1 / 36

การประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคล ของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

การประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคล ของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552. วัตถุประสงค์.

august
Download Presentation

การประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคล ของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคล และสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญได้อย่างถูกต้องต่อไป

  3. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ - การรับเงินรางวัลประจำปี - การพัฒนาบุคลากร

  4. หลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ หลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ มีประเด็นในการประเมินดังนี้ • การประเมินตามตัวชี้วัดผลงาน (100 คะแนน) นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับ การให้เงินรางวัลประจำปี ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ • ผลการประเมินตามผลสำเร็จของหน่วยงาน/ส่วนราชการ ที่บุคคลนั้นสังกัด (20 คะแนน) • ผลการประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมายรายบุคคล (80 คะแนน) 2. การประเมินสมรรถนะหลักของข้าราชการ (100 คะแนน) นำผลการประเมินไปพิจารณาเพื่อ การจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการ (Individual Development Plan) เท่านั้น

  5. กระบวนการในการประเมินในปี 2552 จะเน้นที่ผลการปฏิบัติราชการ ทั้งผลงานของทีมและของบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคล (100 คะแนน) จะประกอบด้วยผลการประเมิน 2 ส่วนคือ • ผลการประเมินตามผลสำเร็จของหน่วยงาน/ส่วนราชการที่บุคคลนั้นสังกัด (20 คะแนน) เพื่อให้มั่นใจว่าข้าราชการทุกคนมีส่วนร่วมกับความสำเร็จขององค์กร และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา “การยึดเฉพาะงานของตนเท่านั้น” ซึ่งจะช่วยให้ข้าราชการมุ่งความสำเร็จตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานเป็นสำคัญ • ผลการประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมายรายบุคคล (80 คะแนน)โดยจะเป็นการประเมินผลงานระดับบุคคลตามตัวชี้วัดของงานที่ได้รับมอบหมาย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551ซึ่งเป็นได้ทั้ง 3 ประเภท* • ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี • ตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และ • ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ ซึ่งในการให้น้ำหนักของคะแนนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ความยากและซับซ้อนของงานของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ให้มีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาผู้รับการประเมินตั้งแต่ตอนต้นปี * หมายเหตุ: การกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละบุคคลไม่จำเป็นต้องครบทุกประเภท

  6. ตัวชี้วัดระดับบุคคลจะประกอบด้วย 3 ประเภท ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี คือ ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ที่บุคคลนั้นๆ รับผิดชอบ ตัวชี้วัดตาม แผนปฏิบัติ ราชการประจำปี ตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าหมายรายบุคคล ตัวชี้วัดตาม หน้าที่ความรับ ผิดชอบหลัก ตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักคือ ตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และเป็นผลรวมของวัตถุประสงค์ทั้งหมดตำแหน่งงาน ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับ มอบหมาย เป็นพิเศษ ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษคือ งานที่บุคคลได้รับมอบหมายพิเศษ ซึ่งมีเฉพาะบุคคลเท่านั้นไม่ได้มีทุกคน

  7. จำนวนตัวชี้วัดระดับบุคคลที่เหมาะสมจำนวนตัวชี้วัดระดับบุคคลที่เหมาะสม ตัวชี้วัดตาม แผนปฏิบัติ ราชการประจำปี การกำหนดตัวชี้วัดที่มากเกินไปจะทำให้ผู้ถูกวัดผลงานไม่สามารถบริหารจัดการผลงานของตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีแรกของการใช้ตัวชี้วัดระดับบุคคล ดังนั้น ควรกำหนดตัวชี้วัดที่รับผิดชอบไม่เกิน 10 ตัว อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดส่วนบุคคลสามารถมีจำนวนน้อยกว่า 5 ตัวแต่ไม่ต่ำกว่า 2 ตัวได้ในกรณีที่งานในความรับผิดชอบ • เป็นงานด้านวิเคราะห์วิจัยและสังเคราะห์องค์ความรู้ซึ่งอาศัยความเชี่ยวชาญชำนาญการสูงมาก • เป็นงานหน้าเดียวทำซ้ำไปซ้ำมาตลอดทั้งปีเช่น งานธุรการ งานบันทึกข้อมูล ตัวชี้วัดตาม หน้าที่ความรับ ผิดชอบหลัก ควรมี 5-6 ตัวชี้วัด และไม่เกิน 10 ตัว ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับ มอบหมาย เป็นพิเศษ

  8. กระบวนการจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลที่ดีจะประกอบด้วย 5 ขั้นตอน • กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงานลงสู่ระดับส่วนราชการ • ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับส่วนราชการลงสู่ระดับฝ่าย/กลุ่มงาน • กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับบุคคล • กำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักระดับบุคคล และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ • สรุปรวมตัวชี้วัดทั้งหมด ตัวชี้วัดระดับสำนัก ตัวชี้วัดระดับเขต/ส่วนราชการในสนป. ตัวชี้วัดระดับกอง ตัวชี้วัดระดับฝ่าย/กลุ่มงาน ตัวชี้วัดระดับฝ่าย/กลุ่มงาน

  9. ขั้นตอนที่ 1 กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงานลงสู่ระดับส่วนราชการ ประเภทลักษณะความรับผิดชอบของงานตามแผนปฏิบัติราชการ ให้กระจายตัวชี้วัดระดับหน่วยงานสู่ระดับส่วนราชการด้วยการใช้สัญลักษณ์ของการกระจายงานดังนี้* • ความรับผิดชอบหลัก (Responsibility (R)): ส่วนราชการลงมือปฏิบัติและรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ • ความรับผิดชอบหลักย่อย (Sub Responsibility (SR)): ส่วนราชการลงมือปฏิบัติและรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดหน่วยงาน (เฉพาะสัญลักษณ์นี้ต้องระบุขอบเขตของตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่วางไว้) • ความรับผิดชอบร่วม (Joint Responsibility (JR)): ส่วนราชการมากกว่าหนี่งส่วนราชการร่วมกันรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ * ความรับผิดชอบหลัก (R) จะอยู่ร่วมกับความรับผิดชอบร่วม (JR) ไม่ได้

  10. ขั้นตอนที่ 2 กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับส่วนราชการลงสู่ระดับฝ่าย/กลุ่มงาน ประเภทลักษณะความรับผิดชอบของงานตามแผนปฏิบัติราชการ เมื่อส่วนราชการมีตัวชี้วัดที่กระจายมาเรียบร้อยแล้วให้ใช้วิธีการกระจายดังกล่าวกับกลุ่มงานดังนี้* • ความรับผิดชอบหลัก (Responsibility (R)): ฝ่าย/กลุ่มงานลงมือปฏิบัติและรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ • ความรับผิดชอบหลักย่อย (Sub Responsibility (SR)): ฝ่าย/กลุ่มงานลงมือปฏิบัติและรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดส่วนราชการ (เฉพาะสัญลักษณ์นี้ต้องระบุขอบเขตของตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่วางไว้) • ความรับผิดชอบร่วม (Joint Responsibility (JR)): ฝ่าย/กลุ่มงานมากกว่าหนี่งฝ่าย/กลุ่มงานร่วมกันรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ * ความรับผิดชอบหลัก (R) จะอยู่ร่วมกับความรับผิดชอบร่วม (JR) ไม่ได้

  11. ขั้นตอนที่ 3 กำหนดตัวชี้วัดฝ่าย/กลุ่มงานลงสู่ระดับบุคคล ประเภทลักษณะความรับผิดชอบของงานตามแผนปฏิบัติราชการ เมื่อกลุ่มงานมีตัวชี้วัดที่กระจายมาเรียบร้อยแล้วให้ใช้วิธีการกระจายดังกล่าวกับบุคคลดังนี้* • ความรับผิดชอบหลัก (Responsibility (R)): บุคคลรับผิดชอบผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดนั้นๆ • ความรับผิดชอบหลักย่อย (Sub Responsibility (SR)): บุคคลรับผิดชอบหลักให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดกลุ่มงาน (เฉพาะสัญลักษณ์นี้ต้องระบุขอบเขตของตัวชี้วัดย่อยตามเป้าหมายที่วางไว้) • ความรับผิดชอบร่วม (Joint Responsibility (JR)): บุคคลหลายคนใต้กลุ่มงานมีร่วมกันรับผิดชอบให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดของกลุ่มงาน • สนับสนุน (Support (S)): บุคคลรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ และการบริการการสนับสนุนต่างๆ ทั้งด้านทรัพยากร ด้านระบบและข้อมูลเพื่อให้ส่วนราชการหรืองานอื่นนำไปใช้เพื่อทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายที่วางไว้ * ความรับผิดชอบหลัก (R) จะอยู่ร่วมกับความรับผิดชอบร่วม (JR) ไม่ได้

  12. ตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการระดับบุคคล (ต่อ) กรณีที่บุคคลรับผิดชอบตัวชี้วัดเยอะมากให้เลือกตัวชี้วัดที่ตนเองเป็น R หรือ SR ขึ้นมาก่อนแล้วจึงเลือก JR แล้วจึงเลือก S เป็นอันดับท้ายสุดมาเขียนเป็นตัวชี้วัดระดับบุคคลของตน

  13. ตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดฝ่าย/กลุ่มงานลงสู่ระดับบุคคลตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดฝ่าย/กลุ่มงานลงสู่ระดับบุคคล

  14. ขั้นตอนที่ 4 กำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักระดับบุคคล โดยนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งมาพิจารณา หากตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปียังไม่ครอบคลุมงานจริงที่บุคคลนั้นปฏิบัติ หรือบุคคลนั้นไม่ได้รับผิดชอบตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้บุคคลกำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักโดยพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบรายตำแหน่งหรือใบมอบหมายงาน ให้ข้าราชการแต่ละรายเลือกหน้าที่รับผิดชอบหลักที่ท่านเห็นว่าส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน/องค์กร หรือเป็นงานที่เป็นภารกิจหลักของท่านในปีนี้แล้วกำหนดตัวชี้วัด

  15. ตัวอย่าง ตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่รับผิดชอบหลัก • ชื่อนางดีใจ ไชโย • ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 5

  16. ตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ชื่อ _________________________ ตำแหน่ง ________________________ ระดับ _________________________

  17. ขั้นตอนที่ 4 กำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักระดับบุคคล และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ หมายถึง นโยบายหรืองานที่นอกเหนือจากงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก โดยได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้อำนวยการเกองขึ้นไป เช่น คำสั่งแต่งตั้ง การมอบหมายงาน และเป็นงานที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของหน่วยงานหรือมีความสำคัญต่อหน่วยงานหรือกรุงเทพมหานครโดยรวม หมายเหตุ ควรเลือกงานพิเศษที่บุคคลมีส่วนร่วมหลักและสามารถควบคุมผลสัมฤทธิ์ของงาน/โครงการได้มากำหนดเป็นตัวชี้วัด

  18. ตัวอย่าง ตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ชื่อ นาง ก. ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 5 หมายเหตุ ควรเลือกงานพิเศษที่บุคคลมีส่วนร่วมหลักและสามารถควบคุมผลสัมฤทธิ์ของงาน/โครงการได้

  19. ตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษตารางแสดงการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ชื่อ _________________________ ตำแหน่ง ________________________ ระดับ _________________________ หมายเหตุ ควรเลือกงานพิเศษที่บุคคลมีส่วนร่วมหลักและสามารถควบคุมผลสัมฤทธิ์ของงาน/โครงการได้

  20. ขั้นตอนที่ 5: การรวบรวมตัวชี้วัดผลงานลงแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ • เพื่อให้การกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคลมีหลักฐานที่ชัดเจน ที่ปรึกษาเสนอให้รวบรวมผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 1-4 มาสรุปรวมกันในฟอร์มมาตรฐานดังนี้ ประวัติส่วนตัว • ผลงาน โดยแบ่งเป็น • ผลสำเร็จของหน่วยงาน/ส่วนราชการ • ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี • ตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก • ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

  21. ขั้นตอนที่ 5: การรวบรวมตัวชี้วัดผลงานลงแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สมรรถนะหลัก การวางแผนพัฒนาสมรรถนะหลักในปีถัดไป สรุปผลการประเมิน การลงนามร่วมกัน

  22. การกำหนดน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัดการกำหนดน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัด • ตัวชี้วัดทั้ง 3 ประเภท (ไม่จำเป็นต้องครบทุกประเภท) ต้องรวมคะแนนได้เท่ากับ 80 คะแนน • ในกรณีที่ตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการเป็น S ให้กำหนดน้ำหนักต่อหนึ่งตัวชี้วัดไม่เกิน 5 คะแนน • น้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัดจะพิจารณาจากปัจจัย • เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดดังกล่าว โดยหากใช้เวลากับผลงานตัวชี้วัดตัวใดมากก็ควรให้น้ำหนักต้วชี้วัดตัวนั้นมากด้วย • ความสำคัญและความยากของงาน โดยหากผลงานตัวชี้วัดตัวใดมีความสำคัญและมีความยากในการบรรลุผลสำเร็จมากก็ควรให้น้ำหนักต้วชี้วัดตัวนั้นมากด้วย • ผลกระทบของความสำเร็จของตัวชี้วัดต่อกลุ่มงาน/ส่วนราชการ โดยหากผลงานตัวชี้วัดตัวใดมีผลกระทบต่อความสำเร็จของกลุ่มงาน/ส่วนราชการมากก็ควรให้น้ำหนักต้วชี้วัดตัวนั้นมากด้วย

  23. กระบวนการในการตั้งเป้าหมาย จะมีผลการประเมินเป็น 5 ระดับเป้าหมาย • ในการประเมินผลจะมีการกำหนดเป้าหมาย (target) ไว้ 5 ระดับแสดงความสำเร็จของงานที่คาดหวังโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังต่อไปนี้ 1. กรณีเป้าหมายเป็นสัดส่วน ร้อยละ อัตรา หรือปริมาณที่วัดผลเป็นจำนวนที่ยิ่งปริมาณมากยิ่งเกิดประโยชน์ (เช่น ร้อยละความพึงพอใจ รายได้ภาษีที่เก็บเพิ่มขึ้น หรือร้อยละของพื้นที่ชุมชนแออัดที่น้อยลงยิ่งมากยิ่งดี เป็นต้น) ให้มีการกำหนดระดับ 5 ระดับดังนี้ 1.1 กรณีที่เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจำนวน ร้อยละหรืออัตราส่วนที่สามารถเกินเป้าหมายได้ 1.2 กรณีที่เป้าหมายได้ตั้งไว้ที่จำนวน ร้อยละหรืออัตราส่วนที่สูงที่สุดที่ไม่สามารถเกินเป้าหมายไปได้ * ควรให้ 0 หากไม่มีผลงานเลย * ควรให้ 0 หากไม่มีผลงานเลย

  24. กระบวนการในการตั้งเป้าหมาย จะมีผลการประเมินเป็น 5 ระดับเป้าหมาย 2. กรณีเป้าหมายเป็นผลผลิต/ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นจำนวนแน่นอน (เช่น จัดทำนโยบาย ก ในไตรมาสแรกของปี หรือสร้างกลไกในการประเมินผลงานใหม่ของ กทม. เป็นต้น) ให้มีการกำหนดระดับ 5 ระดับดังนี้* 2.1 กรณีที่ผลผลิตหรือผลสัมฤทธิ์เป็นงานระยะสั้นสามารถนำผลงานไปใช้ได้ในรอบปีการประเมิน 2.2 กรณีที่ผลผลิตหรือผลสัมฤทธิ์เป็นงานระยะยาวไม่เห็นผลในรอบปีการประเมิน * ควรให้ 0 หากไม่มีผลงานเลย ** เช่นถูกต้องตามหลักวิชาการ สมบูรณ์ ปราณีต เกิดความประหยัดและคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ได้รับความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้อง หรือได้รับคำชมเชยจากผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่น โดยต้องมีหลักฐานเป็นที่ปรากฎ * ควรให้ 0 หากไม่มีผลงานเลย ** เช่นถูกต้องตามหลักวิชาการ สมบูรณ์ ปราณีต เกิดความประหยัดและคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ได้รับความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้อง หรือได้รับคำชมเชยจากผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่น โดยต้องมีหลักฐานเป็นที่ปรากฎ

  25. กรอบแนวคิดเรื่อง Competencies คำจำกัดความของ Competency คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรบางกลุ่ม/บางคนในองค์กรปฏิบัติงานได้ผลงานโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ โดยบุคลากรเหล่านี้แสดงคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมดังกล่าว • มากกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ • ในสถานการณ์หลากหลายกว่า และ • ได้ผลงานดีกว่าผู้อื่น เป็นคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติงานได้อย่างโดดเด่นในงานหนึ่งๆ

  26. สมรรถนะหลักข้าราชการกรุงเทพมหานครได้รับความเห็นได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อธันวาคม 2549 สมรรถนะหลักข้าราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดทำสมรรถนะหลักของข้าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสังเคราะห์จากนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปของ กทม รวมถึงจากการสำรวจความคิดเห็นข้าราชการระดับผู้บริหาร ความคิดเห็นข้าราชการทั่วไป และความคิดเห็นจากประชาชน โดยมีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ 1. คุณธรรมและจริยธรรม หมายถึงการครองตนและการประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึก และรับผิดชอบต่อตนเอง ตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนวิชาชีพของตน เพื่อธำรงรักษาศักดิ์ศรีแห่งอาชีพข้าราชการ 2. การบริการที่ดี หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจ ความพยายาม ความพร้อมในการให้บริการประชาชน และอุทิศเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานและคุณภาพงานที่กำหนด และ/หรือให้เกินจากมาตรฐานที่กำหนด 4. ทำงานเป็นทีม หมายถึง การทำงานโดยมีพฤติกรรมที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในทีม เต็มใจเรียนรู้จากผู้อื่น และมีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม 5. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ หมายถึง ความขวนขวาย สนใจใฝ่รู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของตนในการปฏิบัติงานราชการ ด้วยการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังรู้จักพัฒนา ปรับปรุงประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์

  27. เมื่อกำหนดตัวชี้วัดเรียบร้อยแล้วให้กำหนดเป้าหมายในส่วนของสมรรถนะหลักโดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดเป้าหมายดังนี้ • โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินจะต้องกรอกน้ำหนักและระดับที่ต้องการ (เป้าหมาย) และผู้ประเมินจะต้องให้ระดับผลการประเมินในช่องผลการประเมิน จากนั้นจึงให้คะแนนผลการประเมินซึ่งจะมีเกณฑ์ ดังนี้ • C1-5 ตั้งเป้าหมายที่ระดับ 1 ของทุกสมรรถนะหลักที่เลือก • จากผลการประเมิน • ทำได้ระดับที่ 1 : ได้ 4 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 2 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 3 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 4 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 5 : ได้ 5 คะแนน • C6-7 ตั้งเป้าหมายที่ระดับ 2 ของทุกสมรรถนะหลักที่เลือก • จากผลการประเมิน • ทำได้ระดับที่ 1 : ได้ 3 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 2 : ได้ 4 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 3 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 4 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 5 : ได้ 5 คะแนน • C8 ตั้งเป้าหมายที่ระดับ 3 ของทุกสมรรถนะหลักที่เลือก • จากผลการประเมิน • ทำได้ระดับที่ 1 : ได้ 2 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 2 : ได้ 3 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 3 : ได้ 4 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 4 : ได้ 5 คะแนน • ทำได้ระดับที่ 5 : ได้ 5 คะแนน

  28. ตัวอย่างกรอกข้อมูลลงในแบบประเมินผล ฯ ระดับเป้าหมายที่กำหนดไว้ เหตุผลของคะแนนการประเมิน ผลคะแนนที่ได้จากการประเมิน %น้ำหนัก ผลคะแนนที่ได้คูณกับน้ำหนัก ผลงานที่ทำได้

  29. ตัวอย่างกรอกข้อมูลลงในแบบประเมินผล ฯ (ต่อ) เหตุผลของคะแนนการประเมิน ผลคะแนนที่ได้คูณกับน้ำหนัก (ผ่านคือ 4 คะแนน) น้ำหนักที่กำหนดไว้ ระดับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผลการประเมิน คะแนนทีได้ ตรงตามเป้าหมาย ได้ 4 คะแนน สูงกว่าเป้าหมายได้ 5 คะแนน ต่ำกว่าเป้าหมายแต่ละระดับจะลดไป 1 คะแนน

  30. หน้าที่ของผู้ประเมินและผู้รับการประเมินหน้าที่ของผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน

  31. หน้าที่ของผู้ประเมิน การประเมินผลงาน 1. ทำข้อตกลงร่วมกับผู้รับการประเมินเพื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 2. ร่วมกับผู้รับการประเมินในการกำหนดน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากลักษณะงาน ความยากและความซับซ้อนของงานของแต่ละบุคคล ซึ่งตัวชี้วัดทั้งหมดของแต่ละบุคคลต้องมีน้ำหนักรวมกันได้เท่ากับ 80 คะแนน 3. ร่วมกับผู้รับการประเมินในการกำหนดเป้าหมายของแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและความสำคัญและความยากของงาน 4. ติดตามความก้าวหน้าของงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือผู้รับการประเมินอย่างสม่ำเสมอหรือปรับเปลี่ยนเป้าหมายให้เหมาะสมหากมีเหตุไม่คาดฝัน

  32. หน้าที่ของผู้ประเมิน การประเมินผลงาน 5. เมื่อสิ้นรอบการประเมิน(กันยายน พ.ศ. 2551) ผู้ประเมินต้องให้คะแนนตัวชี้วัดตามผลงานที่ทำได้โดยพิจารณาจากเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง 6. ภายหลังการประเมินต้องชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการประเมินต่อผู้รับการประเมิน เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาในปีต่อไป

  33. หน้าที่ของผู้ประเมิน การประเมินสมรรถนะ 1. ร่วมกับผู้รับการประเมินในการกำหนดน้ำหนักของสมรรถนะหลักทั้ง 5 ตัว โดยพิจารณาจากลักษณะงานที่ปฏิบัติของแต่ละบุคคล ซึ่งน้ำหนักของสมรรถนะหลักทั้ง 5 ตัวรวมกันแล้วต้องได้ 100 คะแนน 2. บันทึกพฤติกรรม/เหตุการณ์ที่ผู้รับการประเมินแสดงออกในระหว่างรอบการประเมิน เพื่อเป็นหลักฐานไว้ใช้ในการประเมินเมื่อสิ้นรอบการประเมิน 3. เมื่อสิ้นรอบการประเมิน(กันยายน พ.ศ. 2551) ผู้ประเมินต้องให้คะแนนสมรรถนะหลักและกรอกข้อมูลลงในแบบประเมินผลฯและวางแผนร่วมกับผู้รับการประเมินเพื่อกำหนดกิจกรรมหลักในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้รับการประเมินในปีถัดไป

  34. หน้าที่ของผู้รับการประเมินหน้าที่ของผู้รับการประเมิน การประเมินผลงาน 1. ทำข้อตกลงร่วมกับผู้ประเมินเพื่อกำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ตนเองรับผิดชอบตั้งแต่ตอนต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 2. กำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักและตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ หากตัวชี้วัดตามแผนฯยังไม่ครอบคลุมงานทั้งหมดที่รับผิดชอบ หรือตนเองไม่ได้รับผิดชอบตัวชี้วัดตามแผนฯ จะต้องกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มใหม่โดยพิจารณาจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง คำสั่งมอบหมายงาน หรืองานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย 3. นำตัวชี้วัดทั้งหมดที่ตนเองรับผิดชอบมากรอกข้อมูลลงในแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ซึ่งแต่ละคนควรมีตัวชี้วัด 5- 6 ตัวแต่ไม่เกิน 10 ตัว ยกเว้นเป็นตัวชี้วัดที่มีความยุ่งยากต่อการปฏิบัติงาน หรือเป็นงานหน้าเดียวที่ทำซ้ำไปซ้ำมาตลอดทั้งปี อาจกำหนดได้น้อยกว่า 5-6 ตัวแต่ต้องไม่น้อยกว่า 2 ตัว

  35. หน้าที่ของผู้รับการประเมินหน้าที่ของผู้รับการประเมิน การประเมินผลงาน 4. ร่วมกับผู้ประเมินในการกำหนดน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากลักษณะงาน ความยากและความซับซ้อนของงาน ซึ่งตัวชี้วัดทั้งหมดของแต่ละบุคคลต้องมีน้ำหนักรวมกันได้เท่ากับ 80 คะแนน 5. ร่วมกับผู้ประเมินในการกำหนดเป้าหมายของแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและความสำคัญและความยากของงาน 6. ดำเนินงานตามเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งต่อตนเองและหน่วยงาน เก็บรวบรวมหลักฐาน/เอกสารทุกชิ้นที่แสดงถึงความก้าวหน้า/ผลสำเร็จของทุกตัวชี้วัด 7. หมั่นทบทวนผลการปฏิบัติงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และขอคำปรึกษาจากผู้ประเมินเมื่อพบปัญหาอุปสรรค 8. เมื่อสิ้นรอบการประเมิน(กันยายน พ.ศ. 2551) ผู้รับการประเมินต้องแสดงหลักฐาน/เอกสาร ทุกชิ้นเพื่อยืนยันผลสำเร็จของทุกตัวชี้วัดแก่ผู้ประเมิน

  36. หน้าที่ของผู้รับการประเมินหน้าที่ของผู้รับการประเมิน การประเมินสมรรถนะ 1. ร่วมกับผู้ประเมินในการกำหนดน้ำหนักของสมรรถนะหลักทั้ง 5 ตัว โดยพิจารณาจากลักษณะงานที่ปฏิบัติของแต่ละบุคคล ซึ่งน้ำหนักของสมรรถนะหลักทั้ง 5 ตัวรวมกันแล้วต้องได้ 100 คะแนน 2. ศึกษาและทำความเข้าใจกับระดับของสมรรถนะหลักที่ตนเองจะต้องถูกประเมิน 3. เมื่อสิ้นรอบการประเมิน(กันยายน พ.ศ. 2551) ผู้รับการประเมินต้องวางแผนร่วมกับผู้ประเมินเพื่อกำหนดกิจกรรมหลักในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้รับการประเมินในปีถัดไป

More Related