1 / 22

เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio)

จัดทำ โดย ด . ช . นิรันดร์กาล ศรีชมใจ เลขที่ 9 ด . ช . คมกริช ยาโน เลขที่ 2 ด . ช . พงศกร กองปู๊ด เลขที่ 10 ด . ช . สุรเสกข์ กุนนาแสง เลขที่ 16 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / 3. เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio). เสียง ( Sound).

chelsey
Download Presentation

เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จัดทำโดย ด.ช.นิรันดร์กาล ศรีชมใจ เลขที่ 9 ด.ช.คมกริช ยาโน เลขที่ 2 ด.ช.พงศกร กองปู๊ด เลขที่ 10 ด.ช.สุรเสกข์ กุนนาแสง เลขที่ 16 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 เรื่อง เสียง (Sound) หรือ ออดิโอ (Audio)

  2. เสียง (Sound) • เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับออดิโอ เช่น อุปกรณ์สำหรับออดิโอ รูปแบบไฟล์ออดิโอ และซอฟต์แวร์สำหรับออดิโอ เป็นต้น

  3. ทำความรู้จักกับเสียง (Sound) • เสียง (Sound)อยู่ในรูปแบบของพลังงาน (Energy) เหมือนกับพลังงานความร้อน (Heat) และพลังงานแสง (Light) ที่สามารถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงพลังงานที่อยู่ในรูปแบบคลื่นที่ประกอบด้วยแอมพลิจูด(Amplitude) และความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง

  4. สามารถแสดงระดับความดังและชนิดของเสียงได้ ดังนี้

  5. องค์ประกอบของระบบเสียงองค์ประกอบของระบบเสียง • การนำเสียงจากธรรมชาติมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต้องผ่านกระบวนการบันทึก (Record) จัด (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องรับและแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือสำหรับประมวลผลและแปลงเสียงต้นฉบับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ • ไมโครโฟน (Microphone) • เครื่องขยายเสียง (Amplifier) • ลำโพง (Speaker) • เสียง (Audio Mixer)

  6. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) • อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempo) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งการแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทร็กอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษ เช่น เสียงคอรัส เสียงเอคโค หรือเสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้

  7. ประเภทของเสียง • ประเภทของเสียงสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ เสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ • มิดี้(MIDI: Musical Instrument Digital Interface) คือเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างเสียงตามเครื่องเล่นเปียโน • ดนตรีแบบดิจิตอล(Digital Audio) คือสัญญาณเสียงที่ส่งมากจากไมโครโฟนหรือเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิตข้อมูล โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มาว่า “Sampling Rate” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size”

  8. คุณภาพของสัญญาณดิจิตอลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ • อัตราการสุ่มเสียง (Sampling Rate) อัตตราการสุ่มเสียงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียง ใช้อัตราการสุ่ม 8 กิโลเฮิรตซ์ หมายถึงสุ่มค่าแอมพลิจูดของคลื่นเสียงจำนวน 8,000 ครั้งต่อวินาที • บิตเรต(Bit Rate) และขนาดไฟล์ (File Size) การเพิ่มอัตราการสุ่มและความละเอียดในการสุ่ม จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงต้องการหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย ตัวอย่างเช่น ไฟล์เพลงที่มีอัตราสุ่ม 22.05 กิโลเฮิรตซ์ และมีความละเอียดอยู่ที่ 16 บิตในโหมดสเตอริโอ ถ้าสียงมีความยาว 30 วินาที

  9. อุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียงได้แก่อุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียงได้แก่ • การ์ดเสียง (Sound Card) • อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) • อุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device) • การ์ดเสียง (Sound Card)

  10. องค์ประกอบสำคัญของการ์ดเสียงมี ดังนี้ • หน่วยความจำ (Memory Bank) • ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP Digital Signal Processor) • ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก (DAC : Digital to Analog Converter) • เวฟเทเบิล(Wave Table) • พอร์ตอินพุต และพอร์ตเอาท์พุตของเสียง (Input and Output Port)

  11. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Audio File) • Wave File เป็นไฟล์ของคลื่นเสียงในรูปแบบอนาล็อก โดยการ์ดเสียงจะได้รับเสียงในรูปแบบสัญญาณอนาล็อกจากไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นซีดี และส่งไปยังตัวแปลงสัญญาณแบบ ADC เพื่อแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล • MIDI File เป็นไฟล์ที่ต้องการชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงแบบมิดี้ หรือ Synthesize Chip โดยจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับไฟล์ MIDI ไว้บนฮาร์ดดิสก์ในรูปแบบแท็กซ์ไฟล์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลว่าใช้เครื่องดนตรีอะไรในการเล่นและ เล่นอย่างไร โดยข้อมูลของไฟล์เสียงจะถูกส่งจากซีพียูไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล

  12. อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (AudioTransmission) • Phone Audio Jack เป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับการเชื่อมต่อที่ใช้ทั่วไป มีทั้งขนาด 2.5 มิลลิเมตร 3.5 มิลลิเมตร และ 6.5 มิลลิเมตร ในอดีตจะใช้ตัวเชื่อมต่อขนาด 6.5 มิลลิเมตร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ส่วนตัวเชื่อมต่อขนาด 3.5 มิลลิเมตรและ 2.5 มิลลิเมตร • RCA Jack ตัวเชื่อมต่อแบบ RCA เป็นตัวเชื่อมต่อสำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงและวีดีโอจากอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน พัฒนาโดย Radio Corporation of America (RAC) หัวเชื่อมต่อหรือปลั๊กตัวผู้ (Plug) ประกอบด้วยวงแหวนที่เป็นโลหะอยู่ส่วนกลางของปลั๊กมีพลาสติกขนาดเล็ก • XLR Audio Connector ตัวเชื่อมต่อแบบ XLR ได้รับการพัฒนาโดย Cannon มีหลายรูปแบบ โดยรุ่น XLR3 ประกอบด้วย 3 ขา ใช้สำหรับไมครโฟนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งขาที่ 1 จะเป็น Ground ส่วนขาที่ 2 และ 3 จะเป็นขั้วไฟฟ้า

  13. อุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device) • Compact Disc Digital Audio System ซีดี (CD: Compact Disc) หรือออดิโอซีดี (Audio-CD) ได้รับการพัฒนาโดย Philip และ Sony ซึ่งเป็นออปติคอลดิสก์ ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล (เช่น ไฟล์เสียงจิติอล เป็นต้น) โดยมีอัตราสุ่มเสียงดิจิติอลที่ 44.1 กิโลเฮิรตซ์ ด้วยขนาด 16 บิต ขนาดของแผ่นดิสก์จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 120 มิลลิเมตร และสามารถบันทึกเสียงได้ถึง 74 นาที • Digital Audio Tape (DAT) เป็นเทปเสียงจิติอลที่มีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถจัดเก็บเสียงดิจิตอลได้ด้วยอัตราสุ่มหลายรูปแบบ เช่น 32 กิโลเฮิรตซ์ 44.1 กิโลเฮิรตซ์ และ 48 กิโลเฮิรตซ์ เป็นต้น สามารถจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลต้นฉบับได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

  14. Digital Data Storage (DDS) เป็นเทปแม่เหล็กที่ใช้สำหรับจัดเก็บและสำรองข้อมูลที่พัฒนาต่อจากเทคโนโลยี Digital Audio Tape (DAT) ในปี ค.ศ. 1989 โดย Sony และ Hewlett Packard ได้พัฒนา DSS เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายเทป DAT โดยเทปมีความกว้าง 4 มิลลิเมตร และยาวตั้งแต่ 60 – 90 เมตร • Digital Compact Cassette (DCC) พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1990 โดย Philip ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Compact Audio Cassette แต่สามารถรองรับการบันทึกข้อมูลดิจิตอลได้ โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเพื่อบันทึกในเทปอนาล็อกได้ ระยะห่างระหว่างแทร็กใกล้กันมากกว่า DAT แต่ความจุข้อมูลน้อยกว่า DCC น้อยกว่า DAT ดังนั้น จึงให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า

  15. MiniDisc (MD) ในปี ค.ศ. 1991 Sony ได้พัฒนา MiniDisc (MD) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุก ชนิดด้วยการบันทึกในรูปแบบ Magnetic Optical ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 1 ล้านครั้ง

  16. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) • การประมวลผลไฟล์เสียง (processing Sound) คือ กระบวนการต่างๆตั้งแต่นำไฟล์เสียงเข้าสู่โปรแกรมสำหรับสร้าหรือแก้ไขเสียงโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม MidiNotateเป็นต้น จากนั้นจะปรับแต่ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมตัวโน้ตต่างๆเข้าไปตามความต้องการ แล้วทำการทดสอบเสียงที่ได้

  17. การบันทึกหรือการนำเข้าข้อมูลเสียงการบันทึกหรือการนำเข้าข้อมูลเสียง • การบันทึกเสียง เป็นการนำเสียงที่ได้จากการพูด การเล่นเครื่องดนตรีหรือเสียงจากแหล่งต่างๆ เช่นเสียงน้ำตก ฟ้าร้อง หรือเสียงสัตว์ มาทำการจัดเก็บลงในหน่วยความจำ เพื่อนำไปใช้งานตามต้องการ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเสียงบรรยายของนักพากย์ เพื่อใช้ในการเพิ่มเสียงลงในภาพยนตร์การ์ตูน เป็นต้น การแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษ • การแก้ไขไฟล์เสียง (Sound Editing) คือ การตัดต่อ และการปรับแต่งเสียง โดยสิ่งสำคัญในการแก้ไขเสียง คือ การจัดสรรเวลาของการแสดงผลให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับเสียง

  18. รูปแบบไฟล์เสียง • WAV (Waveform Audio) • AIFF (Audio Interchange File Format) • MIDI (MIDI) • AU (Audio) • MP3 (MPEG Layer III) • VOC (Voice) • WMA (Window Media Audio) • RA (Real Audio) • AAC (Advance Audio Coding) • TTA (True Audio)

  19. ซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอ • Windows Media Player • Winamp • Multimedia System (XMMS) • RealPlayer • Musicmatch Jukebox • JetAudio • iTunes • Quintessential Player • Sonique • XMPlay • Beep Media Player (BMP) • MusikCube

  20. ประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดียประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย • เสียงพูด(Speech) • เสียงพูดแบบ ดิจิตอล(Digitized )เป็นเสียงพูดที่บันทึกมาจากมนุษย์ จัดเป็นเสียงที่มีคุณภาพสูง และต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมาก • เสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถแทนเสียงพูดของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์

  21. เสียงเพลง (Music) • เสียงเอฟเฟ็กต์ธรรมชาติ (Natural)เป็นเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบๆ ตัวมนุษย์ เช่น เสียงนก น้ำตก หรือคลื่นในทะเล เป็นต้น • เสียงเอฟเฟ็กต์สังเคราะห์ (Synthetic)เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือสังเคราะห์จากมนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เสียงเอฟเฟ็กต์ที่อยู่รอบๆ(Ambient Sound) และเสียงเอฟเฟ็กต์พิเศษ (Special Sound)

  22. ขั้นตอนการนำเสียงมาใช้งาน • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับงานที่ออกแบบไว้ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอ หรือเสียงพูด • เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบมิดี้ หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งานจึงจะเหมาะสม • นำไฟล์เสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมิเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับงานมัลติมิเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับภาพในงานมัลติมเดียที่ผลิตขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันต้องทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ซ้ำแล้วให้ทดสอบใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

More Related