1.14k likes | 2.76k Views
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓. โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี. ประกาศราชกิจจา นุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๗๒ ก หน้า ๑๒ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. มีผลใช้บังคับตั้งแต่
E N D
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๗๒ กหน้า ๑๒ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ • มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ • นิยามความหมายของเด็ก และเยาวชน(กฎหมายเดิม) (ม.๔) เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์(กฎหมายใหม่) เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุ ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
นิยามความหมายของเด็กและเยาวชน (ต่อ) (กฎหมายเดิม) (ม.๔) เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (กฎหมายใหม่) เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุ เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) มีดังนี้ ๑. คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดโดยถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น (ม.๕) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๒. คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตาม มาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง - บุคคลใดอายุยังไม่เกิน ๒๐ ปี บริบูรณ์กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลชั้นต้นพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญาและนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชนให้มีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๓. คดีครอบครัว คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัวหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๔. คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ คดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามกฎหมาย - พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ๒๕๔๖ - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ - กฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๕. คดีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การดำเนินคดีอาญา การจับกุม • การจับกุมเด็กและเยาวชน (ม.๖๖) - การจับกุมเด็ก หลัก ---- >>> ห้ามจับ เว้น ---- >>> กระทำความผิดซึ่งหน้า(ตามป.วิอาญา) หรือมีหมายจับ หรือคำสั่งของศาล โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การจับกุมเยาวชน • หลักเกณฑ์ตาม ป.วิอาญา เช่นอาจจับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาล ถ้าเข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด เช่นความผิดซึ่งหน้าหรือเมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับแต่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
หลักเกณฑ์การออกหมายจับเด็กและเยาวชน - หากมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กหรือเยาวชนอย่างรุนแรง โดยไม่จำเป็น ให้พยายามหลีกเลี่ยงการออกหมายจับโดยใช้วิธีติดตามตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยวิธีอื่นก่อน (ม.๖๗) - ศาลต้องคำนึงคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ (ม.๖๗) - อยู่ภายใต้บังคับตาม ป.วิ.อ. ม ๖๖ เรื่องหลักเกณฑ์การออกหมายจับ - เกณฑ์มาตรฐานในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในชั้นออกหมายจับ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ม.๖๙) ๑. ให้แจ้งแก่เด็ก หรือ เยาวชนว่าเขาต้องถูกจับ ๒. แจ้งข้อกล่าวหารวมทั้งสิทธิให้ทราบโดยให้แสดงหมายจับ(หากมี)แล้วให้นำตัวไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวน (พงส.)แห่งท้องที่ที่ถูกจับทันที เพื่อให้ พงส.ดังกล่าวส่งตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของ พงส. ผู้รับผิดชอบโดยเร็ว ๓. ให้แจ้งเหตุแห่งการจับให้บิดามารดา ผู้ปกครองฯที่อยู่ด้วยในขณะนั้นทราบ ในโอกาสแรก ถ้าเป็นความผิดอัตราโทษอย่างสูง จำคุกไม่เกิน ๕ ปี จะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้นำตัวเด็ก หรือ เยาวชนนั้นไปยังที่ทำการของ พงส.ก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ต่อ) ๔. ให้ผู้ถูกจับติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า ๕. การจับกุมและควบคุมเด็กหรือเยาวชน ต้องกระทำโดยละมุนละม่อมคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือ เยาวชน ๖. ห้ามมิให้วิธีการควบคุมเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือ เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็ก เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งหรือเพื่อความปลอดภัย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ต่อ) ๗. ให้ทำบันทึกการจับกุมแจ้งข้อหา รายละเอียด เกี่ยวกับเหตุแห่งการจับ ให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้าขณะทำบันทึกมี บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ต้องกระทำต่อหน้าบุคคลดังกล่าว ๘. ห้ามมิให้ถามคำให้การผู้ถูกจับ และมิให้ศาลรับฟังถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดแต่นำมาฟังเป็นคุณแก่เด็กหรือเยาวชนได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุมแผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุม การดำเนินการในชั้นเจ้าพนักงานผู้จับเมื่อจับกุมเด็กหรือเยาวชนแล้ว (มาตรา ๖๙) เจ้าพนักงานผู้จับทำบันทึกการจับกุม บิดา มาดา ผู้ปกครองหรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะจับ (ว.๒) อยู่ด้วยในขณะจับ ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะจับ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุมแผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุม อยู่ด้วยในขณะจับ ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะจับ โทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี โทษจำคุกเกิน ๕ ปี เจ้าพนักงานผู้จับนำตัวส่ง พงส.เอง เจ้าพนักงานผู้จับจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวนำตัวส่ง พงส.เอง พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การดำเนินคดีอาญา • การสอบสวน (ม.๗๐,๗๑) การสอบถามเบื้องต้น • กระทำในสถานที่ที่เหมาะสม • ใช้ถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชน เข้าใจได้โดยง่าย - จัดหาล่ามให้ในกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทย - หากประสงค์ติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบิดามารดา ฯลฯและอยู่ในวิสัยที่ดำเนินการได้ ให้ พงส.ดำเนินการให้ ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า - เมื่อ พงส.ได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับหรือเด็กหรือเยาวชนถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาพงส.เองให้พงส.ถามและแจ้งข้อเท็จจริง และแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิอาญา ม. ๑๓๔ โดยอนุโลม - พงส. แจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อดำเนินการ ตาม ม.๘๒ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การสอบสวนคดีอาญา (หมวด ๖ ) : ชั้นสอบสวน การดำเนินการชั้นสอบสวน กรณีเด็กเข้าหาพนักงานสอบสวน (ม.๗๑) กรณีถูกจับ ( ม.๖๙) ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ม.๑๓๔ • การดำเนินการของพนักงานสอบสวน- สอบถามข้อมูลเบื้องต้น • แจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชน รวมทั้งบิดา • มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การ ที่เด็กอาศัยอยู่ทราบ • แจ้ง ผ.อ. สถานพินิจฯ เพื่อดำเนินการตาม • ม. ๘๒ (ม.๗๐) • สอบถาม ข้อมูลเบื้องต้น • แจ้งข้อกล่าวหา พิจารณาว่ามีเหตุออกหมายขังหรือไม่ มีเหตุออกหมายขัง สั่งให้ไปศาลเพื่อออกหมายขัง ไม่มีเหตุออกหมายขัง ให้ปล่อยตัวไป ดำเนินการตามมาตรา ๗๒ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
ดำเนินการตามมาตรา ๗๒การตรวจสอบการจับ ส่งตัวไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับ ใน ๒๔ ชั่วโมง คดีที่อาจเปรียบเทียบปรับได้ (ม. ๗๒ ว.ท้าย) พนักงานสอบสวนส่ง (ว.๑) บิดามารดานำส่ง (ว.๒) ชำระค่าปรับ • ศาลตรวจสอบการจับ (ม.๗๓) • -เป็นเด็กที่ต้องหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ • การจับ หรือการปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนชอบหรือไม่ • ถ้ายังไม่มีที่ปรึกษากฏหมายให้ศาลแต่งตั้งให้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. ม. ๓๗ ประกอบ ม. ๓๙(๓) การจับชอบด้วยกฎหมาย การจับมิชอบด้วยกฎหมาย ปล่อยตัวไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
หากการจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหากการจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้แก่ผู้ดูแลตาม ม.๗๓ ว.๑ เว้นแต่ ถ้าลักษณะหรือพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อบุคคลอื่นหรือมีเหตุสมควรประการอื่น ก็ให้ศาลส่งไปควบคุม ม. ๗๓ ว.๒ อายุไม่ถึง ๑๘ ปี บริบูรณ์ ม.๗๓ ว.๒ อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ม.๗๓ ว.๓ อายุเกิน ๒๐ปี บริบูรณ์ ม.๗๓ ว.๓ ควบคุมสถานที่อื่นตามกฎหมายและศาลเห็นสมควร ควบคุมสถานพินิจ ม.๗๓ ว.๒ ควบคุมเรือนจำหรือสถานที่อื่นตาม ป.วิ.อ. • ศาลมีอำนาจส่งเด็กหรือเยาวชน • เข้ารับการบำบัดรักษา • เข้ารับการปรึกษาแนะนำ • เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดใดๆ ม.๗๓ ว.ท้าย ปล่อยชั่วคราว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การสอบสวน ม. ๗๕ • การสอบสวน • กระทำในที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือบุคคลอื่น • ใช้ภาษาถ้อยคำที่เข้าใจง่าย • หากไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยจัดล่ามให้หรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำ เด็ก เยาวชน ต้องมีที่ปรึกษากฎหมาย ของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง • แจ้งว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี • การแจ้งข้อหาและสอบปากคำ บิดามารดา ผู้ปกครอง ฯลฯ จะเข้าร่วมฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การสอบสวน ห้ามมิให้ จพง.ผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชนหรือพนง.สอบสวน จัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนเว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน (ม. ๗๖) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การสอบสวน - ในระหว่างการสอบสวน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กที่ถูกจับกุมหรือควบคุมให้ พงส. มีอำนาจดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. แต่หากปรากฏว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกิน ๑๐ ปี ในขณะกระทำความผิด ให้สถานพินิจหรือองค์การที่ควบคุมเด็กอยู่รายงานศาลทราบ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวเด็ก และดำเนินการสอบสวนทำความเห็นตาม ป.วิ.อ.และกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองเด็ก (ม.๗๗) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม.๗๘) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม. ๗๘) (ต่อ)กรณียื่นฟ้องไม่ทันภายในกำหนด พงส.หรือพนง.อัยการยื่นคำร้องแสดงเหตุจำเป็น พงส.หรือพนง.อัยการยื่นคำร้องแสดงเหตุจำเป็น และต้องนำพยานเบิกความปรากฏเป็นที่พอใจแก่ศาล โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม.๗๘) - พงส. มีอำนาจผัดฟ้องต่อศาลที่ พงส.ผู้รับผิดชอบอยู่ในเขตอำนาจศาลได้ (ม.๗๘ ว.๔) - การพิจารณาคำร้องขอผัดฟ้อง ถ้าเด็กหรือเยาวชนยังไม่มีที่ปรึกษากฎหมายให้ศาลแต่งตั้งเพื่อแถลงข้อคัดค้านหรือซักถามพยาน (ม. ๗๘ ว.ท้าย) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
(มาตรา ๗๙) • กรณีที่เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวน มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีนั้นรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากอัยการสูงสุด โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามมาตรา ๘๒ เมื่อผอ.สถานพินิจฯ ได้รับแจ้งการจับกุมเด็กหรือเยาวชน ตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่งหรือได้รับตัวตามมาตรา ๗๓ ให้ดำเนินการดังนี้ ๑.สั่งให้พนง.คุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๖(๑) เว้นแต่คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจฯ (ต่อ) ๒.ทำรายงานในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำผิดของเด็กหรือเยาวชนแล้วส่งรายงานแสดงความเห็นไปยังพงส.และพนง.อัยการและถ้ามีการฟ้องร้องเด็กหรือเยาวชนให้เสนอรายงานและความเห็นพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับ การลงโทษ หรือ การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย ๓.ให้ปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนที่อยู่ในความควบคุม โดยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ให้แพทย์ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ และให้ได้รับการรักษาพยาบาลถ้าเจ็บป่วย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจ ฯ ตามมาตรา ๙๙ • ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาต่อเด็กหรือเยาวชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจ แต่ถ้าไม่อนุญาตให้ฟ้องผู้เสียหายจะร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้ คำสั่งศาลให้เป็นที่สุด โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
อำนาจหน้าที่สถานพินิจฯ ตามมาตรา ๑๐๐ • ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องให้ศาลแจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจ ทราบก่อนและถ้าผอ.สถานพินิจเห็นสมควรให้มีการคุมความประพฤติเด็กหรือเยาวชนนั้นก็ให้เสนอความเห็นต่อศาลศาลมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน หรือกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) มาตรา ๘๖ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑.๑ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปี ๑.๒ เด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ ๑.๓ เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี ๑.๔ เมื่อคำนึงถึงประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอารมณ์ สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าเด็กกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ๑.๕ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายเด็กหรือเยาวชน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) ผอ.สถานพินิจแจ้งคำสั่งของพนง.อัยการให้พงส.และผู้เกี่ยวข้องทราบ เสนอความเห็น ผู้อำนวยการสถานพินิจฯจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู พนักงานอัยการ ประกอบแผน เพื่อพิจารณา เห็นชอบด้วย ไม่เห็นชอบด้วย สั่งดำเนินคดีต่อไป สั่งให้แก้ไข รายงานให้ศาลทราบ ศาลพิจารณาสั่งตามสมควรในกรณีที่กระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) ต่อ ดำเนินการตามแผน ปฏิบัติตามแผนครบถ้วน ม.๘๘ วรรคสอง ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแผน ม.๘๘ วรรคหนึ่ง ผอ.สถานพินิจฯรายงานอัยการทราบอัยการเห็นชอบสั่งไม่ฟ้องคำสั่งไม่ฟ้องเป็นที่สุดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไม่ตัดสิทธิ ผู้มีส่วนได้เสียดำเนินคดีส่วนแพ่ง ผอ.สถานพินิจรายงานอัยการทราบและแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ผอ.สถานพินิจฯรายงานคำสั่งไม่ฟ้องให้ศาลทราบ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
ในระหว่างจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ให้พงส.หรือพนง.อัยการงดการสอบปากคำหรือดำเนินการใดๆเฉพาะกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งกระทำผิดไว้ก่อน ทั้งนี้มิให้นับระยะเวลาในการจัดทำและการปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (ต่อ) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๙๐ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๒.๑ เมื่อมีการฟ้องคดีแล้ว ๒.๒ คดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน ๒๐ ปี ๒.๓ ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาก่อน เว้นแต่เป็นความผิดกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ ๒.๔ เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำ และผู้เสียหายยินยอม โจทก์ไม่คัดค้าน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (ต่อ) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๙๐ (ต่อ) ๒.๕ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรง ต่อสังคมเกินควร ๒.๖ ศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้ ๒.๗ ผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควร ๒.๘ หากนำวิธีจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูซึ่งเป็นประโยชน์ ต่ออนาคตของเด็กหรือเยาวชนและต่อผู้เสียหายมากกว่า การพิจารณา โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
ศาลสั่งให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดทำแผนแก้ไข บำบัดฟื้นฟู (ม.๙๐) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา (ต่อ) ศาลพิจารณา เห็นชอบด้วย ไม่เห็นชอบด้วย ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ดำเนินการตามแผน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา (ต่อ) ดำเนินการตามแผน ม.๙๒ ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ปฏิบัติตามแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ครบถ้วนแล้ว ให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรายงานให้ศาลทราบ ให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำข้อตกลงรายงานให้ศาลทราบ หากศาลเห็นชอบให้มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความและมีคำสั่งในเรื่องของกลางสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ไม่ตัดสิทธิ ผู้มีส่วนได้เสียดำเนินคดีส่วนแพ่ง ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรหรือยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู • ข้อตกลง และการประชุมเพื่อจัดทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟู มาตรา ๙๑ • การประชุม - ให้ผอ.สถานพินิจหรือผู้ที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ประสานการประชุม - ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหาย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และอาจมี ผู้แทนชุมชน หรือพนักงานอัยการก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู • ข้อตกลง และการประชุมเพื่อจัดทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟู ๒. ข้อตกลง -กำหนดเงื่อนไขให้เด็กหรือเยาวชน บิดามารดาผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์กร ซึ่งเด็กหรือเยาวชน อาศัยอยู่ด้วย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ๓. ชั้นศาลก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๑๓๒ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ -ในกรณีที่ศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรจะมีคำพิพากษา หรือ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วยร้องขอ เมื่อศาลสอบถามผู้เสียหายแล้ว -ปฏิบัติตามเงื่อนไข ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจะสั่งยุติคดีโดยไม่ต้องมีคำพิพากษา และให้ถือว่าสิทธิอันนำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ - ผิดเงื่อนไข ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ - กำหนดให้มีวีธีพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพให้เป็นอำนาจศาลสั่ง ซึ่งคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของศาลเป็นที่สุด ทั้งนี้เพื่อรองรับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ญาติ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีสิทธิร้องขอให้ศาลออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้ (มาตรา ๑๗๒) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ศาลจะทำการไต่สวนโดยมิชักช้า และออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยห้ามผู้ถูกกล่าวหาเสพสุราหรือสิ่งมึนเมา ห้ามเข้าใกล้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานของผู้ร้องเป็นเวลาไม่เกินกว่า ๖ เดือน และอาจสั่งให้เข้ารักการบำบัดรักษา บำบัดฟื้นฟูตามเวลาที่ศาลกำหนด • คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพให้เป็นที่สุด แต่ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขคำสั่งเดิมได้ (มาตรา ๑๗๓,๑๗๔) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี
การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ให้ศาลแจ้งคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพไปยัง - พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ - ตำรวจ ที่ผู้ถูกกล่าวหามีถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาในเขตอำนาจเพื่อทราบ • กรณีผู้ถูกกล่าวหาจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหามาขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งแต่ไม่เกินกว่า ๑ เดือน (มาตรา ๑๗๖) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี