2.77k likes | 3.21k Views
หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ. 1. น.ส.ณัฐณิชาช์ จารุเดชา (ตุ๊ก) นิติกรปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร. น.ส. สุมลฑา เมืองศิลปะศาสตร์ (มล) นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. นายสิวะนนท์ พรหมมาศ (เม) นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
E N D
หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ 1
น.ส.ณัฐณิชาช์ จารุเดชา (ตุ๊ก) นิติกรปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร น.ส. สุมลฑา เมืองศิลปะศาสตร์ (มล) นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา นายสิวะนนท์ พรหมมาศ (เม) นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร น.ส. ลัดดา ทรัพย์คงอยู่ (หนึ่ง) นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 1 ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัยและการรักษาวินัย หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 3
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 บทบัญญัติวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 4
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 3 จรรยาข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 5
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 4 โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 6
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 5 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 7
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 1 การบริหารงานบุคคล หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 บทที่ 1 การบริหารงานบุคคล บทที่ 2 ทิศทางของระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ บทที่ 3 กระบวนการบริหารงานบุคคล บทที่ 4 ระบบบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน บทที่ 5 ระบบเงินเดือนและการเลื่อนเงินเดือน หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 8
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 2 การลาหยุดราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 • การลาติดตามคู่สมรส • การนับวันลา • ข้อคำนึงเกี่ยวกับวันลา • การลาป่วย • การลาคลอดบุตร • การลากิจส่วนตัว • การลาพักผ่อน • การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ • การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล • การลาเข้าศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย • การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 9
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 3 สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 บทที่ 1 สวัสดิการเป็นตัวเงิน บทที่ 2 ค่าตอบแทนเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ บทที่ 3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บทที่ 4 สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลเมื่อพ้นจากการเป็นข้าราชการ หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 10
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 4 งานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ บทที่ 1 ความสำคัญของงานสารบรรณและสิ่งที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 รูปแบบหนังสือราชการ บทที่ 3 สำเนาหนังสือราชการ ชั้นความลับและชั้นความเร็ว บทที่ 4 หลักการและแนวทางการเขียนหนังสือราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 11
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 5 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ บทที่ 1 หลักการการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ บทที่ 2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ บทที่ 3 การซื้อการจ้าง บทที่ 4 การจ้างที่ปรึกษา บทที่ 5 สัญญา บทที่ 6 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ บทที่ 7 การลงทาผู้ทิ้งงาน บทที่ 8 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 12
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 1 กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน บทที่ 1 ความเบื้องต้น บทที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง บทที่ 3 การจัดระเบียบราชการในกรม บทที่ 4 การบริหารราชการในต่างประเทศ บทที่ 5 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค บทที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น บทที่ 7 การปฏิบัติราชการแทน บทที่ 8 การรักษาราชการแทน บทที่ 9 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 13
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 2 กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หน่วยที่ 2 บทที่ 1 บททั่วไป บทที่ 2 คณะบุคคลและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล บทที่ 3 หลักเกณฑ์ทั่วไปของข้าราชการพลเรือน บทที่ 4 การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน บทที่ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ บทที่ 6 การบังคับใช้กฎหมายตามบทเฉพาะกาล หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 14
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 3 กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของข้าราชการ บทที่ 1 หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 บทที่ 2 หลักเกณฑ์สำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บทที่ 3 องค์กรตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ บทที่ 4 บทกำหนดโทษ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 15
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 4 กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ บทที่ 1 การกระทำละเมิด บทที่ 2 ความรับผิดทางละเมิด บทที่ 3 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของหน่วยงานของรัฐ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 16
หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 5 กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 1 บททั่วไป บทที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 3 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้บริการและบุคคลทั่วไป บทที่ 4 บทกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิด บทที่ 5 การแต่งตั้งและความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ บทที่ 6 อำนาจและการดำเนินคดีของพนักงานเจ้าหน้าที่ บทที่ 7 ข้อควรคำนึงของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 17
ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ 18
ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย 19
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย วินัย: เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ในระบบราชการ และนอกจากนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญและมีประโยชน์ต่อส่วนรวมและตัวของท่านเอง วินัยข้าราชการ ระเบียบแบบแผน - แบบที่กำหนดให้ปฏิบัติ - ข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม - กฏระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร • ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออก • ประพฤติตนอยู่ในแบบแผน • ประพฤติอย่างมีระเบียบ • ประพฤติตามหน้าที่ • มีวินัยในตนเอง “วินัยข้าราชการ: มีความสำคัญกับทุกคน” 20
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย ขอบเขตของวินัยข้าราชการ การกระทำใดที่มีผลกระทบต่องานราชการ หรือวัตถุประสงค์ของทางราชการ โดยมีผลทำให้เสียหายต่องานราชการแล้ว จะถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทั้งสิ้น แต่หากการกระทำใดที่เรากระทำไปแล้วไม่กระเทือนถึงวัตถุประสงค์ของทางราชการ เป็นเรื่องส่วนตัว การกระทำนั้นไม่ใช่ในขอบเขตของวินัยข้าราชการ การกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม “ผิดวินัยทั้งสิ้น” ขอบเขตของวินัย กำหนดขึ้นตามจุดมุ่งหมายของวินัยข้าราชการ กล่าวคือ “เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์หลักของทางราชการ ซึ่งได้แก่ ความเจริญของประเทศและความมั่นคงของชาติ และความผาสุกของประชาชน” 21
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย ทำไมจึงต้องมีวินัยข้าราชการ ความสำคัญของวินัย • ต่อตนเอง • ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา • ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • ช่วยส่งเสริมความสำเร็จและความก้าวหน้าในการทำงาน และการดำเนินชีวิต • ต่อส่วนรวม • เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานราชการ หรือเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ดี • เพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน และความมั่นคงของประเทศ • เพื่อความผาสุกของประชาชน • เพื่อความสงบเรียบร้อยของวงราชการ 22
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย การรักษาวินัย การรักษาวินัย เป็นเรื่องที่เกิดจากรากฐานที่สำคัญ คือ “จิตใจของตัวข้าราชการผู้รักษาวินัย” • ผู้ที่จะสามารถจะรักษาวินัยได้ • จะต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ • มีความรู้สึกที่ดีต่อการรักษาวินัยราชการ • สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้ โดยเฉพาะการทนต่อสิ่งยั่วยุต่างๆใน สังคม • มีสุขภาพจิตดี • สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เหตุผลตัดสินใจที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง 23
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย • สาเหตุที่ทำให้ข้าราชการกระทำผิดวินัย • ตัวอย่างไม่ดี • อบายมุข • ขาดขวัญกำลังใจ • งานล้นมือ • โอกาสเปิดช่องล่อใจ • เศรษฐกิจไม่ดี • ผู้บังคับบัญชาไม่สนใจ • ปล่อยปละละเลย สภาวะของจิต 10 ประการ ไม่เข้าใจ ตามใจคน สืบเนื่องมาจาก ล่อใจ สาเหตุ 10 ประการ ไม่ใส่ใจ ไม่มีจิตใจ (ระส่ำระสาย) ชะล่าใจ จำใจ เจ็บใจ เผลอใจ การตั้งใจทำผิด “น่ารังเกียจมากที่สุด” ตั้งใจ 24
หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย • การรักษาวินัย • เพื่อความก้าวหน้าของหน่วยงานและประเทศชาติ • เพื่อความยุติธรรม เป็นธรรม และความผาสุกของประเทศชาติ และเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพราชการ และความภาคภูมิใจในตนเอง 25
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2: บทบัญญัติวินัยข้าราชการ เนื้อหา • วินัยต่อประเทศชาติ • วินัยต่อผู้บังคับบัญชา • วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน • วินัยต่อประชาชน • วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ • วินัยต่อตนเอง 26
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • ประเภทของวินัย • วินัยต่อประเทศชาติ (มาตรา 81) • วินัยต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 82(4) 83(1) และ 83(2)) • วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน (มาตรา 82(7) และ 83(7)) • วินัยต่อประชาชน (มาตรา 82(8) 83(9) และ 85(5)) • วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ (มาตรา 82(1) (2) (3) (5) (6) (9) 83(3) (4) (5) และ 85(1) (2) (3)) • วินัยต่อตนเอง (มาตรา 82(10) 85(5) (6) (8) และ 85(4) (6)) 27
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อประเทศชาติ ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากผู้ใดไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จะมีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หากการกระทำถึงขนาดเป็นผู้ไม่เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว อาจตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปที่จะเข้ารับราชการตามมาตรา 36 ก. (3) และจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 110 (3) ได้ 28
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อผู้บังคับบัญชา • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฏหมายและระเบียบของทางราชการ” โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (มาตรา 82(4)) • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว” (มาตรา 83(2)) • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความ ซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย” (มาตรา 83(1)) 29
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบ หรือการรายงานเท็จอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง “เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” (มาตรา 85(7)) 30
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน • สุภาพเรียบร้อยต่อกัน • รักษาความสามัคคี • ไม่กระทำการใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกัน • ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ วินัยต่อประชาชน • ต้อนรับปราชนที่มาติดต่อราชการ • ให้ความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ให้การสงเคราะห์ต่อประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ หากเป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง “ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” 31
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ • ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม • ไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการหาประโยชน์ • ไม่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • ไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต • ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่และรักษาประโยชน์ของทางราชการ • ไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ • ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาล • ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ 32
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ (ต่อ) • รักษาความลับของทางราชการ • อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ ห้ามละทิ้งหรือทอดทิ้ง • ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ • ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมือง การทุจริตยักยอมทรัพย์จากทางราชการนั้น ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากในการทำงานราชการ “โทษถึงไล่ออกจากราชการ” 33
หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตนเอง • “รักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย” • ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท • ไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ • ไม่ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • ไม่กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 34
หน่วยที่ 3 : จรรยาข้าราชการ หน่วยที่ 3: จรรยาข้าราชการ เนื้อหา • สาระสำคัญของจรรยาข้าราชการ • แนวทางการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ 35
หน่วยที่ 3 : จรรยาข้าราชการ จรรยาข้าราชการ • ยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง • ความซื่อสัตย์ สุจริต และความรับผิดชอบ • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ • การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 36
หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ เนื้อหา • สาระสำคัญของจรรยาข้าราชการ • แนวทางการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ 37
หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ ประเภทของการกระทำผิดวินัย • การกระทำผิดวินัยเล็กน้อย: ได้รับโทษภาคทัณฑ์ หากมีเหตุลดหย่อน และเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะงดโทษภาคทัณฑ์ แล้วใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือก็ได้ • การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง: ได้รับโทษตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนแล้วแต่กรณีตามความร้ายแรงของกรณีความผิด หากมีเหตุอันควรลดหย่อน ก็ลดหย่อนโทษได้ • การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง: ได้รับโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการแล้วแต่กรณี ตามความร้ายแรงของกรณีความผิด สถานโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือน • ภาคทัณฑ์ • ตัดเงินเดือน • ลดเงินเดือน • ปลดออก • ไล่ออก 38
หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ • การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง • ทุจริตต่อหน้าที่ราชการและทุจริตเกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติกรรมอันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ • กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ข่มเหงหรือทำร้ายร่างการประชาชนผู้ติดต่อราชการ • กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ • ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง และมาตรา 82(11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83(10) ที่มีกฏ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 39
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หน่วยที่ 5: การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ เนื้อหา • คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) • การอุทธรณ์ • การร้องทุกข์ 40
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) • อำนาจหน้าที่ • เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม • ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • พิจารณาวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ (บางกรณี) และเรื่องร้องทุกข์ (กรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้) รวมถึงการคุ้มครองระบบคุณธรรม 41
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ การอุทธรณ์: การที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการบางกรณีร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเรื่องขึ้นพิจารณาใหม่ในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ที่ร้องขอ • ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ • ผู้ถูกลงโทษทางวินัย ไม่ว่าจะเป็นโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก หรือไล่ออกแล้วแต่กรณี • ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการบางกรณีตามมาตรา 110 ให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อ และที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนยื่นอุทธรณ์ ให้ทายาทโดยชอบธรรมยื่นอุทธรณ์แทนได้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ 42
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • เหตุที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ • ถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออกหรือไล่ออก • ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังต่อไปนี้ • เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างสม่ำเสมอ (มาตรา 110(1)) • ขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้ามบางประการ (มาตรา 110(3)) • ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (มาตรา 110(5)) • หย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 110(6)) • “มีมลทิน หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน”(มาตรา 110(7)) • ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (มาตรา 110(8)) • ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก (มาตรา 110(8)) 43
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง หรือถือว่าทราบคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 114) • การพิจารณาวินัจฉัยอุทธรณ์ • ก.พ.ค. อาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เอง หรือตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ (มาตรา 115) • กระบวนการพิจารณาจะดำเนินการในระบบไต่สวน โดยมีขั้นตอนตามที่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2551 กำหนดไว้ รายละเอียดติดตามดูจากกฎ ก.พ.ค. ดังกล่าว • การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ แต่อาจขอขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60 วัน (มาตรา 118) 44
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • การคัดค้านกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ • ผู้อุทธรณ์มีสิทธิยื่นคำคัดค้านกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังต่อไปนี้ • รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัย หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ • มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัย หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ • มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ • เป็นผู้กล่าวหา • เป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ หรือสั่งให้ออกจากราชการ • เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้อุทธรณ์ในการดำเนินการทางวินัย หรือการสั่งให้ออกจากราชการ • มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติ หรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ 45
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • ผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.พ.ค. • เมื่อ ก.พ.ค. รับคำอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้ว ผลการพิจารณาวินิจฉัยอาจเป็นไปในลักษณะต่างๆตามมาตรา 120 ดังนี้ • ไม่รับอุทธรณ์ หรือยกอุทธรณ์ (อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น) • มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และ • - ให้เยียวยาความเสียหายแก่ผู้อุทธรณ์ หรือ • - ให้ดำเนินการประการอื่นใดแก่ผู้อุทธรณ์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การนำเรื่องฟ้องศาลปกครอง หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับมติ ก.พ.ค. สามารถนำเรื่องไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. 46
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) การถอนอุทธรณ์ เมื่อผู้อุทธรณ์ยื่นคำอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. แล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่ประสงค์จะดำเนินเรื่องอุทธรณ์ต่อก็มีสิทธิ์ขอถอนอุทธรณ์ในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องยื่นของถอนก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในเรื่องอุทธรณ์นั้น ทั้งนี้การถอนอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ด้วย สำหรับกรณีที่เป็นการถอนอุทธรณ์ด้วยวาจาต่อ ก.พ.ค. หรือกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้กระทำได้และบันทึกไว้ แล้วให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน 47
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ การร้องทุกข์: การที่ผู้ร้องขอมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาและเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ ยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาใหม่ในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ ผู้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ ต้องเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการและเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ (มาตรา 122) ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ จะแต่งตั้งทนายความ หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นร้องทุกข์แทนได้ แต่ต้องมีเหตุ ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ค. 48
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ (ต่อ) • เหตุที่จะร้องทุกข์ • กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ • กรณีผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด โดยสรุปดังนี้ • ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น • สร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ • ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางอย่าง จนเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร • ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามระบคุณธรรมตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 49
หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ (ต่อ) • ผู้ที่จะรับคำร้องทุกข์ได้ • เหตุที่เกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไป ตามลำดับ • เหตุที่เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรี เจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ระยะเวลายื่นคำร้องทุกข์ ผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น และต้องยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้มีอำนาจ พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ 50