190 likes | 1.26k Views
ระบบข้à¸à¹€à¸ªà¸™à¸à¹à¸™à¸° ( Suggestion System : SS ). ระบบข้à¸à¹€à¸ªà¸™à¸à¹à¸™à¸° (Suggestion System : SS).
E N D
ระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion System : SS) มีการใช้ครั้งแรกในประเทศสก๊อตแลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1880 โดย บริษัท วิลเลียมเคนน์ จำกัด ต่อมาปี ค.ศ. 1894 บริษัทในประเทศสหรัฐฯ ได้นำไปใช้ ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นเริ่มนำระบบข้อเสนอแนะมาใช้ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีการใช้อย่างกว้างขวางในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทในเครือญี่ปุ่นในประเทศไทยได้นำระบบข้อเสนอแนะมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และต่อมามีการใช้อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐบาลและเอกชน สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ความหมายของระบบข้อเสนอแนะความหมายของระบบข้อเสนอแนะ
ความหมาย :ของระบบข้อเสนอแนะ ระบบข้อเสนอแนะเป็นระบบที่สนับสนุนและเปิดโอกาสให้บุคคลที่ปฏิบัติงานได้แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเน้นที่พนักงานในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเชื่อว่าผู้ที่ปฏิบัติงานย่อมรู้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าบุคคลนอกบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะวัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะวัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะ • เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องขอการทำงานและแสดงความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม • เพื่อก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยใช้พนักงานฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน • เพื่อยกระดับงานและวิธีการทำงานแบบใหม่ อันก่อให้เกิดคุณภาพในงาน • เพื่อเสริมสร้างให้บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่องและอย่างเป็นระบบ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะวัตถุประสงค์ที่สำคัญของระบบข้อเสนอแนะ ระบบข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา มักเป็นระบบที่สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างพนักงานด้วยกัน และจากบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์กันในระหว่างงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน ส่งผลให้ผลผลิตของบริษัทดีขึ้น และส่งผลให้เกิดกำไรระหว่างปีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ข้อเสนอแนะที่รับพิจารณาข้อเสนอแนะที่รับพิจารณา
ข้อเสนอแนะที่รับพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้ • ข้อเสนอแนะเพื่อลดเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน • ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของพนักงาน • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประหยัดกำลังคน วัสดุและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม • ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ และเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตสินค้าใหม่ ๆ ที่ทันสมัยตรงตามความ ต้องการของลูกค้า สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ข้อเสนอแนะที่รับพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้ • ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการดำเนินธุรกิจ • ข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการทำงานด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมและมลภาวะต่าง ๆ • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการต่างๆ • ข้อเสนอแนะในการลดขั้นตอนและกรรมวิธีในการผลิต • ข้อเสนอแนะใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ใน บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ข้อเสนอแนะที่ไม่รับพิจารณาข้อเสนอแนะที่ไม่รับพิจารณา
ข้อเสนอแนะที่ไม่รับพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้ • ข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับสิทธิในการจัดการ เช่น เรื่องเกี่ยวกับค่าจ้าง สวัสดิการ ฯลฯ • ข้อเสนอแนะให้สร้างต่อเติมอาคารใหม่ หรือซื้อเครื่องจักรใหม่ • ข้อเสนอแนะเรื่องเกี่ยวกับการละเลยหรือบกพร่องในหน้าที่ของผู้ที่เสนอเองหรือพนักงานอื่น ๆ • ข้อเสนอให้ซ่อมแซมอาคารหรือเครื่องจักร เว้นแต่ข้อเสนอให้ปรับปรุงวิธีการซ่อมแซม สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
การพิจารณาข้อเสนอ พิจารณาดังรายละเอียดต่อไปนี้ • มีความเป็นไปได้ขนาดไหน • มีผลต่อบริษัทระดับใด • ใช้ความพยายามมากน้อยเพียงใด • เป็นความคิดใหม่หรือไม่ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
ข้อเสนอแนะที่พนักงานได้เสนอเข้ามา จะผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ภายในบริษัทที่จัดตั้งขึ้น โดยผู้บริหารภายในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม หากคณะกรรมการพิจารณาตัดสินแล้ว ก็จะมีรางวัลมอบแก่ผู้เสนอแนะหลังจากนั้นทางบริษัทจะแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการต่อไป โดยมีพนักงานทุกฝ่ายเป็นกรรมการ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ม.6) วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่