570 likes | 1.05k Views
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์. อ.กรรณิการ์ แก้วเชื้อ โปรแกรมเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. เนื้อหา. 1. 2. 3. 4. ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์. การแปลภาษาคอมพิวเตอร์. แนวทางการเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์. สรุป. เกริ่นนำ.
E N D
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์ อ.กรรณิการ์ แก้วเชื้อ โปรแกรมเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหา 1. 2. 3. 4. ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ การแปลภาษาคอมพิวเตอร์ แนวทางการเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ สรุป
เกริ่นนำ • ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) หมายถึง สัญลักษณ์ที่ผู้คิดพัฒนาภาษากำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำสั่งสื่อสารสั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
พัฒนาการของภาษาคอมพิวเตอร์พัฒนาการของภาษาคอมพิวเตอร์ X = 5 + 6PRINT X 10101010 00000001 00001001 เลขฐานสอง ข้อความภาษาอังกฤษ
ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูง ประเภทของภาษาที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติ Windows • ภาษาเครื่อง • ภาษาแอสเซมบลี ภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษาเอดา ภาษาพีแอลวัน • โปรแกรมภาษาเชิงวัตถุ
ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับต่ำประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับต่ำ • ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาที่เขียนเป็นรหัสเลขฐานสอง ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ทันที กล่าวคือ จะใช้เฉพาะเลข 0 และ 1 เท่านั้น เขียนสลับกันไปมาเพื่อใช้เป็นรหัสสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ • ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) หรือภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic language) จะอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ โดยการนำตัวอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ต่างๆมาใช้เขียนแทนตัวคำสั่ง ซึ่งจะทำให้สามารถจำและเขียนคำสั่งต่างๆได้ง่ายขึ้นกว่าภาษาเครื่อง
ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูงประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูง
ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูงประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูง
ประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูงประเภทของภาษาที่จัดว่าเป็นภาษาระดับสูง
ประเภทของภาษาที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติ Windows • เป็นภาษาในกลุ่มนี้เน้นการพัฒนาระบบงานในรูปแบบฐานข้อมูล ในส่วนการออกแบบรูปแบบการแสดงผล สามารถสร้างสรรค์ในเชิงงานกราฟิกได้อย่างสวยงาม สามารถใช้อุปกรณ์ประเภทเมาส์ในการป้อนข้อมูลเข้าระบบ และเลือกคำสั่งงานส่วนติดต่อกับผู้ใช้ได้
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ • ตัวแปรภาษา (Translator Program)เป็นส่วนที่ใช้ในการแปลรหัสคำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแปลงให้เป็นเลขฐานสอง (ภาษาเครื่อง)
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ • ลักษณะการทำงานของตัวแปรภาษา • การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่ใช้ภาษาเครื่อง จะถูกเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) เมื่อบันทึกโปรแกรมลงสื่อบันทึกข้อมูล เครื่องจะกำหนดชนิดของโปรแกรม (Type) ตามข้อกำหนดของแต่ละภาษาที่สร้างโดยอัตโนมัติ เช่น ภาษาซีจะมีชนิดเป็น C หรือภาษา C++ ที่จะมีชนิดเป็น CPP มีหน้าที่แปลชุดคำสั่งที่ใช้ในรูปแบบคำสั่งที่ภาษานั้น ๆ กำหนดไว้ ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ หลังจากแปลโปรแกรมต้นฉบับแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะทำการสร้างโปรแกรมเพิ่มขึ้นอีก 1 โปรแกรม ให้มีชนิดของโปรแกรมเป็นชนิด .EXE หรือ .OBJ เพื่อใช้ทำงานในลักษณะของภาษาต่อไป
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับหรือซอร์สโปรแกรม (source program) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโปรแกรม (object program) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป
ประเภทของตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทของตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ Assembler ตัวแปรภาษา Compiler Interpreter
โปรแกรมแปลภาษาแบบแอสเซมบลีโปรแกรมแปลภาษาแบบแอสเซมบลี • แอสเซมบลี (assembler) เป็นตัวแปลภาษาที่ออกแบบมาเพื่อใช้แปลคำสั่งเฉพาะภาษาแอสเซมบลีเท่านั้น ซึ่งจะทำหน้าที่แปลรหัสคำสั่งเป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์โปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์ • คอมไพเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่แปลโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล และภาษาฟอร์แทรนให้เป็นภาษาเครื่อง • หลักการทำงานจะแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมให้เป็นรหัสออบเจ็กต์ (Object Code) ในระหว่างการแปลข้อมูลรหัส หากพบข้อผิดพลาด จะแสดงข้อความแจ้งข้อผิดพลาดที่จอภาพ และหยุดการแปล เมื่อผู้เขียนโปรแกรมแก้ไขข้อผิดพลาดเรียบร้อยแล้วให้ทำการแปลใหม่ ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดจะได้โปรแกรมใหม่ที่เรียกว่า โปรแกรมออบเจ็กต์ • หลังจากนั้นนำโปรแกรมออบเจ็กต์ที่ได้ไปลิงค์เข้ากับระบบหรือไลบราลี ได้ผลลัพธ์มาเป็นภาษาเครื่อง แล้วจึงนำภาษาเครื่องไปสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง
โปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์ (Compiler) • ข้อดี • สามารถทำการแปลคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว • ข้อเสีย • ต้องเขียนโปรแกรมให้ครบทุกส่วนของโคงสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้งานก่อน
โปรแกรมแปลภาษาแบบอินเตอร์พรีเตอร์ • อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ แต่จะแปลโปรแกรมพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว การแปลโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน ดังนั้นจะต้องทำการประมวลผลคำสั่งใหม่ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้งาน ตัวอย่างภาษาที่ใช้ตัวแปลอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC)
โปรแกรมแปลภาษาแบบอินเตอร์พรีเตอร์โปรแกรมแปลภาษาแบบอินเตอร์พรีเตอร์ • ข้อดี คือสามารถสั่งแสดงผลการทำงานได้ทันที โดยไม่ต้องเขียนชุดคำสั่งให้จบทั้งโปรแกรม ส่วนใหญ่นิยมใช้กับภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบไม่มีโครงสร้าง • ข้อเสีย คือจากการที่ไม่มีโปรแกรมที่แปลรหัสแล้วเก็บไว้ หากเขียนโปรแกรมยาวมาก ๆ ก็จะทำให้การประมวลผลทำได้ช้า หากโปรแกรมเพราะต้องเริ่มอ่านคำสั่งจากจุดเริ่มของโปรแกรมทุกครั้งที่มีการประมวลผล
แนวทางการเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์แนวทางการเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ • การพัฒนาระบบงานเดิม เป็นการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ต้องมีการพัฒนางานโปรแกรมขึ้นมาด้วยการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีมากมายหลายภาษา แนวทางการเลือกใช้งานของแต่ละภาษาที่นิยมใช้งาน มีดังนี้ • 1. ภาษาแอสเซมบลี • 2. ภาษาฟอร์แทรน • 3. ภาษาเบสิก • 4. ภาษาโคบอล • 5. ภาษาปาสคาล • 6. ภาษาซี • 7. ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) • ภาษาแอสเซมบลีมีลักษณะของภาษาในรูปของการใช้รหัสช่วยจำ (mnemonic code) แทนตัวเลขฐานสองของภาษาเครื่องจักรทำให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่าภาษาเครื่องหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นภาษาสัญลักษณ์ซึ่งมีโครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกับภาษาเครื่องจักรมากภาษาแอสเซมบลีจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ op-code หรือรหัสตัวดำเนินการเช่น A แทนการบวก (Add) และ Openand หรือตัวที่ถูกดำเนินการซึ่งจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ตัวอย่างเช่น
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) คำสั่งของภาษาสัญลักษณ์ A X Y ความหมายของคำสั่งคือให้บวกค่าข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำตำแหน่งที่X กับค่าข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำตำแหน่งที่Y เข้าด้วยกัน A หมายถึงให้บวกค่าข้อมูล X หมายถึงตำแหน่งในหน่วยความจำของค่าข้อมูลตัวตั้ง Y หมายถึงตำแหน่งในหน่วยความจำของค่าข้อมูลตัวตั้งบวก
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ข้อดีของภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อศึกษาการทำงานของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์และฝึกทักษะการเขียนชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อจำกัดของภาษาแอสเซมบลี 1. เป็นภาษาที่ผู้เขียนต้องจำสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่างๆรวมทั้งต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันผู้ใช้ภาษาแอสเซมบลีจึงเป็นกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะด้านและมีจำนวนไม่มาก 2. เมื่อเปลี่ยนไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะต้องเปลี่ยนชุดคำสั่งตามชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานนั้นด้วย
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) เป็นภาษาระดับสูงที่ใช้เขียนคำสั่งงานเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่นเครื่องเมนเฟรม (Mainframe Computer) เป็นภาษาที่ใช้แก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ภาษา FORTRAN จึงเหมาะสำหรับเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับสูตรสมาการหรือฟังก์ชันทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตัวอย่างของภาษา FORTRAN บางส่วนมีดังนี้
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) • READ X • IF((X.GT.0) .AND. (X.LT.100)) THEN • PRINT *, ‘VALUE OF X IS :’,X • ELSE • PRINT * , ‘X IS NOT BETWEEN 0 AND 100’ • ความหมายของคำสั่งงาน • READ X หมายถึงการอ่านค่าลงในตัวแปรชื่อ X • IF((X.GT.0) .AND. (X.LT.100)) THEN หมายถึงการตรวจสอบค่า X ที่อ่านค่า • เข้ามาว่าอยู่ระหว่า 0-100 หรือไม่ถ้าใช่ให้ทำคำสั่งหลัง THEN ถ้า • ไม่ใช่ให้ทำคำสั่งหลัง ELSE • PRINT *, ‘VALUE OF X IS :’,X หมายถึงให้พิมพ์ทั้งประโยคด้วยข้อความที่ • กำหนดแล้วตามด้วยค่าของตัวแปร X ที่อ่านเข้ามา • PRINT * , ‘X IS NOT BETWEEN 0 AND 100’ หมายถึงพิมพ์ทั้งประโยค • โดยแสดงค่าของ X ก่อนประโยคข้อความ
ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ข้อดีของภาษาฟอร์แทรน เป็นภาษาที่มีคำสั่งงานเน้นประสิทธิภาพด้านการคำนวณวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมทั้งคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องเมนเฟรม ข้อจำกัดของภาษาฟอร์แทรน เนื่องจากคำสั่งงานเหมาะสำหรับการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจะต้องปรับใช้คำสั่งมากมายรวมทั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องประมวลผลก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบคำสั่งทุกครั้ง
ภาษาเบสิก (BASIC) เป็นภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาโดยมุ่งเน้นการควบคุมเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบคำสั่งงานประยุกต์มาจากข้อความภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันที่ใช้งานกันอยู่แล้วทำให้การเขียนคำสั่งงานง่ายขึ้นตัวอย่างเช่น
INPUT X IF X > 0 AND X < 100 THEN PRINT “VALUE OF X IS :” ; X ELSE PRINT “X IS NOT BETWEEN 0 AND 100” END IF ความหมายของคำสั่งงาน INPUT X หมายถึงการอ่านค่าลงในตัวแปรชื่อ X IF X > O AND X < 100 THEN หมายถึงการตรวจสอบค่า X ที่อ่านค่า เข้ามาว่าอยู่ระหว่า 0-100 หรือไม่ถ้าใช่ให้ทำคำสั่งหลัง THEN ถ้าไม่ใช่ให้ทำคำสั่งหลัง ELSE PRINT “VALUE OF X IS : “; X หมายถึงการตรวจสอบค่า X ที่อ่านค่า เข้ามาว่าอยู่ระหว่า 0-100 หรือไม่ถ้าใช่ให้ทำคำสั่งหลัง THEN ถ้าไม่ใช่ให้ทำคำสั่งหลัง ELSE PRINT “X IS NOT BETWEEN 0 AND 100” หมายถึงพิมพ์ทั้งประโยค โดยแสดงค่าของ X ก่อนประโยคข้อความ
ภาษาเบสิก (BASIC) ข้อดีของภาษาเบสิก คือชุดคำสั่งงานมีรูปแบบการใช้งานง่ายและสั้นทำให้ผู้ใช้งานสะดวกในการนำไปใช้งานในด้านการพัฒนาระบบงานและงานอื่นๆทั่วไปทั้งด้านงานคำนวณในระบบงานทางธุรกิจและงานด้านวิทยาศาสตร์อีกทั้งยังเหมาะสำหรับผู้เริ่มฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมอีกด้วย ข้อจำกัดของภาษาเบสิก คือเป็นภาษาที่มีรูปแบบของภาษาแบบ“ไม่มีโครงสร้าง”ซึ่งไม่เหมาะกับระบบงานขนาดใหญ่ๆ
ภาษาโคบอล (COBOL) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงในยุคแรกที่มีการออกแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Program) เน้นการเขียนคำสั่งควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่น“คอมพิวเตอร์รุ่นเมนเฟรมและมินิ”เหมาะสำหรับงานทางด้านธุรกิจและพาณิชยกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากตัวอย่างลักษณะการเขียนคำสั่งมีดังนี้
ภาษาโคบอล (COBOL) IDENTIFICATION DIVISION. PROGRAM-ID. SIMPLE_PROGRAM. ENVIRONMENT DIVISION. CONFIGURATION SECTION. INPUT-OUTPUT SECTION. FILE-CONTROL. SELECT data ASSIGN TO DISK. DATA DIVISION. FILE SECTION. PROCEDURE DIVISION. …
ภาษาโคบอล (COBOL) ความหมายของคำสั่งงาน ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างทางภาษาที่ชัดเจนโดยมีการแบ่งส่วนของโปรแกรมเป็น 4 ส่วนหรือ 4 Divisions ซึ่งในแต่ละ Division ก็สามารถแบ่งเป็น section ได้อีกตามความจำเป็นที่ต้องใช้งานในโปรแกรม สำหรับการใช้ภาษาโคบอลเขียนโปรแกรมนั้นผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องเขียนโปรแกรมยาวมากทำให้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นขณะทำการแปรชุดคำสั่งมักจะหาตำแหน่งที่ผิดพลาดของคำสั่งได้ยาก
ภาษาโคบอล (COBOL) ข้อดีของภาษาโคบอล คือเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาระบบงานทางด้านธุรกิจที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ไมโครคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะระบบงานที่ต้องมีการพิมพ์รายงานเป็นประจำหรือใช้กับระบบงานที่มีการเชื่อมการทำงานไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ข้อจำกัดของภาษาโคบอล คือไม่เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาระบบงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กชุดคำสั่งต้องเขียนยาวมากและแก้ไขยากใช้เวลาในการพัฒนาโปรแกรมนานอีกทั้งยังทำให้การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมทำได้ยากอีกด้วย
ภาษาปาสคาล (PASCAL) เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้และเป็นภาษาที่มีลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้างนิยมนำไปใช้ในการพัฒนาระบบงานทั่วไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งงานทางด้านการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับสูตรสมการและฟังก์ชันทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพราะการเขียนคำสั่งงานง่ายใช้เวลาน้อยในการศึกษาวิธีการเขียนคำสั่งงานตัวอย่างของคำสั่งงานในภาษาปาสคาลมีดังนี้
PROGRAM sample; USES CRT; VAR a , b , c : INTEGER; BEGIN readLn ( a ); readLn ( b ); C := a + b; writeln (c); END. ความหมายของคำสั่งงาน จากตัวอย่างโปรแกรมแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของภาษาปาสคาลที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดทุกครั้งทำให้ภาษาปาสคาลถูกเรียกว่าเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่มีความเป็นระเบียบอย่างมากโปรแกรมตัวอย่างนี้เป็นการอ่านข้อมูลผ่านทางคีย์บอร์ดเพื่อนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลแล้วจึงแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ
ภาษาปาสคาล (PASCAL) ข้อดีของภาษาปาสคาล คือเป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างทำให้ง่ายต่อการศึกษาวิธีการใช้งานเหมาะสำหรับงานทั่วไปทั้งงานทางด้านธุรกิจและงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และวิศวกรรมจึงนิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ข้อจำกัดของภาษาปาสคาล เนื่องจากเป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในการเรียนการสอนทำให้ภาษาปาสคาลขาดคุณสมบัติหลายๆอย่างในการนำไปใช้งานจริง
ภาษาซี (C) เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้างอีกภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำไปใช้ในงานพัฒนาระบบงานเนื่องจากมีคำสั่งในการเข้าถึงการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยตรงตัวอย่างคำสั่งงานของภาษาซีมีดังนี้
ภาษาซี (C) # include <stdio.h> void main() { printf(“Hello world”); getch(); } ความหมายของคำสั่งงาน หมายถึงการสั่งให้พิมพ์คำว่า“Hello world”ออกทางจอภาพจากนั้นให้รอรับการป้อนค่าใดๆ 1 ค่าจากคีย์บอร์ดจึงจะจบการทำงานของโปรแกรม
ภาษาซี (C) ข้อดีของภาษาซี คือ เป็นภาษาระดับสูงที่เหมาะสำหรับการพัฒนาระบบงานเชิงคำนวณทั่วไปนอกจากนี้ภาษาซียังเป็นภาษาที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงและมีคำสั่งที่สามารถเชื่อมโยงการใช้งานกับโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้ ทำให้ภาษาซีเป็นภาษาที่มีประสิทธิภาพการในการประมวลผลงานได้อย่างรวดเร็วทำให้ภาษาซีเหมาะสำหรับงานผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ข้อจำกัดของภาษาซี คือ มีบางคำสั่งที่คล้ายภาษาสัญลักษณ์จึงยากต่อการจำรวมทั้งมีรูปแบบคำสั่งกฎเกณฑ์การใช้งานมากจึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Language) คือภาษาที่มีกลไกสนับสนุนการสร้างวัตถุหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบเพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) ที่ประกอบขึ้นจากระบบที่ทำงานเกี่ยวข้องกันจำนวนมากภาษา Smalltalk ที่พัฒนาโดยกลุ่มนักค้นคว้าของบริษัท Xerox นับว่าเป็นภาษาที่เน้นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุอย่างแท้จริงเป็นภาษาแรกนอกจากนี้ภาษาซีก็ได้ถูกพัฒนาให้เป็นโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยเช่นกันโดยใช้ชื่อว่าภาษา C++ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Bjarne Stroutrup จากบริษัท AT&T นอกจากนี้ภาษา FORTRAN90, Ada95, Modula-3 และ Prolog II ก็ถูกพัฒนาให้สนับสนุนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยเช่นกันแต่ภาษา Eiffel และภาษา Smalltalk ก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ถูกออกแบบมาโดยเน้นการคิดแบบเชิงวัตถุเป็นหลักซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องคิดและเขียนโปรแกรมเป็นเชิงวัตถุทั้งหมดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Language) ข้อดีของภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ คือสามารถพัฒนาระบบงานขนาดใหญ่ที่มีลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบแบ่งเป็นส่วนย่อยหรือเรียกว่า“โมดูล”ภาษาในกลุ่มนี้มีการออกแบบคำสั่งงานในรูปแบบของเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่เรียกว่า“ทูล”เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถคลิกเมาส์เพื่อเลือกคำสั่งงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งทุกคำสั่งและมีคำสั่งงานที่เอื้อต่อการแสดงผลในลักษณะกราฟิกได้อย่างสวยงามและมีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดของภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ คือคำสั่งงานจะมีลักษณะเชิงกราฟิกส่งผลให้รูปแบบการเขียนคำสั่งมีข้อความการสั่งงานที่มีความยาวมากรายละเอียดรูปแบบการนำคำสั่งงานไปใช้งานมีมากและหลายลักษณะรวมทั้งการวิเคราะห์ระบบงานพัฒนาโปรแกรมเปลี่ยนไปเป็นการมองเชิงวัตถุดังนั้นการใช้งานโปรแกรมกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพผู้ใช้งานควรมีพื้นฐานความรู้ในทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงมาก่อน
Thank You ! www.themegallery.com
แบบฝึกหัด • 1. ให้นักศึกษานิยามความหมายของคำว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ตามความคิดของนักศึกษา • 2. การพิจารณาคัดเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาระบบงานนั้น ผู้ดำเนินการพัฒนาโปรแกรมต้องวิเคราะห์คัดเลือกโดยใช้องค์ประกอบใดบ้าง • 3. ในการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งานนั้น เห็นได้ว่ามีการพัฒนาตัวแปลภาษาขึ้นมาใช้งานด้วย ให้นักศึกษาอธิบายถึงความสำคัญของตัวแปลภาษาที่มีต่อภาษาคอมพิวเตอร์ • 4. อธิบายลักษณะการทำงานของตัวแปลภาษาประเภทคอมไพเลอร์ • 5. อธิบายลักษณะการทำงานของตัวแปลภาษาประเภทอินเตอร์พรีเทอร์