1 / 22

ห้องปฏิบัติการบริการและวิจัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26-8-2553

การเก็บและนำส่งสิ่งส่งตรวจทางอณูชีวโมเลกุล ของเชื้อไวรัสและการส่งตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์. ห้องปฏิบัติการบริการและวิจัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26-8-2553.

aure
Download Presentation

ห้องปฏิบัติการบริการและวิจัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26-8-2553

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเก็บและนำส่งสิ่งส่งตรวจทางอณูชีวโมเลกุลของเชื้อไวรัสและการส่งตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์การเก็บและนำส่งสิ่งส่งตรวจทางอณูชีวโมเลกุลของเชื้อไวรัสและการส่งตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ห้องปฏิบัติการบริการและวิจัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26-8-2553

  2. ขอบเขตการทดสอบที่เปิดให้บริการ1. การตรวจหาภาวะการมีหรือไม่มีเชื้อไวรัสตรวจหาสารพันธุกรรม (RNA/DNA) ของเชื้อไวรัส โดยวิธี PCR (qualitative – เชิงคุณภาพ)วินิจฉัยภาวะการติดเชื้อ 2. การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส (viral load) ตรวจหาปริมาณสารพันธุกรรมโดยวิธี PCR (quantitative – เชิงปริมาณ) ตรวจเพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ตรวจเพื่อติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสไปแล้ว หรือเพื่อ ประกอบการตัดสินใจเปลี่ยนสูตรยาต้านไวรัสกรณีที่มีการดื้อยาเกิดขึ้น

  3. 3. ตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส(Genotype) โดยวิธี Line probe assay(HBV, HCV) ประกอบการพิจารณาในการให้ยาต้านไวรัส4. ตรวจหาการดื้อต่อยาต้านไวรัส (Drug resistantgenotyping)การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสในสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโดยวิธี DNA sequencing (HIV-1) โดยวิธี Line probe assay (HBV)ประกอบการพิจารณาเปลี่ยนสูตรยาต้านไวรัส

  4. 5. การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ตรวจหาระดับ CD4 /CD8 T cell โดยวิธีFlow cytometryพยากรณ์ระยะโรคและการดำเนินโรคของผู้ติดเชื้อประกอบการตัดสินใจในการเริ่มให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสประกอบการพิจารณาในการให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ

  5. รายการทดสอบที่ให้บริการรายการทดสอบที่ให้บริการ • CD4+ / CD8+ T cell • HIV-1 viral load (HIV-1VL) • HIV-1 Drug resistant genotyping (HIV-1 DR) • HIV-1 PCR (ส่งต่อ) • Anti HIV-1 โดยวิธี Western blot • HBV viral load (HBV VL) • HBV genotyping (HBV GT) • HBV drug resistant genotyping (HBV DR) • HBV PCR (ส่งต่อ) • HCV viral load (HCV VL) • HCV genotyping (HCV GT) • HCV PCR (ส่งต่อ)

  6. รายการทดสอบที่ให้บริการรายการทดสอบที่ให้บริการ 13. CMV viral load (CMV VL) 14. EBV viral load (EBV VL) 15. Herpes multiplex PCR 15.1 CMV PCR 15.2 EBV PCR 15.3 HSV PCR 15.4 VZV PCR 16. Parvovirus B19 PCR (ส่งต่อ) 17. JC virus PCR (ส่งต่อ)

  7. สถานที่ตั้งห้องปฏิบัติการอาคารวิทยาศาสตร์คลินิก 1 ชั้น 4 (อาคารเดียวกับโรงอาหารคณะแพทย์)

  8. วัน-เวลา ที่เปิดให้บริการ 1. วันและเวลาราชการเปิดรับสิ่งส่งตรวจ 8.30 – 16.00 น. 2. คลินิกบูรณาการนอกเวลา รับเฉพาะการส่งตรวจ PCR, VL, GT, DR สำหรับเชื้อHBVและ HCV วันจันทร์-ศุกร์ ส่งเลือดเองที่หน่วยทะเบียนกลางวันเสาร์ เจาะเลือดที่ห้องเจาะเลือด

  9. ใบสั่งตรวจแบบฟอร์ม พ.148

  10. ประเภทของสิ่งส่งตรวจและการนำส่งประเภทของสิ่งส่งตรวจและการนำส่ง 1. EDTA Blood (ฝาสีม่วง) 1.1 ปริมาตร 3 mL สำหรับส่งตรวจ CD4+ และ CD8+ T-cell เจาะเลือด 3 mL จำนวน 1 หลอด / 1-2 การทดสอบ  คว่ำ-หงายหลอด 10 ครั้งเพื่อให้เลือดผสมกับสารกันเลือดแข็งระบุเวลาที่เจาะเลือด นำส่งที่อุณหภูมิห้อง(ห้ามแช่เย็น)ส่งให้ถึงห้อง lab ภายใน 5 ชั่วโมง หลังเจาะเลือด 1.2 ปริมาตร 6 mL สำหรับส่งตรวจ viral load, viral genotyping, drug resistant genotyping และ PCR เจาะเลือด 6 mL จำนวน 1 หลอด / 1 การทดสอบเจาะเลือด 6 mL จำนวน 2 หลอด / 2-3การทดสอบ คว่ำ-หงายหลอด 10 ครั้งเพื่อให้เลือดผสมกับสารกันเลือดแข็งระบุเวลาที่เจาะเลือด นำส่งที่อุณหภูมิ 2-25 องศาเซลเซียส โดยต้องส่งให้ถึงห้อง lab ภายใน 5 ชั่วโมง หลังเจาะเลือด

  11. 2. Plasma จาก EDTA Bloodแยก plasmaโดยการปั่น EDTA bloodในเครื่องปั่นเหวี่ยง (centrifuge) โดยใช้แรง 800-1600xgนาน 20 นาที ดูดส่วน plasmaบรรจุในหลอดพลาสติกฝาเกลียวทนความเย็นจัด (cryogenic tube) ที่ปราศจากเชื้อ ต้องการปริมาตร plasma หลอดละ 1.5 mL จำนวน 2 หลอด / 1 การทดสอบ เก็บรักษา plasmaได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และต้องส่งให้ถึงห้อง labภายใน 5 วัน (ถ้าเป็นไปได้ภายใน 2 วัน) โดยระหว่างนำส่งต้องแช่เย็นในน้ำแข็งตลอดเวลา เก็บรักษา plasmaโดยการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 1 เดือน(ห้ามแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นระบบ no-frost)นำส่งห้องlabโดยบรรจุใน containerที่มีนำแข็งแห้งเพื่อป้องกันไม่ให้ plasma ละลาย หากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง (hemolysis)ห้ามส่งตรวจ เพราะจะมีสารยับยั้งปฏิกิริยาการตรวจวิเคราะห์ (PCR inhibitor) (1) (2) (3) (4) (5) (6)

  12. 3. Clotted blood/Serum โดยใช้ Gel tube/plain tube  สำหรับส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อเอชไอวี (anti-HIV-1) โดยวิธี Western blot เจาะเลือด 3 mL จำนวน 1 หลอดโดยใช้ gel tube/plain tube  นำส่งห้อง lab ที่อุณหภูมิ 2-25 องศาเซลเซียส ภายใน 5 ชั่วโมง หลังเจาะเลือด  หากไม่ส่งทันที ให้ปั่นแยก serumที่ 800-1600xg นาน 20 นาที ดูดส่วน serum ใส่หลอดพลาสติกฝาเกลียวที่ทนความเย็น จัด (cryogenic tube) ที่ปราศจากเชื้อ ปริมาตร 0.5-1 mL จำนวน 2 หลอด เก็บรักษาที่ -20 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 1 เดือน และนำส่งห้อง lab โดยการบรรจุใน container ที่มีน้ำแข็งแห้ง

  13. 4. CSF, Body fluid สำหรับส่งตรวจ viral PCR (Herpes multiplex PCR) ปริมาตรอย่างน้อย 1 mL เก็บในขวดแก้วปราศจากเชื้อ เก็บรักษาโดยการแช่เย็นที่ 2-8 องศาเซลเซียส นำส่งห้อง labภายใน 24 ชั่วโมง โดยแช่ในน้ำแข็งระหว่างการนำส่ง

  14. ข้อควรระมัดระวังในการเก็บสิ่งส่งตรวจข้อควรระมัดระวังในการเก็บสิ่งส่งตรวจ ต้องผสมเลือดให้เข้ากันอย่างดีกับสารกันเลือดแข็ง โดยการคว่ำ – หงายหลอด 10 ครั้ง ห้ามเขย่าให้ผสมกันเพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ใช้สารกันเลือดแข็งชนิด EDTAเท่านั้น สารกันเลือดแข็งอื่น เช่น heparinจะยับยั้งปฏิกิริยาการตรวจวิเคราะห์  ห้ามส่ง plasmaที่มี hemolysisเพราะ heme จะยับยั้งปฏิกิริยาการตรวจวิเคราะห์ ห้ามส่ง clotted bloodหรือ serumเพื่อตรวจ CD4/CD8, VL, PCR, GT, DR ไม่ควรเจาะเลือดส่งตรวจ viral load หากผู้ป่วยมีอาการไข้ มีการติดเชื้อต่างๆ หรือได้รับวัคซีน เพราะระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นมีผลทำให้มีการเพิ่มปริมาณไวรัสได้มากกว่า 10 เท่า  การส่งตรวจหาการดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ หรือส่งตรวจทันทีหลังผู้ติดเชื้อเอชไอวีหยุดยาสูตรนั้น หรือไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์

  15. ข้อควรระมัดระวังในการเก็บสิ่งส่งตรวจข้อควรระมัดระวังในการเก็บสิ่งส่งตรวจ การเจาะเลือดส่งตรวจ CD4ของผู้ป่วยแต่ละรายในแต่ละครั้งหากเป็นไปได้ควรเจาะเลือดในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากค่า CD4จะเปลี่ยนแปลงตามเวลาในระหว่างวัน (ต่ำสุด 8.30 น. สูงสุด 22.00 น.) ภาวะที่มีการติดเชื้อ ความเครียด ซึ่งทำให้เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ จะทำให้ค่า absolute CD4ที่วิเคราะห์ได้สูงกว่าปกติเนื่องจากเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณ(WBC count, %Lymphocyte, %CD4) การได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ หรือ corticosteroidsอาจจะทำให้ค่า absolute CD4ที่วิเคราะห์ได้ต่ำกว่าปกติ ให้ระบุเวลาที่เจาะเลือดด้วยทุกครั้งเนื่องจากมีความสำคัญมาก หากเวลาเกินกว่ามาตรฐานของวิธีการทดสอบจะทำให้ผลการตรวจที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

  16. เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ 1. ไม่มีการให้บริการ test ที่สั่งตรวจ 2. เก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกประเภท 3. การนำส่งสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง 4. ไม่มีสิ่งส่งตรวจ 5. รายละเอียดในใบสั่งตรวจไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน เช่น ไม่มีชื่อแพทย์ ไม่ระบุเวลาเจาะเลือด 6. เลือด clot 7. สิ่งส่งตรวจปริมาณไม่เพียงพอ 8. สิ่งส่งตรวจเสียหายระหว่างการนำส่ง เช่น เลือดรั่วหก 9. ไม่มีใบสั่งตรวจ 10.ข้อมูลในใบสั่งตรวจ ไม่สอดคล้องกับข้อมูลบนหลอดเลือด / ภาชนะบรรจุ

  17. ใบแจ้งขอสิ่งส่งตรวจใหม่ใบแจ้งขอสิ่งส่งตรวจใหม่ ใบปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ

  18. การรายงานผล ใบรายงานผล  ระบบโรงพยาบาล (HIS) ไม่ออนไลน์ Lab HIV  โปรแกรม OMEGA (LIS) ตั้งแต่ กรกฎาคม 2553 - Lab HIV เฉพาะอาจารย์แพทย์เจ้าของไข้ ดูผลออนไลน์ได้ - Lab อื่น ๆ ดูผลออนไลน์ได้  ทางโทรศัพท์

  19. ติดต่อสอบถามหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ติดต่อสอบถามหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 63190, 63515 www.micromedkku.org www.micromedkku.org

  20. T H A N K Y O U

  21. การปฏิบัติงานต้องทำในตู้ชีวนิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายและป้องกันการปนเปื้อนการปฏิบัติงานต้องทำในตู้ชีวนิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายและป้องกันการปนเปื้อน

More Related