1 / 16

Chapter 5 การบริหารงานบุคคล

Chapter 5 การบริหารงานบุคคล.

feivel
Download Presentation

Chapter 5 การบริหารงานบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 5 การบริหารงานบุคคล มนุษย์ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การ องค์การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือบุคคลในองค์การ ถึงแม้จะมีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยอย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลในองค์การขาดความรู้ความสามารถก็ไม่อาจใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ทันสมัยนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน จนกระทั่งถึงการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานขององค์การในที่สุด

  2. ความหมายของการบริหารงานบุคคลความหมายของการบริหารงานบุคคล เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยพื้นฐานของการประกอบธุรกิจ 5M’s คือ คน วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน และการบริหาร จะเห็นได้ว่าคนเป็น องค์ประกอบประเภทหนึ่งที่ทุกองค์การต้องให้ความสำคัญ องค์การใดมีคนที่ดี คุณภาพย่อมจะนำพาให้องค์การนั้นไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลไว้หลายแนวทางพอ สรุปได้ดังนี้ การบริหารงานบุคคล หมายถึง การจัดหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด แต่ทั้งนี้ต้อง คำนึงถึงความสุขและความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงานด้วย(ระวัง เนตร โพธิ์แก้ว 2540:115)

  3. ความสำคัญของการบริหารงานบุคคลความสำคัญของการบริหารงานบุคคล • บุคคลในองค์การ เปรียบเสมือนชิ้นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรศึกษาความสำคัญของการบริหารงานบุคคลซึ่งแยกเป็นประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้ • -ช่วยเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจไม่ว่าจะเป็นด้านความสะดวกสบาย -ช่วยให้องค์การมีความมั่นคง และมั่งคั่งเมื่อพนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานย่อมส่งผลให้องค์การมีความเจริญเติบโตและเข้มแข็ง ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง -ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม สังคมประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลเล็กๆ มารวมกันถ้าแต่ละกลุ่มมีความมั่นคงย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความมั่นคงเช่นกัน -ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ ถ้าบุคลากรของทุกองค์การเป็นผู้มีความสามารถ

  4. หน้าที่การบริหารงานบุคคล Personal Functional • การบริหารงานบุคคล คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์การเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสร้างแรงจูงใจด้านต่างๆ เพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจพิจารณาขอบเขตของงานด้านบริหารงานบุคคลได้แก่ • การวางแผนกำลังคน PersonnelPlanning • การสรรหาและการคัดเลือก Finding and Selectiong • การจัดบุคคลเข้าทำงาน Recruitment • การปฐมนิเทศ Orientation • การพัฒนาและฝึกอบรม Training and Development • การเลื่อนชั้นและการโยกย้าย Transfer and Promotion • การสร้างแรงจูงใจ Motivation

  5. การจัดการด้านสวัสดิการ Welfare • การพ้นจากงาน working Leave • แรงงานสัมพันธ์ Labor Relation การวางแผนกำลังคน การดำเนินธุรกิจย่อมจะมีบางช่วงเวลาที่ต้องใช้กำลังคนมาก บางช่วงใช้กำลังคนมากก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้ากำลังคนน้อยก็ทำให้งานภายในองค์การเกิดความเสียหายได้เช่นกัน การวางแผนกำลังงานจะต้องมีการวิเคราะห์งาน เพื่อให้ทราบถึงการจัดหมวดหมู่ของงานและการประเมินผล การวิเคราะห์งาน Job Analysis

  6. 1. คำบรรยายลักษณะงาน JOB Descriptionเป็นข้อกำหนดหน้าที่ของงานในด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานด้านนั้น โดยจะมีรายละเอียดดังนี้ • หน้าที่รับผิดชอบ • กิจกรรมที่ต้องทำ • ขอบเขตความรับผิดชอบ • หน่วยงานที่ต้องติดต่อ 2. คุณสมบัติของพนักงาน Job Specification เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับงานที่จะต้องรับผิดชอบเช่น

  7. คิดดีและมีเมตตาต่อกันนะคะคิดดีและมีเมตตาต่อกันนะคะ • อายุ • การศึกษา • สายตา • บุคลิกภาพ • ส่วนสูง • น้ำหนักตัว • สถานภาพ

  8. 3. การจัดหมวดหมู่ของงาน Job Classification คือ การจัดการเกี่ยวกับงานให้เป็นระบบ งานใดมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน ก็สามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน • 4. การประเมินผลงาน Job Evaluation ภายหลังจากการจัดการเกี่ยวกับงานในประเด็นต่าง ๆ แล้วจะต้องมีการประเมินผลของงาน เพื่อใช้เป็นการกำหนดค่าตอบแทนรวมถึงการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ให้เหมาะสม การสรรหาการคัดเลือก การสรรหาบุคลากร เพื่อเข้ามาร่วมงานกับองค์การ ผู้รับผิดชอบจะต้องมีการหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่ต้องการอ่าน จากนั้นจึงดำเนินการขั้นตอนต่อไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

  9. 2.1 การสรรหาจากภายในองค์การ คือ เมื่อองค์การมีความต้องการพนักงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับต่างๆ ไม่จำเป็นต้องประกาศรับสมัครบุคคลภายนอกเสมอไปทั้งนี้เพราะบุคลากรภายในองค์การบางคนอาจมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งการสรรหาบุคลากรภายในกิจการมีข้อดีในด้านขวัญและกำลังใจ • 2.2 การสรรหาจากภายนอกกิจการ ตำแหน่งงานบางประเภทมีความจำเป็นที่จะต้องหาจากแหล่งภายนอก เพราะมีบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกว่าภายใน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ที่องค์การจะได้รับในด้านของความหลากหลายด้านความคิดสร้างสรรค์จากบุคคลภายนอก แหล่งกำลังคนภายนอกที่สำคัญได้แก่

  10. 2.2.1 สำนักจัดหางานของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีอากรให้บริการโดยไม่คิดบริการจากผู้สมัครและนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างต้องการจะใช้บริการของสำนักงานจัดหางานของรัฐบาลแล้วนายจ้างจะต้องแจ้งให้สำนักจัดหางานทราบถึงคุณสมบัติอย่างต่ำของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ 2.2.2 สำนักจัดหางานของเอกชน หน้าที่ของสำนักงานจัดหางานของเอกชนจะเหมือนกับสำนักจัดหางานของรัฐบาลแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งให้สำนักจัดหางานทราบถึงคุณสมบัติอย่างต่ำของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ

  11. 2.2.3 ผู้สมัครงานที่ไม่ได้ถูกเสาะหาโดยธุรกิจ บุคคลบางคนอาจจะสมัครงานกับธุรกิจ โดยที่ธุรกิจไม่ได้ ทำการเสาะหาดังนั้นถ้าหากว่าธุรกิจต้องการผู้สมัครงาน ประเภทนี้แล้ว บริษัทจะต้องพยามสร้างชื่อเสียงที่ดีภายใน สังคม นอกจากนี้บริษัทควรจะมีแผนกบุคคลที่หาได้ง่ายเมื่อ ผู้สมัครงานประเภทนี้เข้าไปภายในอาคารของบริษัท

  12. 2.2.4 การโฆษณา • ธุรกิจอาจจะใช้ทั้งหนังสือพิมพ์รายวันและวารสารต่างๆ ด้วยการซื้อเนื้อที่ของหนังสือเหล่านี้ในการโฆษณา • 2.2.5 สหภาพแรงงาน • ในกรณีที่นายจ้างต้องการพวกช่างต่างๆ อาจจะเป็นช่างไฟฟ้า ช่างทาสีและช่างไม้นั้น นายจ้างอาจจะทำการเสาะหาได้จากสหภาพแรงงานของอาชีพเหล่านี้ • 2.2.6 สถาบันการศึกษา ในแต่ละปีบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และโรงเรียนวิชาชีพ เพื่อทำการสัมภาษณ์นักเรียนหรือนักศึกษา

  13. กำลังจะสำเร็จการศึกษาเพื่อรับเข้าทำงานที่บริษัท สถาบันการศึกษาอาจจะมีศูนย์กลางจัดหางานอยู่ภายในสถาบันแล้ว โดยเป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจและนักศึกษา • 2.2.7 การแนะนำโดยพนักงาน • บริษัทบางแห่งจะสนับสนุนให้พนักงานของบริษัทแนะนำบุคคล ที่พวกเขาเห็นว่าบริษัทควรจะรับเข้าทำงาน การปิดประกาศและ การประชุมที่จัดโดยผู้จัดการบุคคลมักจะใช้สำหรับความมุ่งหมาย ดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น คือ พนักงานของบริษัทอาจจะแนะนำ บุคคลใดๆ ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่เป็นเพื่อนของพวกเขาเข้า ทำงานได้

  14. การคัดเลือก เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากการสรรหาบุคลากร แบ่งออกเป็น 2ระบบ ใหญ่ๆ คือ การบริหารบุคคลระบบคุณธรรมMerit system และการบริหารบุคคลระบบอุปถัมภ์ Patronage System ระบบคุณธรรม มี4 ประการคือ หลักความสามารถ ความเสมอภาค หลักความเป็นกลาง ทางการเมือง หลักความมั่นคง

  15. ทฤษฏีความต้องการของมนุษย์ 5ขั้นMaslow ความสมหวังในชีวิต Self-Realization Needs เกียรติยศชื่อเสียง Esteem Needs ด้านสังคม Social Needs ด้านความปลอดภัย Safety Needs ความต้องการด้านร่างกาย Physiological Needs

  16. สรุป summary • องค์การจะเดินไปสู่ความล้มเหลวหรือความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ สำคัญคือ การบริหารงานบุคคล องค์การใดมีการบริหารงานบุคคลที่ดีย่อมจะเกิด ประโยชน์สะท้อนกลับให้เกิดความมั่นคงและความสำเร็จ ซึ่งสรุปความสำคัญของการ บริหารงานบุคคลได้ดังนี้ -ช่วยส่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน -ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่องค์การ -ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม -ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ เป็นต้น

More Related