข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมต่อกันโดยมีเอ็นละกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น ระหว่างกระดูกบริเวณข้อต่อจะมีของเหลวเรียกว่าน้ำไขข้อ(Synovial fluid) ทำให้กระดูกไม่เสียดสีกัน

  21. ระบบกล้ามเนื้อ ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

  22. กล้ามเนื้อโครงร่าง(Skeletal Muscle)  เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียสอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวางสีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสีคนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้นการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ 

  23. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง

  24. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)  กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต

  25. โครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อโครงร่างโครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อโครงร่างแต่ละมัดประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อ(muscle fiber) หรือเซลล์กล้ามเนื้อ(muscle cell) ภายในเส้นใยกล้ามเนื้อประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก(Myofibril) มีลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงซ้อนกัน เส้นใยกล้ามเนื้อเล็กเหล่านี้รวมกันเป็นมัด เส้นใยกล้ามเนื้อเล็กประกอบด้วยไมโครฟิลาเมนท์ 2 ชนิด คือ ชนิดบาง ซึ่งเป็นสายโปรตีนแอกทิน และชนิดหนาซึ่งเป็นโปรตีนไมโอซิน(Myosin)แอกทินและไมโอซินเรียงตัวขนานกัน

  26. ตารางแสดงเปรียบเทียบกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิด

  27. คุณสมบัติของกล้ามเนื้อคุณสมบัติของกล้ามเนื้อ คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ -มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวขอกล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง -มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้ -มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลี่ยน รูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะ ปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น -มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะ กลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ เกิด Muscle Tone ขึ้น -มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะ ทำงานอยู่เสมอ

  28. หน้าที่ของกล้ามเนื้อมนุษย์หน้าที่ของกล้ามเนื้อมนุษย์ หน้าที่กล้ามเนื้อมนุษย์ -คงรูปร่างท่าทางของร่างการ (Maintain Body Posture)  -ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints)  -ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) กล้ามเนื้อทำให้ให้เราเคลื่อนไหวในส่วนที่ต้องการได้ กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำอยู่ทุกๆวันนี้เกิดขึ้นได้เพราะร่างกายเราสามารถเปลี่ยนเอาพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว -รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย (Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ

  29. การทำงานของกล้ามเนื้อการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของกล้ามเนื้อ               เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว  กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ  พร้อมกัน  แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว  การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า  Antagonistic muscle                                มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน ไบเซพหรือ (Flexors)   คลายตัว    ไตรเสพ หรือ (Extensors)   หดตัว        »»    แขนเหยียดออก ไบเซพหรือ (Flexors)    หดตัว       ไตรเสพ หรือ (Extensors)  คลายตัว      »»    แขนงอเข้า  

More Related