1 / 102

รู้จักโปรแกรม Flash

รู้จักโปรแกรม Flash.

brigit
Download Presentation

รู้จักโปรแกรม Flash

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รู้จักโปรแกรม Flash โปรแกรม Flash เป็นโปรแกรมสร้างมัลติมีเดียที่มีคุณภาพสูง รองรับผู้ใช้ได้ทุกระดับ สามารถสร้างผลงานที่ง่ายๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหวธรรมดา ไปจนถึงมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียง จุดเด่นที่สำคัญของโปรแกรม Flash คือ มีลักษณะภาพที่เป็น vector ทำให้งานมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับโปรแกรมในระดับเดียวกัน โปรแกรม Flash จึงเป็นที่ยอมรับและนิยมของคนทั่วโลก

  2. หลักการทำงานของ Flash • การ Import File จากข้างนอกเข้ามาและนำมาไว้ที่ Stage • นำวัตถุนั้นมาแปลงให้เป็น Symbol เพื่อจะนำไปเป็น Animation • เป็นขั้นตอนการทำ Animation โดยการนำ Symbol มาใช้ อาจเป็นการใส่เสียง หรือ Action Script เข้าไป • เป็นการนำเสนอผลงานโดยการ Publish ชิ้นงานออกมานำเสนอ

  3. ชนิดของภาพกราฟิก • Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากเส้นตรง และเส้นโค้งรวมกับข้อมูลของตำแหน่ง และนำมาทำการคำนวณให้เกิดเป็นทางเดินของเส้นมาประกอบกันขึ้นเป็นภาพ รูปทรงของทางเดินของเว็คเตอร์ที่ได้จะถูกพล็อตด้วยจุดไปตามทางเดินนั้น • Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการนำจุดสีรูปสี่เหลี่ยมเล็กที่เรียกว่า พิกเซล (pixel) มาเรียงต่อกันเพื่อประกอบขึ้นเป็นภาพคล้ายกับการเรียงกระเบื้องโมเสค โดยแต่ละพิกเซลจะถูกกำหนดตำแหน่งและสีไว้ตายตัว และภาพกราฟิกที่สร้างจากโปรแกรมระบายสีทั่วไป บางครั้งเราเรียกภาพกราฟิกชนิดนี้ว่า Raster image

  4. ไฟล์ .FLA และ .SWF • การเรียกใช้งานของโปรแกรม Flash จะมีนามสกุลหลักอยู่ 2 ชนิด คือ • .FLA คือไฟล์หลักในการสร้างและแก้ไขงาน ไฟล์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำการบันทึกชิ้นงาน (FLA ย่อมาจาก FLASH Movie) • .SWF คือไฟล์ที่ได้จากการ Publish เป็นไฟล์ที่ใช้เพื่อการแสดงผลงาน โดยไม่จำเป็นต้องเปิดโปรแกรม Flash (SWF ย่อมาจาก Shock Wave Flash)

  5. การเรียกใช้โปรแกรม Flash • Start • Programs • Macromedia • Macromedia Flash 9

  6. การสร้างงานใหม่ คลิก

  7. Menu Bar Docked Panel 1 5 3 Time LineFrames Stage 4 2 Properties inspector panel 6 Toolbox

  8. Menu Bar เป็นเมนูที่ใช้แสดงชุดคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม Flash โดยคลิกเลือกเมนูคำสั่งจะปรากฏคำสั่งย่อยให้เลือกตามต้องการ • Toolbox เป็นกล่องที่ใช้บรรจุเครื่องมือวาดภาพต่างๆ เช่น เครื่องมือสร้างรูปสี่เหลี่ยม เครื่องมือสร้างข้อความ เป็นต้น • Time Line Frames เป็นส่วนที่ใช้สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Layer และ Time Line Frames • Stage เป็นพื้นที่ใช้ในการทำงาน หรือจัดวางอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ที่ต้องการให้ปรากฏในไฟล์เอกสาร • Docked Panel เป็นการรวบรวมเอาจอภาพ Panel ต่างๆ มาเก็บไว้ในที่เดียวกันหรือวางเรียงกันเป็นลำดับเพื่อความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน • Properties inspector panel เป็นจอภาพ Panel ที่ใช้สำหรับแสดงคุณสมบัติของอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ที่มีใน Flash MX 2004 โดยจะแสดงคุณสมบัติแบบโต้ตอบต่อการคลิกเมาส์

  9. การตั้งค่า Stage ไปที่ Modify  Document หรือกด Ctrl + J

  10. การตั้งค่า Stage Title ชื่อหัวเรื่องของชิ้นงาน Description รายละเอียดชิ้นงาน Dimensions ขนาดพื้นที่ของ Stage โดยกำหนดเป็น กว้าง*ยาว (ภาพขนาดใหญ่สุด =2880 * 2880 pixels แต่ขนาดที่ใช้ในปัจจุบันคือ 800*600 pixels) Match การกำหนดขนาดของ Stage โดย Printer หมายถึง ปรับขนาด Stage ใหญ่สุดเท่าที่จะพิมพ์ได้ Contents หมายถึง ปรับให้พื้นที่รอบๆเท่ากัน Default หมายถึง ปรับขนาดมาตรฐาน 550 * 400 พิกเซล Background color การกำหนดสีพื้นของ Stage Frame Rate อัตราความเร็วในการแสดงการเคลื่อนไหว หรือการแสดงจำนวนเฟรมภาพ ต่อวินาที Ruler Units การกำหนดหน่วยวัดพื้นที่บน Stage

  11. Layer • เลเยอร์ เปรียบเสมือนแผ่นใสที่สามารถวาดภาพ หรือวางอ็อบเจ็กต์ลงไป เมื่อนำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นสามารถมองทะลุผ่านแผ่นใสได้ ซึ่งเลเยอร์แต่ละแผ่นจะแยกเป็นอิสระจากกัน และสามารถเปลี่ยนตำแหน่งการซ้อนกันของแต่ละเลเยอร์ได้ โดยจะมีผลทำให้ภาพที่อยู่บน Stage เปลี่ยนตำแหน่งการทับซ้อนกันด้วย • ข้อดีของเลเยอร์ คือ กรณีที่ต้องการแก้ไขอ็อบเจ็กต์ในเลเยอร์หนึ่งจะไม่กระทบกับเลเยอร์อื่นๆ รวมทั้งสามารถซ่อน ล็อค และแสดงเฉพาะโครงร่างของเลเยอร์ได้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการแก้ไข Layer 3 Layer 2 Layer 1

  12. การทำงานกับ Layer • ใช้สำหรับสร้าง layer ใหม่ หรือเพิ่ม layer • ใช้ในงานจัดวางวัตถุ การจัดเรียง เช่น การทำให้วัตถุ 2 ชนิดอยู่ในระดับเดียวกัน • ใช้สร้าง Folder เพื่อใช้ในการจัดเก็บ layer • ใช้สำหรับลบ layer การเปลี่ยนชื่อ Layer 1. ดับเบิลคลิกที่ชื่อ layer 2. เปลี่ยนชื่อที่ต้องการ แล้วกด Enter

  13. Time Line Frames ล็อค/ปลดล็อคเลเยอร์ Timeline Menu แสดงเฉพาะภาพโครงร่าง ซ่อน/แสดงเลเยอร์ Timeline Header Playhead Frame Insert Layer Add Motion Guide Delete Elapsed Time Insert Layer Folder Frame Rate Current Frame Center Frame Onion Skinning

  14. Frame คือช่วงของการทำงานต่อช่วงเวลา โดยสามารถกำหนดจำนวนเฟรมต่อช่วงเวลาได้ที่จอภาพ Document Properties • Timeline Header เป็นแถบที่แสดงตัวเลขของจำนวนเฟรม • Playhead ใช้สำหรับชี้บอกตำแหน่งของเฟรมที่กำลังใช้งานปัจจุบัน • Timeline Menu คลิกเพื่อแสดงจอภาพเมนูของ Timeline • Insert Layer เพิ่มเลเยอร์ใหม่ โดยจะแทรกด้านบนของเลเยอร์ปัจจุบันที่ถูกเลือก • Add Motion Guide เพิ่มเลเยอร์ Guide ใหม่ โดยจะแทรกด้านบนของเลเยอร์ปัจจุบันที่ถูกเลือก Guide Layer จะไม่ปรากฏให้เห็นในการแสดงมูวี่ ใช้สำหรับสร้างเส้นแนวทาง (Path) การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนของอ็อบเจ็กต์ • Insert Layer Folder เพิ่มเลเยอร์โฟลเดอร์ • Delete Layer ลบเลเยอร์ปัจจุบันที่เลือกออกจากมูวี่ • Center Frame เคลื่อนย้าย Playhead ไปกึ่งกลางเฟรมของมูวี่ • Onion Skinning แสดงภาพการทำงานของภาพเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรมบน Stage • Current Frame แสดงเลขเฟรมที่กำลังใช้งานอยู่ปัจจุบัน • Frame Rate สำหรับแสดงค่าเฟรมต่อเวลา มีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที • Elapsed Time ช่วงแสดงค่าเวลาที่แสดงเฟรมมาจนถึงเฟรมปัจจุบัน มีหน่วยเป็นวินาที

  15. History การย้อนกลับการทำงานของ object ทำได้โดยการเปิดหน้าต่าง Preferences และเปลี่ยนเป็น Object Level Undo ก่อนจากนั้นเรียกใช้ที่ Windows  Other Panels  History หรือกด Ctrl + F10 สามารถกลับขั้นตอนได้หลายขั้นตอน ซึ่งแตกต่างจากการ Undo หรือการกด Ctrl + Z

  16. Panel Properties แสดงค่าต่างๆในการใช้งานเครื่องมือนั้น ซึ่งเราสามารถปรับได้ตามต้องการ Properties จะแสดงค่าต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้ให้กับเครื่อง ซึ่งเราสามารถปรับตั้งค่าได้ตามต้องการ หากขณะนั้นไม่ปรากฏ Panel Properties ให้เลือกคำสั่ง Windows  Properties

  17. การ Save, Open File การบันทึกแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ • การ Save เป็นการบนทึกข้อมูลในลักษณะที่ไม่ต้องการย้ายข้อมูลไปเก็บไว้ที่อื่น • การ Save As เป็นการบนทึกข้อมูลในลักษณะที่ต้องการบันทึกข้อมูลเดิมไปไว้ที่อื่นๆ การเรียกใช้งาน File  Save หรือ Ctrl + S การ Open File การเรียกใช้งาน File  Open หรือ Ctrl + O

  18. การ Close File การปิดไฟล์ ( Close ) การปิดไฟล์เป็นการเลิกการทำงานของงานชิ้นนั้น ๆ และป้องกันกรณีไฟล์ข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการบันทึก เมื่อทำการปิดไฟล์จะมีการเตือนของโปรแกรมขึ้นมา ตัวอย่างการเตือนของโปรแกรม การเรียกใช้งาน File > Close หรือ ( Ctrl + W )

  19. แถบเครื่องมือ ( Toolbox ) คือกล่องเครื่องมือที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน โดยแสดงเป็น Icon สามารถเรียกใช้ได้โดยการ Click เลือกที่ Icon รูปภาพ โดยที่ Toolbox สามารถแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ • กลุ่มของ Toolsเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและเปลี่ยนแปลงวัตถุ 2. กลุ่มของ Viewเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการ ย่อและขยาย วัตถุที่อยู่บน Stage 3. กลุ่มของ Colorเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดสีเส้นและสีพื้น 4. กลุ่มของ Optionเป็นกลุ่มของคำสั่งเพิ่มเติมของแต่ละเครื่องมือที่เราเลือกใช้งาน การเรียกใช้งาน Window > Tools

  20. ส่วนประกอบของรูปทรง 1.Stroke ( เส้น ) ส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นขอบ ของวัตถุที่วาดขึ้น เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นอิสระ 2. Fill ( พื้น ) ส่วนที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ข้างในของวัตถุ สามารถใช้สีเข้าไปได้ เช่น สีทึบ สีไล่โทนหรือรูปภาพโดยส่วนประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้สามารถที่จะกำหนดสีได้

  21. ส่วนประกอบของรูปทรง Stroke เส้น Fill พื้น

  22. การเลือกสี 1.Color Swatches เป็นส่วนที่แสดงสีทั้งหมดของกลุ่มสีที่ใช้อยู่แล้วเลือกสีที่ต้องการได้ 2. Color Mixer เป็นการกำหนดสีขึ้นมาใหม่ โดยลักษณะสีที่เลือก จะมีลักษณะเป็น Solidสีตาย ( สีเรียบ ) Linear ไล่สีในแนวเส้นตรง Radial ไล่สีในแนววงกลม Bitmapใส่รูปภาพแบบบิตแมป

  23. รายละเอียดของ Icon Arrow Tool : ใช้เลือกวัตถุที่เราต้องการโดยการคลิกแล้วลากให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม Sub selection Tool : ใช้เลือกวัตถุที่เราต้องการเฉพาะบางส่วน Free Transform Tool : ใช้ปรับแต่งรูปทรงของวัตถุได้อย่างอิสระ Fill Transform Tool : ใช้ปรับแต่งระดับเฉดสีของแบบสี Gradient Line Tool : ใช้สำหรับวาดลายเส้นตรง Lasso Tool : ใช้เลือกวัตถุที่เราต้องการโดยการวาดเส้นรอบวัตถุอย่างอิสระ Pen Tool : ใช้วาดลายเส้นและส่วนโค้งต่าง ๆ Text Tool : ใช้สำหรับสร้างตัวอักษรหรือข้อความต่าง ๆ Oval Tool : ใช้วาดวงกลมหรือวงรี Rectangle Tool : ใช้วาดรูปสี่เหลี่ยมต่าง ๆ

  24. Pencil Tool : ใช้วาดลายส้นต่าง ๆ อย่างอิสระ Brush Tool : ใช้ระบายสีคล้ายพู่กันหรือแปรงทาสี Ink Bottle Tool : ใช้เปลี่ยนสีเส้นขอบ Paint Bucket Tool : ใช้เติมสีพื้นภายในของวัตถุ Eyedropper Tool : ใช้คัดลอกสีและลักษณะของเส้นวัตถุอื่น ๆ เพื่อนำไปใส่วัตถุที่ต้องการ Eraser Tool : ใช้สำหรับลบลายเส้นหรือสีของวัตถุ Hand Tool : ใช้เคลื่อนย้ายจอภาพที่แสดงใน Stage ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ Zoom Tool : ใช้ย่อและขยายพื้นที่ใน Stage Default Color : ใช้ทำให้สีพื้นและสีของลายเส้นกลายเป็นสีมาตรฐานคือสี ขาว/ดำ No Color : ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการกำหนดหรือใส่สีให้กับวัตถุ Swap Color Tool : ใช้สลับสีของสีพื้นและสีของลายเส้น Stoke Color : ใช้กำหนดสีของลายเส้น Fill Color : ใช้กำหนดสีของพื้นวัตถุ

  25. การวาดรูปเส้นและรูปทรงการวาดรูปเส้นและรูปทรง เราสามารถใช้เครื่องมือ Line Ovalและ Rectangle toolในการวางเส้นและรูปทรงเรขาคณิตแบบพื้นฐานโดย 1. เลือกเครื่องมือ Line, Ovalหรือ Rectangle Line เส้นตรง Oval วงกลม Rectangle สี่เหลี่ยม Line Rectangle Oval

  26. 2. เลือกลักษณะของสีและเส้นในพาเนล Properties เลือกสีเส้น เลือกลักษณะเส้น เลือกขนาดเส้น เลือกสีระบายจะไม่มีใน Line Tool

  27. รูปแบบการวาดรูปเส้นและรูปทรงใน Flash โดยค่าปกติในการวาดรูปเส้นและรูปทรงใน Flash 9 นี้จะอยู่ในรูปแบบของ Object Drawing Model พื้นกับเส้นจะมีการรวมกันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะสังเกตุได้จากกรอบสีฟ้า ที่จะปรากฏขึ้นมาเมื่อทำการเลือกหรือการวาดรูปทรงเสร็จ และการวาดอีกชนิดหนึ่งคือการวาดแบบ Merge Drawing Model คือพื้นกับเส้น จะเป็นอิสระต่อกัน ทำให้เวลาทับซ้อนกันหรือตัดกันภาพที่วาดจะรวมเป็นชิ้นเดียวกันเวลาเคลื่อนย้ายอาจทำให้องค์ประกอบบางส่วนหายไป วิธีการเลือกใช้ รูปแบบการวาด • ในการเลือกรูปแบบวาดทั้งสองแบบ ต้อง Click ปุ่มObject Drawing ที่ปรากฏในส่วนของ Option ของเครื่องมือก่อนการวาดเสียอีก • กดปุ่ม เมื่อต้องการวาดแบบ Object Drawing หากต้องการเปลี่ยนรูปที่วาดแบบ Merge ให้เป็นแบบ Object สามารถทำได้โดย Click ที่รูป และเลือกเมนู Modify > Combine Object

  28. การวาดรูปเส้นและรูปทรงใน Flash 9 การเคลื่อนย้ายรูปทรงที่ทับกัน วาดโดย Merge Drawing Model จะทำให้ส่วนที่ถูกทับกันหายไป การเคลื่อนย้ายรูปทรงที่ทับกัน วาดโดย Object Drawing Model จะยังคงลักษณะของรูปที่วาดไว้

  29. 2 3 • การวาดรูปเส้นตรงด้วย Line Tool • Line Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูปเส้นตรง ซึ่งมีลักษณะการใช้งานดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Bar จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น + • จากนั้นให้ Click Mouse 1 ครั้งเพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น • กด Mouse ค้างไว้ แล้วลากไปยังตำแหน่งทีต้องการ จากนั้นทำการปล่อย Mouse จะได้ • เส้นขึ้นมา 1 เส้น • คลิก Mouse ค้างไว้ 1 ครั้ง • ลาก Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

  30. 2 3 • การวาดรูปวงกลมด้วย Oval Tool • Oval Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูป วงกลมและวงรี ซึ่งมีลักษณะการใช้งานดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น + • จากนั้นให้ Click Mouse 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น • กด Mouse ค้างไว้ แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เช่น การลากทะแยงมุมไปทางซ้าย • หรือขวาจะเกิดรูปลักษณะทรงกลม จากนั้น ทำการปล่อย Mouse จะได้รูปขึ้นมา • คลิก Mouse ค้างไว้ 1 ครั้ง • ลาก Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

  31. 2 3 • การวาดรูปสี่เหลี่ยมด้วย Rectangle Tool • Rectangle Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูป สี่เหลี่ยมแบบต่างๆซึ่งมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น + • จากนั้นให้ Click Mouse 1 ครั้งเพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น • กด Mouse ค้างไว้ แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เช่น การลากทะแยงมุมไปทางซ้าย • หรือขวาจะเกิดรูปลักษณะสี่เหลี่ยม จากนั้น ทำการปล่อย Mouse จะได้รูปขึ้นมา • คลิก Mouse ค้างไว้ 1 ครั้ง • ลาก Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

  32. 1 2 • การวาดรูปด้วยลายเส้น Pencil Tool • Pencil Tool เป็นเครื่องมือที่มช้ในการวาดรูป แบบอิสระ เหมือนการใช้ดินสอวาดรูป ซึ่งสามารถวาดได้ • ทั้งเส้นตรง เส้นโค้ง ซึ่งมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Bar จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น • จากนั้นให้ Click ค้างไว้ ละลากเส้น ที่ต้องการวาด จะได้รูปขึ้นมาซึ่งใน Pencil Tool สามารถ • กำหนด Option ของเส้นได้ดังนี้ • คลิก Mouse ค้างไว้ 1 ครั้ง • ลาก Mouse ตามต้องการ

  33. 2 3 • การวาดรูปด้วยลายเส้น Brush Tool • Brush Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูป แบบอิสระ เหมือนการใช้พู่กันสีวาดรูป และระบายสี • บนส่วนต่างๆของวัตถุ ซึ่งมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น + • จากนั้นให้ Click ไว้ในส่วนของ Option เพื่อเลือกลักษณะรูปร่าง และขนาด ของแปรงทาสี ซึ่งใน • Brush Tool สามารถกำหนด Option ของเส้นได้ ดังนี้ • 3. จากนั้นให้ Click ค้างไว้ และลากเส้นที่ต้องการจะระบาย จะได้รูปขึ้นมา • คลิก Mouse ค้างไว้ 1 ครั้ง • ระบายสีตามที่ต้องการ

  34. Option ของ Brush Tool ขนาดของแปรงทาสี ลักษณะรูปแบบของแปรง นอกจากนี้ Blush Tool ยังมี Option ในการระบาย ดังนี้ Paint Normal : การระบายสีทับทุกส่วนของภาพ Paint Fills : การระบายสีตรงส่วนพื้นของภาพ Paint Behind : การระบายสีในส่วนพื้นหลัง Paint selection: การระบายสีเฉพาะส่วนที่เลือก Paint Inside : การระบายตรงพื้นที่ด้านใน

  35. 2 3 • การวาดรูปด้วยปากกา Pen Tool • Pen Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูป เส้นตรงและรูปส่วนโค้ง โดยส่วนมากนิยมใช้วาดเส้นโค้ง • เพราะว่าเส้นที่วาดโดย Pen Tool นั้นจะมีลักษณะที่มีความเรียบสูง ลักษณะเหมือนเส้น Path ของ • โปรแกรม Illustrator ซึ่งมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย • จากนั้นให้ Click Mouse 1 ครั้งเพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น • เลื่อน Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้ว Click Mouse ที่ตำแหน่งสิ้นสุด จากนั้นจะได้รูปเส้นตรง • คลิก Mouse 1 ครั้ง กำหนดจุดเริ่มต้น • เลื่อน Mouse ไปยังตำแหน่งสิ้นสุด

  36. 2 3 • การวาดเส้นโค้ง ในการวาดเส้นโค้งโดยใช้ Pen Tool นั้น สามารถทำได้ง่าย โดยขั้นตอนแรก คือการ • วาดเส้นตรง จากนั้น ลาก Mouse จะทำให้เส้นตรงกลายเป็นเส้นโค้ง ซึ่งมีลักษณะการใช้งาน ดังนี้ • Click Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น • จากนั้นให้ Click Mouse 1 ครั้ง เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้น • เลื่อน Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้ว Click Mouse ที่ตำแหน่งสิ้นสุด และทำการเลื่อน • Mouse + Click Mouse ค้างไว้ จะได้รูปเส้นโค้ง • เลื่อน Mouse ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ + ลาก Mouse • คลิก Mouse 1 ครั้ง กำหนดจุดเริ่มต้น

  37. การเลือกวัตถุแบบอิสระ Lasso Tool Lasso Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกรูปทรง หรือรูปภาพแบบอิสระ ในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งมีลักษณะการใช้งานดังนี้ • คลิก Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น • คลิกซ้ายค้างไว้ แล้วลากให้คุมพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างอิสระ • จากนั้นจะได้พื้นที่ที่ทำการเลือกไว้

  38. การลบรูปทรงด้วย Eraser Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการลบรูปทรง หรือลบองค์ประกอบทั้งหมด โดยสามารถทำได้ดังนี้ • คลิก Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น • คลิก Mouse ปุ่ม Eraser Mode จะมีรูปแบบการลบดังนี้ Eraser Normal : การลบทุกส่วนของภาพ Eraser Fills : การลบตรงส่ววนพื้นของภาพ Eraser Lines : การลบในส่วนของเส้น Eraser Selection : การลบเฉพาะส่วนพื้นที่เลือก Eraser Inside : การลบตรงพื้นที่ด้านใน • คลิกเลือกลักษณะและขนาดของหัวยางลบ จากนั้นทำการลบตามต้องการ

  39. 2 3 การเติมสีขอบด้วย Ink Bottle Tool Ink Bottle Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนสีเฉพาะเส้นขอบ โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนของพื้น มีลักษณะการใช้งานดังนี้ • คลิก Mouse ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็น • จากนั้นเลือกสีและรูปแบบของเส้นที่ต้องการจาก Properties Inspector • คลิกซ้ายที่วัตถุที่ต้องการ โดยเส้นขอบของวัตถุนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป เลือกสีและรูปแบบของเส้นที่ต้องการ เส้นขอบจะเปลี่ยนแปลงไป

  40. การเติมสีภายในด้วย Paint Bucket Tool Paint Bucket Tool เป็นการเทสีลงในรูปทรง ซึ่งอากเป็นพื้นที่ว่างอยู่ หรือเปลี่ยนสีที่ลงไว้แล้วก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ • คลิกที่ Paint Bucket Tool • ใน Panel Properties เลือกสีระบาย

  41. การดูดไล่สีด้วย Eyedropper Tool Eyedropper Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูดสีไม่ว่าจะเป็นสีเส้น หรือสีระบาย รวมทั้งลักษณะของเส้นอ็อบเจ็กต์หนึ่งไปใช้ในอีกอ็อบเจ็กต์หนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้ในการดูดสีในภาพเพื่อนำไปใช้เป็นตัวอย่างสีก็ได้ 1. เลือกเครื่องมือ 2. คลิกที่เส้นหรือพื้นที่ของอ็อบเจ็กต์ที่ต้องการจะนำสีและลักษณะไปใช้กับพื้นที่อื่น เมื่อคลิกที่เส้น โปรแกรมจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือ Ink Bottle Tool และเมื่อคลิกที่พื้นที่สีระบาย โปรแกรมจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือ Paint Bucket Tool

  42. การย่อ/ขยายมุมมองด้วย Zoom Tool • คลิก ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูป • คลิกจุดที่ต้องการย่อ/ขยาย และสามารถเลือกส่วนที่ต้องการขยายได้โดยการลาก Mouse คลุมพื้นที่ที่ต้องการย่อ/ขยาย จากนั้นรูปบริเวณที่ต้องการจะย่อ/ขยายได้ทันที Fit in Window : ทำให้ขนาดพอดีกับหน้าจอการแสดง Show Frame : ทำให้แสดงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเฟรม Show All : ทำให้แสดงชิ้นงานทั้งหมดที่อยู่บน Stage และ Work Area

  43. การเลื่อนวัตถุด้วย Hand Tool ในการขยายภาพนั้นจะสังเกตเห็นว่าขนาดของภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นผลงานที่แสดงบน Stage ได้ทั้งหมด หากต้องการเลื่อนเพื่อทำงานกับพื้นที่อื่นๆ สามารถทำได้โดยการเลือก Hand Tool โดยมีการเรียกใช้งานดังนี้ • คลิก ที่ Tool Box จากนั้น Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูป • จากนั้นคลิก Mouse ค้างไว้แล้วเลื่อนไปบริเวณที่ต้องการดูข้อมูล การเรียกใช้งาน คลิกที่ icon หรือ (H) ข้อแนะนำ ในการเลือกดูข้อมูลโดยการใช้ Hand Tool นั้น หากต้องการที่จะทำผลงานแสดงให้พอดีกับหน้าจอสามารถทำได้โดยการดับเบิ้ลคลิกที่

  44. การปรับแต่งรูปทรงด้วย Free Transform Tool ใช้สำหรับการปรับรูปทรง เช่น การหมุน การบิดเอียงของวัตถุ ปรับขนาด บิดดัด กลับรูปทรงโดยมีการใช้งานดังนี้ การหมุนและบิดเอียง • คลิก ที่ Tool Box • เลือกวัตถุที่ต้องการทำการหมุน • คลิกปุ่ม Rotate and Skew จากส่วนของ Option • นำ Mouse ไปวางบริเวณมุมด้านนอกตรงจุด Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูป • คลิกซ้ายค้างไว้และหมุนรูปทรงไปยังทิศทางที่ต้องการ

  45. การปรับขนาด • คลิก ที่ Tool Box • เลือกวัตถุที่ต้องการทำการหมุน • คลิกปุ่ม Rotate and Skew จากส่วนของ Option • นำ Mouse ไปวางบริเวณมุมด้านนอกตรงจุด Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูป • คลิกซ้ายค้างไว้และปรับขนาดที่ต้องการ

  46. การเคลื่อนย้ายวัตถุ ในการเคลื่อนย้ายวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการ สามารถทำได้โดยการลากวัตถุ ดังนี้ 1. คลิก Mouse ที่วัตถุที่ต้องการเคลื่อนย้าย 2. ลาก Mouse ไปยังตำเหน่งที่ต้องการ ซึ่ง Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูป 3. เมื่อได้ตำแหน่งของวัตถุที่ต้องการแล้วให้ปล่อย Mouse การเคลื่อนย้ายวัตถุโดย Inspector เป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุที่สามารถกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน ดดยการใส่ค่าแกนนอน (x) และแกนตั้ง (y)

  47. การใช้งาน Ruler Ruler, Grid, Guides เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวาง การกำหนดขอบเขตตำแหน่งของวัตถุที่อยู่บน Stage ใช้ในการวัดค่าหรือกำหนดตำแหน่งของวัตถุให้เท่ากัน Ruler : คือไม้บรรทัดที่อยู่ด้านซ้ายมือและด้านบนของ Stage สามารถเปิดและปิดได้ การเรียกใช้งาน View  Ruler หรือ Ctrl + Alt + Shift + R

  48. การใช้งาน Guide Guide : ลักษณะเป็นเส้นสีเขียวใช้ในการจัดวางวัตถุที่อยู่บน Stage ที่ต้องการอิสระของตำแหน่งการจัดวาง โดยเส้น Guide สร้างขึ้นมาจาก Ruler การเรียกใช้งาน View  Guide  Show Guide หรือ Ctrl + ;

  49. การใช้งาน Grid Grid : ลักษณะเป็นลายเส้นตารางหมากรุก ช่วยในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุที่อยู่บน Stage สามารถเปิดปิดได้ ใช้ในการจัดวางรูปทรง รูปภาพ และข้อความ การเรียกใช้งาน View  Grid  Show Grid หรือ Ctrl + ‘

  50. การจัดลำดับวัตถุโดย Arrange ในการสร้างวัตถุขึ้นใหม่ วัตถุนั้นจะถูกจัดอยู่ลำดับบนสุดเสมอ ทำให้บางครั้งวัตถุดังกล่าวทับซ้อนวัตถุที่ต้องการให้อยู่ด้านหน้า หากต้องการเปลี่ยนแปลงสามารถทำได้ดังนี้ • คลิก Mouse ที่วัตถุที่ต้องการจัดลำดับ • เลือกที่เมนู Modify  Arrange เลือรูปแบบที่ต้องการ Bring to Front ให้แสดงด้านบนสุด Bring Forward ให้แสดงด้านบน 1 ลำดับ Send Backward ให้แสดงด้านล่าง 1 ลำดับ Send to Back ให้แสดงด้านล่างสุด

More Related