1 / 35

นสพ.ธานินทร์ วิชาจารย์ นสพ.บงกช มหาวนา นสพ.ปวีณา หาญนาแซง

นสพ.ธานินทร์ วิชาจารย์ นสพ.บงกช มหาวนา นสพ.ปวีณา หาญนาแซง. เปรียบเทียบ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ ระหว่าง ชุมชนหัวรอ และ ชุมชนบ้านท่าโพธิ์.

ekram
Download Presentation

นสพ.ธานินทร์ วิชาจารย์ นสพ.บงกช มหาวนา นสพ.ปวีณา หาญนาแซง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นสพ.ธานินทร์ วิชาจารย์ นสพ.บงกช มหาวนา นสพ.ปวีณา หาญนาแซง เปรียบเทียบ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ระหว่าง ชุมชนหัวรอ และ ชุมชนบ้านท่าโพธิ์

  2. สถานการณ์โรคเอดส์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สูงสุดในปี 2541(44.27/แสน) 2542(43.08/แสน) 2543(40.87/แสน) 2544(35.19/แสน) 2545(14.56/แสน) ผู้ติดเชื้อที่มีอาการและจำนวนผู้ป่วยเอดส์ ปัจจุบัน(30 พ.ย.45) 281,391 ราย จังหวัดพิษณุโลกมีจำนวนผู้ป่วยเอดส์มากเป็นอันดับ 4 (1,540 ราย) รองจากจังหวัดน่าน (1,921 ราย) แพร่ (1,787 ราย) เพชรบูรณ์ (1,778 ราย) PCU เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลปัญหาโรคเอดส์ในระดับชุมชน ความเป็นมา

  3. เพื่อเป็นการให้บริการทางสุขภาพในเชิงรุกและครอบคลุมทั่วถึง ทางรัฐบาลจึงได้ทำการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit : PCU) หรือศูนย์สุขภาพชุมชน(ศสช.)ขึ้นมา อันเปรียบเสมือนเป็นโรงสร้างสุขภาพ มีการดูแลคนไข้แบบองค์รวม(Holistic care) และต่อเนื่องโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น จากข้อดีของหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ก็น่าที่จะทำให้การป้องกันโรคเอดส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทัศนคติและการปฏิบัติตนต่อผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อก็น่าจะถูกต้องมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ที่ชี้ชัดว่าหน่วยบริการปฐมภูมิ(PCU) มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเอดส์รวมทั้งการปรับปรุง / ปรับเปลี่ยนทัศนคติ การปฏิบัติตนได้จริง หลักการและเหตุผล

  4. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนหัวรอ (มี PCU) และชุมชนบ้านท่าโพธิ์ (ไม่มี PCU) มีความแตกต่างกันหรือไม่ คำถามหลัก

  5. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนหัวรอ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนบ้านท่าโพธิ์ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ คำถามรอง

  6. เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนหัวรอและ ชุมชนบ้านท่าโพธิ์ จุดประสงค์

  7. ได้ทราบผลการประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ ระหว่างชุมชนที่มี PCU (ชุมชนหัวรอ) และชุมชนที่ไม่มี PCU (ชุมชนบ้านท่าโพธิ์) เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของ PCU ต่อไป ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  8. ทบทวนวรรณกรรม

  9. การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กับผู้นำชุมชน ครู อาจารย์ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี ในเดือนมิถุนายน 2539 เก็บข้อมูลทั้งแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบวัดทัศนคติ จัดการอบรม 1 วัน ในหัวข้อ “การอยู่ร่วมกับโรคเอดส์” การปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อโรคเอดส์ในผู้นำชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีกมลกานต์ สุริยะไกร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

  10. ผลการศึกษา พบว่าทัศนคติเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) การใช้แนวคิดแบบองค์รวมทำให้มีทัศนคติที่ดีขึ้น เข้าใจ ยอมรับสภาพทั้งร่างกายและจิตใจ อันจะนำไปสู่การยอมรับในสังคมได้

  11. การประเมินผลโครงการเป็นการประเมินผลการอบรมในด้านความรู้เรื่องโรคเอดส์ ด้านเจตคติในเรื่องเพศและโรคเอดส์ ด้านทักษะในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคเอดส์ ในเดือนตุลาคม 2543 แบ่งการอบรมเป็น 4 รุ่น ๆ ละ 3 วัน ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนที่เข้ารับการอบรมจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบความรู้และแบบสอบถาม การประเมินผลโครงการสร้างกระแสสังคมเพื่อต่อต้านค่านิยมทางสังคมที่ทำให้เยาวชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ตามพงษ์ พงษ์นรินทร์ และ วิเชียร พูลนุช

  12. ผลการศึกษา พบว่า การประเมินผลด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนเรื่องเพศโรคเอดส์ ผลปรากฏว่า นักเรียนที่เข้ารับการอบรมทั้ง 4 รุ่น หลังการฝึกอบรมมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องเพศและโรคเอดส์สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  13. Analytic study cross sectional study วิธีการศึกษา

  14. Independent : การมี PCU Dependent : ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ กำหนดตัวแปร

  15. Simple random technique ชุมชนหัวรอ 100 คน ชุมชนบ้านท่าโพธิ์ 100 คน ชาย = หญิง = 50 คน ขนาดตัวอย่าง

  16. Independent sample T test correlation ; Pearson - bivariate การวิเคราะห์ข้อมูล

  17. วัยเจริญพันธุ์ คือ ผู้ที่มีอายุ 15-50 ปี คำนิยาม

  18. Inclusion criteria ประชาชนในชุมชนหัวรอ และชุมชนบ้านท่าโพธิ์ เป็นชายหรือหญิง อายุ 15-50 ปี เป็นผู้ที่สมัครใจและสามารถตอบแบบสอบถามได้ Exclusion criteria เป็นผู้นำชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. อสม. เป็นต้น เป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข เช่น หมออนามัย, พยาบาล, ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น เป็นผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการและมีอาการ เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือพิการทางสมอง หรือไม่สามารถตอบแบบสอบถามได้ เช่น dementia, alcohol intoxication เป็นต้น ประชากรกลุ่มเป้าหมาย

  19. Questionaire Personal data Knowledge 20 Attitude 20 Practice 20 เครื่องมือที่ใช้

  20. ผลการศึกษา

  21. แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบร้อยละของระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างจาก 2 ชุมชน A = ประถมศึกษา B = มัธยมศึกษา C = ปวช. ปวส. อนุปริญญา D = ปริญญาตรีหรือสูงกว่า

  22. พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในทั้งสองชุมชน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ P > 0.05 , t = 0.348 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบสอบถามของชุมชนหัวรอมีค่า 45.55 ชุมชนท่าโพธิ์มีค่า 45.86 ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนหัวรอ(มี PCU) และชุมชนบ้านท่าโพธิ์(ไม่มี PCU) มีความแตกต่างกันหรือไม่

  23. แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบค่าคะแนนของ K , A , P และ KAP ระหว่าง 2 ชุมชน

  24. พบว่า ในชุมชนท่าโพธิ์ ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กันที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.335, p = 0.001 ความรู้และการปฏิบัติตนมีค่า r = 0.475, p = 0.000 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.01(2 – tailed) ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ ในชุมชนท่าโพธิ์ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

  25. พบว่า ในชุมชนหัวรอ ทัศนคติและการปฏิบัติตนมีความสัมพันธ์กันที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.639 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p < 0.01 (2 – tailed) ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ ในชุมชนหัวรอ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

  26. ท่าโพธิ์ หัวรอ ความรู้ สัมพันธ์กับ ทัศนคติ 0.335*** 0.176 ความรู้ สัมพันธ์กับ การปฏิบัติตัว 0.018 0.095 ทัศนคติ สัมพันธ์กับ การปฏิบัติตัว 0.475*** 0.639*** ***Correlation is significant at the 0.01 level (2 - tailed) *** คือค่า r เป็นแบบ Perfect positive correlation สรุป การเปรียบเทียบค่าความสัมพันธ์(correlation, r) ของความรู้, ทัศนคติ และการปฏิบัติตน ระหว่าง ชุมชนท่าโพธิ์และชุมชนหัวรอ

  27. ท่าโพธิ์ 0.335 0.475 หัวรอ 0.639

  28. การมีหรือไม่มี PCU ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะส่งผลต่อ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ของประชากร ระดับ ป. 4 – 6 ชุมชนท่าโพธิ์ : หัวรอ เท่ากับ 32 : 14 ระดับปริญญาตรี ชุมชนท่าโพธิ์ : หัวรอ เท่ากับ 18 : 28 เห็นได้ชัดว่ากลุ่มตัวอย่างจากชุมชนหัวรอมีการศึกษาสูงกว่า แต่ค่าเฉลี่ยคะแนนนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ วิเคราะห์ผลการศึกษา

  29. ไม่สามารถบอกได้ว่า ใน 2 ชุมชนนี้ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ ไม่ขึ้นกับระดับการศึกษา เพราะเมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย K, A, P และ KAP ระหว่างกลุ่มที่จบประถมศึกษากับกลุ่มปริญญาตรี จากทั้ง 2 ชุมชน พบว่า มีความแต

  30. แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของ K , A , P และ KAP ระหว่างกลุ่มที่จบประถมศึกษาและกลุ่มที่จบปริญญาตรี ของทั้ง 2 ชุมชน

  31. จากทั้ง 2 ชุมชนนี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ ทั้งนี้ สิ่งที่มีผลหรือมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ มีทั้งปัจจัยแวดล้อมและปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล

  32. จากผลการศึกษานี้ พบว่ายังมีประชาชนอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังขาดความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ที่ถูกต้อง จากการวิจัยของกมลกานต์ สุริยะไกร เรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อโรคเอดส์ในผู้นำชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี พบว่า ถ้าได้จัดให้มีการอบรมให้แก่กลุ่มตัวอย่างแล้ว จะทำให้ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างเป็นไปในทางที่พึงประสงค์มากขึ้น ดังนั้น PCU เองก็น่าจะจัดให้มีการอบรม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์แก่ประชาชนมากขึ้นด้วย เพื่อปรับเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเรื่องโรคเอดส์ ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น วิจารณ์ผลการศึกษา

  33. คณะผู้ทำวิจัยขอขอบคุณเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวทุกคน ที่อำนวยความสะดวกด้านข้อมูลเป็นอย่างดี ขอขอบคุณอาจารย์กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้และกระตุ้นความคิดเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ขอขอบคุณ อาจารย์นายแพทย์ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย ที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการทำวิจัยมาโดยตลอด กิตติกรรมประกาศ

  34. กมลกานต์ สุริยะไกร. การปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อโรคเอดส์ในผู้นำชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี. 2542. เกียรติคุณ เผ่าทรงฤทธิ์ และ จิราภรณ์ ยาชมภู. โครงการศึกษาการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ ในชุมชนของประเทศไทย. 2543. ตามพงษ์ พงษ์นรินทร์ และ วิเชียร พูลนุช. การประเมินผลโครงการสร้างกระแสสังคมเพื่อต่อต้านค่านิยมทางสังคมที่ทำให้เยาวชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์.สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 9 พิษณุโลก. 2543. ทัสสนี นุชประยูร และ เติมศรี ชำนิจารกิจ. สถิติในวิจัยทางการแพทย์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.2541. Reference

  35. ยุพา วงศ์ ไชย, จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น และคณะ. แนวการกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคมกับผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย.โครงการพัฒนาภูมิปัญญาและการวิจัยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ทบวงมหาวิทยาลัย.2542. พลเดช ปิ่นประทีป,นพ. ธรรมชาติของสถานการณ์โรคเอดส์กับการตื่นตัวของสังคม.สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต9 พิษณุโลก. 2539. วาทินี บุญชะลักษี, สมศักดิ์ มัคลาจารย์ และ อารี อุเด็น. สื่อเอดส์ การศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาสื่อในอนาคต.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยลัยมหิดล.2538. Reference(cont.)

More Related