741 likes | 1.95k Views
สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1. นายกมลพันธ์ เกิดมั่น 4508001 นางสาวกมลรัตน์ ช้างทอง 4508002. ความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย. รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2502
E N D
สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 นายกมลพันธ์ เกิดมั่น 4508001 นางสาวกมลรัตน์ ช้างทอง 4508002
ความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย • รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2502 • มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2504 จนถึงปี 2509 รวมระยะเวลา 6 ปี มีการแบ่งระยะเป็น 2 ระยะ • จัดทำโครงการและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระยะแรก (พ.ศ. 2504 – 2506) ส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม • เพื่อใช้ข้อมูลในระยะแรกในการปรับปรุงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่สอง (พ.ศ. 2507 – 2509)
วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เป็นการยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย การระดม และใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อขยายการผลิตและเพิ่มพูนรายได้ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สาระสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • เป้าหมายส่วนรวมที่จะเพิ่ม และมีรายได้ประชาชาติคิดเฉลี่ย ต่อคนเพิ่มขึ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี • เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณของการผลิตพืชผลเกษตรกรรม รวมทั้งการสงวนป่า
สาระสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1(ต่อ) • นโยบายหลักของการพัฒนา ได้แก่ การดำเนินงานของรัฐเพื่อส่งเสริมกิจกรรมในทางเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น • โครงการดำเนินงานทางด้านการเกษตร ได้แก่ โครงการชลประทาน โครงการสงวนป่าไม้ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการผลิตพืชผล รวมทั้งโครงการปรับปรุงพันธุ์ยาง สนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบสหกรณ์
นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) • เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและการส่งออก ปรับปรุงคุณภาพของผลิตผลการเกษตรที่สำคัญและขยายประเภทการผลิตการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มรายได้ประชาชาติส่วนรวมและรายได้ของเกษตรกร • เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตตามแผนใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่และรายได้จากการผลิตการดำเนินงานส่วนของรัฐจะต้องให้ได้ผลตกถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริงและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมมือและช่วยตนเองให้มากที่สุด
นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) (ต่อ) • การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นคุณค่าในการเกษตร อันได้แก่เนื้อที่ดิน ป่าไม้ น้ำและอื่นๆ เพื่อให้นำมาใช้ให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยแท้จริงและถาวร โดยคำนึงถึงหลักอนุรักษ์ • เพื่อปรับปรุงระบบสังคมของเกษตรกรให้เกษตรกรมีฐานะการครองชีพและสวัสดิการดียิ่งขึ้น มีความสามัคคีขยันขันแข็งและร่วมมือกับรัฐยิ่งขึ้น
นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) (ต่อ) • การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้เป็นอาชีพได้รับความนิยมในด้านเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมการเกษตรให้เป็นอาชีพที่ให้ผลตอบแทนสูง • เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการลงแรงลงทุนของตนโดยชอบธรรม ป้องกันมิให้เกษตรกรเสียเปรียบในเรื่องการตลาด การเช่าที่ดิน และการกู้เงินเอกชน
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • ภาคการเกษตร • อัตราการขยายตัวภาคเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี • อัตราการขยายตัวภาคการเกษตรโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปี จากเป้าหมายร้อยละ 3 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวทางด้านเนื้อที่เพาะปลูกและการพัฒนาในด้านการชลประทานเป็นสำคัญ • มีการกระจายการผลิตไปสู่พืชเศรษฐกิจหลายชนิดเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้มีเพียงพืชเศรษฐกิจหลักๆอย่างที่เคยเป็นอยู่
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.7 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 2 เท่าตัว โดยมีสินค้าหลัก เช่น ข้าว ยางพารา ดีบุก และไม้สัก แต่มีแนวโน้มสัดส่วนที่ลดลง • ด้านการส่งเสริมการปรับปรุงงานวิจัย ได้จัดตั้งศูนย์การเกษตรขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รวมทั้งสถาบันวิจัยต่างๆ • ด้านปศุสัตว์ เน้นการบำรุงพันธุ์สัตว์ การป้องกันกำจัดโรคระบาด ส่งเสริมการขยายการเลี้ยงสัตว์
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านป่าไม้ ส่งเสริมและวิจัย บำรุงพื้นที่ป่า มีปริมาณไม้ที่ผลิตได้เฉลี่ยปีละ 3.4 ล้านลบ.ม. แต่ต้องการใช้ 4.13 ล้านลบ.ม. • ด้านการส่งเสริมสถาบันเกษตรกร สนับสนุนการตั้งสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรในปี 2509 เพื่อเป็นแหล่งสินเชื่อให้แก่เกษตรกร
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านการชลประทาน
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สรุปผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • โดยรวมประสบความสำเร็จเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ดังนี้ • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี • ผลผลิตด้านการเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3 ต่อปี • รายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี • มูลค่าสินค้าออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ต่อปี สินค้าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ต่อปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514 โดย นาย กิจมลเทียน สละเต็ม 4508004 นาย ชวลิต อินแดง 4508009
สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่2 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ลักษณะของการวางแผนย่อมคล้ายคลึงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 คือ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแผนที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาสังคม และได้มีการขยายขอบเขตการพัฒนาออกไปให้กว้างขวางกว่าเดิมโดยได้รวมเอาเรื่องการพัฒนากำลังคน พัฒนาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติมเข้าไปด้วย
วัตถุประสงค์ 1. ระดมทรัพยากรของประเทศมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ได้ผลถึงมือประชาชนโดยทั่วกัน 2. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมของสังคม เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสังคม 3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และทางการเงิน การคลังของประเทศ 4. สนับสนุนให้มีการรักษาความมั่นคงของชาติ
นโยบาย 1. เพิ่มกำลังการผลิตของประเทศและรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพและรายได้ของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาโดยเสมอภาคและทั่วถึงยิ่งขึ้น 2. ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีรากฐานที่มั่นคง และมีความสมดุลระหว่างสาขาการผลิตต่าง ๆ ยิ่งขึ้น 3. พัฒนากำลังคนด้วยการขยายการมีงานทำให้มากขึ้น และพัฒนาแรงงานในระดับต่าง ๆ ให้มีฝีมือยิ่งขึ้น 4. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นหนักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ๆ
นโยบาย(ต่อ) 5. สนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการด้านประยุกต์ 6. พัฒนาระบบสังคมให้ก้าวหน้าและมีความเสมอภาคยิ่งขึ้น 7. รักษาเสถียรภาพทางการเงินการคลังเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ส่งเสริมการออมทรัพย์ และการลงทุนของเอกชนกับหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐยึดถือหลักความเป็นธรรมในสังคม 8. ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องกับนโยบายรักษาความมั่นคงของชาติ 9. เร่งรัดการพัฒนาโครงการที่มีลำดับความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรของประเทศ
จุดเด่นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ทางหลวง รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงยกระดับมาตรฐานของ ถนนให้สูงขึ้นพร้อมทั้งการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายใหม่ในภูมิภาค ต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก 9,881 กิโลเมตร ชลประทาน พัฒนาการชลประทานให้มีเนื้อที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจาก 11.7 ล้าน ไร่เป็น 15 ล้านไร่ ในปี 2514 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3.3 ล้านไร่
จุดเด่นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2(ต่อ) สาธารณูปการ รัฐบาลได้เร่งรัดจัดหาและขยายกิจการประปาของรัฐ ให้สามารถผลิต น้ำประปาเพิ่ม ขึ้นได้อีกวันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร ในเขตเทศบาลและ สุขาภิบาล รวมทั้งขยายการบริการน้ำประปาในเขตนครหลวงให้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 207,000 ลูกบาศก์เมตร รวมเป็น 382,000 ลูกบาศก์เมตร ในปี 2514 ส่วนในเขตชนบทให้มีการจัดหาน้ำสะอาดแก่หมู่บ้านต่างๆ ในชนบท รวม 20,000 หมู่บ้าน
ผลการพัฒนา ได้มีผลทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งวัดโดย มวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 101,374.7 ล้านบาทในปี 2509 อันเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มาเป็น 153,417 ล้านบาทในปี 2514 หรือ เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7.25 ต่อปีโดยเฉลี่ยตลอดระยะเวลา 5 ปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือร้อยละ 8.5
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาคการเกษตร ผลผลิตด้านการเกษตรกรรมมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 ต่อปีโดย เฉลี่ย ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 4.3 ต่อปีเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ 1. การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตยังไม่อยู่ในขั้นที่ดีพอ 2. การขยายตัวของการผลิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากการขยายเนื้อที่เพาะปลูก รวมถึงการบุกเบิกที่ดินใหม่มากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ 3. การใช้บริการจากโครงการขั้นพื้นฐานของรัฐโดยเฉพาะด้านชลประทาน ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะขาดขบวนการส่งเสริมระบบส่งน้ำ และการใช้น้ำยัง ไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
ภาคการเกษตร(ต่อ) 4. การวางแผนและการบริหารงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ยังขาด ประสิทธิภาพในการประสานงานในนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ใน ขณะเดียวกันความต้องการการผลิตผลเกษตรภายในและต่างประเทศที่ ลดลง ทำให้ระดับราคาสินค้าเกษตรลดต่ำลงมีผลให้การเกษตรในระยะ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ขยายตัวอยู่ในอัตราค่อนข้างช้า 5. ประการสุดท้ายการพัฒนาการเกษตรยังขึ้นอยู่กับนโยบายการพัฒนาของ ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมอีกด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายกระจายกำลัง การผลิตไปสู่สาขาเศรษฐกิจอื่นให้มากขึ้น
ตารางอัตรารายได้ประชาชาติต่อคนตารางอัตรารายได้ประชาชาติต่อคน ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตารางเปรียบเทียบอัตรารายได้ประชาชาติตารางเปรียบเทียบอัตรารายได้ประชาชาติ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3ภาคการเกษตรและชนบท • วัตถุประสงค์และนโยบาย 1. ยกระดับรายได้ ระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกร 2. ส่งสินค้าขาออกให้มากยิ่งขึ้น 3. ลดการว่างงานและการทำงานไม่เต็มที่ของเกษตรกรลดลง 4. สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และของประเทศส่วนรวม โดย ชุติภรณ์ ช่อทอง 4508010 นงคราญ ประมูล 4508016
แนวทางพัฒนา 1. ให้การพัฒนาการเกษตรมีความสำคัญเป็นอันดับแรก 2. การพัฒนาชนบทกับพัฒนาการเกษตรจะต้องทำควบคู่กันไป 3. ตั้งเขตส่งเสริมขึ้นและวางแผนในระดับท้องที่ 4. การวางแผนการเกษตรต้องยึดเป้าหมายในการจำหน่ายเป็นหลัก 5. การกระจายประเภทการผลิตและปรับปรุงระบบการผลิต 6. เร่งรัดการเกษตรชลประทาน 7. สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นสถาบันการเกษตรและรับผิดชอบในการจัดการสถาบันของตนเอง
แนวทางพัฒนา(ต่อ) 8 ส่งเสริมบทบาทของเอกชนที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมที่ใช้ผลิตผลการเกษตร 9. เพิ่มปัจจัยที่ใช้ในการผลิต เช่น ที่ดิน ปุ๋ย อุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรง และสินเชื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร 10.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์แก่การเกษตรในอนาคต 11.การส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมในชนบท 12.ปรับปรุงการบริหารของรัฐในด้านการเกษตร
เป้าหมายการพัฒนาเกษตรเป้าหมายการพัฒนาเกษตร • อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของผลิตผลที่สำคัญ(เปรียบเทียบกับแผน 2) -เกษตรกรรม ข้าว เพิ่มร้อยละ 1.6 ยาง เพิ่มร้อยละ 5.1 มันสำปะหลัง ร้อยละ 6.4 -ปศุสัตว์ สุกร เพิ่มร้อยละ 4.5 -ประมง กุ้ง เพิ่มร้อยละ 13.1 -ป่าไม้ ไม้สักเพิ่มร้อยละ 4.0
โครงการพัฒนาการเกษตร • โครงการเร่งรัดการผลิตและการจำหน่าย ผลผลิต 6 ประเภท คือ ข้าวโพด หม่อนไหม กุ้ง ปศุสัตว์ มะพร้าว ถั่วเหลือง • โครงการพัฒนาการเกษตรสาขาต่างๆ -การวิจัยด้านเพาะปลูก -โครงการวิจัยที่สำคัญ แผนงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้านกสิกรรมแผนงานสำรวจค้นคว้าวิจัย,แผนงานพืชเศรษฐกิจ
-โครงการส่งเสริมการเกษตร-โครงการส่งเสริมการเกษตร 1.แผนงานส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ 2.แผนงานส่งเสริมการผลิตข้าว 3.แผนงานป้องกันกำจัดศัตรูพืช 4.แผนงานส่งเสริมสถาบันเกษตรกร 5. แผนงานอบรมและเผยแพร่ • การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • การปศุสัตว์ • กรมป่าไม้ • การพัฒนาที่ดิน
นโยบายและมาตรการต่างๆนโยบายและมาตรการต่างๆ • การสหกรณ์สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรแบบเอนกประสงค์ • สถาบันเกษตรกรเช่น สมาคม กลุ่มเกษตรกร
การเร่งรัดพัฒนาชนบทด้านการเกษตรการเร่งรัดพัฒนาชนบทด้านการเกษตร • โครงการ ร.พ.ช. ที่สำคัญ -แผนงานพัฒนาขั้นพื้นฐาน -แผนงานเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของเกษตรกร • การช่วยเหลือเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพยุงราคาข้าวสินเชื่อเพื่อการเกษตร • การตลาดการเกษตร
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สี่(พ.ศ. 2520 - 2524) นางสาวนิตยา สง่างาม 4508020 นายปฏิภาณ ทรงยั่งยืนกุล 4508023 โดย นิตยา สง่างามวงศ์ 4508020 ปฏิภาณ ทรงยั่งยืนกุล 4508023
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สี่(พ.ศ. 2520 - 2524) วัตถุประสงค์หลัก - เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ - เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง - เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากรตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานใน ประเทศ - เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ - เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ปัญหา ในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง
เป้าหมายส่วนรวมและเงื่อนไขการพัฒนาที่สำคัญๆ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เป้าหมายการเกษตร - ให้ขยายตัวโดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.0 ต่อปีเน้นการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตภายในสาขาเกษตรเอง - ประการแรกได้แก่ การเพิ่มผลผลิตและเร่งปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด ถั่ว ข้าวฟ่าง อ้อย ปอ ยาสูบ ฝ้าย และยางพารา - ประการที่สองได้แก่ การเร่งกระจายการผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะเพื่อการปศุสัตว์ ประมงชายฝั่ง ส่วนพืชเศรษฐกิจที่ยังมีช่องทางกระจายได้มาก ได้แก่ มะพร้าว หม่อนไหม พืชน้ำมัน ผักและผลไม้นั้นก็จะได้ทำการเร่งจัดให้เพิ่มผลผลิตขึ้นด้วย
เป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าออกที่สำคัญเป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าออกที่สำคัญ
เป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าเข้าแยกตามประเภทใหญ่ๆเป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าเข้าแยกตามประเภทใหญ่ๆ ในด้านบริการนำเข้านั้นประมาณให้มูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 11.1 ต่อปี ในราคาตลาด ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าด้านบริการส่งออก โดยมีมาตรการให้การขนส่งสินค้าหันมาใช้บริการของประเทศเองมากขึ้น
เป้าหมายประชากรและการมีงานทำเป้าหมายประชากรและการมีงานทำ - เป้าหมายประชากร กำหนดให้อัตราการเพิ่มประชากรลดลงให้เหลืออย่างน้อยไม่เกินร้อยละ 2.1 ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งขณะนั้นกะประมาณว่าประเทศจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 48.2 ล้านคน - เป้าหมายการสร้างงานเพิ่ม กำหนดเป้าหมายไว้อย่างน้อยประมาณ 2.2 ล้านตำแหน่งในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 - เป้าหมายการมีงานทำในเมือง ให้มีอัตราเพิ่มของปริมาณการมีงานทำในเมืองเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปีในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 - เป้าหมายการมีงานทำในชนบท ให้มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในชนบทแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในชนบท • เน้นการพัฒนาในเขตพื้นที่ตามรูปแบบราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด • วางแนวทางเพื่อปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหา-กษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้ประชาชนในชนบทเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นขั้นตอน • ส่งเสริมโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองให้เป็นกำลังที่มีความสำคัญในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านการเมืองและการปกครอง • สนับสนุนให้มีการวางแผนพัฒนาจากราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทุกระดับขึ้นมา อันแสดงถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน • ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกฎกระทรวงและข้อบังคับต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนาหลัก • เร่งขยายการผลิตสาขาเกษตรให้ได้โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นอย่างต่ำ • ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สามารถขยายการผลิตเพื่อการส่งออก และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนการกระจายรายได้และเพิ่มการมีงานทำในส่วนภูมิภาค • วางแผนเร่งรัดการส่งออกและแผนการผลิตทดแทนการนำเข้าเพื่อปรับปรุงการค้ากับต่างประเทศให้เชื่อมโยงกับแนวทางการผลิตภายในประเทศ • กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคและการกระจายการพัฒนาเมืองหลักขึ้นในส่วนภูมิภาคให้มีแผนอย่างชัดเจน • เร่งขยายและกระจายบริการเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนาหลัก (ต่อ) • สนับสนุนและเร่งรัดแผนงานในการลดอัตราเพิ่มประชากรจากร้อยละ 2.5 ในสิ้นปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (2519) ให้เหลือร้อยละ 2.1 ในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2524) • วางแนวการขยายและการกระจายบริการสังคมให้ไปถึงมือประชาชนในชนบทอย่างกว้างขวาง • วางแนวทางการพัฒนาเสถียรภาพทางสังคมของชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้น • กำหนดแนวทางการบูรณะและบริการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจหลักและแนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของประเทศ • วางแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี