170 likes | 500 Views
โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส ในอวกาศที่ เรียกว่า เนบิวลา แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกันจน ในที่สุดกลายเป็นระบบสุริยะ .
E N D
โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส ในอวกาศที่ เรียกว่า เนบิวลาแรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกันจน ในที่สุดกลายเป็นระบบสุริยะ ในปัจจุบัน พบว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี และหินแปร โดยมีหินชั้นประกอบอยู่น้อยมาก สามารถจำแนกตามประเภทและ ชนิดของหินโดยประมาณ พบเป็น หินอัคนี 95% หินดินดาน 4% หินทราย 0.75% หินปูน 0.25% โดยรวมหินแปรไว้ในหินต้นกำเนิดเหล่านี้แล้ว
นักธรณีวิทยาศึกษาโครงสร้างภายในโลกจากการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) คือ คลื่นไหวสะทือนที่มีลักษณะคล้ายคลื่นแผ่นดินไหว ในการสำรวจโครงสร้างภายในของโลก ผลจากการตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าโครงสร้างภายในของโลกตามองค์ประกอบทางเคมีแสดงลักษณะเป็นชั้น แต่ละชั้นมีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน เมื่อแบ่งโครงสร้างของโลกตามลักษณะมวลสารสามารถแบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ 3 ชั้น คือ 1. ชั้นเปลือกโลก 2. ชั้นเนื้อโลก 3. ชั้นแก่นโลก
เปลือกโลก(Crust) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วยส่วนที่อยู่ภายนอกที่เป็นแผ่นดินและน้ำกับส่วนที่เป็นหินแข็งซึ่งฝังลึกลงไปใต้ผิวดินและผิวน้ำ เปลือกโลกหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร เปลือกโลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป หมายถึง ส่วนที่เป็นแผ่นดินทั้งหมด ประกอบด้วย ธาตุซิลิคอนและอะลูมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ มีสีจาง เรียกหินชั้นนี้ว่า หินไซอัล (Sial) ซึ่งเป็นหินแกรนิต 2. เปลือกโลกใต้มหาสมุทร หมายถึง ส่วนของเปลือกโลกที่ปกคลุมด้วยน้ำ ประกอบด้วยธาตุซิลิคอนและแมกนีเซียมเป็นส่วนใหญ่ มีสีเข้ม เรียกหินชั้นนี้ว่า หินไซมา (sima) ซึ่งเป็นหินบะซอลต์
ชั้นเนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากเปลือกโลก ประกอบด้วยหินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งเป็นหินอัคนี ชั้นแมนเทิลมีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ 1.ชั้นเนื้อโลกส่วนบน เป็นหินที่เย็นตัวแล้ว บางส่วนมีรอยแตก เนื่องจากความ เปราะ ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก รวมกันเรียกว่า ธรณีภาค (lithosphere) มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไป 2. ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) มีความลึก 1002350 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีแมกมา ซึ่งเป็นหินหนืดหรือหินหลอมละลายร้อนจัดประกอบด้วยธาตุซิลิกอน เหล็ก และอลูมิเนียม หมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้าๆ 3. ชั้นเนื้อโลกชั้นล่างสุด อยู่ที่ความลึก 35022,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน มีอุณหภูมิสูงประมาณ 2,25024,500 องศาเซลเซียส
ชั้นแก่นโลก (core) คือ ส่วนชั้นในสุดของเปลือกโลก ชั้นนี้หนาประมาณ 2,900 กิโลเมตรประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลว (หินหนืด) แก่นโลกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้ 1. แก่นโลกชั้นนอก(Outer Core) อยู่ที่ความลึก 2,90025,100 กิโลเมตร เชื่อว่าประกอบด้วยสารเหลวร้อนของโลหะเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความร้อนสูงมาก 2. แก่นโลกชั้นใน(Inner Core) อยู่ที่ความลึก 5,10026,370 กิโลเมตร มีส่วนประกอบเหมือนแก่นโลกชั้นนอก แต่อยู่ในสภาพแข็ง เนื่องจากมีความดันและอุณหภูมิสูงมาก อาจสูงถึง 6,000 องศาเซลเซียส
ตารางแสดง โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ • วีดีโอเพิ่มเติม http://www.youtube.com/watch?v=xomr8odQdY0 http://www.youtube.com/watch?v=Glzh3Y1MlDc • ความรู้เพิ่มเติม http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/Earth_Struction.htm http://www.baanjomyut.com/library_2/changes_in_the_earth/04.html • สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/