330 likes | 765 Views
วิชา ส 40208 การปกครองของไทย. หน่วยที่ 2 ประวัติการปกครองของไทย. โดย นายทักษิณ ล้านโรจน์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม. สมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์. สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1981). การปกครองแบบ ราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นลักษณะพ่อปกครองลูก
E N D
วิชา ส 40208 การปกครองของไทย หน่วยที่ 2 ประวัติการปกครองของไทย โดย นายทักษิณ ล้านโรจน์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม
สมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์
สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1981) • การปกครองแบบราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราช • เป็นลักษณะพ่อปกครองลูก • คำนำหน้าของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจึงใช้ว่า "พ่อขุน" • การปกครองส่วนภูมิภาคสมัยสุโขทัย แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ - หัวเมืองชั้นใน - หัวเมืองชั้นนอก - เมืองประเทศราช
สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) • พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเทวราชหรือสมมติเทพ • คำนำหน้าของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนี้ เรียกว่า “ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว " • แนวคิดเกี่ยวกับกษัตริย์เป็นไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเขมร โดยถือว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์หรือพระเจ้าบนมนุษย์โลก • กษัตริย์เป็นเทวสิทธิ เป็นเสมือนเจ้าชีวิต
สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) • ในสมัย พระบรมไตรโลกนาถ ไทยได้พัฒนาจนมีฐานะ เป็น “ ราชอาณาจักรสยาม” อย่างแท้จริง • สิ่งสำคัญที่ แสดงว่าเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง คือ มีการปฏิรูปการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดินโดย รวมศูนย์แห่งอำนาจมาอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ ณ ราชธานี เพียงแห่งเดียว นั่นคือ การยกเลิกการแต่งตั้ง เจ้านายใน พระราชวงศ์ เช่น พระราชโอรส พระราชนัดดา ไปปกครอง เมืองสำคัญ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2475)
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2475) • นำเอาการปกครองในสมัยสุโขทัย และอยุธยามาผสมกัน • ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้อยู่ในฐานะเทวราช หรือสมมติเทพดังแต่ก่อน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับราษฎร มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น • แม้มีการปกครอง ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีลักษณะประชาธิปไตยแฝงอยู่ ในหลายรูปแบบ เช่น แทรกอยู่ในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการดำรงชีวิต
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2475) • การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สิ้นสุดลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
การวางรากฐานเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองการวางรากฐานเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง • ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชกรณียกิจบางประการของของพระองค์ที่ได้รับการวิเคราะห์ว่าทรงสนับสนุน การปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การเลิกทาส การปฏิรูปการบริหารราชการ และทรงสนับสนุนการศึก • ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งเจ้านายและขุนนางไปเข้ารับการศึกษาในทวีปยุโรป
การวางรากฐานเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองการวางรากฐานเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง • ร. 6 ได้ทรงเคยแสดงความคิดว่า พระองค์นิยมระบบรัฐธรรมนูญ แต่ที่ยังไม่ทรงพระราชทาน เพราะเสนาบดีและที่ปรึกษาราชการทั้งชาวอังกฤษและอเมริกันทัดทานไว้ เนื่องจากเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา • ร. 6 ได้สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยได้ตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี”
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 • สภาพการเมืองการปกครอง • ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ไข • ความไม่พอใจในความแตกต่างทางฐานะด้านสังคม • ความไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการ • เรียกร้องระบอบประชาธิปไตย
คณะราษฎร์คือใคร.. • กลุ่มที่มีความต้องการตรงกันในการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย • ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ดังนี้คือ 1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ 2. กลุ่มนายทหารในประเทศ
กบฏ หมายถึงอะไร • กบฏ คือ การใช้กำลังยึดอำนาจปกครอง • โดยวิธีที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ • แต่ไม่สำเร็จ
ปฏิวัติ หมายถึงอะไร • ปฏิวัติ คือ การใช้กำลังยึดอำนาจ • โดยวิธีที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ • ได้สำเร็จ • ยกเลิกรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงการ • ปกครองทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และ • การเมือง
รัฐประหาร หมายถึงอะไร • รัฐประหาร คือ การใช้กำลังยึดอำนาจ • โดยวิธีที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ • ได้สำเร็จ • เปลี่ยนแปลงเฉพาะผู้นำไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักการหรือโครงสร้างทางการเมือง • ไม่ยกเลิกรัฐธรรมนูญ
วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญฯไทยวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญฯไทย
ความหมายของรัฐธรรมนูญความหมายของรัฐธรรมนูญ • รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ • ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการ • ปกครอง • การใช้อำนาจของผู้ปกครอง การสืบต่ออำนาจ • ตลอดจนเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ลักษณะของรัฐธรรมนูญ • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ • กฎหมายที่กำหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดระเบียบ • การปกครอง • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ประกันสิทธิเสรีภาพของ • ประชาชน
ข้อควรจดจำ • ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ เป็นประชาธิปไตยเสมอไป • แต่ ประเทศประชาธิปไตย ต้องมีรัฐธรรมนูญ • รัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย แต่เป็นเพียงกติกาของระบบการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย .... • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
ที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ... • เปิดโอกาสให้ประชาชนข้ามามีส่วนร่วมยกร่างมากที่สุด • โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. • เป็นตัวแทนจากประชาชนจากทุกจังหวัด ๆ1 คนรวม 76 คน • และผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ รวม 99 คน • ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับภายใน 240 วัน
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ... • ประกอบด้วยหมวดต่าง ๆ จำนวน 12 หมวด • ม.1 บททั่วไป,ม. 2 พระมหากษัตริย์ ,ม 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย • ม.4 หน้าที่ของชนชาวไทย ,ม 5 นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ , ม.6 รัฐสภา • ม.7 คณะรัฐมนตรี, ม.8 ศาล , ม. 9 การปกครองส่วนท้องถิ่น • ม.10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ,ม.11 การตรวจเงินแผ่นดิน • ม.12 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ