560 likes | 1.41k Views
วิชา ส 40208 การปกครองของไทย. หน่วยที่ 3 ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน. โดย นายทักษิณ ล้านโรจน์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการ. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ หมายถึงอะไร. การจัดระเบียบในการปกครองประเทศ.
E N D
วิชา ส 40208 การปกครองของไทย หน่วยที่ 3 ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดย นายทักษิณ ล้านโรจน์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการ
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ หมายถึงอะไร • การจัดระเบียบในการปกครองประเทศ • ซึ่งต้องมีองค์กรในการบริหารกิจการของรัฐ • โดยกำหนดว่ามีองค์กรบริหารราชการอย่างไร • มีหน้าทีอะไรและอำนาจความรับชอบแค่ไหน • เพื่อดำเนินการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐ • ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการหรือสนองความต้องการของประชาชน
การปกครองประเทศมีอำนาจอยู่ 2 ระดับ คือ • ระดับสูงสุด หรือ ระดับนโยบาย ถูกกำหนดโดยฝ่ายการเมือง ได้แก่ รมต. , รมช., นายก • ระดับรองลงมา หรือ เรียกว่าระดับปฏิบัติการ ได้แก่ • ข้าราชการประจำในระดับต่าง ๆ
หลักอำนาจในการปกครองประเทศ มี 3 หลักการดังนี้คือ • หลักการรวมอำนาจปกครอง • ( Centralization ) • หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง • ( Deconcentralization ) • หลักการกระจายอำนาจการปกครอง • ( Decentralization )
หลักการบริหารราชการแผ่นดิน มี 3 หลักการดังนี้คือ • ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง • ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค • ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลางระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง • ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม • หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล • ใช้หลักการรวมอำนาจปกครอง • ( Centralization )
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค • ได้แก่ จังหวัด และอำเภอ • มีข้าราชการของส่วนกลางเป็นตัวแทนของ • กระทรวง ทบวง กรม ไปประจำ • เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง • หลักการกระจายอำนาจการปกครอง • ( Decentralization )
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น • ได้แก่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร • เป็นลักษณะที่รัฐเปิดโอกาสให้มีการปกครองตนเอง • โดยมีการเลือกตั้งขึ้นเองในท้องถิ่นนั้นเพื่อให้มาทำหน้าที่ในการดำเนินกิจการและบริหารท้องถิ่นนั้น ๆ • ใช้หลักการกระจายอำนาจ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลางระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางการบริหารราชการส่วนกลาง • การจัดตั้ง ยุบ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม • ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ • นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล
สำนักนายกรัฐมนตรี • เพียงหน่วยงานเดียวมีฐานะเป็นกระทรวง • มีบทบาทเป็นแหล่งประสานงานระหว่างกระทรวงต่างๆ และงานอื่นๆ ในระดับชาติด้วย • ในสำนักนายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา • สำนักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, กรมประชาสัมพันธ์ และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
กระทรวง • กระทรวงเป็นหน่วยงานของข้าราชการส่วนกลางที่ใหญ่ที่สุด • ในแต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด • อนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง • มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่ง • มีปลัดกระทรวงซึ่งเป็นข้าราชการประจำสูงสุดในกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
กระทรวง • ส่วนราชการของกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี 2) สำนักงานปลัดกระทรวง มีฐานะเป็นกรม • หน่วยงานระดับกระทรวงปัจจุบันตามพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีปัจจุบันมี 20 กระทรวง
ทบวง • เป็นหน่วยราชการใหญ่กว่ากรมแต่เล็กกว่ากระทรวง • ทบวงอาจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดกระทรวง หรือเป็นทบวงอิสระ • เดิมประเทศไทยเคยมีทบวงเพียงทบวงเดียวคือ "ทบวงมหาวิทยาลัย" มีฐานะเป็นกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการทบวงรับผิดชอบ • ปัจจุบันไม่มีทบวงแล้ว ยุบไปเมื่อ พ.ศ.2545
กรม • เป็นหน่วยงานราชการขนาดกลางรับผิดชอบงานด้านใดด้านหนึ่งของรัฐแยกย่อยจากกระทรวง หรือ ทบวง • กรมอาจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดกระทรวง ทบวง หรือเป็นกรมอิสระก็ได้ • มีอธิบดีกรมเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของ ข้าราชการประจำ • การตั้งหรือยุบ กรมและกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและฐานะเป็นกรมให้ ตราเป็น พระราชกฤษฎีกา
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ( จังหวัดและอำเภอ ) • หมายถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำ ตามเขตการปกครองของประเทศ ( ได้แก่จังหวัดและอำเภอ ) • เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในเขตการปกครองนั้นๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่างๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใจการบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง • การบริหารราชการส่วนภูมิภาคใช้หลัก หลักการแบ่งอำนาจ
จังหวัด • จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด • จังหวัดประกอบด้วยอำเภอหลายๆ อำเภอ • จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ( ส่วนอำเภอไม่เป็นนิติบุคคล ) • การจัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้อง ตราเป็นพระราชบัญญัติ
อำเภอ • อำเภอคือหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด • อำเภอแบ่งเป็นหลายตำแหน่งอำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล • การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา • ในอำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
กิ่งอำเภอ • กิ่งอำเภอเป็นหน่วยการปกครองซึ่งรวมหลายตำบล แต่ไม่มีลักษณะใหญ่พอที่จะตั้งเป็นอำเภอ • มีปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้า และมีปลัดอำเภออื่นๆ ตามจำนวนที่จำเป็นหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวง
ตำบล • ตำบลไม่เป็นการบริหารส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่เป็นการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 • ตำบล ประกอบด้วยหมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้าน • ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล • การจัดตั้งตำบลใหม่ตามหลักเกณฑ์โดยออกเป็น ประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบลขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมู่บ้าน • ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด • ถ้าเป็นที่มีคนอยู่รวมกันมาก ถึงจำนวนบ้านน้อย ให้ถือเอาจำนวนคนเป็นสำคัญประมาณราว ๒๐๐ คนเป็นหมู่บ้านหนึ่ง • ถ้าเป็นที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนคนน้อยถ้าและจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า ๕ บ้านแล้ว จะจัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งก็ได้ • ในหมู่บ้านหนึ่ง ให้มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง และมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง หมู่บ้านละสองคน เว้นแต่หมู่บ้านใดมีความจำเป็นต้องมีมากกว่าสองคน ให้ขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย
การปกครองส่วนท้องถิ่นการปกครองส่วนท้องถิ่น
ประวัติการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย 1 • การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 • ใน ร.ศ.124 ( พ.ศ.2448) มีการจัดตั้งคณะกรรมการ สุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมขึ้นเป็น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรก
ประวัติการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย 2 • พ.ศ.2496 มีการตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลขึ้น • พ.ศ .2498 มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดขึ้น ทำให้เกิดองค์การบริหารส่วนจังหวัด • พ.ศ. 2518 มีการตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร • พ.ศ.2521 มีการตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารเมืองพัทยา
ประวัติการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย 3 • พ.ศ.2537 มีการตรา พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น • พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 • พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒
รูปแบบการปกครองท้องถิ่น 6 รูปแบบ • องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) • เทศบาล • สุขาภิบาล • กรุงเทพมหานคร • เมืองพัทยา • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) • เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจังหวัดละ 1 แห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร • อบจ. จึงตั้งขึ้นเพื่อบริหารกิจการในเขตจังหวัด และช่วยพัฒนางานของเทศบาลและ อบต. • จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เทศบาลและ อบต. ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากขาดงบประมาณ เช่น จัดให้มีท่อบำบัดน้ำเสีย ประปาหมู่บ้าน • อบจ. มีหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนอย่างทั่วถึง เช่นเดียวกับ อบต. และ เทศบาล
เทศบาล 1 • เทศบาล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตชุมชนเมือง • แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในท้องถิ่น ความเจริญทางเศรษฐกิจ หรือ รายได้ในท้องถิ่น • การพัฒนาความเจริญในท้องถิ่น เช่น อำเภอหาดใหญ่ เดิมเป็นเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ต่อมายกระดับเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่ เพราะมีการขยายตัวทั้งประชากร รายได้ และความเจริญเป็นต้น
เทศบาล 2 • เทศบาล มีการบริหารงานได้อย่างอิสระ • พนักงาน เทศบาล และปลัดเทศบาล เป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ปฏิบัติงาน ตามภารกิจ และหน้าที่ของเทศบาลภายใต้การบริหาร และตรวจสอบควบคุม • โดย สมาชิกสภาเทศบาล ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล • เป็น อปท. ระดับตำบล ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด • จัดตั้งขึ้นมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงยกฐานะเป็นอบต. • ตั้งขึ้นเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการ ประชาชนในหมู่บ้าน และตำบลแทนรัฐส่วนกลาง • อบต. สามารถช่วยเหลือประชาชนได้รวดเร็ว และป้องกันภัยได้ล่วงหน้า โดยการมีอุปกรณ์ป้องกันไฟ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วมเบื้องต้นได้
กรุงเทพมหานคร 1 • กทม. เป็นที่ตังเมืองหลวงของประเทศไทย • กรุงเทพมหานครเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ • มีแห่งเดียวในประเทศ ใช้หลักการกระจายอำนาจ หรือรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกา • มีสภากรุงเทพมหานคร - ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและ ควบคุมการบริหาร
กรุงเทพมหานคร 2 • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร • ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน • การสมัครผู้ว่าฯไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้ • มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี • มีรองผู้ว่าฯ มีได้ 4 คน ซึ่งผู้ว่าแต่งตั้งเอง
พัทยา • พัทยาตั้งอยู่ในเขต อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยว • เดิมอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลนาเกลือ • ตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2521 โดยให้ยุบเลิกสุขาภิบาลนาเกลือแล้วจัดตั้งเป็น “เมืองพัทยา” • เมืองพัทยา ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อบ้านเมืองได้เจริญก้าวหน้าขึ้นก็ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการโดยตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 ขึ้นใช้
พัทยา • สภาเมืองพัทยา มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 24 คน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ • ปลัดเมืองพัทยา ได้รับการแต่งตั้งจากนายกเมืองพัทยาโดยความเห็นชอบของสภาเมืองพัทยา มีหน้าที่บริหารกิจการของเมืองพัทยา • นายกเมืองพัทยา มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระฯคราวละ 4 ปี • นายกฯ มีหน้าที่ในการควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเมืองพัทยา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างเมืองพัทยา