1 / 29

การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540

การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540. ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย. สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา. 1. สถานการณ์และมาตรการช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (2 กรกฎาคม 2540 – พฤศจิกายน 2540) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี

eden-dodson
Download Presentation

การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย โดยสมาชิก กลุ่ม 2 ห้อง 2

  2. สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา 1. สถานการณ์และมาตรการช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (2 กรกฎาคม 2540 – พฤศจิกายน 2540) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี 25 พ.ย. 2539 – 8 พ.ย. 2540 (1 ปี)

  3. สมัยรัฐบาล พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ (ก.ค-พ.ย 2540) • 1. มาตรการแรก การลอยตัวค่าเงิน คือ วันที่ 2 ก.ค. 2540 ประกาศยกเลิกการกำหนดค่าเงินบาทเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว • 2. มาตรการที่สอง การเจรจาและของกู้เงิน กับ IMF คือ วันที่ 14 ส.ค. 2540 ลงนามสัญญารับเงื่อนไขการกู้เงินกับ IMF • 3. มาตรการที่สาม มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (มาตรการ 13 ต.ค. 40) เช่น ปิดสถาบันการเงิน 58 แห่ง , จัดตั้ง ปรส. และ บบส. (ปฏิรูปสถาบันการเงินและบริหารสินทรัพย์ฯ) • 4. นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรีฯ ในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายฯ

  4. สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา 2. สถานการณ์และมาตรการหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (พฤศจิกายน 2540 – ธันวาคม 2543) นาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 9 พ.ย. 2540 – 17 พ.ย. 2543 (3 ปี)

  5. สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (2540-2543) รัฐบาลของนายชวน เริ่มต้นหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จนถึงการลาออกของทีมเศรษฐกิจและรัฐมนตรีทั้งคณะของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ • โดยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย มีทีมเศรษฐกิจ ดังนี้ • 1. นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง • 2. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล รัฐมนตรีช่วยฯ • 3. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยฯ

  6. การวิเคราะห์ถึงปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นการวิเคราะห์ถึงปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น • 1. ปัญหาการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น -ปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศถูกใช้ไปจนเกือบหมด ทำให้มีปัญหาความเชื่อมั่นของค่าเงินบาท -ปัญหาความมั่นคงของสถาบันการเงิน 56 แห่งถูกสั่งปิด ขาดเลือด เลือดเสีย บาดเจ็บล้มตาย -ปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพของประชาชนสูง ขณะที่รายได้ที่แท้จริงลดลง และตกงาน -ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูงประมาณร้อยละ 15 ในเดือนธันวาคม 2540 (เพราะอัตราเงินเฟ้อสูง+ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อหยุดยั้งการแห่ถอนเงินฝาก+อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ) • 2. ปัญหาการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ เช่น -ธุรกิจจำนวนมากปิดกิจการ เกิดปัญหาการว่างงาน การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศลดลง -การดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวด ซ้ำเติม ส่งผลย้อนกลับให้เกิดปัญหาการขาดเสถียรภาพ -ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รุนแรงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินขาดทุน ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ • ดังนั้นการแนวทางแก้ไขปัญหา จะต้องแก้ไขทั้ง 2 ปัญหาไปพร้อมๆ กัน โดยดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบทางสังคม ควบคู่กันไปกับมาตรการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ

  7. กรอบแนวคิดในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจกรอบแนวคิดในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ

  8. มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 • มาตรการดอกเบี้ยสูง และปิดสถาบันการเงิน • เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไป • ป้องกันเงินไหลออกนอกประเทศ และทำให้เงินไหลเข้าประเทศสูง • ถ้าค่าเงินบาทแข็ง จะทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง • ปิดไฟแนนท์ 56 แห่ง เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเงินของสถาบันการเงิน

  9. มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ 14 สิงหาคม 2541 • แผนฟื้นฟูสถาบันการเงิน โดยเน้นเพิ่มเงินกองทุนให้ได้ตามมาตรฐาน BIS (Bank for International Settlement) • เพิ่มทุนให้สถาบันการเงินโดยเงินออมจากประชาชนและขายหุ้นให้ต่างชาติ • ขายพันธบัตรให้ประชาชนเพื่อเพิ่มทุนให้ธนาคารพานิชย์ของรัฐ • มาตรการ 10 มีนาคม 2542 • กู้เงินจากญี่ปุ่นตามแผน “มิยาซาว่า” 53,000 ล้านบาท • ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10 % เหลือ 7 % • ลดภาษีน้ำมัน เป็นเงิน 23,800 ล้านบาท

  10. มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ 10 สิงหาคม 2542 • ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตส่งออก • รัฐร่วมกับบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งกองทุนเพื่อช่วยเอกชนปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลด NPL • เพิ่มทุนให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก SME • ให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปล่อยกู้ซื้อบ้าน 5,000 ล้านบาท

  11. มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ อื่น ๆ • ทำข้อตกลงกับ IMF โดยออกกฎหมาย 11 ฉบับ • ปฏิรูประบบสถาบันการเงินและตั้งองค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บ.บ.ส.) • แปรรูปรัฐวิสาหกิจ

  12. ผลจากการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าวผลจากการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าว • วิกฤติเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา ได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพตามสมควร แต่ยังต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องอีกมาก เพื่อคืนสภาพเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติ ดังจะดูได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ น่าสนใจดังต่อไปนี้

  13. แหล่งที่มา IMF Staff Report, June 2000

  14. ภาวะย้ายเงินทุนออกนอกประเทศอย่างตระหนกหยุดลงภาวะย้ายเงินทุนออกนอกประเทศอย่างตระหนกหยุดลง • ทุนสำรองระหว่างประเทศดีขึ้นมาก และหยุดเบิกจ่ายเงินจาก IMF ตั้งแต่ 8 ก.ค.2542(หยุดก่อนกำหนด มิ.ย. 2543) • ทุนสำรองเพิ่มจาก 0.8 18.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ประมาณ 3 ปี)

  15. อัตราแลกเปลี่ยน(จากเดิม 25 บาท) ที่ผันผวนมากในปี 2540 และอ่อนค่าสุดที่ 55.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ได้มีการปรับตัวจนมีเสถียรภาพ ตามที่ควรจะเป็นและตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในภูมิภาค

  16. อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของ 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ปรับตัวจากระดับสูงสุดที่อัตราร้อยละ 15.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.85

  17. อัตราเงินเฟ้อปรับตัวจากระดับร้อยละ 10.7 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.3 • ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

  18. การส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ / ลดการนำเข้า • ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวจากขาดดุล เป็นเกินดุลอย่างต่อเนื่อง

  19. จากมาตรการในการแก้ไขเศรษฐกิจดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็ล้วนสามารถแก้ไขปัญหาได้ค่อนข้างถูกทาง แต่ก็ยังมีนโยบายที่แก้ไขเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในด้านต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังต่อไปนี้

  20. วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทางวิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง • 1. นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวดตรึงดอกเบี้ยให้สูง และชะลอการใช้จ่ายของ ภาครัฐ ทำให้เกิดผลดังนี้ • รายได้ประชาชาติ (GDP) ลดลงกว่า 10% ในปี 2541 • ธุรกิจล้มละลายหลายหมื่นราย • จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน • เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน

  21. วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง (ต่อ) • 2. ตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 • ออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่กับต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านบาท • ธุรกิจส่งออกของบริษัทต่างชาติเพิ่มขึ้น แต่กระจุกตัวอยู่ในไม่กี่ธุรกิจ ซึ่งธุรกิจนั้นมีความเกี่ยวพันกับนักการเมือง • ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ระบบกันเงินสำรองหนี้ ทำให้ไม่มีเงินปล่อยกู้ ให้กับผู้ประกอบการ จึงเกิดการขาดเงินหมุนเวียน

  22. วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง (ต่อ) • 3. ตามมาตราการ 10 มีนาคม 2542 และพระราชกำหนด 11 ฉบับ • เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ • มุ่งหวังการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ โดยใช้มาตราการต่างๆ นั้น ขาดการประเมินความเสี่ยง ในเรื่องผลกระทบต่อการสร้างต้นทุนทางสังคมหรือความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงไร • การจัดชั้นสินเชื่อตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศหรือ BIS โดยไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจเชิงสถาบัน ขาดการกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมไม่ติดตามประเมินผลได้ผลเสียในเชิงเศรษฐกิจ จึงเกิด NPL • เกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อตาม BIS นั้น เป็นเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อที่สร้างขึ้นสำหรับใช้กับระบบธุรกิจที่ก้าวหน้าในประเทศอุตสาหกรรม จึงยังไม่เหมาะกับประเทศไทยซึ่งมีระบบธุรกิจที่ยังล้าหลังอยู่

  23. สรุปผลโดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสรุปผลโดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ • การแก้ไขปัญหาเสถียรภาพและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ได้ผลสำเร็จตามสมควร ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ตัวเลขที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้เริ่มปรับตัวเข้มแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับสภาวการณ์วิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ 3 ปีก่อน • แต่ยังคงมีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงและภาระพันธนาการต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต อาทิเช่น หนี้สินสาธารณะการปฏิรูปทางการเมือง และปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจของโลกเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

  24. สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 • การบริหารที่ขาดประสิทธิภาพ ภาครัฐ ราชการ การเมือง สถาบันการเงิน เอกชน • ความไม่โปร่งใส ขาดจริยธรรม ไร้วินัยทางการเงิน • การดำเนินนโยบายที่ใช้ตามตะวันตกโดยไม่มีการประยุกต์ใช้ • ลัทธิบริโภคนิยม • วิกฤตเชิงโครงสร้าง ระบบอ่อนแอ คนก็จะอ่อนแอตาม • เศรษฐกิจที่เติบโตด้วยการก่อหนี้ ก็ต้องล่มสลายด้วยภาวะหนี้เช่นกัน

  25. ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน • 1.อย่าปล่อยให้เกิดการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ • เมื่อเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วจึงควรมีการพิจารณาว่าเป็นการเติบโตแบบมีคุณภาพหรือไม่ ถ้าเป็นการแบบไร้คุณภาพ ก็ควรมีการดำเนินนโยบายเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน • 2. อย่าเปิดประเทศมากเกินไป • การเปิดประเทศควรคำนึงถึงระดับการเปิดประเทศที่เหมาะสมที่เป็นประโยชน์กับประเทศให้มากที่สุด รวมทั้งควรมีการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของไทยให้เหมาะสมและเอื้อกับนโยบายทางเศรษฐกิจมากที่สุด

  26. ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน • 3. อย่าเร่งรีบก้าวสู่แนวทางเสรีนิยมทางการเงินรวดเร็วจนเกินไป • ประเทศที่เลือกเดินแนวทางเสรีนิยมทางการเงินจะต้องมีเครื่องมือและความสามารถในการรับมือกับนักเก็งกำไร ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศก่อน และควรมีการปรับปรุงกลไกนโยบายทางการเงินก่อนที่จะมีการเปิดเสรีทางการเงิน

  27. ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน 4. ควรลดการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศและหันมาพึ่งตนเองมากขึ้น • การที่ระบบเศรษฐกิจมีเงินออมไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการในการลงทุน หรือเงินออมในประเทศขยายตัวไม่ทันกับการขยายตัวของการลงทุน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงเงิน ออมจากต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องพึงพาต่างประเทศอยู่มาก • ดังนั้นควรมีการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมในประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการออมในภาคครัวเรือน ซึ่งรัฐอาจใช้นโยบายทางภาษี เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้เกิดการออมเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้สถาบันการเงินระดมการออมโดยเฉพาะเงินฝากระยะยาวที่มีภาระผูกพันเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อใช้หลังเกษียณอายุ เป็นต้น เพื่อเป็นการช่วยลดการพึงพาจากต่างประเทศ

  28. ถูกทาง / หรือไม่ถูกทาง • ถูกทาง : ไม่ผิดทาง คือ ทำในสิ่งที่สมควรทำ เพราะถ้าผิดทางประเทศคงจะไม่มีสภาพเช่นนี้ • แต่ยังไม่ถูกทาง : นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เศรษฐกิจ นักการเมือง ประชาชน  ”ยังไม่ไปถึงไหนเลย” • แต่ยังไม่ถูกต้องที่สุด : เนื่องจากยังไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรจะทำ คือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อจะก่อให้เกิด “เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน”เพื่อความอยู่ดีกินดี มีความสุข มีสันติสุข ของลูกหลานฯ ในอนาคต อย่างแท้จริง • ไม่พูดถึง ไม่มีการพิจารณาถึง “มิติของมนุษย์”“สิ่งแวดล้อม”

  29. ขอได้รับความขอบคุณจากสมาชิกกลุ่ม 2 ห้อง 2

More Related