1 / 41

การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Portfolio Analysis

การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Portfolio Analysis. องค์ประกอบของ CRM (DEAR Model). องค์ประกอบของ CRM. DEAR Model การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า ( D atabase) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ( E lectronic) การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ ( A ction) การเก็บรักษาลูกค้า ( R etention).

dorie
Download Presentation

การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Portfolio Analysis

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Portfolio Analysis องค์ประกอบของ CRM (DEAR Model)

  2. องค์ประกอบของ CRM DEAR Model • การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database) • การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronic) • การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Action) • การเก็บรักษาลูกค้า (Retention)

  3. DEAR Model • DEAR Modelเป็นตัวแบบที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการวางแผนเรื่อง Customer Relationship Management ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • DEAR Modelจะเป็นกระบวนการที่เป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่าย ผู้บริหารสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที

  4. DEAR Model การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database) • เป็นขั้นตอนแรกสุดของ DEAR Model • ขั้นตอนนี้ต้องวิเคราะห์ และแยกแยะรายละเอียดของลูกค้า จัดแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ ไม่ใช่เพียงแต่เก็บรวบรวมเท่านั้น

  5. DEAR Model การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database) แบ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจดังนี้ • การให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้า • ประเภทของข้อมูลที่เราต้องการ • การวิเคราะห์และจัดกลุ่มลูกค้า

  6. DEAR Model การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database) การให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้า • ต้องหาจุดที่ลูกค้ามีการติดต่อกับบริษัท (ปฏิสัมพันธ์: Touch points) เช่นการมาใช้บริการ การซื้อสินค้า การติดต่อสอบถาม เป็นต้น

  7. ธนาคาร บริการโทรศัพท์มือถือ โรงแรม/ร้านอาหาร สายการบิน สินค้าสำเร็จรูป ยารักษาโรค เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ อินเทอร์เน็ตแพ็คเกจ คอมพิวเตอร์ DEAR Model ลักษณะการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทางตรง ทางอ้อม สูง ความถี่ในการปฏิสัมพันธ์ ต่ำ

  8. DEAR Model ประเภทของข้อมูลที่เราต้องการ • โดยปกติจะต้องจัดเก็บ ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail address • ทั้งนี้บริษัทต้องวางแผนว่าเราต้องการใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจด้วย • ธุรกิจบางประเภทอาจต้องการข้อมูลเฉพาะด้าน เช่นโรงพยาบาลอาจต้องการข้อมูลการแพ้ยาหรือกรุ๊ปเลือด

  9. DEAR Model ข้อมูลลูกค้าที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการคือ • ถูกต้อง • ครบถ้วน • เป็นปัจจุบัน • เชื่อมโยงกันได้

  10. DEAR Model การวิเคราะห์และการจัดกลุ่มลูกค้า • ในอดีตนักการตลาดจัดกลุ่มลูกค้าด้วยการทำ Segmentation ตามเกณฑ์ต่างๆ แต่ปัจจุบันจากแนวคิด Customer Lifetime Value ต้องจัดกลุ่มลูกค้าแบบใหม่ • ดูจากการทำกำไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นสำคัญ

  11. DEAR Model การวิเคราะห์และการจัดกลุ่มลูกค้า กำไรมาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้ • โอกาสที่ลูกค้าซื้อสินค้าอย่างหนึ่งแล้วจะซื้อสินค้าประเภทอื่นด้วย เรียกว่า________________ • โอกาสที่ลูกค้าเพิ่มขนาดของการซื้อหรือซื้อต่อยอดขึ้นไปอีก เรียกว่า _____________________ • ความสามารถของกิจการที่จะลดต้นทุนได้ เช่นต้นทุนการโฆษณา

  12. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) • เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นหัวใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ CRM ประสบความสำเร็จ • ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์และแยกแยะลูกค้า สร้างจุดติดต่อกับลูกค้า (Touch points) และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

  13. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) • การสร้างจุดติดต่อกับลูกค้า (Contact points/Touch points) • การปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญของ CRM จึงต้องให้ความสำคัญกับการติดต่อกับลูกค้า

  14. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) ตัวอย่างจุดติดต่อกับลูกค้าแบ่งเป็น • จุดติดต่อในงานขาย • จุดติดต่อในงานบริการลูกค้า/งานสนับสนุน • จุดติดต่อเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า • จุดติดต่อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาด • จุดติดต่อหน่วยงานอื่นๆ

  15. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) ตัวอย่างจุดติดต่อกับลูกค้าแบ่งเป็น • จุดติดต่อในงานขาย • การขายทางโทรศัพท์ที่ลูกค้าโทรเข้า • การขายทางโทรศัพท์ที่บริษัทโทรออก • หน้าร้านหรือจุดบริการ/จุดขาย • ที่ทำการหรือบริษัทของลูกค้า • พนักงานของร้าน

  16. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) • จุดติดต่อในงานบริการลูกค้า/งานสนับสนุน • การบริการลูกค้า • การฝึกอบรมลูกค้า • การรับประกัน • การซ่อมบำรุง • การเรียกร้องค่าเสียหาย • การสนับสนุนอื่นๆ • Call Center •Website

  17. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) • จุดติดต่อเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า • พนักงานส่งของ • แผนกจัดส่ง • แผนกจัดสินค้า • บรรจุภัณฑ์ในการจัดส่ง

  18. DEAR Model การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronics) • จุดติดต่อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาด • การโฆษณา • การประชาสัมพันธ์ • การแสวงหาลูกค้า/รักษาลูกค้า • จุดติดต่อหน่วยงานอื่นๆ • เช่นฝ่ายบัญชี ฝ่ายเครดิต ฝ่ายเรียกเก็บบิล เป็นต้น

  19. DEAR Model • ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้ช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเป็นการเฉพาะตัวทำได้ง่ายขึ้นมาก เช่น e-mail • ในการทำ CRM บริษัทจะต้องเรียกดูข้อมูลของลูกค้าได้ทุกสื่อ ทุกช่องทาง (Cross-media and cross-channel)

  20. DEAR Model การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Action)เป็นการกำหนดแผนงาน กิจกรรมต่างๆทางการตลาด และอื่นๆ เพื่อสร้าง รักษา และกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่นโปรแกรมการสะสมแต้ม โปรแกรมขอบคุณลูกค้า

  21. DEAR Model • กิจกรรมต่างๆแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ • การบริการลูกค้า (Customer Service) • การสะสมคะแนนหรือการสร้างความภักดี (Frequency or Loyalty Programs) • การสร้างความสัมพันธ์ในเชิงสังคม (Community Programs) • การสร้างความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของบริษัท (Structural Ties) • การสนองความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคล (Customization)

  22. DEAR Model การเก็บรักษาลูกค้า (Retention) กิจกรรมในขั้นตอนนี้ คือ การประเมินผลการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า และการรักษาความเติบโตของความสัมพันธ์กับลูกค้า

  23. DEAR Model การประเมินผลการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นการเพิ่มเกณฑ์การวัด และการประเมินผลการบริหารความสัมพันธ์ โดยมีความเชื่อมโยงกับเกณฑ์วัดเดิมๆ เช่น ความสามารถในการทำกำไร ส่วนแบ่งตลาด เพื่อให้ผู้บริหารเห็นว่าการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าประสบความสำเร็จหรือไม่ เกณฑ์ที่สำคัญๆ ได้แก่ ต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้า อัตราการสูญเสียลูกค้า อัตราการซื้อของลูกค้า ส่วนแบ่งการซื้อของลูกค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อัตราการบอกเลิกเป็นสมาชิก เป็นต้น

  24. DEAR Model การรักษาความเติบโตของความสัมพันธ์กับลูกค้า เมื่อลูกค้ามีความคุ้นเคยและความเชื่อถือแล้ว กิจการสามารถขยายขอบเขตการซื้อสินค้าหรือบริการให้กว้างขวางขึ้นได้ โดยจะนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือบริการใหม่ๆ หรือการซื้อต่อยอดที่มีมูลค่าสูงขึ้น

  25. DEAR

  26. การวิเคราะห์ลูกค้า Customer Portfolio Analysis

  27. การระบุลูกค้าที่ต้องการการระบุลูกค้าที่ต้องการ ในการทำ CRMเราจะต้องพยายามแยกลูกค้าออกตามคุณค่าที่เป็นไปได้ และกิจการจะเลือกเป้าหมายที่สามารถสร้างกำไรที่ดีที่สุดในอนาคตโดยมีขั้นตอนในการแบ่งดังนี้ • กำหนดธุรกิจที่กิจการดำเนินงานอยู่ (identify the business you are in) • ระบุตัวแปรหรือข้อมูลที่ใช้ในการแบ่งและการวิเคราะห์ตลาด (identify relevant segmentation variables and analysis market) • ศึกษาถึงคุณค่าที่กิจการจะเข้าถึงลูกค้าและเลือกตลาดเป้าหมาย (assess the value in market segment and select which market to serve)

  28. การกำหนดธุรกิจที่ดำเนินงานการกำหนดธุรกิจที่ดำเนินงาน • หลายๆ กิจการพยายามที่จะตอบคำถามนี้ด้วยการระบุสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิตขึ้น • แต่ทั้งนี้ ควรมองในมุมมองของลูกค้าหรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วย เช่น ร้านเช่าวีดีโอกำหนดว่าตนเป็น home entertainmentหรือการที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ Indexกำหนดว่าตนเป็น home-improvement businessเป็นต้น • การระบุแบบนี้จะช่วยระบุขอบเขตของตลาดที่จะเข้าไปดำเนินงานกว้างขึ้น ทราบถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และยังช่วยระบุคู่แข่งได้ง่ายขึ้นด้วย

  29. ระบุตัวแปรที่จะใช้ในการแบ่งลูกค้าระบุตัวแปรที่จะใช้ในการแบ่งลูกค้า • โดยทั่วๆ ไป การแบ่งกลุ่มลูกค้าจะใช้ตัวแปรประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ • แต่ในมุมมองของ CRM จะต้องใช้ตัวแปรอื่นๆ ด้วย เช่น • สถานะทางด้านอาชีพ จะทำให้ทราบถึงสถานะทางสังคมด้วย • วิถีการดำเนินชีวิต จะสามารถทราบถึงพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้ เพราะมาจากการวิเคราะห์ความสนใจ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน และความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ • อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงเหตุผลที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไปใช้ • ปริมาณการบริโภค จะทำให้กิจการเห็นว่าลูกค้ากลุ่มใด หรือประเภทใดซื้อผลิตภัณฑ์ของเรามากที่สุด ส่งผลต่อการวางแผนและพัฒนาต่อไป

  30. แนวคิด CRM จะใช้ตัวแปรเหล่านี้มากกว่า 1ตัวในการแบ่งกลุ่มลูกค้า เช่น บริษัทผลิตช๊อคโกแลต แบ่งลูกค้าออกตาม การใช้ และความพึงพอใจ ของขวัญ การวางแผน 10% แบ่งปันในครอบครัว การแบ่งปัน 30% ซื้อกลับบ้าน ความจำเป็น 40% อารมณ์ 20% กินเดี๋ยวนี้ หิว เฉยๆ หมกหมุ่น

  31. ศึกษาถึงคุณค่าที่กิจการจะเข้าถึงลูกค้าศึกษาถึงคุณค่าที่กิจการจะเข้าถึงลูกค้า การประเมินส่วนแบ่งตลาด เรามักจะใช้ 2 เกณฑ์คือ • ความน่าสนใจของตลาด ประกอบด้วย ขนาด, อัตราการเติบโต, ความไวต่อราคาของลูกค้า, อำนาจการต่อรอง, ความสัมพันธ์กับกิจการในปัจจุบัน, อุปสรรคในการเข้า-ออก, จำนวนคู่แข่ง, โอกาสในการสร้างความแตกต่าง และการเปลี่ยนใจของลูกค้า 2. ศักยภาพความสามารถของกิจการและเครือข่าย ประกอบด้วย โอกาสทางการตลาดที่เกิดขึ้นเหมาะกับวัตถุประสงค์และการดำเนินงานของบริษัทหรือไม่ และบริษัทมีเครือข่ายที่ครอบคลุมและมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับตลาดนั้นๆ ได้หรือไม่

  32. McKinsey customer portfolio matrix ศักยภาพของกิจการและเครือข่าย Strong Average Weak High ความน่าสนใจของส่วนตลาด Medium Low

  33. ระดับของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าระดับของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า บันไดของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ซึ่งนำไปสู่ความจงรักภักดี มี 6 ระดับ ดังนี้ • ระดับ “ลูกค้าคาดหวัง” (Prospect) เป็นลูกค้าที่มีความเป็นไปได้ในการตัดสินใจซื้อ และมีอำนาจซื้อ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะตอบสนองต่อโปรแกรมการตลาดและโปรแกรม CRM เป็นอย่างดี • ระดับ “ผู้ซื้อ” (Purchasers) บริษัทจะต้องจัดโปรแกรมการตลาด และโปรแกรม CRM ที่จะทำให้ผู้ซื้อเหล่านี้กลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง • ระดับ “ลูกค้า” (Clients) หมายถึงผู้บริโภคหรือธุรกิจที่ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่ง แต่ยังอาจมีทัศนคติที่เป็นลบ หรือเฉยๆ กับบริษัท

  34. ระดับ “ลูกค้าผู้สนับสนุน”(Supporters)คือลูกค้าประจำที่รู้สึกชอบบริษัท มีทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท และผลิตภัณฑ์ของบริษัท แต่ยังไม่ออกมาสนับสนุนอย่างจริงจัง • ระดับ “ผู้มีอุปการคุณ”(Advocates)คือลูกค้าผู้ให้การสนับสนุนกิจการมาโดยตลอด คอยแนะนำลูกค้ารายอื่นๆ ให้หันมาซื้อสินค้าของบริษัท เรียกว่าทำการตลาดภายนอกแทนบริษัท • ระดับ “หุ้นส่วนธุรกิจ”(Partners)คือลูกค้าที่ก้าวขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ มีส่วนร่วมในรายรับรายจ่าย และผลกำไรของบริษัท เป็นความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความภักดีในบริษัท และตราสินค้าของบริษัทมากที่สุด

  35. รูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ารูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า Phillip Kotlerได้กล่าวถึงรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าตามระดับความสัมพันธ์ต่างๆ ไว้ 5 รูปแบบ • รูปแบบพื้นฐาน(Basic Marketing) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ขั้นเริ่มต้นที่พนักงานขายของบริษัททำการเสนอขายสินค้ากับกลุ่มที่เป็น ลูกค้าคาดหวัง เพื่อผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ • รูปแบบการตลาดเชิงรับ(Reactive Marketing) เป็นรูปแบบที่พนักงานขายหรือบริษัทพยายามสานความสัมพันธ์กับลูกค้าในระดับที่เหนือขึ้นไปจากการซื้อขั้นพื้นฐาน เช่น การทิ้งนามบัตรไว้ให้ลูกค้า การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลผู้บริโภค

  36. รูปแบบมุ่งเน้นเอาใจลูกค้า(Accountable Marketing) พนักงานขายจะโทรศัพท์กลับไปยังลูกค้าหลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้ว เพื่อตรวจสอบความพอใจและรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกชอบในบริษัทมากขึ้น • รูปแบบการตลาดเชิงรุก(Proactive Marketing) พนักงานขายจะเป็นฝ่ายออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้าถึงบ้าน ที่ทำงาน หรือร้านค้าเป็นระยะ เพื่อนำเสนอข่าวข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับสินค้า ให้ข้อแนะนำต่างๆ เพื่อสร้างกลุ่มผู้มีอุปการคุณให้มากขึ้น • รูปแบบหุ้นส่วนธุรกิจ(Partnership Marketing) บริษัทจะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของร้านที่เป็นลูกค้าอย่างเต็มที่ จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากผลกำไรของร้านค้าเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ผลกำไรโดยรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นด้วย เช่นรูปแบบของ Franchise หรือการขายตรงแบบหลายๆ ชั้น

  37. การพิจารณาต้นทุนตามกิจกรรม (Activity-based costing) ลูกค้าแต่ละคนก็จะมีผลทำให้เกิดต้นทุนกับกิจการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้ • ต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้า(customer acquisition cost) เช่น การโทรศัพท์ขายสินค้า การเยี่ยมเยียน การให้ทดลองสินค้า การให้คำแนะนำทางเทคนิค การรับประกันหากลูกค้าเปลี่ยนมาใช้สินค้า • ต้นทุนจากเงื่อนไขการค้า(term of trade) เช่น การลดราคา การสนับสนุนด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ เงินสนับสนุนให้คนกลาง การยืดเวลาการชำระเงิน

  38. ต้นทุนในการบริการลูกค้า(customer service costs) เช่น คำร้องเรียน คำติชม ความต้องการพนักงานขายและพนักงานประชาสัมพันธ์ การจัดการกับคำสั่งซื้อขนาดเล็ก การจัดการเมื่อมีการสั่งซื้อจำนวนมาก • ต้นทุนในการดำเนินงาน(working capital costs) เช่น จำนวนสินค้าคงคลัง ต้นทุนในการให้สินเชื่อ ความเสี่ยงในการให้เครดิต

  39. เราสามารถจำแนกลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามจำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวจะมาจาก กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า โดยทั่วๆ ไปมักจะสรุปว่ากิจการที่มีลูกค้าจำนวนมากจะมีต้นทุนเกิดขึ้นมากกว่ากิจการที่มีจำนวนลูกค้าน้อย เนื่องจาก กิจการขนาดใหญ่จะมีกิจกรรมในการบริหารจัดการลูกค้ามาก เช่น การให้บริการ จำนวนพนักงานบริการ และพนักงานเทคนิคต่างๆ

  40. ABC กับCRM • เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับรายได้แล้ว สามารถบอกถึงกำไรที่แท้จริงที่ได้รับจากลูกค้าแต่ละรายหรือแต่ละกลุ่มได้ • เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสร้างผลประโยชน์จากลูกค้าได้ เช่น การต่อรองหรือปรับราคาใหม่ตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง • ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า และช่วยในการพัฒนากลยุทธ์ในการรักษาลูกค้า • ช่วยในการทำกลยุทธ์แบบเฉพาะเจาะจง (Customization) เพื่อสร้างคุณค่าและส่งมอบให้ลูกค้าต่อไป

More Related