1 / 48

ASP.NET

ASP.NET. โดย อ. นัฐพงศ์ ส่งเนียม http://www.siam2dev.com xnattapong@hotmail.com. ASP.NET. มาทำความรู้จักกับ ASP.NET VB.NET หรือ C# ภาษาไหนได้เปรียบกว่า เกี่ยวกับคอนโทรล การเชื่อมต่อฐานข้อมูล ตัวอย่างงาน ASP.NET. มาทำความรู้จักกับ ASP.NET. เป้าหมายของ ASP.NET

eze
Download Presentation

ASP.NET

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ASP.NET โดย อ. นัฐพงศ์ ส่งเนียม http://www.siam2dev.com xnattapong@hotmail.com

  2. ASP.NET • มาทำความรู้จักกับ ASP.NET • VB.NET หรือ C# ภาษาไหนได้เปรียบกว่า • เกี่ยวกับคอนโทรล • การเชื่อมต่อฐานข้อมูล • ตัวอย่างงาน ASP.NET

  3. มาทำความรู้จักกับ ASP.NET • เป้าหมายของ ASP.NET • ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง • ลงมือติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งาน ASP.NET • ทดสอบ ASP.NET ก่อนทำงานจริง • คำถามต่างๆเกี่ยวกับ ASP.NET

  4. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • เปลี่ยนโครงสร้างภาษาหลักทั้งหมด • เพิ่มคอนโทรล ทำให้สร้างเว็บได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น • เปลี่ยนวิธีการปรับแต่งเว็บเซิร์ฟเวอร์และลงทะเบียนคอมโพเนนต์ • ปรับปรุงประสิทธิภาพการเชื่อมต่อฐานข้อมูล

  5. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • เปลี่ยนโครงสร้างภาษาหลักทั้งหมด ภาษา VBScript ภาษา VB.NET และ C# โดยคอมไพเลอร์ของภาษา VB.NET และ C# นี้ จะถูกฝังติดมากับชุดโปรแกรม .NET Framework

  6. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • เพิ่มคอนโทรลทำให้สร้างเว็บได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ASP.NET ได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “คอนโทรล” (Control) เพิ่มขึ้นมา เพื่อช่วยให้การสร้างเว็บเพจทำได้ง่ายขึ้น คอนโทรลมักถูกออกแบบมาทดแทนสคริปต์ที่เราต้องใช้ซ้ำๆ ยกตัวอย่างเช่น การเขียนสคริปต์วนรอบดึงข้อมูลในฐานข้อมูลออกมาแสดงเป็นตาราง HTML

  7. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • การเขียนสคริปต์วนรอบดึงข้อมูลในฐานข้อมูลออกมาแสดงเป็นตาราง HTML ความวุ่นวายจะมีมากมายเต็มไปหมด -ตั้งแต่การสร้างรูปแบบตารางให้สวยงาม -การกำหนดว่าจะให้วนรอบตรงไหนอย่างไร ถ้าเป็นคอนโทรลใน ASP.NET แล้ว -จะใช้คำสั่งเพียงแค่ว่า “DataGrid” ข้อมูลก็จะถูกเติมลงในตารางอย่างสวยงานทันที

  8. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • เปลี่ยนวิธีการปรับแต่งเว็บเซิร์ฟเวอร์และลงทะเบียนคอมโพเนนต์ -เปลี่ยนให้ค่าประจำเว็บเซิร์ฟเวอร์ถูกเก็บเอาไว้ในไฟล์ชื่อ config.web ในลักษณะของข้อมูลที่เป็น XML แทน ซึ่งก็หมายความว่า การปรับเปลี่ยนค่าประจำเว็บเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำของบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องเลย ขอเพียงแต่บุคคลผู้นี้มีสิทธิ์ในการเปิดไฟล์ config.web ก็สามารถแก้ไขได้แล้ว -การปรับแต่งค่าประจำเว็บเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ อย่างเช่น ระยะเวลาในการทำงานของสคริปต์ (Script TimeOut), อายุของ session (Session TimeOut) จะถูกกำหนดเอาไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยบุคคลอื่น คนที่สามารถแก้ไขได้ จะต้องเป็นบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอนโซล (console) เท่านั้น

  9. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? - คอมโพเนนต์ จะมีการรอคอยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จัดการลงทะเบียนคอมโพเนนต์แทนเรา - คอมโพเนนต์ เราสามารถอัปโหลดไฟล์คอมโพเนนต์ เข้าไปเก็บยังไดเรกทอรี bin จากนั้นคอมโพเนนต์ก็จะถูกลงทะเบียนพร้อมใช้งานทันทีโดยอัตโนมัติ

  10. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • ปรับปรุงประสิทธิภาพการเชื่อมต่อฐานข้อมูล • ADO • - การเชื่อมต่อฐานข้อมูลผ่าน ODBC ทั้งหมด ADO.NET - การเชื่อมต่อฐานข้อมูลผ่าน OLEDB.NET Provider แทน

  11. ASP.NET เปลี่ยนแปลงอะไรไปจาก ASP บ้าง? • นอกจากนี้ ASP.NET ยังมีการพัฒนามาตรฐานพิเศษขึ้นมาใช้เฉพาะโปรแกรมฐานข้อมูล MS SQL Server ของไมโครซอฟต์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การเชื่อมต่อฐานข้อมูลและการจัดการกับฐานข้อมูล ทำได้เร็วขึ้น และเร็วกว่าโปรแกรมฐานข้อมูลอื่นๆ ทุกชนิด

  12. ลงมือติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งาน ASP.NET • ASP.NET จะทำงานในเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการ Windows 2000 หรือ XP ขึ้นไปเท่านั้น • ต่อไป เราจำเป็นที่จะต้องติดตั้ง - โปรแกรม .NET Framework SDK ขนาด 128 MB - หรือโปรแกรม ASP.NET Premium Edition ขนาด 18.3 MB (เลือกใช้เฉพาะโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง)

  13. ลงมือติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งาน ASP.NET • หลังจากดาวน์โหลดไฟล์มาได้เรียบร้อย การติดตั้งก็ง่ายใช้วิธีการคลิกแล้วรอ โปรแกรมก็จะจัดการคัดลอกไฟล์และติดตั้งตัวเองลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างอัตโนมัติ

  14. ลงมือติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งาน ASP.NET • คุณสมบัติของฮาร์ดแวร์ที่จะใช้กับ ASP.NET

  15. ทดสอบ ASP.NET ก่อนทำงานจริง • ไฟล์ของ ASP.NET จะเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ใหม่จากเดิมคือ .asp ไปเป็น .aspx ส่วนวิธีการทดสอบการทำงานของสคริปต์จะยังคงยึดหลักการเดิม เหมือนกับการทดสอบสคริปต์ asp ทั่วไป คือ ให้คัดลอกไฟล์ไปเก็บเอาไว้ในไดเรกทอรี c:\inetpub\wwwroot ซึ่งเป็นไดเรกทอรีหลักของเว็บเซิร์ฟเวอร์ • หลังจากนั้น ให้เปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมา แล้วกรอก URL เป็น http://localhost หรือ http://127.0.0.1 ก็ได้ ตามด้วยชื่อไฟล์ .aspx เพื่อเรียกให้ เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงานและแปลภาษา ASP.NET ภายในไฟล์ .aspx นั้น

  16. VB.NET หรือ C# ภาษาไหนได้เปรียบกว่า • กำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสาร • การเขียนหมายเหตุ • VC กับ C# ประกาศตัวแปรต่างกันตรงไหน • การสร้างตัวแปรแบบอ็อบเจ็กต์เพื่อถ่ายทอดคุณสมบัติ • การใช้ตัวแปรแบบอาร์เรย์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ • คำสั่งประเภทเงื่อนไข และการทำงานวนรอบ • การสั่งการอ็อบเจ็กต์ของ ASP.NET ด้วย VB และ C#

  17. กำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสารกำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสาร <% @ page language = “C#” %> <% @ page language = “VB” %> <% @ page language = “JScript” %>

  18. กำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสาร (ต่อ) จุดเด่นมากๆ อีกจุดหนึ่งของ ASP.NET คือสามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยภาษาที่ถนัดมากที่สุด และประกาศใช้งานภาษาได้หลายครั้งหลายภาษาในโปรแกรมเดียวกัน ในกรณีที่ลืมแทรกคำสั่งประกาศชื่อภาษาที่จะใช้ ลงไปในเว็บเพจ ค่าเริ่มต้น (default) ของคอมไพเลอร์ได้แก่ภาษา VB

  19. กำหนดภาษาที่ใช้ให้ชัดเจนตั้งแต่หัวเอกสาร (ต่อ) ตัวอย่างการใช้งานมากกว่า 1 ภาษาในเว็บเพจเดียวกัน<Script language = “C#” runat = “server”> // เขียนโปรแกรมด้วย C# </Script> … <Script language = “VB” runat = “server”> ‘ เขียนโปรแกรมด้วย VB </Script>

  20. การเขียนหมายเหตุ - ใช้เครื่องหมาย ‘ (single quote) แทรกอยู่หน้าบรรทัดที่เป็นหมายเหตุ - ใช้เครื่องหมาย // (slash 2 ตัวติดกัน) แทรกอยู่หน้าบรรทัดที่เป็นหมายเหตุ - ใช้เครื่องหมาย /* เป็นการเปิดพื้นที่หมายเหตุ แล้วก็ใช้เครื่องหมาย */ เป็นการปิดพื้นที่หมายเหตุ ในกรณีต้องการเขียนหมายเหตุต่อๆ กันหลายบรรทัด

  21. Dim ชื่อตัวแปร As ชนิดของข้อมูล ชนิดของข้อมูล ชื่อตัวแปร; VB กับ C# ประกาศตัวแปรต่างกันตรงไหน

  22. Dim ชื่อตัวแปร As new อ็อบเจ็กต์ต้นแบบ อ็อบเจ็กต์ต้นแบบ ชื่อตัวแปร = new อ็อบเจ็กต์ต้นแบบ; การสร้างตัวแปรแบบอ็อบเจ็กต์เพื่อถ่ายทอดคุณสมบัติ • วิธีการประกาศตัวแปรให้มีการถ่ายทอดคุณสมบัติ

  23. ชนิดของข้อมูล[ ] ชื่อตัวแปร = new ชนิดของข้อมูล[ขนาดของอาร์เรย์]; Dimชื่อตัวแปร(ขนาดของอาร์เรย์) Asชนิดของข้อมูล การใช้ตัวแปรแบบอาร์เรย์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ

  24. คำสั่งประเภทเงื่อนไข และการทำงานวนรอบ • If • Case • For • While

  25. คำสั่ง If If (เงื่อนไข) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “เงื่อนไข” เป็น “จริง” Else ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “เงื่อนไข” เป็น “เท็จ” End If if (เงื่อนไข) { ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “เงื่อนไข” เป็น “จริง” }else { ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “เงื่อนไข” เป็น “เท็จ” }

  26. คำสั่ง Case Select (ตัวแปร) Case “ค่าที่ 1”: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวแปร” เท่ากับ “ค่าที่ 1” … Case “ค่าที่ n”: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวแปร” เท่ากับ “ค่าที่ n” End Select switch (ตัวแปร) { case “ค่าที่ 1”: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวแปร” เท่ากับ “ค่าที่ 1” break; … case “ค่าที่ n”: ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวแปร” เท่ากับ “ค่าที่ n” break; }

  27. คำสั่ง For Dim ตัวแปรAs Integer For ตัวแปร = ค่าเริ่มต้นTo ค่าสิ้นสุด การทำงานในแต่ละรอบ Next For (int ตัวแปร = ค่าเริ่มต้น; ตัวแปร < ค่าสูงสุด; วิธีการเพิ่มค่า/ลดค่า) { การทำงานในแต่ละรอบ }

  28. คำสั่ง While Do While (เงื่อนไข) วนรอบทำงานเรื่อยๆ ตราบใดที่ “เงื่อนไข” ยังเป็น “จริง” Loop While (เงื่อนไข) { วนรอบทำงานเรื่อยๆ ตราบใดที่ “เงื่อนไข” ยังเป็น “จริง” }

  29. การสั่งการอ็อบเจ็กต์ของ ASP.NET ด้วย VB และ C# อ็อบเจ็กต์ Application อ็อบเจ็กต์ ASPError อ็อบเจ็กต์ ObjectContext อ็อบเจ็กต์ Request อ็อบเจ็กต์ Response อ็อบเจ็กต์ Server อ็อบเจ็กต์ Session

  30. การใช้งาน ASP ร่วมกับ VBScript If request.Form("data") <> "" Then ‘ ตรวจสอบค่าจากฟอร์มชื่อ data Response.Write("ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว") ‘ แสดงข้อความที่เว็บเพจ End If สคริปต์ 3 บรรทัดนี้อาศัย If เป็นคำสั่งของ VBscript ร่วมกับอ็อบเจ็ก ASP 2 ตัวคือ Request กับ Response

  31. การใช้งาน ASP.NET ร่วมกับ VB และ C# If request.Form("data") <> "" Then 'ตรวจสอบค่าจากฟอร์มชื่อ data Response.Write("ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว") 'แสดงข้อความที่เว็บเพจ End If If (request.Form("data") ! ""){ // ตรวจสอบค่าจากฟอร์มชื่อ data Response.Write("ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว"); // แสดงข้อความที่เว็บเพจ }

  32. สรุปหลักการใช้งานอ็อบเจ็กของ ASP.NET กับ VB หรือ C# 1. หลักการใช้งานเหมือนกับการใช้ เหมือนกับการใช้ Asp และ VBscript เพียงแต่ต้องแยกให้ออกว่า ส่วนไหนเป็นอ็อบเจ็กต์ของ ASP ส่วนไหนเป็นคำสั่งของ VBscript 2. เมื่อแยกออกได้แล้วก็ให้แทน VBscript ด้วยภาษา VB หรือ C# ตามความต้องการโดยต้องระวังในการปรับเปลี่ยนเป็น C# ให้ดี ต้องคอยตรวจสอบไวยกรณ์และเครื่องหมาย ; ปิดท้ายคำสั่งเพราะการเปลี่ยน VBscript เป็น C# มีจุดที่ต้องแก้ไขหลายจุด ไม่เหมือนกับการเปลี่ยน VBscript เป็น VB

  33. จุดประสงค์ของคอนโทรล • คอนโทรลช่วยประหยัดโค้ด ลดการเขียนสคริปต์ฟุ่มเฟือย • การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคอนโทรลกลับภาษาหลัก ( VB หรือ C# ) ทำได้ง่าย

  34. หมวดหมู่ของคอนโทรล ASP.NET จัดแบ่งคอนโทรลตามประเภทการใช้งาน ออกเป็น 4 หมวดหมู่ใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ • Intrinsic Controls • List Controls • Rich Controls • Validation Controls

  35. หมวด Intrinsic Controls • เป็นคอนโทรลที่ให้ผลลัพธ์เป็นวัตถุ HTML ทั้งหมด เช่น คอนโทรล Label, Button, TextBox และอื่นๆ หมวดนี้เป็นคอนโทรลสำคัญที่จะใช้งานบ่อยที่สุด

  36. หมวด List Controls เป็นคอนโทรลที่ออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานกับการแสดงผลข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่ง ASP ดั้งเดิมที่ต้องเขียนโปรแกรมวนรอบดึงข้อมูลออกจากฐานข้อมูลมาแสดง มันไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย เพราะนักพัฒนาปฏิบัติด้วยความเคยชินกันอยู่แล้ว

  37. List Controls ประกอบไปด้วย 3 คอนโทรลหลักที่ใช้งานกันบ่อย คือ 1. Repeater 2. DataList 3. DataGrid อย่างไรก็ตาม List Controls ยังมีคอนโทรลเล็กๆ อีก 2 ตัวที่มีบทบาทน้อยมาก คือ RadioButtonList สำหรับแสดงรายการที่เป็น radio button และ CheckBoxList สำหรับรายการที่เป็น check box

  38. หมวด Rich Controls เป็นคอนโทรลพิเศษที่ให้ผลลัพธ์ในลักษณะสำเร็จรูปมากกว่าคอนโทรลประเภทอื่นๆ คล้ายๆ กับว่าเป็นชุดเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้กันบ่อยๆ ผู้พัฒนาเว็บจะได้เรียกใช้งานง่ายๆ ตัวอย่างคอนโทรลในหมวดนี้เราก็ได้เห็นตอนต้นแล้วคือ คอนโทรล Calendar

  39. หมวด Validation Controls คอนโทรลทั้งหมดใน Validation Controls มีจำนวน 6 ตัวด้วยกัน คือ 1. RequiredFieldValidator 2. CompareValidator 3. RangValidator 4. RegularExpresionValidator 5. CustomValidator 6. ValidationSummarry

  40. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลการเชื่อมต่อฐานข้อมูล การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสำหรับภาษานี้ เป็นการเชื่อมต่อฐานข้อมูลแนวใหม่ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อฐานข้อมูลแนวใหม่ ได้แก่ การพัฒนาของ ADO ให้กลายเป็นADO.NET และการเปลี่ยนระบบเรียกใช้งานการอ็อบเจ็กต์เป็นระบบการเปิดหรือปิดคลาสพื้นฐาน หรือที่เรียกว่า เนมสเปซ (namespace)

  41. การเชื่อมต่อฐานข้อมูล (ต่อ) ADO.NET มีวิธีการเรียกใช้งานอ็อบเจ็กต์และคลาสต่างๆจะเรียกผ่าน “เนมสเปซ” (namespace) ซึ่งเป็นคลาสพื้นฐานของ .NET Framework ด้วยคำสั่งดังนี้ <%@ Import Namespace = “System.Data” %> ซึ่งอ็อบเจ็กต์หลักของ ASP.NET จะใช้ชื่อว่า “System” เราจะต้องเชื่อมต่อฐานข้อมูลผ่าน OLEDB Provider เท่านั้น

  42. เนมสเปซสำหรับ MS SQL Server และ XML โดยเฉพาะ - ถ้าต้องการเชื่อมต่อฐานข้อมูล MS SQL Server ให้ใช้คำสั่ง Import Namespace ดังนี้ <%@ Import Namespace = “System.Data.SQLClient” %> - สำหรับ XML จะมีเนมสเปซเฉพาะ ดังนี้ <%@ Import Namespace = “System.XML” %>

  43. การแสดงข้อมูลจากไฟล์ฐานข้อมูล Microsoft Access การติดต่อฐานข้อมูลทั่วไป ที่ผ่าน OLEDB Provider จะใช้ เนมสเปซ 2 ตัว ด้วยกันคือ <%@ Import Namespace = “System.Data” %> <%@ Import Namespace = “System.Data.OleDb” %> System.Data.OleDb ใช้สำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลผ่าน OleDb Provider เมื่อเราอิมพอร์ตเนมสเปซ ชื่อ System.Data.OleDb แล้ว เราจะสามารถใช้งานอ็อบเจ็กต์ เช่น OleDbConnection และ OleDbAdapter ได้ ส่วน เนมสเปซ ชื่อ System.Data ก็จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลข้อมูลและอ็อบเจ็กต์ Dataset

  44. การแสดงข้อมูลจากไฟล์ฐานข้อมูล Microsoft Access การประกาศตัวแปรอ็อบเจ็กต์ ถ้าเป็นการติดต่อฐานข้อมูลธรรมดาทั่วไปผ่าน OleDb Provider จะใช้ 3 อ็อบเจ็ค คือ 1. OleDbConnection 2. OleDbDataAdapter 3. DataSet

  45. ตัวอย่าง แบบ VB ‘ เชื่อมต่อฐานข้อมูล Dim myconn As new OleDbConnection(“กำหนดโพรไวเดอร์”) ‘เรียกข้อมูลจากฐานข้อมุล Dim myda As new OleDbDataAdapter(“ระบุประโยคคำสั่ง SQL”,myconn) ‘เก็บข้อมูลใส่ DataSet โดย “ชื่ออ้างอิง” จะใช้เป็นชื่อที่เรียกกลุ่มข้อมูลเหล่านี้ใน DataSetต่อไป Dim ds As new DataSet() myda.Fill(ds,”ชื่ออ้างอิง”)

  46. ตัวอย่างแบบ C# OleDbConnection myconn = new OleDbConnection(“กำหนดโพรไวเดอร์และไฟล์”); OleDbDataAdapter myda = newOleDbDataAdapter(“ระบุประโยคคำสั่ง SQL”,myconn); DataSet ds = new Dataset(); Myda.Fill(ds, “ชื่ออ้างอิง”);

  47. การนำข้อมูลที่อยู่ใน DataSet ไปแสดงผล โดยใช้ Datagrid ตัวอย่าง แบบ VB ‘ให้ mydatagrid เป็นชื่อของคอนโทรล DataGrid ที่จะนำข้อมูลไปแสดง mydatagrid.DataSource = ds.Tables(“ชื่ออ้างอิง”) mydatagrid.DataBind() …. <asp:DataGrid id = “mydatagrid” runat = “server” />

  48. การนำข้อมูลที่อยู่ใน DataSet ไปแสดงผล โดยใช้ Datagrid ตัวอย่าง แบบ C# // ให้ mydatagrid เป็นชื่อของคอนโทรล DataGrid ที่จะนำข้อมูลไปแสดง mydatagrid.DataSource = ds.Tables(“ชื่ออ้างอิง”); mydatagrid.DataBind(); …. <asp:DataGrid id = “mydatagrid” runat = “server” />

More Related