1 / 33

บทที่ 6 การบริหารสินค้าคงเหลือ

บทที่ 6 การบริหารสินค้าคงเหลือ. ความสำคัญในการบริหารสินค้าคงเหลือ. สินค้าคงเหลือ (Inventory) เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างหนึ่งที่มีไว้เพื่อการผลิต การจำหน่ายและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หลักการบริหารสินค้าคงเหลืออย่างระมัดระวังอย่างมีประสิทธิภาพ. ชนิดของสินค้าคงเหลือ.

edith
Download Presentation

บทที่ 6 การบริหารสินค้าคงเหลือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6การบริหารสินค้าคงเหลือ

  2. ความสำคัญในการบริหารสินค้าคงเหลือความสำคัญในการบริหารสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือ (Inventory) เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างหนึ่งที่มีไว้เพื่อการผลิต การจำหน่ายและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หลักการบริหารสินค้าคงเหลืออย่างระมัดระวังอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ชนิดของสินค้าคงเหลือ 1. วัตถุดิบ (Raw materials) คือวัตถุเบื้องต้นที่ธุรกิจนำมาเป็นปัจจัยในการผลิตสินค้า 2. สินค้าระหว่างผลิตหรืองานระหว่างทำ (Work in Process) เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิตยังไม่เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป 3. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) เป็นสินค้าที่ผลิตสำเร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะจำหน่ายได้ทันที

  4. รายจ่ายในการมีสินค้าคงเหลือรายจ่ายในการมีสินค้าคงเหลือ 1. ต้นทุนสินค้า (Cost of Inventory) หมายถึงเงินที่จ่ายเป็นค่าสินค้าที่ซื้อหรือได้รับเข้ามา 2. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายที่จ่ายเป็นค่าดูแลรักษาสินค้าที่มีอยู่ในธุรกิจนั้นถ้ามีสินค้ามากเกินความจำเป็นก็จะเสียค่าใช้จ่ายประเภทนี้มากตามไปด้วย 3. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้าคงคลังนั้นซึ่งค่าใช้จ่ายประเภทนี้จะประหยัดได้เมื่อทำการซื้อน้อยครั้ง หรือไม่บ่อยครั้ง

  5. ค่าใช้จ่าย (บาท) ค่าใช้จ่ายรวม TC ค่าเก็บรักษา CC ค่าสั่งซื้อ OC ปริมาณสินค้า (Q) ความสัมพันธ์ของปริมาณสินค้ากับค่าสั่งซื้อ และค่าเก็บรักษาสินค้า

  6. ปัจจัยที่กำหนดจำนวนสินค้าคงเหลือปัจจัยที่กำหนดจำนวนสินค้าคงเหลือ 1. ระดับของยอดขาย โดยพิจารณาจากข้อมูลการขายในอดีตในแต่ละช่วง ว่าเพิ่มหรือลดอย่างไร เพื่อนำมาใช้กำหนดขนาดของสินค้าคงเหลือ 2. ระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าและเทคนิคในการผลิต หาข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าต้องใช้เวลากี่วันจึงจะได้รับสินค้าที่สั่งซื้อไป เพื่อสำรองสินค้าไว้ขายในช่วงที่สินค้าใหม่ยังมาไม่ถึง รวมถึงข้อมูลระยะเวลาในการผลิตเพราะสินค้าบางชนิดต้องใช้เทคนิคและกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก 3. ลักษณะของสินค้า มีส่วนในการกำหนดปริมาณสินค้าด้วย เพราะสินค้าบางชนิดเน่าเสียง่าย ล้าสมัยง่าย จึงไม่ควรสั่งซื้อไว้มาก เนื่องจากกระบวนการซับซ้อน เป็นต้น

  7. ประโยชน์ในการบริหารสินค้าคงเหลือประโยชน์ในการบริหารสินค้าคงเหลือ 1. ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการผลิต และประหยัดต้นทุน 2. ช่วยลดต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ 2.1 ต้นทุนในตัวสินค้า 2.2 ต้นทุนในการซื้อและค่าขนส่ง 2.3 ต้นทุนในการเก็บรักษา 3. เพื่อสนองความต้องการการผลิตและลูกค้า

  8. หลักการบริหารสินค้าคงเหลือ (Inventory Management) ความสำคัญในการบริหารสินค้าคงเหลือ ให้มีเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าให้พอดีไม่ให้มีสินค้าคงเหลือมากและไม่ให้เกิดสินค้าขาดมือหรือไม่พอขาย โดยใช้หลักการบริหารสินค้าคงคลังดังนี้ 1. หาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด (Economic Order Quantity, E.O.Q, Q*) 2. หาจุดเริ่มสั่งซื้อสินค้าใหม่ (Re-order Point) 3. หาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม (Stock Level)

  9. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด (Economic Order Quantity, E.O.Q, Q*) หมายถึงปริมาณสั่งซื้อต่อครั้งที่มีค่าใช้จ่ายรวม คือค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อกับค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวมแล้วต่ำที่สุด กำหนดให้ E.O.Q หรือ Q* = ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด O = Ordering Cost ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง C = Carrying Cost ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วย S = ปริมาณสินค้าทั้งหมดที่จะใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง

  10. การคำนวณ 1. หาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด (Economic Order Quantity) สูตรการคำนวณปริมาณการซื้อสินค้าที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด E.O.Q หรือ Q* =

  11. การคำนวณ (ต่อ) 2. หาจำนวนครั้งในการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละงวด ปริมาณสินค้าที่ต้องใช้ในงวด ปริมาณที่ซื้อแต่ละครั้ง จำนวนครั้งที่ซื้อ = =

  12. การคำนวณ (ต่อ) 3. หาค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อรวม (Ordering Cost) Ordering Cost= จำนวนครั้งที่สั่งซื้อ X ค่าสั่งซื้อต่อครั้ง = =

  13. การคำนวณ (ต่อ) 4.หาค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวม (Carrying Cost) สินค้าคงคลังถัวเฉลี่ย X ค่าเก็บรักษาต่อหน่วย 2 Carrying Cost= = =

  14. การคำนวณ (ต่อ) 5.หาค่าใช้จ่ายรวม (Total Cost) Total Cost= ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อรวม + ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวม OC+ CC = + =

  15. สรุป ที่มาของสูตร Q* ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ OC= CC = 2SO = Q2C = Q2

  16. สรุป ที่มาของสูตร Q* ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ = ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ = Q*

  17. ตัวอย่างที่ 1 บริษัทสีฟ้าจำกัด ต้องการสั่งซื้อสินค้ามาจำหน่ายได้ประมาณยอดขายสินค้าในช่วง 1 ปี จะขายได้ 1,000 หน่วย โดยมีต้นทุนสินค้าหน่วยละ 15 บาท ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้ง 30 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาหน่วยละ 10% ของราคาต้นทุนสินค้า ต้องการหา 1. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด 2. จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ 3. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ 4. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา 5. ค่าใช้จ่ายรวม

  18. 1. หาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดรายจ่ายที่สุด E.O.Q. หรือ Q* = = = = = 200 หน่วย

  19. 2. หาจำนวนครั้งที่สั่งซื้อในงวดนั้น ปริมาณสินค้าที่ต้องใช้ในงวด ปริมาณที่ซื้อแต่ละครั้ง จำนวนครั้งที่สั่งซื้อ = = = = 5 ครั้ง หรือ 72 วันซื้อ 1 ครั้ง

  20. 3. หาค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อรวม (Ordering Cost) จำนวนครั้งที่สั่งซื้อ Xค่าสั่งซื้อต่อครั้ง Ordering Cost= = = = 5 X 30 = 150 บาท

  21. 4.หาค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวม (Carrying Cost) Carrying Cost= = = = สินค้าคงคลังถัวเฉลี่ย X ค่าเก็บรักษาต่อหน่วย 2 = 150 บาท

  22. 5.หาค่าใช้จ่ายรวม (Total Cost) Total Cost= = = = = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อรวม + ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษารวม OC+ CC + 150 (จากข้อ 3) + 150 (จากข้อ 4) 300 บาท

  23. แบบฝึกหัด ท้ายบทที่ 6

  24. ข้อ 6 บริษัท ดาวใต้ จำกัด ขายสบู่ได้เดือนละ 10,000 ก้อน เสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อครั้งละ 200 บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก้อนละ 0.10 บาท 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 10,000 ก้อน 5,000 ก้อน 2,500 ก้อน และ 2,000 ก้อน ให้คำนวณหา จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน ค่าใช้จ่ายรวมในการสั่งซื้อ 2. บริษัทควรสั่งซื้อสบู่ครั้งละกี่ก้อนจึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมในการสั่งซื้อต่ำที่สุด

  25. ข้อ 6 (ต่อ) 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 10,000 ก้อน ให้คำนวณหา # จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ # ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน # จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย # ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน # ค่าใช้จ่ายรวม = S Q = 10,000  10,000 = 1 ครั้ง = OC = (S  Q)O = 1 ครั้ง @ 200 = 200 บาท = Q  2 = 10,000  2 = 5,000 ก้อน = CC = (Q  2)C = 5,000 X 0.1 = 500 บาท = OC + CC = 200 + 500 = 700 บาท

  26. ข้อ 6 (ต่อ) 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 5,000 ก้อน ให้คำนวณหา # จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ # ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน # จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย # ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน # ค่าใช้จ่ายรวม = S Q = 10,000  5,000 = 2 ครั้ง = OC = (S  Q)O = 2 ครั้ง @ 200 = 400 บาท = Q  2 = 5,000  2 = 2,500 ก้อน = CC = (Q  2)C = 2,500 X 0.1 = 250 บาท = OC + CC = 400 + 250 = 650 บาท

  27. ข้อ 6 (ต่อ) 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 2,500 ก้อน ให้คำนวณหา # จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ # ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน # จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย # ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน # ค่าใช้จ่ายรวม = S Q = 10,000  2,500 = 4 ครั้ง = OC = (S  Q)O = 4 ครั้ง @ 200 = 800 บาท = Q  2 = 2,500  2 = 1,250 ก้อน = CC = (Q  2)C = 1,250 X 0.1 = 125 บาท = OC + CC = 800 + 125 = 925 บาท

  28. ข้อ 6 (ต่อ) 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 2,000 ก้อน ให้คำนวณหา # จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ # ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน # จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย # ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน # ค่าใช้จ่ายรวม = S Q = 10,000  2,000 = 5 ครั้ง = OC = (S  Q)O = 5 ครั้ง @ 200 = 1,000 บาท = Q  2 = 2,000  2 = 1,000 ก้อน = CC = (Q  2)C = 1,000 X 0.1 = 100 บาท = OC + CC = 1,000 + 100 = 1,100 บาท

  29. ข้อ 6 (ต่อ) สรุปค่าใช้จ่ายรวมในการซื้อแต่ละครั้ง ซื้อครั้งละ 10,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 5,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 2,500 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 2,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = 700 บาท 650 บาท 925 บาท 1,100 บาท

  30. ข้อ 6 บริษัทควรสั่งซื้อสบู่ครั้งละกี่ก้อนจึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมในการสั่งซื้อต่ำที่สุด E.O.Q. หรือ Q* = = = = = 6,325 หน่วย

  31. ข้อ 6 (ต่อ) 1. ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อสบู่ครั้งละ 6,325 ก้อน (Q*) ให้คำนวณหา # จำนวนครั้งที่สั่งซื้อสบู่ # ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อเดือน # จำนวนสบู่โดยเฉลี่ย # ค่าใช้จ่ายในเก็บรักษาต่อเดือน # ค่าใช้จ่ายรวมในการสั่งซื้อ = S Q* = 10,000  6,325 = 1.58 ครั้ง = OC = (S  Q*)O = 1.58 ครั้ง @ 200 = 316 บาท = Q*  2 = 6,325  2 = 3,162.50 ก้อน = CC = (Q*  2)C = 3,162.50 X 0.1 = 316 บาท = OC + CC = 316 + 316 = 632 บาท

  32. ข้อ 6 (ต่อ) สรุปค่าใช้จ่ายรวมในการซื้อแต่ละครั้ง ซื้อครั้งละ 10,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 6,325 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 5,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 2,500 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = ซื้อครั้งละ 2,000 ก้อน ค่าใช้จ่ายรวม = 700 บาท 632 บาท 650 บาท 925 บาท 1,100 บาท

  33. Endบทที่ 6

More Related