1 / 28

ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของ พรบ . คุ้มครองแรงงาน พ . ศ . 2551 ที่ผ่าน สนช . เมื่อ 19/12/07

ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของ พรบ . คุ้มครองแรงงาน พ . ศ . 2551 ที่ผ่าน สนช . เมื่อ 19/12/07. มาตรา 9 ... ถ้านายจ้างไม่คืนหลักประกัน / ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด / ไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

bryant
Download Presentation

ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของ พรบ . คุ้มครองแรงงาน พ . ศ . 2551 ที่ผ่าน สนช . เมื่อ 19/12/07

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเด็นหลักที่เปลี่ยนแปลง ของพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ที่ผ่าน สนช. เมื่อ 19/12/07

  2. มาตรา 9...ถ้านายจ้างไม่คืนหลักประกัน / ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด / ไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้กับลูกจ้าง 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัด

  3. มาตรา 10... ห้ามเรียกรับหลักประกันการทำงานจากลูกจ้าง ยกเว้นเป็นงานที่เกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สิน ถ้ามีเรียกต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยให้ลูกจ้างภายใน 7 วันที่ลูกจ้างออกจากงาน ( เดิมห้ามเรียกเงินประกัน )

  4. มาตรา 11/1...ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างของลูกจ้าง Subcontract และถ้าให้ทำงานในลักษณะเดียวกับลูกจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ **** ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

  5. มาตรา 14/1...สัญญาจ้าง / ข้อบังคับการทำงาน / ระเบียบ / คำสั่งของนายจ้าง ที่ได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอานาจสั่งให้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

  6. มาตรา 16...หาม นายจาง / หัวหนา / ผูควบคุมงาน หรือผูตรวจงาน กระทําการ ลวงเกิน /คุกคาม / ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ทางเพศ ตอลูกจาง ( เดิมห้ามล่วงละเมิดทางเพศแก่ลูกจ้างหญิงและเด็ก ฉบับใหม่เพิ่มการคุ้มครองทุกเพศ ทุกวันและเพิ่มห้ามทำความรำคาญ เดือดร้อนคุกคามทางเพศด้วย

  7. มาตรา 17...สัญญาจ้างทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา *** ข้อควรระวัง คือ การบอกระงับทดลองงานทุกระยะต้อง 1. จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดค่าจ้าง 2. ถ้าบอกหลังครบ 120 วันจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

  8. มาตรา 18...การส่งเอกสารให้ราชการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถส่งผ่านสื่อ อิเลคโทรนิกส์ หรือ สื่อเทคโนโลยี ได้ ( เดิมให้ส่งเป็นกระดาษ-ลงชื่อรับ-ลงทะเบียน - ติดประกาศ)

  9. มาตรา 23...กำหนดการทำงานปกติวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง กรณีที่วันใดทำไม่ครบ 8 ชั่วโมงให้ตกลงกันนำชั่วโมงที่เหลือไปรวมกับวันอื่นได้ แต่รวมแล้วไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงที่เกินมานั้นให้จ่ายค่าตอบแทน1.5 เท่า ข้อสังเกตุ ที่บอกว่าทำงานเพิ่มวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และ พนักงานยินยอม เป็นการตกลงที่ผิดกฎหมายเป็นโมฆะ ถ้ามีคนไปฟ้อง จะต้องจ่ายโอ ที ย้อนหลังให้ทุกคน

  10. มาตรา 39/1...ลูกจางหญิงมีครรภ์ทํางาน ในตําแหนง ผูบริหาร /งานวิชาการ /งานธุรการ/งานการเงินหรือบัญชีทํางานลวงเวลาไดโดยไดรับความยินยอมจาก ลูกจางกอนเปนคราวๆ ไป

  11. มาตรา 51...ห้ามจ้าง / ห้ามรับหลักประกันจากลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เงินที่จ่ายให้กับบิดา มารดา ของเด็กก่อนการเข้าทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง - จะนำมาหักจากค่าจ้างไม่ได้

  12. มาตรา 65...เพิ่มข้อความว่า ..( 2 ) พนักงานที่ทำงานเร่ขาย หรือ ชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

  13. มาตรา 65...( 8 ) พนักงานที่นายจ้างจัดให้เข้ามาเฝ้าดูแลสถานที่ ทรัพย์สินอันไม่ใช่หน้าที่ปกติของลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างในชั่วโมงทำงานปกติ

  14. มาตรา 67...ให้นายจ้างจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามสัดส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิ ของปีที่เลิกจ้าง กรณีที่ลูกจ้างลาออก หรือ นายจ้างเลิกจ้างทุกกรณี ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่มีตามสิทธิ

  15. มาตรา 75...ในกรณีที่นายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการ ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ให้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่หยุดงาน 75% ( เดิมจ่าย 50 % ) และแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ทำการ

  16. มาตรา 115/1...ถ้ามีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปให้ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานต่ออธิบดี ภายในเดือนมกราคมของทุกปี ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีคนเข้าใหม่ – ลาออก – เปลี่ยนหน้าที่ ให้ยื่นการเปลี่ยนแปลงภายในเดือนถัดไป ถ้าเตือนให้ยื่นแล้ว ไม่ยื่นภายใน 15 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

  17. มาตรา 119... ( 6 ) การเลิกจ้างด้วยเหตุที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ถ้าเป็นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ ต้องเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย • หนังสือเตือนมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด • ถ้าไม่ได้อ้างเหตุความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จะยกเหตุนั้นมาต่อสู้ในศาลไม่ได้

  18. มาตรา 120...ในกรณีที่นายจาง ยายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่นถาลูกจางไมไปด้วย ใหนายจ้างคาชดเชย 100 %ของคาชดเชยที่ลูกจางพึงมีสิทธิ ไดรับ( จากเดิมจ่าย 50% )

  19. มาตรา 124/1...ในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน หรือ ตามคำสั่งของศาลแล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับ ( ลูกจ้างสามารถแยกฟ้องคดีแรงงาน กับ คดีอาญา ศาลจะแยกกันพิจารณา แต่ฉบับใหม่เห็นความยุ่งยาก จึงให้แก้ว่าถ้านายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ให้ถือว่าคดีสิ้นสุด การพิจารณาของศาลอาญาระงับไปด้วย ไม่ต้องพิจารณาต่อ )

  20. มาตรา 141...ถ้าไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้อุทธรณ์ต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่ง ให้อธิบดีพิจารณาและแจ้งผลกลับภายใน 30 วันคำตัดสินของอธิบดี ถือเป็นที่สุด เมื่อสั่งแล้วไม่ทำตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

  21. มาตรา 150...ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก / ไม่มาให้ถ้อยคำ / ไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดขัดขวาง / ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  22. พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับพระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับ เมื่อพนกําหนด 90 วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ***คาดว่าประมาณพฤษภาคม 2551

  23. พนักงานผู้รับเหมาช่วง ( มาตรา 11/1 ) ที่ทำงานในสวนหนึ่ง สวนใดใน กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการ ให้ถือว่าผูประกอบกิจการเปนนายจาง...และถ้าให้ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างโดยตรงให้ลูกจ้างผู้รับเหมาช่วงนั้น ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ *** ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 100,000 บาท

  24. ข้อดีของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. ลด – เพิ่มคน ตามกระแสเศรษฐกิจที่ขึ้นเร็ว -ลงเร็วได้ 2. ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้าง & สวัสดิการบางรายการได้ 3. ถ่วงดุลย์กำลังของสหภาพแรงงานได้

  25. ข้อเสียของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. จูงใจให้คนมาสมัครงานได้น้อยเพราะรู้สึกไม่มั่นคง 2. อัตราการลาออกสูง ผลงานไม่ต่อเนื่อง ไม่ผูกพันกับองค์กร 3. แบ่งแยกชนชั้นของคน ในสถานประกอบการ 4. เพิ่มคน เพิ่มงาน ควบคุมการทำงาน การเบิกจ่ายเงิน 5. หลีกเลี่ยงไม่พ้น ในกรณีที่บริษัทผู้รับเหมาไม่รับผิดชอบ

  26. ข้อแนะนำในการจัดการ : 4 ทางเลือก 1. ปรับเป็นพนักงานประจำ ตามความจำเป็นของงาน 2. ทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานโดยตรงแต่มีระยะเวลา 10 เดือน ( เมื่อครบ 10 เดือนแล้วเลิกจ้างจ่ายค่าชดเชย 1 เดือน ) 3. ถ้าต้องมีอยู่ให้ แยกงาน - แยกคน– แยกระดับ ให้เห็นแตกต่าง ( เช่น ตัดงานออกไปให้ผู้รับเหมาทำทั้งแผนก โดยคนของเราควบคุม ตรวจสอบ เท่านั้น ) 4. ถ้าให้ทำงานด้วยกัน / ในลักษณะงานอย่างเดียวกัน ให้ปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

  27. สรุปเรื่องที่ต้องทำเฉพาะหน้า 2 เรื่อง คือ • 1. การจัดการกับพนักงาน Subcontract ว่า • 1.1 จะจ้างเป็นพนักงานโดยตรง หรือ • 1.2 ถ้ายังต้องมีอยู่ ต้องปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดย • ไม่เลือกปฏิบัติ ( ถ้าไม่ทำถูกปรับ 100,000 บาท ) • การปรับเวลาทำงานของพนักงานรายเดือนที่โรงงาน จากวันละ 9 ชั่วโมง ให้ • เป็นวันละ 8 ชั่วโมง ให้ถูกต้องตามมาตรา 23 ( ถ้าไม่ทำตามปรับไม่เกิน 5,000 • บาท ถ้ามีคนร้องเรียนต้องจ่ายโอที ให้คนละ 1 ชั่วโมง + อาจจะจ่ายย้อนหลัง • ใน 2 ปีที่ผ่านมาด้วย)

More Related