1 / 20

เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio )

เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio ). เสียง ( Sound).

Download Presentation

เรื่อง เสียง ( Sound) หรือ ออดิโอ ( Audio )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง เสียง (Sound)หรือ ออดิโอ (Audio)

  2. เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับออดิโอ เช่น อุปกรณ์สำหรับออดิโอ รูปแบบไฟล์ออดิโอ และซอฟต์แวร์สำหรับออดิโอ เป็นต้น

  3. ทำความรู้จักกับเสียง (Sound) เสียง (Sound)อยู่ในรูปแบบของพลังงาน (Energy) เหมือนกับพลังงานความร้อน (Heat) และพลังงานแสง (Light) ที่สามารถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงพลังงานที่อยู่ในรูปแบบคลื่นที่ประกอบด้วยแอมพลิจูด (Amplitude) และความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง ตัวอย่างเช่น เมื่อสั่นกระดิ่งจะเกิดเป็นพลังงานเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศเพื่อถ่ายทอดพลังงานดังกล่าว และสะท้อนมายังหูของมนุษย์ เป็นต้น โดยปกติมนุษย์สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20 ถึง 20,000 เฮิรซต์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตเสียงได้เข้ามีบทบาทในการใช้ชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า “อะคูสติกเอ็นจิเนียร์ริ่ง (Acoustic Engineering)”ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง (Generation) การถ่ายทอด (Transmission) และการรับ (Reception) คลื่นเสียง

  4. ในปี ค.ศ. 1957 Olson ได้นิยามธรรมชาติของคลื่นเสียงว่า “เสียงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความกดอากาศ การที่คลื่นของอนุภาคหรือความเร็วของอนุภาคในการถ่ายทอดเสียงป่านวัตถุที่มีความยืดหยุ่น” การถ่ายทอดพลังงานเสียงผ่านตัวกลางเป็นการกำหนดรูปแบบของการบีบอัดอนุภาคเสียง และตัวกลางที่มีความหนาแน่นของโมโลกุลน้อยกว่าบริเวณใกล้เคียงทำให้อนุภาคสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางนั้นๆได้ การวัดระดับของคลื่นเสียงจะมีหน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ 2 หน่วย คือ เดซิเบล (Decibel) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความดังของเสียงและเฮิรตซ์ (Hertz: Hz) หรือจำนวนรอบของการแกว่งคลื่นเสียงในหนึ่งวินาที ซึ่งเป็นหน่วยวัดความถี่ของเสียง โดยสามารถแสดงระดับความดังและชนิดของเสียงได้ ดังนี้

  5. ความดังของเสียง(เดซิเบล)ชนิดของเสียงความดังของเสียง(เดซิเบล)ชนิดของเสียง 0เสียงที่แผ่วเบาที่สุดที่หูมนุษย์ได้ยิน 30เสียงกระซิบ หรือเสียงในห้องสมุดที่เงียบสงัด 60เสียงพูดคุยตามปกติ เสียงจักรเย็บผ้า หรือเสียงพิมพ์ดีด 85เสียงตะโกนข้ามเขา หรือพื้นที่โล่งกว้าง เพื่อให้ได้ยินเสียงสะท้อนของตนเองกลับมา 90เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงเครื่องจักรในโรงงาน หรือเสียงรถบรรทุก (ไม่ควรได้ยินเกินวันละ 8 ชม.) 100เลื่อยไฟฟ้าหรือเครื่องเจาะที่ใช้ลม : Pneumatic Drill (ไม่ควรได้ยินเกินวันละ 2 ชม.) 115เสียงระเบิดหิน เสียงในร็อคคอนเสิร์ต หรือเสียงแตรรถยนต์ (ไม่ควรได้ยินเกินวันละ 15 นาที) 140เสียงยิงปืน เสียงเครื่องบินเจ็ต ซึ่งเป็นเสียงที่ทำให้ปวดหู และอาจทำให้หูเสื่อมได้ แม้ได้ยินเพียงครั้งเดียวก็ตาม ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องอยู่กับเสียงในระดับนี้ จะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันหูเสมอ

  6. คลื่นเสียงที่มีระดับความดังมากๆ ที่ถือว่าเป็นอันตรายต่อกลไกการได้ยินนั้น คือ เสียงตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยิน จะขึ้นอยู่กับความดังของเสียง และระยะเวลาของการได้ยิน ดังรายละเอียดในตารางส่วนวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงเสียงที่ดังจนเกินไป เช่น การหลีกเลี่ยงถนนที่มีการจราจรจอแจ การไปดูคอนเสิร์ตให้น้อยลง ไปเปิดเพลงจากซาวด์อะเบาต์ให้ดังมาก ไม่เปิดเสียงดังเกินไปในขณะที่ชมภาพยนตร์ หรือลดเสียงลำโพงให้เบาลงขณะเล่นเกมส์ เป็นต้น

  7. องค์ประกอบของระบบเสียงองค์ประกอบของระบบเสียง การนำเสียงจากธรรมชาติมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต้องผ่านกระบวนการบันทึก (Record) จัด (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องรับและแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือสำหรับประมวลผลและแปลงเสียงต้นฉบับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) ลำโพง (Speaker) และอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง (Audio Mixer) ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟน (Microphone)เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound wave) จากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยความถี่เสียงจะเคลื่อนที่ไปตามสายไม่โครโฟนสู่เครื่องขยายเสียง และสามารถบันทึกเสียงได้ด้วยการแปลงพลังลังงานเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

  8. สามารถแบ่งแบ่งชนิดของไมโครโฟนตามลักษณะโครงสร้างได้เป็น 2 ได้แก่ ไดนามิกไมโครโฟน (Dynamic Microphone) และคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser Microphone) ไดนามิคไมโครโฟน (Dynamic Microphone) ไดนามิกไมโครโฟน (Dynamic Microphone) หรือ มูฟวิ่งคอยล์ไมโครโฟน (Moving Coil Microphone) เป็นไมโครโฟนชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงไปเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า โดยอาศัยคุณสมบัติของการเหนียวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยไดอะเฟรม (Diaphragm) ที่เป็นแผ่นโลหะบางๆ ติดกับขดลวดเหนี่ยวนำ เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับไดอะเฟรมที่ติดอยู่กับขดลวด คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ประกอบด้วยไดอะเฟรมที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นเก็บประจุไฟฟ้าที่เป็นโลหะบางๆ 2 แผ่นวางขนานกันเมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นโลหะบางๆ

  9. ไมโครโฟนชนิดรับสียงแบบสองทิศทาง (Bi Directional Microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้สามารถรับเสียงได้เพียง 2 ทิศทาง คือ เสียงที่มาจากด้านหน้า และด้านหลังไมโครโฟน นิยมใช้ในการบันทึกเสียงที่มาจากแหล่งกำเนิด 2 ทิศทางพร้อมกัน เช่น การสนทนาระหว่างบุคคล 2 คนที่นั่งตรงข้ามกัน ภายในไมโครโฟนประกอบด้วยตู้เก็บไดอะแฟรม และช่องที่เปิดไว้เพื่อรับเสียงทั้งสองด้าน เสียงจะถูกสร้างจากด้านหน้าของไมโครโฟนที่มุม 0 องศา ผ่านเข้ามาในช่องที่เปิดไว้ช่องแรกทำให้เกิดการสั่นที่ไดอะแฟรม ต่อจากนั้นเสียงจะเดินทางไปที่ส่วนหลักของไมโครโฟน และผ่านเข้ามาในช่องที่เปิดด้านหลังที่มุม 80 องศา

  10. ไมโครโฟนชนิดรับเสียงแบบทิศทางเดียว (Uni Directional Microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้ถูกออกมาเพื่อบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงเพียงแหล่งเดียว เช่น เสียงพูดของแต่ละคนเป็นต้น โดยมีโครงสร้างเหมือนกับไมโครโฟนชนิดรับเสียงแบบสองทิศทาง แต่สามารถรับเสียงได้เพืยงทิศทางเดียวจากด้านหลังของไมโครโฟน ภายในประกอบด้วยวัติถุที่มีลักษณะคล้ายโฟมหรือผ้าที่ติดอยู่กับไดอะแฟรม เพื่อใช้ในการดูดซับพลังงานเสียงที่ผ่านเข้ามาในช่องที่เปิดไว้ เพื่อสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าจากส่วนหน้าของไมโครโฟนที่กระทบกับไดอะแฟรมโดยตรง

  11. เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เป็นอุปกรณ์สำหรับการขยายสัญญาณอินพุตให้มีความดังหรือแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นโดยเครื่องขยายเสียงจะประมวลผลสัญญาณโดยใช้ชุดของทรานซิสเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่บนแผงวงจรและใช้พลังงานจากพาวเวอร์ซับพลาย โดยสัญญาณอินพุตจะถูกขยายให้มีแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นแต่มีรูปแบบคลื่อนเหมือนเดิม ลำโพง Speaker ลำโพง Speakerเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานทางไฟฟ้ากลับเป็นพลังงานเสียง ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานตรงข้ามกับไมโครโฟนหรือเครื่องขยายเสียง โดยจะทำหน้าที่ได้รับมาจากเครื่องขยายเสียง สามารถแบ่งลำโพงออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ ลำโพงแบบไดนามิก (Dynamic Speaker) และลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) กับลำโพลงชนิดเสียงแหลม (Tweeter)

  12. ลำโพงแบบไดนามิก (Dynamic Speaker) ประกอบด้วยขดลวด (Wire Coil) และกรวยกระดาษ (Paper Cone) ที่ทำจากกระดาษ (Paper) หรือ ไฟเบอร์ (Fiber) เรียกว่าไดอะแฟรม ซึ่งติดกับขดลวด เมื่อสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดเสียงเดินทางผ่านขดลวด จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้ารอบขดลวด และพื้นผิวของไดอะแฟรมจะเกิดการสั่นตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้าจนเกิดเป็นเสียง ลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) และลำโพงชนิดเสียงแหลม (Tweeter) เสียงที่ออกจากลำโพงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ระดับเสียงทุ้ม (Woofer) เป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำประมาณ 20 ถึง 400 เฮิรตซ์ หรือเรียกว่า “เสียงเบส (Bass)”โดยจะมีกรวยที่มีเส้นผ่านสูญกลางระหว่าง 5 ถึง 18 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จึงมีขนาดใหญ่ และ 2) ระดับเสียงแหลม (Tweeter) เป็นเสียงที่ในความถี่สูงอยู่ในช่วงระหว่าง 4 ถึง 20 กิโลเฮิรตซ์ ความถี่สูงสุดของเสียงเรียกว่า “ระดับเสียงสูงสุด” (Treble) ซึ่งจะใช้กรวยที่มีเส้นผ่านสูญกลาง1.5 นิ้ว หรือน้อยกว่า ลำโพงชนิดนี้จึงมีขนาดเล็ก

  13. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempo) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งการแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทรกอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษ เช่น เสียงคอรัส เสียงเอคโค หรือเสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จากนั้นแทร็กเหล่านี้จะถูกผสมผสานในช่องสัญญาณ หากเป็นระบบเสียงสเตอริโอจะใช้ 2 ช่องสัญญาณ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงเซอราวด์จะใช้มากกว่า 2 ช่องสัญญาณขึ้นไป

  14. ประเภทของเสียง ประเภทของเสียงสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ เสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ มิดี้ (MIDI: Musical Instrument Digital Interface) มิดี้ (MIDI) คือเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างเสียงตามเครื่องเล่นเปียโน เป็นต้น โดยในมุมของนักดนตรี มิดี้ หมายถึง โน้ตเพลงที่มีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกให้รู้ว่าต้องเล่นตัวโน๊ตใดด้วยระยะเวลาเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี ดนตรีแบบมิดี้จะไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างและปรับเสียงมิดี้ให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟต์ได้กำหนดมาตรฐานของเสียงแบบมิดี้ขึ้นมา เรียกว่า GM (General MIDI Standard) ซึ่งใช้กำหนดรูปแบบของการสร้างข้อมูลเสียงแบบ MIDI เพื่อให้การเล่นเสียง (Playback) บนอุปกรณ์ต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกัน

  15. ข้อดีของมิดี้ คือ ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูลมิดี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้องทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาริดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง ส่วนข้อเสียคือการแสดงผลได้เฉพาดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน้ตดนตรีเท่านั้น ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) คือสัญญาณเสียงที่ส่งมากจากไมโครโฟนหรือเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล อัตราการสุ่มเสียง (Sampling Rate) อัตตราการสุ่มเสียงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียง ใช้อัตราการสุ่ม 8 กิโลเฮิรตซ์ หมายถึงสุ่มค่าแอมพลิจูดของคลื่นเสียงจำนวน 8,000 ครั้งต่อวินาที บิตเรต(Bit Rate) และขนาดไฟล์ (File Size) การเพิ่มอัตราการสุ่มและความละเอียดในการสุ่ม จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงต้องการหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย ตัวอย่างเช่น ไฟล์เพลงที่มีอัตราสุ่ม 22.05 กิโลเฮิรตซ์ และมีความละเอียดอยู่ที่ 16 บิตในโหมดสเตอริโอ ถ้าสียงมีความยาว 30 วินาที สามารถคำนวนพื้นที่จัดเก็บได้ดังนี้

  16. อุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียงอุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียง อุปกรณ์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการควบคุมและบันทึกไฟล์เสียง ได้แก่ การ์ดเสียง (Sound Card) อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) และอุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device)การ์ดเสียง (Sound Card) การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเสียงที่สามารถเพิ่มลงในสล็อตPCI หรือ PCI Express บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบสำคัญของการ์ดเสียงมี ดังนี้ องค์ประกอบพื้นฐานที่อยู่ภายในการ์ดเสียง ได้แก่ หน่วยความจำ (Memory Bank) เป็นหน่วยความจำหรือบัพเฟอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลของการ์เสียงในระหว่างกระบวนการแปลงข้อมูลเสียงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP Digital Signal Processor) การ์ดเสียงจะมีตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก (DAC : Digital to Analog Converter) และตัวแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล (ADC : Analog to Digital Converter) เป็นกระบวนการแปลงสัญญาณอนาล็อกในอยู่ เวฟเทเบิล(Wave Table) เป็นตารางรวมคลื่นเสียงที่บันทึกมาจากเสียงจริง โดยจะนำข้อมูลของเสียงจริงที่บันทึกไว้มาใช้แสดงเสียงแบบ พอร์ตอินพุต และพอร์ตเอาท์พุตของเสียง (Input and Output Port)

  17. ประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Audio File) การประมวลผลไฟล์เสียงมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ Wave File เป็นไฟล์ของคลื่นเสียงในรูปแบบอนาล็อก โดยการ์ดเสียงจะได้รับเสียงในรูปแบบสัญญาณอนาล็อกจากไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นซีดี และส่งไปยังตัวแปลงสัญญาณแบบ ADC เพื่อแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล MIDI File เป็นไฟล์ที่ต้องการชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงแบบมิดี้ หรือ Synthesize Chip โดยจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับไฟล์ MIDI ไว้บนฮาร์ดดิสก์ในรูปแบบแท็กซ์ไฟล์

  18. ขั้นตอนการนำเสียงมาใช้งาน ไม่ว่าจะใช้มัลติมีเดียบนระบบ Macintosh หรือ Windowsต้องมั่นใจว่าเมื่อนำเสียงไปใช้กับงานมัลติมีเดียแล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น โดยจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำมาใช้งานตามขั้นตอนต่อไปนี้ ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับงานที่ออกแบบไว้ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอ หรือเสียงพูด ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบมิดี้ หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งานจึงจะเหมาะสม นำไฟล์เสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมิเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับงานมัลติมิเดียที่ทำการผลิตทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับภาพในงานมัลติมเดียที่ผลิตขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันต้องทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ซ้ำแล้วให้ทดสอบใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ในการรวมข้อมูลเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมิเดียจะต้องคำนึงถึงซอรฟแวร์ที่ใช้งานทั่วไปด้วย

  19. สรุป เสียง(Audio) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดบรรยากาศและอารมณ์ต่างๆไปยังผู้ชมได้ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับงานมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจแก่ผุ้ชมงานนำเสนอได้ เอกสารอ้างอิง ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ (2552).เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology). กรุงเทพ:หจก.ไทยเจริญการพิมพ์.

  20. ผู้จัดทำ 1.ด.ญ.นภัสรา ใจยา เลขที่36 ม.3.7 2.ด.ญ.จารุกัญญ์ แดงขา เลขที่34 ม.3.7 3.ด.ญ.เจนจิรา ทำบุญ เลขที่44 ม.3.7 4.ด.ญ.กมลลักษณ์ บุปผาชาติ เลขที่33 ม.3.7

More Related