1 / 27

ศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์.

fred
Download Presentation

ศาสนาพราหมณ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศาสนาพราหมณ์ ชาวอินเดียส่วนใหญ่รู้จักศาสนาพราหมณ์ในชื่อว่าศาสนาฮินดู ในบรรดาผู้รู้ที่ยึดถือประเพณีดั้งเดิมเรียกศาสนานี้ว่า สนาตนะ ธรรม คำว่าฮินดูเดิมเป็นชื่อของชาวอารยะ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ คำว่าฮินดุเป็นคำที่ชาวอิหร่านสมัยโบราณเรียกแม่น้ำสินธุเนื่องจากออกเสียงตัว ส เป็นเสียง ห (ออกเสียงเป็น ฮ) จึงเรียกแม่น้ำสินธุว่า หินทุ (อ่านออกเสียงว่า ฮินดุ)

  2. ศาสนาในอินเดียก่อนการเข้ามาของชาวอารยะศาสนาในอินเดียก่อนการเข้ามาของชาวอารยะ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่โมเหนโชฑะโรและหะรัปปา ทำให้เราพบอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารธรรมที่มีอยู่ก่อนการเข้ามาของชาวอารยะจากยุโรป ชนชาติที่เป็นเจ้าของอารยธรรม นับถือเทพสตรีองค์หนึ่งและเทพแห่งการให้กำเนิดลูก (god of fertility) พวกเขามีต้นไม้และสัตว์ที่เป็นที่เคารพทางศาสนา และมีการอาบน้ำตามพิธีทางศาสนาด้วย

  3. ศาสนาในอินเดียก่อนการเข้ามาของชาวอารยะศาสนาในอินเดียก่อนการเข้ามาของชาวอารยะ คงยังมีการนับถือกันต่อมา ในช่วงเวลาที่ชาวอารยะเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้จากการที่ศาสนานี้เข้าไปประสมประสานกับศาสนาของชาวอารยะในสมัยหลัง

  4. การอพยพเข้ามาในอินเดียของชาวอารยะการอพยพเข้ามาในอินเดียของชาวอารยะ มีชนชาติที่พูด ภาษาอินเดีย-ยุโรป(Indo-European) อยู่ในตอนกลางของยุโรปเมื่อก่อน2000 ปีก่อน ค.ศ. ต่อมาชนบางกลุ่มได้อพยพแยกย้ายไปในทิศทางต่างๆ กลุ่มหนึ่งอพยพเคลื่อนที่ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาออกซัส (oxus valley) แล้วเลยตั้งรกรากในอิหร่าน คำว่าอิหร่าน มาจากคำว่า อารยาณาม แปลว่า ดินแดนของชาวอารยะชน

  5. ภาษาของชาวอารยะในอินเดียภาษาของชาวอารยะในอินเดีย นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งชื่อภาษาที่ชาวอารยะในอินเดียใช้พูดกันว่าภาษาอินเดีย-อารยะ (Indo-Aryan) แบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ 1.อินเดียอารยะสมัยโบราณ(Old Indo-Aryan) ได้แก่ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในคัมภีร์พระเวท และภาษาสันสกฤตที่ยึดหลักไวยากรณ์ที่นักไวยากรณ์กำหนดขึ้น (Classical Sanskrit) 2. อินเดียอารยะสมัยกลาง (Middle Indo-Aryan) ได้แก่ภาษาปรากฤต(รวมภาษาบาลีในพระพุทธศาสนา ภาษาปรากฤตในศาสนาไชนะ และภาษาปรากฤต ในบทละคอน) และภาษาอปภรังศะ 3. อินเดียอารยะสมัยใหม่ (Modern Indo-Aryan) ได้ภาษาที่พูดกันในตอนกลางของอินเดียไปจนถึงภาคเหนือ ได้แก่ ฮินดี ปัญจาพี เบงกาลี คุชราตี มราฐี โอริยะ เป็นต้น

  6. ศาสนาในอินเดีย ศาสนาในอินเดีย แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ 1. อาสติกะ คือ กลุ่มที่ยึดถือคัมภีร์พระเวทว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธ์ทางศาสนาของตน ได้แก่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2. นาสติกะ คือ กลุ่มที่ไม่นับถือว่าพระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาของตน ได้แก่ศาสนาพุทธ ศาสนาไชนะ และจารวากะ

  7. ศาสนาในอินเดีย ศาสนาของกลุ่มอัสติกะ คือ พราหมณ์-ฮินดูแบ่งออกเป็น 4 ยุค โดยคำนึงถึงคัมภีร์ทางศาสนาเป็นหลัก ได้แก่ 1. ยุคพระเวท ยึดคัมภีร์หลัก 3 ประเภทได้แก่ 1) เวทสังหิตา 2) พราหมณะ 3)อารัณยกะ และอุปนิษัท 2. ยุคอิติหาสะ ยึดคัมภีร์ยกย่องสรรเสริญนักรบสองคัมภีร์คือ รามายณะและมหาภารตะ 3. ยุคปุราณะ ยึดคัมภีร์ปุราณะซึ่งมีคัมภีร์สำคัญอยู่ 18 คัมภีร์ มัตสยปุราณ วิษณูปุราณ สกันทปุราณ ภาควตปุราณ พรหมาณฑปุราณ ภวิษยปุราณ ครุฑปุราณ เป็นต้น

  8. ยุคพระเวท คำว่าพระเวท มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศรุติ หมายถึงคำสอนที่ได้รับโดยตรองจากพระเป็นเจ้า ผ่านทางญาณวิเศษของพวกฤาษี คำว่า ศรุติแปลว่า การได้ยินได้ฟัง ดังนั้นคำสอนในพระเวทถือว่า เป็นสิ่งที่พวกฤาษีได้ยินมาโดยตรงจากพระเป็นเจ้า แรกทีเดียวมีเพียง 3 เวทคือ ฤคเวท สามเวท และยชุรเวท ต่อมามีการเพิ่ม อรรถเวทเข้ามา รวมเป็น 4 เวท

  9. ลักษณะของศาสนาในยุคพระเวทลักษณะของศาสนาในยุคพระเวท ยุคพระเวทอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ตามคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง คือ 1. ยุคสังหิตา ได้แก่ ฤคเวทสังหิตา สามเวทสังหิตา ยชุรเวทสังหิตา และอถรวเวทสังหิตา 2. ยุคพราหมณะได้แก่ ไอตเรยพราหมณะ ศตปถพราหมณะ เป็นต้น 3. ยุคอุปนิษัท ฉานโทคยะ อุปนิษัท หฤหทารัณยกะ อุปนิษัท กฐะ อุปนิษัท มุณฑกะอุปนิษัท เป็นต้น ศาสนาในยุคสังหิตา เน้นเรื่องการบูชาเทพเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติ ต่างๆ เช่น ไฟ ฝน ลม ดวงอาทิตย์ เป็นต้น

  10. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ เทพในสมัยพระเวทระยะแรกๆ เป็นเทพที่เป็นพลังอำนาจอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นเทพเพศชายเป็นส่วนใหญ่ เทพเพศหญิงแทบจะไม่มี เทพที่สำคัญ คือ อินทระ เป็นเทพที่ทำหน้าที่สองอย่างคือ เป็นเทพแห่งสงครามและเทพแห่งฝน ในฐานะเป็นเทพแห่งสงครามอินทราจะออกนำหน้าชาวอารยะเข้าทำลายป้อมปราการของพวกทาสะ ในฐานะเป็นเทพแห่งฝนอินทระสังหารงูใหญ่ชื่อ วฤตระ ที่กักน้ำไว้ เป็นผลทำให้ฝนตกลงมายังพื้นดินที่แห้งผาก อินทระถือวัชระคือสายฟ้าเป็นอาวุธประจำตัวเป็นเทพที่ชอบกินที่คนนำมาเลี้ยงและชอบดื่มน้ำโสมพระอินทระมี พวกมรุตเป็นเพื่อนร่วมทาง มรุตคือเทพชั้นผู้น้อยเป็นพลังอำนาจที่อยู่เบื้องหลังพายุ

  11. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ เทพสูรยะ (สูรฺย) มีเทพหลายองค์เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ คือ สวิตฤ เป็นเทพสูรยะ ที่ ทำหน้าที่กระตุ้นทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ปูษัน เป็นเทพสูรยเทพทำหน้าที่ดูแล คุ้มครองถนนหนทาง ทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองคนเลี้ยงสัตว์และคอยดูแลสัตว์ที่หลงฝูง วิษณุเป็นเทพสูรยะที่มีเกี่ยวกับพีธีบูชายัญบางส่วนและมีลักษณะของดวงอาทิตย์เป็นลักษณะประจำตัว คือก้าวยาวสามก้าวข้ามแผ่นดินไปลักษณะ นี้สำคัญยิ่งขึ้นในสมัยหลังเมื่อเทพวิษณุกลายเป็นพระเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู สูรยา (สูรฺยา) ธิดาของสูรยะ เป็นภรรยาของอัศวิน เทพแฝดที่มีรถสามล้อขับเคลื่อนไปในท้องฟ้า มีหน้าที่คอยช่วยเหลือคนเรือแตกและหาขาให้คนพิการและหาสามีให้สาวแก่

  12. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ อัคนิ เป็นเทพที่ต้องทำงานร่วมพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีบูชายัญ เป็นเทพประจำเรือเพราะว่าเทพองค์นี้อาศัยอยู่ที่เชิงกราน(ที่ก่อไฟ)ในครัวเรือน เป็นเทพที่เป็นคนกลางระหว่างเทพและมนุษย์เพราะอัคนิกินเครื่องสังเวยที่ผู้บูชาถวาย และนำเครื่องสังเวยไปให้เทพทั้งหลาย อัคนิอาศัยอยู่ในน้ำในรูปของฟ้าผ่าและอยู่บนพื้นดินในรูปต่างๆ อัคนิซ่อนตัวอยู่ในไม้สำหรับสีไฟซึ่งถือว่าเป็นพ่อแม่ของอัคนิอยู่ที่นี่อยู่ที่นั่นและอยู่ทุกหนทุกแห่ง คำถามมีว่าอัคนิมีเพียงหนึ่งเดียวหรือว่าอัคนิมีจำนวนมาก เป็นไปได้ยังไงที่ไฟมีหนึ่งเดียวและมีจำนวนมากได้พร้อมๆกัน คำถามเช่นนี้มีอยู่ในฤคเวท ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มไปสู่ความคิดเรื่องพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวในสมัยอุปนิษัท

  13. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ โสมะ เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นเครื่องดื่มที่คั้นออกมาจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้ว่าคือพืชชนิดใด เป็นเครื่องดื่มในพิธีทางศาสนา ดื่มแล้วทำให้เกิดพลัง พระอินทร์ชอบเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นพิเศษ ไม่ใช่เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ ผลจากการดื่มทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มมึนเมาเหมือนสารเสพติดที่เรียกว่า ฮาชิส และ ภัง ซึ่งทำจากพืชที่ขึ้นเองโดยไม่ต้องปลูกในพื้นที่หลายแห่งในอินเดีย เอเชียกลางและภาคใต้ของรัสเซีย ชาวอินเดียเชื่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ต้องอาศัยพระจันทร์ โสมะซึ่งถือกันว่าเป็นราชาแห่งพืชจึงเทพองค์กัน กับพระจันทร์

  14. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ วรุณะ เป็นเทพที่ต่างไปจากเทพองค์อื่น เป็นที่รู้จักกันในสมัยพระเวทว่าเป็นอสูร คำว่าอสูรแรกเริ่มเดิมทีเป็นชื่อเรียกเทพอันดับต่ำๆ ในสมัยพระเวทพวกหนึ่ง ซึ่งในสมัยต่อมาเมื่อศาสนาพัฒนามาเป็นศาสนาฮินดูเทพพวกนี้กลายไปเป็นอสูร ซึ่งเป็นศัตรูกับพวกเทพวรุณะเป็นผู้รักษากฏ (ฤต) ทำให้ทุกสิ่งในธรรมชาติดำเนินไปตาม กฏเกณฑ์ เช่น โลกและดวงดาวต่างๆ เดินไปตามเส้นทางที่ตายตัวแน่นอน กลางวันจะปรากฏขึ้นตามหลังกลางคืน ฤดูกาลหนึ่งมีอีกฤดูกาลหนึ่งตามมา วรุณะเป็นเทพ ที่มีศีลธรรมสูงสุดในบรรดาเทพทั้งหมด เทพองค์อื่นพอใจกับการเซ่นสรวงสังเวยของมนุษย์ แต่วรุณะจะไม่พึงพอใจเพียงแค่นั้น มนุษย์จะต้องไม่ทำความชั่ว เช่น พูดเท็จ ดื่มของมึนเมา เล่นการพนัน การกระทำที่เกิดจากความโกรธ เป็นต้น เป็นเทพที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์โดยใช้บ่วงคล้องคนทำความผิดทำให้ผู้ทำความผิดเกิดโรคร้าย คนที่ทำความผิดตายไปจะอยู่บ้านดิน คงจะเป็นที่ที่ไม่มีความสุขใต้พื้นโลก ตรงกันข้ามกับโลกของพ่อทั้งหลาย

  15. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ ยมะ เป็นเทพที่คอยควบคุมผู้ที่ตายไปแล้วอยู่โลกของพ่อ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของผู้ตายดี คือ ผู้ที่ตายหลังจากได้ทำพิธีกรรมตามที่กำหนดไว้สำหรับชาวอารยะ เป็นที่ที่เต็มไปด้วยความสุข

  16. เทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆเทพสำคัญในสมัยพระเวทระยะแรกๆ รุทระ คำว่า รุทระ คงจะหมายถึงการส่งเสียงเห่าหอนอันน่ากลัว เป็นเทพที่มีลักษณะในทางร้ายและไม่ค่อยคำนึงเรื่องศีลธรรม เป็นเทพที่ใช้ธนู ลูกศรของเทพองค์นี้นำความเจ็บป่วยมาให้เป็นเทพที่เกี่ยวพายุ เหมือนอินทระ แต่ไม่ได้รับความเคารพนับถือมากเท่าอินทระ เป็นเทพที่อยู่ห่างไกลผู้คน คืออยู่ตามภูเขา เป็นเทพที่คนกลัว คนจะบูชาก็เพื่อไม่ต้องการให้เกิดโรคระบาด เช่นกาฬโลก แต่เทพองค์นี้ก็มีส่วนที่อยู่ คือเป็นเทพที่คอยดูแลรักษาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค ดังนั้นผู้ที่บูชาเทพองค์นี้ก็จะเป็นผู้ไม่ป่วยไข้

  17. ยัชญะหรือการบูชาของชาวอารยะยัชญะหรือการบูชาของชาวอารยะ การเคารพเทพของชาวอารยะ คือ การทำให้เทพพึงพอใจด้วยการสวดสรรเสริญและเซ่นสรวงสังเวยด้วยสิ่งของที่เป็นอาหาร เพื่อว่าเทพที่พึงพอใจจะให้สิ่งที่ผู้ทำพิธีเซ่นสรวงสังเวยต้องการได้แก่ ความสำเร็จในการรบ การมีลูก การเพิ่มขึ้นของสัตว์ และการมีอายุยืน เป็นลักษณะของการแลกเปลี่ยนแบบยื่นหมูยื่นแมวระหว่างเทพและมนุษย์

  18. ยัชญะ ในพิธีบูชาซึ่งเรียกว่ายัชญะ จะมีพราหมณ์ทำหน้าที่ 3 คน มีเจ้าภาพซึ่งจะต้องเป็นสามีภรรยา พราหมณ์ทั้ง 3 คือ 1. โหตฤ (โหตา) สวดฤคเวท 2. อัธวรยุ(อธฺวรฺยุ) สวดยชุรเวท 3. อุทคาตฤ(อุทฺคาตฤ/อุทฺคาตา) สวดสามเวท ฟืนที่ใช้ในการประกอบพิธีมีชื่อเรียกว่า“ไม้ศมี”เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าไม้ศมีเป็นไม้ที่ให้ไฟร้อนแรงที่สุด ส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้คือเนย ในพิธียัชญะ ใช้ท่วงทำนองเพลงในการสวด

  19. อาศรม 4 ตามความคิดของศาสนาพราหมณ์ แบ่งช่วงชีวิตของมนุษย์ไว้ 4 ช่วง แต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม (อาศฺรม) ได้แก่ 1. พฺรหฺมจารฺย ได้แก่ช่วงที่ยังไม่แต่งงาน เป็นช่วงที่เป็นนักเรียน ต้องรักษาความบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีเพศ (พรหมจาริน) (ช่วงที่เป็นนักเรียน –25 ปี) 2. คารฺหสฺถฺย การใช้ชีวิตอย่างผู้ครองเรือน(คฤหัสถ์) จะต้องมีครอบครัว มีลูก (26-50 ปี) 3.วานปฺรสฺถฺย การใช้ชีวิตโดยการอยู่ในป่า(วานปรัสถ์) เพื่อเป็นการเตรียมตัวแสวงหาความหลุดพ้น (51-75 ปี) 4.สานฺนฺยาส การใช้ชีวิตแบบผู้ไม่มีเรือน(สันนยาสิน) เป็นนักบวชเร่ร่อน สละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อบรรลุโมกษะ 75 ปีขึ้นไป

  20. ปุรุษารถะ เพื่อให้สอดคล้องกับอาศรม 4 จำเป็นต้องมี ปุรุษารฺถ คือ จุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ มี 4 ประการ 1. ธรรม (ธรฺม) เกี่ยวข้องกับการทำความดี 2. อรรถ (อรฺถ) เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ 3. กามะ เกี่ยวข้องกับความสุขทางโลก การใช้ชีวิตจาการเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเพศ 4. โมกษะ (โมกฺษ) เกี่ยวข้องกับการแสวงหาความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

  21. อุปนิษัท • ขจัดบาป • การที่ทำให้ลูกศิษย์เข้าไปใกล้ครู ซึ่งสอดคล้องกับคัมภีร์ที่สอนเกี่ยวกับเรื่องลี้ลับ เมื่อเห็นว่าลูกศิษย์คนไหนที่มีญาณแก่กล้าแล้ว • ก็เรียกลูกศิษย์มาถ่ายทอดความรู้ให้ • เรื่องราวที่อยู่ในคัมภีร์อุปนิษัทความจริงสูงสุด • เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความจริงอยู่เพียงอย่างเดียว เรียกกลุ่มนี้ว่า อไทวตะ มาจาก ทวิ(2 อย่าง) เติม อ ไปทำให้ไม่ใช่สอง มีคำพูดที่เป็นภาษาสันสกฤตที่แปลความเข้ากับกลุ่มนี้ คือ เอกํ สทฺ วิปฺรา พหุธา วทนฺติ (ความจริงแท้มีเพียงอย่างเดียว • เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่างเรียกกลุ่มนี้ว่า ทไวตะ มาจากคำว่า ทวิ

  22. หลักการถ่ายถอดภาษาสันสฤตหลักการถ่ายถอดภาษาสันสฤต วยอักษรไทยและการออกเสียง เพื่อให้การออกเสียงคำภาษาสันสกฤตใกล้เคียงกับเสียงเดิมการถ่ายถอด(transaliteration) คำภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยยึดรูปแบบการเขียนภาษาบาลีเป็นอักษรไทยหลักการเขียนและการออก เสียงมีดังนี้ - พยัญชนะที่ไม่มีสระประกอบอยู่ให้ถือว่ามีสระอะเช่นยสฺ = ยัส, หริณา= หะริณาพยัญชนะที่มีจุดอยู่ข้างล่างแสดงว่าไม่มีเสียงสระอยู่ด้วยส่วนใหญ่จึงอ่านเหมือนเป็นตัวสะกดหรือออกเสียงกึ่งมาตราเช่นยสฺ = ยัส, พธฺนตา= พัธ-นะ-ตา, - เครื่องหมายะให้ออกเสียงหตามหลังสระข้างหน้าเช่นธฺยาตะ= ธฺยา-ตะ-หะ; หริะ=หะ-ริ-หิ ; คุรุะ= คุรุหุ ; แต่ตามหลังไอให้ออกเสียงไอหิเช่นนไระ=นะไรหิและตามหลังเอสให้ออกเสียงเอาหุเช่นเคาะอ่านเคา-หุ (ไม่อ่านเป็นเสียงเอาะเหมือนภาษาไทยในคำว่าเกาะเป็นต้น)

  23. - เครื่องหมายํให้ออกเสียงเหมือนมสะกดเช่นเชตุ= เชตุม; พลิํ = บะ-ลิม พยัญชนะบางตัวออกเสียงผิดจากเสียงในภาษาไทยคือ คออกเสียงเหมือนgในคำว่าgo ฆออกเสียงเหมือนghในคำว่าBeg him ชออกเสียงเหมือน j ในคำว่าjam ฌออกเสียงเหมือนg-e-hในคำว่าcharge him ญออกเสียงเหมือนยที่ออกเสียงให้ลมผ่านทางจมูก

  24. ฏ; ฐ; ฑ; ฒ; ณออกเสียงเหมือนตถทธนโดยม้วนลิ้นเข้าไปในปากมากที่สุด เหมือนในการออกเสียงร ทออกเสียงเหมือนด ธออกเสียงเหมือนด+ห พออกเสียงเหมือนบ ภออกเสียงเหมือนบ+ห ศออกเสียงคล้ายฉ ษออกเสียงคล้ายshในคำว่าsh หออกเสียงเหมือนฮ

  25. ตัวอย่าง วาครฺถาวิวสํปฺฤกฺเตาวาครฺถปฺรติปตฺตเย | ชคตะปิตเราวนฺเทปารฺวตีปรเมศฺวเรา || การออกเสียงที่ใกล้เคียง: วากะรฺถาวิวะ / สัมปฺริกเตา/ วากะรฺถะประติปัตตะเย | จะกะตัป / ปิตะเรา /วันเด / ปารฺวะตีปะระเมฉฺวะเรา || คชานนํภูตคณาทิเสวิตํกปิตฺถชมฺพูผลจารุภกฺษณมฺ | อุมาสุตํโศกวินาศการกํนมามิวิฆฺเนศฺวรปาทปงฺกชมฺ ||

  26. การออกเสียงที่ใกล้เคียง : กะจานะนัม /บหูตะกะนาดิเสวิตัม/ กะปิดถะจัมบูผะละจารุบหักฉะนัม | อุมาสุตัม/ โฉกะวินาฉะการะกัม / นะมามิ /วิกกฺเนฉฺวะระปาดะปังกะจัม || นาเคนฺทรหารายตฺริโลจนายภสฺมางฺคราคายมเหศฺวราย | นิตฺยายศุทฺธายทิคมฺพรายตสฺไมนการายนมะศิวาย || 1 การออกเสียงที่ใกล้เคียง : นาเกนดฺระหารายะ/ ตฺริโลจะนายะ / บหัสมางกะรากายะ /มะเหฉฺวะรายะ | นิตยายะ /ฉุดดหายะ/ ดิกัมบะรายะ / ตัสไม /นะการายะ/ นะมะหะ / ฉิวายะ ||

  27. บรรณานุกรม Basham. Wonder that was India Barth, A. Religions of India Burrow, T. The Sanskrit Language. London: Faber and Faber, 1955. Chatterjee, S. and Datta, D.An Introduction to Indian Philosophy. Calcutta: University of Calcutta, 1984. Chatterjee, S. and Datta, D.An Introduction to Indian Philosophy. Calcutta: University of Calcutta, 1984. Macdonell, A.A. A Vedic Reader for Students. Delhi: Motilal Banarsidas, 1995. Majumdar, R.C.The History and Culture of Indian People, The Vedic Age. Bombay: Bharatiya Vidya Bhavan, 1965. Radhakrishnan, S. Principal Upanisads

More Related