220 likes | 546 Views
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก. ความหมายของกราฟิก กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ
E N D
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก ความหมายของกราฟิก • กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ • คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำภาพคนแก่ให้ดูมีวัยเด็กขึ้น เป็นต้น • พิกเซล (Pixel) หมายถึง องค์ประกอบที่เกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่รวมตัวกันเกิดเป็นภาพ
ความละเอียดของภาพ ใช้หน่วยวัดเป็น (ppi : Pixel per Inch) คือ พิกเซลต่อนิ้ว เช่น 300 ppi หรือ 600 ppi เป็นต้น • ความละเอียดของจอภาพ จะขึ้นอยู่กับวิดีโอการ์ด หรือการ์ดจอ เช่น 800600 , 1204 768 เป็นต้น • 1024 = แนวนอน • 768 = แนวตั้ง *** ภาพที่แสดงออกมา จะมีความคมชัดต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่นำมาแสดงผล ถึงแม้ว่าภาพนั้นจะเป็นภาพเดียวกันก็ตาม ***
ความละเอียดของเครื่องพิมพ์ความละเอียดของเครื่องพิมพ์ • หน่วยที่ใช้วัดความละเอียดของเครื่องพิมพ์ เรียกว่า dpi (Dot per Inch) หมายถึง ดอทต่อนิ้ว เช่น ความละเอียดในการพิมพ์ที่ 600 dpi แสดงว่าเครื่องพิมพ์มีความสามารถในการพิมพ์ได้ 600 จุด ทุก ๆ 1 นิ้ว
ความรู้เกี่ยวกับสี • คอมพิวเตอร์สามารถสร้างและแสดงสีในภาพได้เป็นหลายล้านสี และมีวิธีการจดจำและอ้างอิงค่าสีโดยอาศัยดัชนีเป็นตารางสี เช่น การ์ดจอ ที่สามารถแสดงสีได้ 2 บิต จะแสดงสีได้ 4 สี คือ 22= 4 จำนวนบิตจำนวนสี 4 บิต 24 = 16 สี 8 บิต 28 = 256 สี 16 บิต 216 = 65,536 สี 24 บิต 224 = 16.7 ล้านสี *** คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลใน 1 บิต ได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 *** *** ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถแสดงสีได้ 24 , 32 , 64บิต ***
ประเภทของภาพกราฟิก มี 2 ประเภท คือ • ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่เราพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ เช่น การ์ตูนเรื่อง ชินจัง โดเรมอน เป็นต้น • ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ โดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds max , โปรแกรม Maya เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพมีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น การ์ตูนเรื่อง Nemo The Bugและการ์ตูนปังปอนด์แอนิเมชัน เป็นต้น
การแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก • ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ประกอบด้วย • Red (สีแดง) • Green (สีเขียว) • Blue (สีน้ำเงิน) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้ เกิดเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมี หลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ
ชนิดของภาพกราฟิก • แบบราสเตอร์ (Raster ) • หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels) ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ • ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง • ตัวอย่าง • - ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel • - ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel • - ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
ข้อดีของภาพชนิด Raster • สามารถแก้ไขปรับแต่งได้ • ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพชนิด Raster • Adobe Photoshop , Adobe PhotoshopCS และ Paint เป็นต้น
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster
2. ภาพแบบ Vector เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
ข้อดีของภาพแบบ Vector - นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector • - โปรแกรม Illustrator • - CorelDraw • - AutoCAD • - 3Ds max ฯลฯ
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector
Adobe PhotoShop โดย : อาจารย์สมโภชน์ อุบลเผื่อน ผู้นำเสนอ
ไตเติลบาร์ (Title Bar) เมนูบาร์ (Munubar) ออปชันบาร์ (Option Bar) ทูลบ็อกซ์ (Tool Box) พาเล็ต (Palette) พื้นที่ทำงาน
ปุ่มย่อ ปุ่มขยาย • ไตเติลบาร์ (Title Bar) มีหน้าที่แสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่กำลังใช้งาน ซึ่งมุมด้านขวาจะมีปุ่ม ย่อ / ขยาย และปุ่มออกจากโปรแกรม ปุ่มปิดโปรแกรม
เมนูบาร์ (Menu Bar) เป็นเครื่องมือที่เก็บรวบรวมคำสั่งไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อใช้จัดการกับรูปภาพ และปรับค่าต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย • เมนู Fileมีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสร้าง การเปิด การบันทึกและการตั้งค่าต่าง ๆ • เมนู Editมีหน้าที่เกี่ยวกับการยกเลิก การคัดลอก การปรับเปลี่ยนต่าง ๆ • เมนู Imageมีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับภาพให้มีลักษณะสีต่าง ๆ และเปลี่ยนโหมดภาพ • เมนู Layerมีหน้าที่จัดการ Layer • เมนู Selectมีหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกรูปภาพที่จะทำการแก้ไขปรับเปลี่ยน • เมนู Filterมีหน้าที่เกี่ยวกับการใส่ลักษณะต่าง ๆ ให้กับภาพ • เมนู Viewมีหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดมุมมองแบบต่าง ๆ • เมนู Windowมีหนาที่เปิด / ปิด พาเล็ตต่าง ๆ • เมนู Helpมีหน้าที่แนะนำการใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ทูลบ็อกซ์ (Tool Box) เป็นกล่องเครื่องมือ ที่ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานมากมาย โปรแกรม Adobe PhotoShop จึงได้จัดกลุ่มให้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเครื่องมือที่จัดกลุ่มจะมีรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ตรงมุมขวาล่าง การเรียกใช้เครื่องมือที่อยู่ในกลุ่มให้คลิกที่เครื่องมือที่ต้องการ คลิกค้างไว้สักพักจะปรากฎกลุ่มเครื่องมือหรือคลิกเมาส์ด้านขาวที่เครื่องมือจะปรากฎเครื่องมือต่าง ๆ
เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับประกอบการทำงานต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพาเล็ตมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน เช่น พาเล็ต Color ใช้สำหรับเลือกสี พาเล็ต Historyใช้สำหรับบันทึกการทำงานที่ผ่านมา พาเล็ต Infoใช้สำหรับแสดงข้อมูล พาเล็ต Layerใช้สำหรับควบคุมการใช้งานเลเยอร์ ฯลฯ • พาเล็ต (Palette)
ออปชันบาร์ (Option Bar) เป็นส่วนที่ใช้ปรับรูปแบบของเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งออปชันบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เลือกใช้
* * การบันทึกไฟล์รูปภาพ* * • การบันทึกไฟล์ภาพนั้น ภาพแต่ละภาพที่ทำการบันทึกจะมีคุณภาพที่แตกต่างกันตามประเภทของไฟล์ที่เราบันทึก ซึ่งการที่จะเลือกประเภทของไฟล์นั้นขึ้นอยู่กับงานที่ใช้ ยกตัวอย่าง เช่น • ไฟล์นามสกุล (. PSD)เป็นไฟล์ที่เก็บขั้นตอนการทำงานไว้โดยดูจากเลเยอร์การทำงาน ซึ่งสามารถนำไฟล์ไปปรับปรุงแก้ไขได้ • ไฟล์นามสกุล (. TIFF)เป็นไฟล์ที่สามารถเก็บขั้นตอนการทำงานไว้ได้เหมือนกัน ข้อดีของไฟล์นามสกุลนี้คือ ภาพมีความละเอียด ซึ่งเหมาะกับงานด้านนิตยสาร • ไฟล์นามสกุล (. JPG , . JPEG )เป็นไฟล์ขนาดเล็กเพราะสามารถบีบอัดข้อมูลได้ เหมาะกับงานด้านเว็บเพจ • ไฟล์นามสกุล (. GIF)เป็นไฟล์ขนาดเล็กเหมือนกันกับ (. JPG , . JPEG )แต่เหมาะกับงานด้านภาพลายเส้นมากกว่า