1 / 20

โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )

โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension ). เสนอ. ครู มิ่งขวัญ ศิริโชติ. จัดทำโดย นาย ดนุชา สงวนสิน ม.4/5 เลขที่ 8 นาย ณัฐภัทร ตระกูลศีลธรรม ม.4/5 เลขที่ 16 นาย ณัฐวัฒน์ เหมือนรอดดี ม.4/5 เลขที่ 24 น.ส.ศศิธร เย็นสนิท ม.4/5 เลขที่ 33 นาย ศุภกร บุญนำชัย ม.4/5 เลขที่ 34

Download Presentation

โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เสนอ ครู มิ่งขวัญ ศิริโชติ

  2. จัดทำโดย นาย ดนุชา สงวนสิน ม.4/5 เลขที่ 8 นาย ณัฐภัทร ตระกูลศีลธรรม ม.4/5 เลขที่ 16 นาย ณัฐวัฒน์ เหมือนรอดดี ม.4/5 เลขที่ 24 น.ส.ศศิธร เย็นสนิท ม.4/5 เลขที่ 33 นาย ศุภกร บุญนำชัย ม.4/5 เลขที่ 34 น.ส.สิวาภรณ์ จิระแพทย์ ม.4/5 เลขที่ 37 นาย ธรรมนูญ เวตะนัต ม.4/5 เลขที่ 38 นาย ภัทรพล คงเสงี่ยมวงศ์ ม.4/5 เลขที่ 40

  3. ความหมายของโรคความดันโลหิตสูงความหมายของโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ ทำให้หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด และไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกายได้อย่างเพียงพอ

  4. วิธีการตรวจสอบโรคความดันโลหิตสูงวิธีการตรวจสอบโรคความดันโลหิตสูง สามารถวัดหาค่าความดันโลหิตหรืออัตราการเต้นของหัวใจได้จากเครื่อง Sphygmomanometer (สฟิกโมมาโนมิเตอร์) & Stethoscope (สเต็ทโตสโคป)

  5. วิธีการวัดความดันโลหิตวิธีการวัดความดันโลหิต ก่อนวัดความดันโลหิตควรปฏิบัติดังนี้ 1. จัดสิ่งแวดล้อม - สถานที่ใช้ตรวจต้องเงียบและเป็นส่วนตัว และต้องไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ความดันโลหิตผันแปร - เครื่องวัดต้องอยู่ในแนวสายตาหากสูงหรือต่ำไปจะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน - เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้และวางมือบนโต๊ะ แขนควรอยู่ในระดับหัวใจ ควรปรับความสูงของโต๊ะเพื่อให้ได้ตำแหน่งดังกล่าว - จัดให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ แขนที่จะวัดจะได้อยู่ในระดับหัวใจ

  6. 2. เตรียมการวัดและการพัก เพื่อจัดการกับสิ่งที่จะทำให้การวัดความดันโลหิตผิดพลาดควรจะแนะนำผู้ป่วยดังนี้ - อุณหภูมิห้องต้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป - ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาวขณะวัดความดันโลหิต - ขณะวัดไม่ควรมีความเครียด อาการเจ็บปวด ไม่ปวดปัสสาวะ - ไม่ควรวัดความดันหลังอาหาร - ต้องงดบุหรี่และกาแฟก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที - ให้นั่งพัก 5 นาทีห้ามนั่งไขว่ห้าง หลังพิงพนัก เท้าอยู่บนพื้น

  7. 3. การเลือกขนาดของผ้าพันรัดแขน ขนาดของผ้าพันรอบแขนมีผลต่อความดันขนาดที่เหมาะสม คือความกว้างต้องประมาณ 40% ของเส้นรอบวงแขน ความยาวต้องอย่างน้อย 80% หากขนาดผ้าเล็กไปจะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงเกินไป ปกติจะให้วัดแขนขวาเสมอ ขนาดมาตราฐานสำหรับผู้ใหญ่กว้าง 12-13 ซม ยาว 35 ซม - รอบแขน 22–26 cm,ใช้ผ้าขนาด "small adult" ขนาด—12 - 22 cm. - รอบแขน 27–34 cm, ใช้ผ้าขนาด"adult" ขนาด—16 - 30 cm. - รอบแขน 35–44 cm, ใช้ผ้าขนาด"large adult" ขนาด—16 - 36 cm. - รอบแขน 45–52 cm,ใช้ผ้าขนาด"adult thigh" ขนาด—16 - 42 cm.

  8. 4. การพันผ้ารัดแขน - ควรจะแนะนำให้ผู้ป่วยใส่เสื้อแขนสั่นเมื่อมาวัดความดัน - หากจะใส่เสื้อแขนยาวให้เป็นเสื้อคลุมที่สามารถถอดออกได้ง่าย - ไม่ควรใช้วิธีรูดแขนเสื้อขึ้นไปเพราะจะทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ไม่ถูกต้อง - ให้คลำหลอดเลือดแดงที่แขนแล้วพันผ้าโดยให้ศูนย์กลางของผ้ากดทับเส้นเลือด - ขณะพันต้องพันอย่างสม่ำเสมอไม่พันแน่นหรือหลวมเกินไป ปลายผ้าจะอยู่เหนือข้อศอก 2.5 ซม - ระหว่างการใช้หูฟังระวังสัมผัสกับผ้าจะทำให้เกิดเสียงหลอก - ผ้าที่พันจะต้องอยู่ในระดับหัวใจเสมอ

  9. 5. การเพิ่มความดันเข้าในผ้า - ก่อนที่จะวัดความดันโลหิตเรายังไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือต่ำเราจะใช้วิธีคลำหลอดเลือดแดงที่แขน - พันผ้าให้ตรงกลางของผ้าตรงกับแนวทางของหลอดเลือดแดง แล้วบีบจนกระทั่งความดันไปอยู่ที่ 60 มิลิเมตรปรอท แล้วบีบลมเข้าไปทีละ 10 มิลลิเมตรปรอทจนกระทั่งคลำชีพขจรไม่ได้ แล้วจึงปล่อยลมออกด้วยอัตรา 2 มิลลิเมตรปรอท - จดค่าความดันที่เริ่มคลำได้ชีพจร - หลังจากนั้นจึงใช้หูฟังวางบนเส้นเลือดและบีบลมจนความดันสูงกว่าค่าที่จดไว้ 30 มิลลิเมตรปรอทแล้วจึงปล่อยลมด้วยอัตราเร็ว 2 มิลลิเมตรปรอท/วินาที - เสียงแรกที่ได้ยินคือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว(systolic) อีกค่าหนึ่งให้จดค่าความดันที่เสียงการเต้นหายไป (diastolic) - ให้วัดความดันโลหิตค่า systolic/diastolic - อีก 2 นาทีให้วัดความดันโลหิตซ้ำ ถ้าครั้งแรกและครั้งที่สองห่างกันเกิน 5 มม.ปรอทให้วัดครั้งที่ สาม - ระหว่างการวัดความดันโลหิตไม่ควรจะมีการพูดคุย

  10. เมื่อไรถึงจะถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ? ตารางแสดงระดับความดันโลหิต (ความดันโลหิตสูงเฉพาะ Sys) * สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง 121/81 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท จะเรียกว่า Prehypertension หมายถึงผู้ที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่มีโอกาสที่จะเป็นในอนาคต

  11. สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. โรคความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุ (Primary hypertension) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertensionเป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุด กลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มักจะมีสาเหตุหลายองค์ประกอบรวมกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 95 เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มความดันโลหิตสูงนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้ - การรับประทานอาหารเค็ม ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารเค็มมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิต - กรรมพันธุ์ เชื่อว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อระบบฮอร์โมนทำให้มีการหลั่งสารเคมีมากไป Renin angiotensin มากทำให้ความดันโลหิตสูง - ความผิดปกติของหลอดเลือดเนื่องมาจากโรคอ้วน อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

  12. 2. โรคความดันโลหิตที่ทราบสาเหตุ (Secondary hypertension)เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ - โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้าง มักจะมีความดันโลหิตสูง - เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต พบได้สองชนิดคือ ชนิดที่สร้างฮอร์โมน aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โพแทสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholaminesเรียกว่าโรค Pheochromocytomaผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น - โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (Coarctation of the aorta) พบได้น้อย เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง - ยาคุมกำเนิด - โคเคน ยาบ้า

  13. บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือนพบได้บ่อย พบมากในคนอ้วน แต่คนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30 – 40 % ในบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจง่าย เสียใจง่าย

  14. ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดปรับตัวทันจึงไม่มีอาการ ซึ่งอาจตรวจพบโดยการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นแล้วแพทย์วัดความดันของเลือดพบว่าผิดปกติผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมาด้วยโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี ไปตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง อาการที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่ • ปวดศีรษะ • เลือดกำเดาไหล • มึนงง • ตามัว • เหนื่อยง่าย/หายใจหอบ • แน่นหน้าอก

  15. แนวทางป้องกันโรคความดันโลหิตสูงแนวทางป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 1. คนอ้วนต้องลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3. ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 4. งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 5. จัดการเรื่องความเครียด HAPPY

  16. 6. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้โดยการรับประทานอาหารลดความดันโลหิต 7. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง 8. การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์ 9. การพักผ่อนต้องพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามควบคุมอารมณ์และจิตใจไม่ให้ตึงเครียด ขุ่นมัว และวู่วาม 10. ระวังอย่าให้หกล้ม หรือศีรษะกระทบกระแทก เพราะอาจจะทำให้หลอดเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาตได้

  17. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและของดองเค็มทุกชนิด เพราะเกลือจะทำให้ความตึงผิวของผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันเลือดใน Diastolic สูงขึ้น อาหารพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ด ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีน ถ้าไตทำงานได้ตามปกติก็ไม่ต้องลดลง แต่ถ้ามีอาการทางไตแทรกซ้อนต้องลดโปรตีน อาหารไขมันควรจะรับประทานอยู่ในระดับกลาง หรือค่อนข้างต่ำ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และพวกกะทิ

  18. 4. อาหารหวานจัด เช่น ขนมหวานทุกชนิด พยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น 5. เครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาเฟอีนสูง จะกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยง 6. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักและแรงโลหิตจะพุ่งสูงขึ้นนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นควรงดอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะบุหรี่

  19. สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควรจะรับประทานอาหารให้ครบหมู่ 5 หมู่ หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก ตามหลักธงโภชนาการ โดยเน้นหนักไปที่ผัก และผลไม้ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ได้รับสารอาหารบางประเภทไม่เพียงพอหรือมากเกินไป จนเกิดโทษแก่ร่างกาย และมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บ

  20. ขอบคุณที่รับชมครับ/ค่ะขอบคุณที่รับชมครับ/ค่ะ Thank you for watching

More Related