760 likes | 1.56k Views
การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management). Natthawatana Nippagagorn, DMS. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. ลักษณะสำคัญขององค์กร. มาตรา 8-9, 12-20, 22, 33-34. มาตรา 11 , 26-28, 33-34, 47-49. 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์. 5. การมุ่งเน้น
E N D
การบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) Natthawatana Nippagagorn, DMS.
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ลักษณะสำคัญขององค์กร มาตรา 8-9, 12-20, 22, 33-34 มาตรา 11 , 26-28, 33-34, 47-49 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล มาตรา 8, 27-28 1. การนำ องค์กร 7. ผลลัพธ์ การดำเนินการ 6. การจัดการ กระบวนการ 3. การให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาตรา 9, 20, 22, 45-46 มาตรา 8, 24-25, 29-32, 41-42 มาตรา 8, 10, 21, 23-25, 30-32, 35-38 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มาตรา 11, 26, 39-40, 43-44
หมวดที่ 2 การจัดทำยุทธศาสตร์ • ให้อธิบายว่าส่วนราชการมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์หลัก รวมถึงการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ผลการดำเนินการโดยรวม และความสำเร็จในอนาคต Excellence Training Institution
หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์ 2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์หลัก เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ก. กระบวนการจัด ทำยุทธศาสตร์ ข. เป้าประสงค์ เชิงยุทธศาสตร์ ก. การถ่ายทอดแผน ปฏิบัติการไปสู่ การปฏิบัติ ข. การคาดการณ์ ผลการดำเนินการ Excellence Training Institution
กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ • ส่วนราชการมีกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์โดยรวมอย่างไร ให้ระบุ • ขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ • กรอบเวลาที่ใช้ในการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว • กิจกรรมในกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ Excellence Training Institution
กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ • ส่วนราชการได้นำปัจจัยต่อไปนี้มาวางแผนยุทธศาสตร์อย่างไร • ความต้องการ ความคาดหวังของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • สภาพการแข่งขัน • นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี • จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค Excellence Training Institution
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ • ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หลักมีอะไรบ้าง • ส่วนราชการให้ความสำคัญกับความท้าทายต่อองค์กรอย่างไร Excellence Training Institution
การถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ • วิธีการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ • แผนปฏิบัติการที่สำคัญของส่วนราชการ • แผนหลักด้านทรัพยากรบุคคลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ • ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ใช้ติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง Excellence Training Institution
การคาดการณ์ผลการดำเนินการการคาดการณ์ผลการดำเนินการ • เป้าหมายการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการตามตัวชี้วัดมีอะไรบ้างและเป็นเช่นใด เมื่อเปรียบเทียบกับ • เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • ผลการดำเนินงานที่คาดไว้ของคู่แข่ง • ระดับเทียบเคียงที่สำคัญ (Benchmark) Excellence Training Institution
ความหมาย เป็นกระบวนการซึ่งรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการคือ.- • การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) • การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) • การปฏิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม (Strategy Implementation and Control) Excellence Training Institution
ความท้าทายในโลกธุรกิจความท้าทายในโลกธุรกิจ • การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Accelerating rates of Change) • การแข่งขันที่มากขึ้น(Increasing Competition) • ความเป็นโลภาภิวัตน์ของธุรกิจ(Globalization of Business) • การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี(Technological Change) Excellence Training Institution
ความท้าทายในโลกธุรกิจ (ต่อ) • การเปลี่ยนแปลงลักษณะของหน่วยแรงงาน (Changing Nature of the Work Force) • การขาดแคลนทรัพยากร(Resource Shortages) • การเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมที่ต้องใช้ความรู้(Transition from Industrial to Knowledge Society) Excellence Training Institution
ความท้าทายในโลกธุรกิจ (ต่อ) • ภาวะเศรษฐกิจและสภาพตลาดที่ไม่แน่นอน (Unstable Economic and Market Conditions) • ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น(Increasing Demands of Constituents) • ความสลับซับซ้อนของสภาพแวดล้อมในการบริหารเชิงกลยุทธ์(Complexity of the Strategic Management Environment) Excellence Training Institution
21th-century Business Direction • ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) • ยุคสารสนเทศ (The Maze of Information Management) • ยุคความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (The Way of Technology) • ยุคของความเปลี่ยนแปลง (Change and More Change) Excellence Training Institution
Excellence in an Organization • Network Excellence • Technology Excellence • People Excellence • Service Excellence Excellence Training Institution
ประโยชน์จากการบริหารเชิงกลยุทธ์ประโยชน์จากการบริหารเชิงกลยุทธ์ • ช่วยปรับปรุงการสื่อสารให้ดีขึ้น (Improved Communication) • มีผลิตผลที่ดี(Great Productivity) • ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการทำงาน(Increased Understanding) • ทำให้กลยุทธ์มีประสิทธิผลมากขึ้น(More Effective Strategies) Excellence Training Institution
ประโยชน์จากการบริหารเชิงกลยุทธ์ประโยชน์จากการบริหารเชิงกลยุทธ์ • มีพันธะสัญญา(Enhanced Commitment) • ผลิตผลสูงขึ้น(Higher Productivity) • ทำให้ธุรกิจมีอำนาจ มีความคิดริเริ่ม การคาดการณ์ล่วงหน้า(Allow Firm to Influence, Initiate, and anticipate) • ทำให้ธุรกิจมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแทนที่จะแก้ปัญหาภายหลัง(Be Proactive rather than Reactive) Excellence Training Institution
ความสำคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์ความสำคัญในการบริหารเชิงกลยุทธ์ • มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ • เกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากองค์การ • นำมาซึ่งขอบเขตหลายช่วงเวลา • เกี่ยวข้องทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล Excellence Training Institution
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรทั้งภายใน และภายนอก โดยใช้SWOT Analysis วิเคราะห์ความคาดหวังของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเลีย กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หลัก (ถ้ามี) และประเด็นยุทธศาสตร์ ตามลำดับ โดยให้สอดคล้องกัน กำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด (ภายใต้พันธกิจ หรือประเด็นยุทธศาสตร์) จัดทำแผนที่กลยุทธ์โดยใช้เป้าประสงค์แต่ละมิติตาม Balance Scorecard – BSC. แผนกลยุทธ์ 4 ปี กำหนดกลยุทธ์ของแต่ละเป้าประสงค์และตัวชี้วัด (โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix) และแผนงานรองรับ กำหนดตัวชี้วัด (KPIs)ตามหลัก Result Based Management นำแผนงานที่ต้องดำเนินการในแต่ละปี มากำหนดโครงการ วัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดระดับโครงการ (ภายใต้แผนงานแต่ละแผน) แผนปฏิบัติการ ประจำปี กำหนดงบประมาณของโครงการ Excellence Training Institution
ผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholders)ผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholders) • หมายถึงบุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร มีผลประโยชน์ร่วมกันกับองค์กรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบจากการดำเนินงานขององค์กร เช่น ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร องค์กรภาครัฐ องค์กรเอกชน คู่แข่งขัน ฯลฯ • องค์กรมีความจำเป็นต้องกำหนดผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรให้ชัด เจน เข้าใจความคาดหวัง หรือความต้องการของเขา และหาทางตอบสนองความต้องการ หรือความคาดหวังนั้นไว้เป็นการเบื้องต้น Excellence Training Institution
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(Strategic Analysis) ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร, DMS.
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในระดับองค์กรการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในระดับองค์กร • การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การจะต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน และความสามารถในการแข่งขัน • เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SWOT Analysis Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอก • หมายถึง สิ่งแวดล้อมขององค์การซึ่งองค์การไม่สามารถควบคุมได้ และอาจเป็นประโยชน์ หรือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อองค์การในอนาคต • หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นประโยชน์ หรือเป็นปัจจัยด้านบวกหรือเอื้อต่อการดำเนินงานขององค์กร เราเรียกว่า โอกาส (Opportunities) • หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นภัยคุกคาม หรือปัจจัยด้านลบต่อความสำเร็จขององค์การในอนาคต เราเรียกว่า อุปสรรคหรือภาวะคุกคาม (Threats) Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณาปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณา • สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Environment) เช่น ปัจจัยเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ รายได้ต่อหัวประชากร รายได้ครัวเรือน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า เป็นต้น • สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) เช่น สภาพสังคม ลักษณะครอบครัว ความสัมพันธ์ในชุมชน ครัวเรือน ครอบครัว เป็นต้น • สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (Cultural Environment) เช่น ค่านิยมการศึกษา การนับถือและความเชื่อศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย การบริโภค ศิลปะ เป็นต้น • สิ่งแวดล้อมประชากรศาสตร์ (Demographical Environment) เช่น อัตราเกิด อัตราตาย การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณาปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณา • สิ่งแวดล้อมทางการเมือง (Political Environment) เช่น นโยบายทางการเมือง นโยบายพรรคการเมือง เสถียรภาพทางการเมือง นักการเมืองทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วน เป็นต้น • สิ่งแวดล้อมด้านกฎหมาย (Legal Environment) เช่น ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด กฎกระทรวง ข้อบัญญัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น • สิ่งแวดล้อมภาครัฐ (Governmental Environment) ได้แก่องค์กรภาครัฐต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น ส่วนราชการอื่นๆ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระของรัฐอื่นๆ เป็นต้น Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณาปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณา • สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment) เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความรู้ในสาขาต่างๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร เป็นต้น • แนวโน้มทางการแข่งขัน (Competitive Trends) การดำเนินงานขององค์กรซึ่งประกอบกิจการ หรือมีลักษณะงานคล้ายคลึงกับองค์กร ซึ่งส่งผลกระทบ หรือได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจากการดำเนินงานของอค์กร • อื่นๆ (Others) เช่นภัยธรรมชาติ ภูมิอากาศ Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายใน • หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์การ ซึ่งองค์การสามารถควบคุมได้ และมีผลทำให้การดำเนินงานภายในองค์การประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลวได้ • จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ลักษณะเด่นของการดำเนินงานหน้าที่ต่างๆ ภายในองค์การ ลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จขององค์การ • จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง การดำเนินงานองค์การไม่สามารถกระทำได้ดี อันเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์การ องค์การจะต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายในที่ควรพิจารณา (อย่างง่าย) • Man บุคลากร รวมถึงผู้บริหารขององค์กร • Money งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้ว • Material วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี • Management ระบบบริหารจัดการทุกด้าน เช่น การบริหารงานการเงิน พัสดุ งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น Excellence Training Institution
จุดมุ่งหมาย (Purpose) หมายถึง สิ่งที่องค์การต้องการในอนาคต สามารถกำหนดได้ 4 ประการ เรียงลำดับจากการเจาะจงน้อยที่สุด ไปถึงมากที่สุด คือ.- • วิสัยทัศน์ (Vision) • พันธกิจ (Mission) • เป้าหมาย หรือเป้าประสงค์ (Goals) • วัตถุประสงค์ (Objectives) Excellence Training Institution
วิสัยทัศน์ (Vision) • หมายถึง จินตภาพเกี่ยวกับองค์การในอนาคต เป็นการชี้ถึงทิศทางที่องค์การต้องการจะมุ่งไป วิสัยทัศน์จะอธิบายความทะเยอทะยานสำหรับอนาคตขององค์การ แต่ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้นอย่างชัดเจน Excellence Training Institution
พันธกิจ (Mission) • พันธกิจองค์การ เป็นข้อความที่เกี่ยวกับการกำหนดกิจกรรมหลัก และลักษณะงานสำคัญขององค์การ เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่องค์การกำหนดขึ้น Excellence Training Institution
ความสำคัญในการกำหนดพันธกิจให้ชัดเจนความสำคัญในการกำหนดพันธกิจให้ชัดเจน • เพื่อให้สามารถระบุจุดมุ่งหมายภายในองค์การได้ • เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานในการจัดสรรทรัพยากรองค์การ • เพื่อกำหนดบรรยากาศทั่วไปขององค์การ • เพื่อเป็นหลักสำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายขององค์การและทิศทางขององค์การ Excellence Training Institution
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) • หมายถึง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นประเด็นหลักในการนำไปสู่วิสัยทัศน์ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่สำคัญที่หน่วยงานต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยประเด็นยุทธศาสตร์ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์กระจัดกระจาย ไม่มีจุดมุ่งเน้น (Focus) Excellence Training Institution
เป้าประสงค์ (Goals) • หมายถึง เป้าหมายต่างๆ ที่ต้องการบรรลุในแต่ละพันธกิจ หรือในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ภายใต้กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2546 และที่ ก.พ.ร. เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2547 ซึ่งแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาองค์การ Excellence Training Institution
SMART • Specific เฉพาะเจาะจง • Measurable สามารถวัดได้ • Achievement บรรลุผลได้ • Realistic เป็นจริงได้ • Time Frame มีกรอบระยะเวลา Excellence Training Institution
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) • กลยุทธ์ เป็นรูปแบบของการกระทำซึ่งผู้บริหารใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นกลยุทธ์ที่เป็นจริง ซึ่งองค์การได้วางแผนไว้ และใช้โต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ • แผนกลยุทธ์ เป็นข้อความเกี่ยวกับภารกิจ และทิศทางในอนาคต เป้าหมายการทำงานระยะสั้น และระยะยาวตลอดจนกลยุทธ์ในการทำงาน Excellence Training Institution
ปัจจัยสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ปัจจัยสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ • จุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์, พันธกิจ, เป้าประสงค์, และอาจรวมถึงนโยบาย • โอกาสและอุปสรรคจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก (External Opportunities and Threats) • จุดแข็งและจุดอ่อนจากปัจจัยแวดล้อมภายใน (Internal Strengths and Weaknesses) Excellence Training Institution
ความสัมพันธ์ผัง SWOT และกลยุทธ์ทางเลือก (TOWS)“การกำหนดกลยุทธ์เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม SWOT” W+O = Off-set approach กลยุทธ์ “ทดแทน” แก้ไขจุดอ่อนเพื่อ ใช้โอกาสที่มีอยู่ขององค์การ (เชิงพัฒนา) S+O = Matching approach กลยุทธ์ “ผนึกพลัง” เพื่อใช้จุดแข็ง เปิดโอกาสใหม่ทางการแข่งขัน (เชิงรุก) W+T = Mitigation approach กลยุทธ์ “บรรเทา” เพื่อหาทางแก้ไขจุด อ่อน และเลี่ยงภาวะคุกคามที่บดบังวัตถุ- ประสงค์ขององค์การ (เชิงพลิกแพลง) S+T = Covering approach กลยุทธ์ “โอบล้อม” การอาศัยจุดแข็ง ต้านและตรึงภาวะคุกคามที่มีต่อวัตถุ- ประสงค์ขององค์การ (เชิงรับ) Excellence Training Institution
การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategic Implementation) Natthawatana Nippagagorn, DMS.
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ • เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ (Intended Strategy) ให้เป็นกลยุทธ์ที่เป็นจริง (Realized Strategy) • เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ให้เป็นการปฏิบัติและผลลัพธ์ Excellence Training Institution
The McKinsey 7’S framework โครงสร้าง (Structure) กลยุทธ์ (Strategy) ระบบ (Systems) ค่านิยมร่วม (Shared Value) ทักษะ (Skills) รูปแบบการบริหาร (Style) คนหรือพนักงาน (Staff) Excellence Training Institution
ปัจจัยพิจารณาตาม 7’S • Strategy กลยุทธ์หลักขององค์กร • Structure โครงสร้างทางการบริหาร • Systems ระบบต่างๆ ในองค์การ • Style รูปแบบการบริหาร • Staff บุคลากร • Skills ทักษะการปฏิบัติงาน • Shared Value ค่านิยมร่วม Excellence Training Institution
The McKinsey 7’S framework: Waterman • กลยุทธ์หลักขององค์กร (Strategy) หมายถึงแนวทางการดำเนินงานองค์การที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันที่กลยุทธ์จะมีความสำคัญต่อการดำเนินงานและความอยู่รอดอย่างเข้าใจ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน • โครงสร้างทางการบริหาร (Structure) หมายถึงตำแหน่งงาน อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ขอบเขตการควบคุม และการรวมหรือการกระจายอำนาจในการตัดสินใจภายในองค์การ
The McKinsey 7’S framework: Waterman • ระบบต่างๆ ในองค์การ (Systems) หมายถึงระเบียบวิธี กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการขององค์การ โดยที่ระบบจะแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานภายในองค์การ และต้องเกี่ยวข้องเกื้อหนุนกลยุทธ์และโครงสร้างขององค์การ • รูปแบบการบริหาร (Style)หมายถึงลักษณะของการจัดการและการบริหารงานของผู้บริหาร เช่น การติดต่อ สื่อสาร การตัดสินใจ และการเป็นผู้นำ
The McKinsey 7’S framework: Waterman • บุคลากร (Staff) หมายถึงการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงานและการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานซึ่งช่วยให้เกิดความเหมาะ สมของบุคคลกับปัจจัยอื่นๆ • ทักษะการปฏิบัติงาน (Skills) หมายถึงความสามารถหรือความชำนาญเฉพาะขององค์การ เช่น การบริหารงาน การจัดการและควบคุมทางการเงิน หรือการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น
The McKinsey 7’S framework: Waterman • ค่านิยมร่วม (Shared Value) หมายถึง เป้าหมายสูงสุด (Super Ordinate Goal) ที่เป็นปรัชญาหรือความเชื่อพื้นฐานของทุกคน ใช้เป็นหลักพื้นฐานหรือจุดเริ่มต้นของแต่ละระบบ โครงการ การถูกถ่ายทอด และปลูกฝังอยู่ในตัวตน
การควบคุมกลยุทธ์ • เป็นกระบวนการพิจารณาว่ากลยุทธ์ได้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ถ้ากระทำเช่นนั้น และมีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา • ผู้กำหนดกลยุทธ์จะประเมินผลกระทบของกลยุทธ์และการตอบสนองที่เหมาะสม • เป็นกระบวนการในการจัดการ ซึ่งต้องตรวจสอบแผนกลยุทธ์ และการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้เหมาะสม Excellence Training Institution