html5-img
1 / 51

บทที่ 2 (ต่อ) การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statements Analysis)

บทที่ 2 (ต่อ) การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statements Analysis). อ.วิชดา ลิวนานนท์ชัย. การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis).

Download Presentation

บทที่ 2 (ต่อ) การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statements Analysis)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 (ต่อ)การวิเคราะห์งบการเงิน(Financial Statements Analysis) อ.วิชดา ลิวนานนท์ชัย

  2. การวิเคราะห์งบการเงิน(Financial Statement Analysis) หมายถึง การประเมินฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยอาศัยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่ 1. อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) 2. การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)หรือการวิเคราะห์โดยใช้ขนาดร่วม (Common-Size Analysis) 3. การวิเคราะห์ตามแนวนอน (Horizontal Analysis)

  3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตราส่วนทางการเงินที่คำนวณได้ สามารถเปรียบเทียบ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาของธุรกิจได้ 4 วิธี ดังนี้ • การเปรียบเทียบกับตัวธุรกิจเองในอดีต เพื่อดูการเจริญเติบโตว่า ธุรกิจมีแนวโน้ม หรือทิศทางที่ ดีขึ้น หรือ แย่ลง • การเปรียบเทียบกับเป้าหมายว่า ดีกว่า หรือ แย่กว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ • การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง โดยพิจารณาธุรกิจมีฐานะทางการเงิน ดีกว่า หรือ แย่กว่า คู่แข่ง • การเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันว่า ดีกว่า หรือ แย่กว่า ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

  4. 1.การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)หรือการวิเคราะห์โดยใช้ขนาดร่วม (Common Size Analysis) เป็นการวิเคราะห์งบการเงินโดยเปรียบเทียบรายการต่างๆ ในงบการเงินของงวดเดียวกัน หรือปีเดียวกัน เพื่อพิจารณาสัดส่วนของรายการต่างๆ ในงบดุล และงบกำไรขาดทุน • งบดุลฐานร่วม (Common-size Balance Sheet)ส/ท รวมเป็นฐานในการเปรียบเทียบรายการต่างๆ ในงบดุล • งบกำไรขาดทุนฐานร่วม (Common-size Income Statement) ยอดขาย หรือรายได้รวม เป็นฐานในการเปรียบเทียบรายการต่างในงบกำไรขาดทุน

  5. 2. การวิเคราะห์ตามแนวนอน (Horizontal Analysis) เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขในงบการเงินตั้งแต่ 2 งวด ขึ้นไป เพื่อดูว่ารายการต่างๆ ในงบการเงินแต่ละงวดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ โดยการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีนั้นนิยมให้อยู่ในรูปอัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลง (Percentage Change)ดังนั้นวิธีนี้ จึงเรียกได้อีกย่างหนึ่งว่า “การวิเคราะห์อัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลง (Percentage Change Analysis)”ถ้าทำการคำนวณอัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ปี จะสามารถดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆ ในงบการเงินได้ เรียกว่า “ การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)” ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ 2 วิธี ดังนี้

  6. วิธีที่1การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับงวดก่อน % การเปลี่ยนแปลงของยอดขาย = ยอดขายปีใหม่ – ยอดขายปีก่อน * 100 ยอดขายปีก่อน = 1,479,000 – 1,436,000 * 100= 3% 1,436,000 แสดงว่ายอดขายปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (ปี 2542)เท่ากับ 3% % การเปลี่ยนแปลงของเงินสด = เงินสดปีใหม่ – เงินสดปีก่อน * 100 เงินสดปีก่อน = 19,000 – 25,000 * 100= - 24% 25,000 แสดงว่าเงินสดปี 2543 ลดลงจากปีที่แล้ว (ปี 2542)เท่ากับ 24%

  7. วิธีที่2การวิเคราะห์โดยการกำหนดงวดใดงวดหนึ่งเป็นปีฐานในการเปรียบเทียบวิธีที่2การวิเคราะห์โดยการกำหนดงวดใดงวดหนึ่งเป็นปีฐานในการเปรียบเทียบ ตัวอย่าง 2538 2539 2540 2541 2542 2543 หน่วย : พันบาท ยอดขายสุทธิ 737 719 744 781 803 858 ต้นทุนขาย 471 450 464 490 509 513 กำไรขั้นต้น 266 269 280 291 294 345

  8. กำหนดให้ปี 2538 เป็นปีฐาน %การเปลี่ยนแปลงของยอดขายปี 2543 = ยอดขายปี 2543 – ยอดขายปีฐาน * 100 ยอดขายปีฐาน (2538) = 858,000 – 737,000 * 100 = 16% 737,000 %ยอดขายสุทธิปี 2543 เปรียบเทียบกับปีฐาน = ยอดขายสุทธิปี 2543 *100 ยอดขายสุทธิปีฐาน =858,000 * 100 = 116% 737,000

  9. 3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่างๆในงบการเงินหลัก 2 งบ คือ งบดุลและงบกำไรขาดทุน เพื่อประเมินฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 5ประการ ดังนี้

  10. อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) • เป็นการพยายามแปลงข้อมูลในงบการเงินให้เป็นมาตรฐาน เพื่อสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับปีอื่น และเปรียบเทียบกับกิจการอื่นได้อย่างมีความหมาย • ธุรกิจเป็นแหล่งรวมของทรัพยากร (ส/ท ต่างๆ ในงบดุล) กิจการใช้ ส/ท ในการผลิตและขายสินค้า เพื่อทำกำไรให้กับกิจการ(แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน)

  11. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 1. อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity Ratios or Asset Utilization Ratios) 1.1 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] 1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว [ Long-term (Investment) Activity Ratios ] 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) 3. อัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืม หรือ ความสามารถในการก่อหนี้ และการชำระหนี้(Leverage Ratios or Long-term Solvency Ratios) 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) 5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด (Marketable-Value Ratios)

  12. 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] • อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity Ratios or Asset Utilization Ratios) • อัตราการหมุนของสินค้า (Inventory Turnover) คือจำนวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของธุรกิจในรอบ 1 ปียิ่งสูงยิ่งดี • อัตราการหมุนของสินค้า (ครั้ง)= ซื้อสุทธิหรือต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 9,072,000 = 6.15 ครั้ง1,474,800 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 6.65 ครั้ง • ระดับส/ค คงเหลือเหมาะสมกับยอดขายของกิจการหรือไม่ ?

  13. 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ระยะเวลาการการถือสินค้า (Average Age of Inventory or Days Inventory Outstanding)คือ จำนวนวันเฉลี่ยที่บริษัทใช้ต่อการขายสินค้า 1 ครั้งนับจากวันที่ซื้อหรือผลิตสินค้าออกมา ยิ่งสั้นยิ่งดี ระยะเวลาการถือสินค้า (วัน)= 365อัตราการหมุนของสินค้า บริษัทนนทรี = 365 = 59.34 วัน 6.15 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 54.9 วัน 6.65

  14. อัตราการหมุนของลูกหนี้(Accounts Receivable Turnover)คือ จำนวนครั้งที่บริษัทสามารถเก็บหนี้จากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อได้ในรอบ1 ปีอัตราการหมุนของลูกหนี้ (ครั้ง)= ขายเชื่อหรือยอดขาย ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 12.73 ครั้ง • 990,000 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 11.77 ครั้ง • ยิ่งมากยิ่งดี 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ได้แก่

  15. ระยะเวลาการเก็บหนี้(Average Collection Period or Days Receivable Outstanding) ครั้ง นับจากวันที่ขายเชื่อสินค้าออกไป ระยะเวลาการเก็บหนี้ (วัน)= 365อัตราการหมุนของลูกหนี้ บริษัทนนทรี = 365 = 28.67 วัน 12.73 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 31.0 วัน 11.77 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ได้แก่

  16. วงจรการดำเนินงาน (Operation Cycle) วงจรการดำเนินงาน= ระยะเวลาการถือสินค้า + ระยะเวลาการเก็บหนี้ บริษัทนนทรี= 59.34 + 28.67 = 88.01 วัน Industry Average = 54.90 + 31.00 = 85.90 วัน ผลิตหรือซื้อสินค้า เงินสด ขายสินค้าเงินสด เก็บเงินได้ สินค้า ลูกหนี้การค้า ขายสินค้าเงินเชื่อ

  17. 1. อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity or Asset Utilization Ratios) 1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว[ Long-term (Investment) Activity Ratios ] • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร(Fixed Assets Turnover) คือ การวิเคราะห์ว่าสินทรัพย์ถาวรที่บริษัทลงทุนไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้เป็นกี่เท่าของสินทรัพย์ถาวรที่ได้ลงทุนไป • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (เท่า)= ยอดขาย สินทรัพย์ถาวรสุทธิเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 4.13 เท่า • 3,048,000 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 4.20 เท่า • ถ้าขายสุทธิ > สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร > 1 • ถ้าขายสุทธิ < สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร < 1

  18. 1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว [ Long-term (Investment) Activity Ratios ] อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม(Total Assets Turnover) คือ การวิเคราะห์ว่าสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้เป็นกี่เท่าของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไป อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (เท่า)= ยอดขาย สินทรัพย์รวมเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 2.16 เท่า 5,820,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 2.09 เท่า • ถ้าขายสุทธิ > สินทรัพย์รวม อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม > 1 • ถ้าขายสุทธิ < สินทรัพย์รวม อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม < 1 • แสดงว่าส/ททั้งหมดของธุรกิจสามารถสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้ …… เท่าของมูลค่าส/ทรวม

  19. สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมสรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม วัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • ระยะเวลาการถือสินค้า 54.9 วัน 59.34 วัน • ระยะเวลาการเก็บหนี้ 31.0 วัน 28.67 วัน • อัตราการหมุนของ ส/ท ถาวร 4.20 เท่า 4.13 เท่า • อัตราการหมุนของ ส/ท รวม 2.09 เท่า 2.16 เท่า บริษัทนนทรีขายสินค้าได้ช้ากว่าอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นถึงระดับสินค้าคงเหลือที่สูงหรือคุณภาพของสินค้าต่ำ แต่บริษัทมีระยะเวลาการเก็บหนี้เร็วกว่าอุตสาหกรรมแสดงถึงประสิทธิภาพและนโยบายการเก็บหนี้ที่ดี บริษัทมีประสิทธิภาพในการใช้ ส/ท ถาวร ต่ำ สืบเนื่องจากการมีสินทรัพย์ถาวรอยู่มาก ทำให้โอกาสในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรนั้นน้อย อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทั้งหมดกลับมีประสิทธิภาพเหนือกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

  20. 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) สภาพคล่องของธุรกิจ หมายถึงความสามารถในการจ่ายชำระภาระผูกพันทางการเงินระยะสั้น ที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินระยะสั้นที่มีภาระต้องชำระคืนภายในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งปกติคือ 1 ปี ได้แก่ • เจ้าหนี้การค้า • เงินกู้ระยะสั้น • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย กิจการมีสภาพคล่องสูงเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินที่ใกล้ครบกำหนดหรือไม่ ?

  21. 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) เงินทุนที่จะนำมาจ่ายหนี้สินหมุนเวียนได้มาจากเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนต่างๆ โดยธุรกิจจะต้องดำเนินงานให้สินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้ เปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งปกติเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ครบถ้วนและทันเวลา สินทรัพย์หมุนเวียน คือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว ซึ่งปกติจะใช้เวลา 1 ปี ได้แก่ • เงินสดและเงินฝากธนาคาร • หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด • ลูกหนี้การค้า • ตั๋วเงินรับ • สินค้าคงเหลือ • ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

  22. 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Working capital) (บาท) = สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current ratio) (เท่า) = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน แสดงถึงสภาพคล่องของธุรกิจ แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ ? ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียนสุทธิและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูง

  23. 2,844,000 = 3.73เท่า 762,000 อัตราเงินทุนหมุนเวียน = ส/ทหมุนเวียน น/สหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = ส/ทหมุนเวียน - น/สหมุนเวียน 2,844,000 - 762,000 =2,082,000บ.

  24. 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) • การสังเกตว่าบริษัทมีสภาพคล่องหรือไม่ ? • ให้พิจารณาจากมูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนว่า > มูลค่าหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน > หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ > 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน > 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพราะมีสินทรัพย์ หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน < หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ < 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน < 1 แสดงว่าบริษัทไม่มีสภาพคล่องเพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน = หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน = 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระพอดี

  25. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว • (Quick ratio or Acid test ratio) • = ส/ท หมุนเวียน – ส/ค คงเหลือ – ค/จ จ่ายล่วงหน้า • น/ส หมุนเวียน แสดงถึงสภาพคล่องของธุรกิจ ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนได้เร็วแค่ไหนและเพียงพอที่จะจ่ายหรือไม่ อัตราส่วนนี้จะคล้ายกับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่างกันที่อัตราส่วนนี้จะใช้เฉพาะสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว และตัดรายการสินค้าคงเหลือออกไป เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า รวมทั้งตัดสินทรัพย์หมุนเวียนบางรายการที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ถ้าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว > 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง(สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว)เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ดังนั้นอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วนี้ ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงถึงสภาพคล่องสูง

  26. 2,844,000- 1,509,600 762,000 =1.75เท่า อัตราเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = ส/ท หมุนเวียน – ส/ค คงเหลือ น/ส หมุนเวียน

  27. วงจรเงินสด (Cash Cycle) วงจรเงินสด =ระยะเวลาการถือสินค้า + ระยะเวลาการเก็บหนี้ - ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ = วงจรการดำเนินงาน - ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ บริษัทนนทรี= 59.34 + 28.67 – 18.95 = 69.06 วัน Industry Average = 54.90 + 31.00 – 19.11 = 66.79 วัน ชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบ เงินสด เจ้าหนี้การค้า ผลิตหรือ ซื้อสินค้า เก็บเงินได้ ซื้อวัตถุดิบหรือส/คเงินเชื่อ ขายสินค้าเงินสด สินค้า ลูกหนี้การค้า ขายสินค้าเงินเชื่อ

  28. วงจรเงินสด (ต่อ) อัตราการหมุนของเจ้าหนี้ (ครั้ง)= ซื้อเชื่อหรือต้นทุนขาย (Account Payable Turnover) เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 9,072,000 = 19.26 ครั้ง 471,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 19.10 ครั้ง ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ (วัน) = 365 อัตราหมุนของเจ้าหนี้ บริษัทนนทรี = 365 = 18.95 วัน 19.26 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 19.11 วัน 19.10

  29. วงจรเงินสด (ต่อ) • วงจรเงินสด ยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้เร็ว จากวงจรเงินสด ธุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดย • ลดระยะเวลาการถือสินค้าให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ลดระยะเวลาการเก็บหนี้ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ขยายระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

  30. สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดสภาพคล่อง อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 2.11 เท่า 3.73 เท่า • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว 1.12 เท่า 1.75 เท่า • วงจรเงินสด 66.79 วัน 69.06วัน เมื่อพิจารณาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว พบว่า บริษัทนนทรีมีสภาพคล่องสูงกว่าอุตสาหกรรม แต่วงจรเงินสดยาวกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่ามีสภาพคล่องในการหมุนเงินช้ากว่า

  31. 3. อัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืม หรือความสามารถในการก่อหนี้และการชำระหนี้(Leverage Ratios or Long-term Solvency Ratios) • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (%) = หนี้สินรวม สินทรัพย์รวม บริษัทนนทรี = 1,122,000 = 19.89 % 5,640,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 58.3 % อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมนี้แสดงถึงสัดส่วนของการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เพื่อมาซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ อัตราส่วนหนี้ยิ่งมากยิ่งไม่ดี เพราะแสดงว่าบริษัทจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สูง และอัตราส่วนหนี้มีค่าไม่เกิน 1 เพราะจากสมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน ดังนั้นไม่มีทางที่หนี้สินจะมากกว่าสินทรัพย์ได้ เมื่อเศษมีค่าน้อยกว่าส่วน ดังนั้นอัตราส่วนนี้จึงมีค่า < 1

  32. สินทรัพย์ = หนี้สิน (D) : ทุน (E) 100 % 40 % : 60 % 45 % : 55 %เหมาะสมมาก 50 %: 50 % 55 % : 45 % 60 % : 40 % 65 %: 35 % 70 % : 30 % 75 % : 25 % 80 % : 20 % 90 % : 10 % เป็นไปได้ ควรเป็นช่วงขยายตัว องค์ประกอบต้องเอื้ออำนวย ยากที่จะหาผู้ให้กู้

  33. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Debt to equity ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ(เท่า) =หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ = ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม - หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทนนทรี = 1,122,000 = 0.286 เท่า 4,518,000 – 600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 1.4 เท่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เป็นกี่เท่าของการจัดหาเงินทุนด้วยทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ > ทุน (Debt ratio > 50%) • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ < ทุน (Debt ratio < 50%) • ถ้าอัตราส่วนนี้ = 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ = ทุน (Debt ratio = 50%)

  34. อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Long-term debt to equity ratio : D/E Ratio) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ(เท่า) =หนี้สินระยะยาว ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 360,000 = 0.09 เท่า 3,918,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 0.9 เท่า • อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ คล้ายกับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญต่างกันแต่ใช้เฉพาะหนี้สินระยะยาวเท่านั้น เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญคือทุนจัดเป็นการลงทุนระยะยาว หนี้สินที่นำมาเปรียบเทียบจึงควรเป็นหนี้สินระยะยาว ส่วนการตีความคล้ายกับ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ คือ • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว > ทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว < ทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ = 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว = ทุน

  35. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Time-interest earned) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย =กำไรจากการดำเนินงาน (เท่า) ดอกเบี้ยจ่าย บริษัทนนทรี = 1,764,000 = 7 เท่า 252,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 4.2เท่า • อัตราส่วนนี้ ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงถึงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของกิจการ • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงว่ามีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงว่ามีกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย

  36. สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดการก่อหนี้ อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ 58.3 % 19.9 % • อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ 1.4 เท่า 0.286 เท่า • อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ 0.9 เท่า 0.09 เท่า • ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 4.2 เท่า 7 เท่า เมื่อพิจารณาอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ พบว่า บริษัทนนทรีมีหนี้สินน้อยกว่าอุตสาหกรรมมาก ส่งผลให้มีภาระดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายน้อย ทำให้บริษัทมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยได้อย่างสบาย

  37. 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • ความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขาย เป็นการวิเคราะห์จากงบกำไรขาดทุนเท่านั้น • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) อัตรากำไรขั้นต้น(%) = กำไรขั้นต้น * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 3,528,000 * 100 = 28.0 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 27.3 % อัตรากำไรขั้นต้น ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรขั้นต้น (ยอดขาย - ต้นทุนขาย) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท

  38. 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin) อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (%) = กำไรจากการดำเนินงาน * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 1,764,000 * 100 = 14 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 12 % อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายต่างๆ) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท

  39. 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 1,058,400 – 60,000 * 100 12,600,000 = 998,000 = 7.92 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 7% อัตรากำไรสุทธิ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรสุทธิ (กำไรหลังหักค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย และภาษี) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท

  40. 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • ความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับเงินลงทุน เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากงบกำไรขาดทุน โดยเทียบกับเงินลงทุนในงบดุล • อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม(Return on Assets : ROA) หรืออัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน(Return on Investment : ROI) ROA (%) or ROI (%) =กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 สินทรัพย์รวมเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 998,400 * 100 = 17.15 % 5,820,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 10.3 %

  41. 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) ROE(%)=กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 998,400 * 100 = 27.18 % 3,673,800 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 27.2 %

  42. สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดความสามารถในการทำกำไร อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตรากำไรขั้นต้น 27.3 % 28.0 % • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 12.0 % 14.0 % • อัตรากำไรสุทธิ 7.00 % 7.92 % • ROA10.3 % 17.2 % • ROE 27.2 % 27.2% บริษัทนนทรีมีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าอุตสาหกรรม ทั้งในแง่อัตรากำไรต่อยอดขายและในแง่ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน

  43. 5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด(Marketable-Value Ratios) Other Data • จำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียน 50,000 หุ้น • ราคาตามมูลค่า (Par) 12 บาท / หุ้น • ราคาตลาด ณ 31 ธ.ค. 45 303.5 บาท / หุ้น • กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น (Earning Per Share : EPS) =กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 998,400 = 19.97 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 20.8 บาท / หุ้น

  44. 5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด (Marketable-Value Ratios) • มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) = ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว บริษัทนนทรี = 3,918,000 = 78.36 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 40.1 บาท / หุ้น

  45. ใช้เป็นเครื่องชี้ทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อการคาดหวังแนวโน้มของกิจการในอนาคตใช้เป็นเครื่องชี้ทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อการคาดหวังแนวโน้มของกิจการในอนาคต • อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไร (Price - Earning Ratio : P/E Ratio) = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ เท่า กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น บริษัทนนทรี = 303.5 = 15.2 เท่า 19.97 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 11.6 เท่า • นักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายซื้อหุ้นของกิจการ ในอัตรากี่เท่าของกำไร • มูลค่าตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น(Market Value / Book Value Ratio) = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ เท่า มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น บริษัทนนทรี = 303.5 = 3.87 เท่า 78.36 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 1.9 เท่า • นักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายซื้อหุ้นของกิจการ ในอัตรากี่เท่าของมูลค่าตามบัญชี

  46. เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น Dividend Per Share (DPS) =เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 510,000 = 10.2 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 9.99 บาท / หุ้น • อัตราส่วนเงินปันผลจ่ายต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout Ratio) =เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น (%) = เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญ (%) กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 10.2 บาท / หุ้น หรือ =510,000= 51.08 %19.97บาท / หุ้น 998,400 Industry Average(ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 9.99 บาท / หุ้น = 48.02 % 20.8บาท / หุ้น

  47. ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 1.การได้มาซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบ • บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลิตและขายสินค้าหลายประเภทในหลายอุตสาหกรรม • อัตราส่วนที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับอัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 2.การบิดเบือนข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบ • ภาวะเงินเฟ้อ • ฤดูกาล 3.หมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น การเช่าซื้อทรัพย์สินระยะยาว (leasing)มีผลต่ออัตราหมุนของสินทรัพย์รวมROAและ Debt- Equity Ratio

  48. ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 4.การตีความผลลัพธ์ที่ได้ ผลตอบแทนสภาพคล่อง สินทรัพย์หมุนเวียน ต่ำ สูง สินทรัพย์ถาวร สูง ต่ำ ความเสี่ยงต้นทุน หนี้สินหมุนเวียน สูง ต่ำ หนี้สินระยะยาวและ เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ ต่ำ สูง

More Related