400 likes | 1.3k Views
บทที่ 3 การบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ. วัตถุดิบ( Material ) หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้า และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ - DM -IDM ในกระบวนการสั่งซื้อจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องคือ - ใบขอซื้อ ( Purchase Requisition )
E N D
บทที่ 3 การบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ
วัตถุดิบ(Material) หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้า และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ -DM -IDM ในกระบวนการสั่งซื้อจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องคือ -ใบขอซื้อ (Purchase Requisition) -ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) -ใบรับของ (Receiving Report) ส่วนการเบิกวัตถุดิบมีการกำหนดให้จัดทำใบเบิกวัตถุดิบ(Requisition for Use)
การคำนวณต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบการคำนวณต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบ ต้นทุนของวัตถุดิบ ได้แก่ ราคาที่ซื้อวัตถุดิบบวกค่าขนส่งเข้า ค่าเบี้ยประกันภัย และค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบ และอื่น ๆ แต่ในทางปฏิบัติการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบนอกเหนือจากราคาซื้อของวัตถุดิบจะมีความไม่สะดวกเนื่องจากกิจการมักจะมีวัตถุดิบหลายชนิดที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ รายการดังกล่าว ได้แก่ 1. ค่าขนส่งวัตถุดิบ (Transportation-in หรือ Freight-in) 2. ค่าภาชนะวัตถุดิบ (Containers) 3. ส่วนลดรับ (Purchase Discount) 4. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบ (Material handing charges)
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบในแต่ละกรณีเป็นดังนี้ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนและการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบในแต่ละกรณีเป็นดังนี้ 1. ค่าขนส่งเข้าวัตถุดิบ(Transportation-in หรือ Freight-in) การบันทึกค่าขนส่งเข้ามี 2 วิธี 1.1 การบันทึกค่าขนส่งเข้าเป็นต้นทุนของวัตถุดิบ เป็นวิธีที่ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบใกล้เคียงกับความเป็นจริง และเป็นวิธีที่เหมาะสมวิธีบันทึกรายการเมื่อจ่ายค่าขนส่ง Dr. วัตถุดิบ xx Cr. เงินสด/ค่าขนส่งค้างจ่าย xx
1.2 การบันทึกค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน เนื่องจากกิจการซื้อวัตถุดิบหลายชนิดและแตกต่างกัน การคำนวณค่าขนส่งให้กับวัตถุดิบแต่ละชนิดจะต้องเสียเวลาในการคำนวณในแต่ละคราว ดังนั้นในทางปฏิบัติกิจการที่มีจำนวนค่าขนส่งเป็นจำนวนไม่มาก อาจทำการรวมรายการค่าขนส่งไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายโรงงานก็ได้ Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. เงินสด xx
2. ส่วนลดรับ (Purchase Discount) มี 2 วิธี ดังนี้ 2.1 วิธีบันทึกวัตถุดิบในราคาสุทธิเมื่อซื้อวัตถุดิบจะบันทึกบัญชีคุมยอดวัตถุดิบและบัญชีย่อยวัตถุดิบด้วยราคาที่หักส่วนลดรับแล้ว และจะแสดงรายการส่วนลดรับสูญในกรณีไม่สามารถได้รับส่วนลด 2.2 วิธีบันทึกวัตถุดิบตามราคาในใบกำกับสินค้า จะบันทึกราคาวัตถุดิบตามใบกำกับสินค้า ซึ่งเป็นราคาก่อนหักส่วนลดรับ Dr. เจ้าหนี้ xx Dr.ส่วนลดรับสูญ xx Cr. เงินสด xx Dr. เจ้าหนี้ xx Cr. เงินสด xx Cr.วัตถุดิบ xx
3. ค่าภาชนะบรรจุ (Containers) 3.1 การจ่ายค่ามัดจำภาชนะบรรจุ ไม่ถือเป็นต้นทุน ให้บันทึกเป็นลูกหนี้เงินมัดจำภาชนะบรรจุ • เมื่อซื้อวัตถุดิบพร้อมจ่ายค่ามัดจำภาชนะบรรจุ • 2) เมื่อคืนภาชนะบรรจุพร้อมรับเงินมัดจำคืน • Dr. เงินสด xx • Cr. ลูกหนี้- เงินมัดจำภาชนะบรรจุ xx Dr. วัตถุดิบ xx Dr. ลูกหนี้- เงินมัดจำภาชนะบรรจุ xx Cr. เจ้าหนี้การค้า xx
3.2.ค่าภาชนะบรรจุเป็นหน่วยสินค้า ให้ถือเป็นต้นทุนการผลิต (ต้นทุนสินค้าหมายรวมถึงค่าภาชนะที่ทำให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย) Dr. งานระหว่างทำ xx Dr. คุมยอดOH xx Cr. วัตถุดิบ xx 3.3. ค่าภาชนะบรรจุของสินค้าเพื่อประโยชน์ในการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า ไม่ถือเป็นต้นทุนการผลิตสินค้า แต่ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายการขาย Dr. ค่าใช้จ่ายในการขาย xx Cr.วัตถุดิบ xx
4. ค่าใช้จ่ายอื่นในการจัดหาวัตถุดิบ (Material handing Charges) เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ สั่งซื้อ ค่านายหน้า ค่าระวาง ค่าภาษีอากร และอื่น ๆ เพื่อให้ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่ถูกต้อง ( เดบิตวัตถุดิบ ) ในกรณีที่มีความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบมีจำนวนไม่มากให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงานเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ (เดบิตคุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน)
การคำนวณต้นทุนวัตถุดิบที่เบิกใช้ในการผลิตการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบที่เบิกใช้ในการผลิต มีวิธีคำนวณต่าง ๆ ดังนี้ 1. วิธีคิดเฉพาะเจาะจง (Specific Identification Method) 2. วิธีถัวเฉลี่ย (Average Method) 3. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First-in First-out หรือ FIFO Method) วิธีอื่น
1. วิธีคิดเฉพาะเจาะจง (Specific Identification Method) คำนวณต้นทุนวัตถุดิบที่เบิกใช้ในการผลิตตามข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ คือเบิกรายการไหนวัตถุดิบรายการนั้นก็จะเป็นต้นทุนการผลิตสินค้านั้น ๆ วิธีนี้จึงเหมาะกับกิจการที่มีวัตถุดิบซึ่งมีลักษณะเฉพาะ นั่นคือวัตถุดิบแต่ละประเภทแตกต่างกัน 2. วิธีถัวเฉลี่ย (Average Method) ราคาที่ซื้อแต่ละครั้งต่างกัน แต่เมื่อมีการเบิกใช้วัตถุดิบจะคำนวณให้เฉลี่ยเท่า ๆ กัน ราคาถัวเฉลี่ยต่อหน่วย = ต้นทุนวัตถุดิบคงเหลือ + ต้นทุนวัตถุดิบที่ซื้อมาครั้งใหม่ จำนวนวัตถุดิบที่คงเหลือ + จำนวนวัตถุดิบที่ซื้อใหม่
3. วิธีเข้าก่อนออกก่อน(First-in First-out หรือ FIFO Method) แนวความคิดที่ว่า วัตถุดิบที่ซื้อมาก่อน ควรนำมาเพื่อใช้ผลิตก่อน ส่วนวัตถุดิบที่ซื้อมาทีหลังก็ควรถูกใช้ทีหลังเช่นกัน วิธีนี้เหมาะกับวัตถุดิบที่มีอายุการใช้งาน หรือวัตถุที่เสื่อมสภาพ
วิธีอื่น ได้แก่การคำนวณราคาวัตถุดิบตามราคามาตรฐาน ราคาตลาด เป็นต้น 1) ราคามาตรฐาน (Standard Price) เป็นการคำนวณวัตถุดิบที่เบิกใช้ตามราคาวัตถุดิบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เหมาะกับกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีวัตถุดิบหลายชนิดลักษณะการผลิตซับซ้อน 2) ราคาตลาด (Market Price) การคำนวณราคาวัตถุดิบด้วยราคาตลาดจะเหมาะสมกับกรณีที่วัตถุดิบมีราคาตลาดทราบได้โดยง่าย เช่น ถั่วเหลือง ข้าว ปูนซีเมนต์ วิธีคำนวณราคา วัตถุดิบด้วยราคาตลาดจะทำให้ต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกับราคาปัจจุบัน แต่ข้อเสียของราคาตลาดคือ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด และยังไม่เป็นที่ยอมรับ
การตีราคาวัตถุดิบและการตรวจนับการตีราคาวัตถุดิบและการตรวจนับ 1. การตีราคาวัตถุดิบ หากกิจการมีการตีราคาวัตถุดิบตามวิธีราคาทุน ในบางครั้งราคาตลาดของวัตถุดิบมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนของวัตถุดิบที่กิจการตีราคา ณ วันสิ้นงวด ซึ่งทำให้กิจการต้องเลือกตีราคาวัตถุดิบโดยใช้ราคาทุนหรือตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่ากัน วิธีตีราคาทุนหรือตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าสามารถทำได้ 3 วิธี 1) วิธีตีราคาทุนหรือตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าโดยพิจารณาแต่ละรายการ (Lower of Cost or Market by Item) 2) วิธีตีราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าโดยพิจารณาจากยอดรวมของวัตถุดิบ (Lower of Total Cost or Total Market) 3) วิธีการตีราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าโดยพิจารณาตามกลุ่มของประเภทวัตถุดิบ (Lower of Total Cost or Total Market by group)
วิธีตีราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าโดยพิจารณาตามกลุ่มของประเภทวัตถุดิบ ในกรณีที่ราคาตลาดสูงกว่าราคาทุนก็ไม่จำเป็นต้องทำการปรับปรุงใดๆ แต่ถ้าราคาตลาดของวัตถุดิบต่ำกว่าราคาทุนกิจการแสดงมูลค่าวัตถุดิบในงบแสดงฐานะทางการเงินด้วยราคาตลาดที่ต่ำกว่าทุน หมายความว่า ต้องมีการปรับมูลค่าวัตถุดิบที่เป็นราคาทุนให้ต่ำลงมาเท่ากับราคาตลาดโดยสามารถทำการบันทึกบัญชีได้ 2 วิธีดังนี้ 1. วิธีปรับลดราคาวัตถุดิบโดยใช้บัญชีปรับมูลค่า 2. วิธีปรับลดราคาวัตถุดิบโดยตรง Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. ค่าเผื่อ/เงินกันไว้เพื่อลดราคาวัตถุดิบxx Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. วัตถุดิบxx
2. การตรวจนับวัตถุดิบ เมื่อมีการตรวจนับวัตถุดิบคงเหลือปลายงวด และทราบว่าปริมาณวัตถุดิบที่ทำการตรวจนับมีจำนวนแตกต่างกับปริมาณวัตถุดิบที่แสดงในบัตรวัตถุดิบ กิจการต้องบันทึกรายการปรับปรุงยอดในบัญชีวัตถุดิบให้ตรงกับยอดที่ตรวจนับได้ด้วยวิธีดังนี้ 1) ปริมาณวัตถุดิบที่ทำการตรวจนับมีจำนวนน้อยกว่าปริมาณวัตถุดิบที่แสดงในบัตรวัตถุดิบ หรือเกิดการสูญหายของวัตถุดิบ Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. วัตถุดิบ xx
2) ปริมาณวัตถุดิบที่ทำการตรวจนับมีจำนวนมากกว่าปริมาณวัตถุดิบที่แสดงในบัตรวัตถุดิบหรือไม่ได้บันทึกรายการข่ายวัตถุดิบ คำนวณตัวเลขผิดพลาดในการบันทึกรายการ เป็นต้น Dr. วัตถุดิบ xx Cr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx
วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพ กิจการควรมีการโอนวัตถุดิบดังกล่าวออกไปจากบัญชีวัตถุดิบโดยถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน (ผลขาดทุนจากสินค้าเสื่อมคุณภาพล้าสมัย) และหากวัตถุดิบดังกล่าวคาดว่าจะขายได้ การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้ Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx สินค้าวัตถุดิบเสื่อมคุณภาพล้าสมัย xx Cr. วัตถุดิบ xx