1 / 64

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานมีทักษะ ที่ 1- 8 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหรือขั้นผสมมี ทักษะที่ 9 - 13. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์.

Download Presentation

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  2. 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานมีทักษะที่ 1- 8 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหรือขั้นผสมมี ทักษะที่ 9 - 13 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะทางสติปัญญา (Intellectual Skills) ที่นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา ใช้ในการศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ แบ่งออกเป็น 13 ทักษะ

  3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 1. การสังเกต 2. การลงความเห็นจากข้อมูล 3. การจำแนก 4. การวัด 5. การคำนวณ 6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล 7. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา 8. การพยากรณ์

  4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหรือขั้นผสมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหรือขั้นผสม 9. การตั้งสมมติฐาน 10. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 11. การกำหนดและควบคุมตัวแปร 12. การทดลอง 13. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

  5. 1. การสังเกต (Observing) หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น โดยไม่ใส่ความเห็นหรือความรู้สึกของผู้สังเกตลงไป

  6. ทดสอบความสังเกต 1. เด็กๆ ลองทายซิว่า ภาพนี้มีรูปสามเหลี่ยม ด้วยกันทั้งหมดกี่รูป ? ก. 12ข. 14ค. 18ง. 20จ. 22 ?..

  7. 2. การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึงการอธิบายผลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมและเหตุผล หรือ เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย เป็นการตอบเกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

  8. ตัวอย่างความผิดพลาดที่เกิดจากการลงความเห็น จะเห็นได้ว่าแทนที่จะเป็นขโมยงัดตามที่พ่อลงความเห็น กลับเป็นเพราะญาติมาเยี่ยม

  9. 3. การจำแนก (Classifying) หมายถึงการแบ่ง หรือการเรียงลำดับ วัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ โดยพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน สัมพันธ์กันหรือต่างกันของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ การจำแนก อาจจัดได้หลายประเภททั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เกณฑ์

  10. อยู่ทั้งบนบกและในน้ำ อยู่บนต้นไม้ ตัวอย่าง..การจำแนกประเภท อยู่บนบก จระเข้ อยู่ตามทะเลทราย งูเขียว งูเห่า งูหางกระดิ่ง กบ กิ้งก่า ช้าง อูฐ

  11. ใบไม้สองกลุ่มนี้ นักเรียนคิดว่าครูแบ่งโดยใช้เกณฑ์อะไร

  12. นักเรียนคิดว่า ครูใช้เกณฑ์อะไรในการเรียงลำดับสิ่งของ ดังในรูป ?

  13. จากไดอะแกรม นักเรียนคิดว่า A เป็นสัตว์อะไร ??? สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์กินหญ้า A สัตว์สี่เท้า

  14. 1). A หรือ B ชิ้นไหนจะยาวกว่ากัน

  15. 2). เส้นไหนยาวกว่ากันระหว่าง AB กับ BC

  16. 4. การวัด (Measuring)หมายถึง ความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่างๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้อย่างถูกต้อง

  17. 5. การคำนวณ หมายถึง การคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร เช่น การหาค่าเฉลี่ย การหาพื้นที่ การหาปริมาตรความหนาแน่น เป็นต้น

  18. ปริศนาเชาว์จาก ตัวเลข 3 เลขจำนวนหนึ่ง เมื่อคูณด้วย 3 แล้วบวกด้วย 3 หารด้วย 3 ลบออกอีก 3คูณด้วย 3 ผลลัพธ์ได้ 3 เด็กๆ ทราบไหมจ๊ะว่า เลขจำนวนนั้น คือ เลขอะไร ?

  19. เกมบวกเลข 4 แถว เด็กๆ ช่วยเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเลขทั้ง 4 แถวนี้เสียใหม่ แต่ให้ตัวเลข 1-2-3-4 ของมันมีค่าคงเดิมและให้เป็น 4 แถว ซึ่งมีตัวเลข 1-2-3-4 ของมันด้วยจะสลับตัวเลข 2-3-1-4 หรือ 1-4-3-2 อย่างไรก็ได้ แต่ละแถวจะต้องบวกกันลงมาได้ 10 และบวกทางแนวนอนก็ได้ 10 ทั้ง 4 แถว ใครจะคิดได้เร็วกว่ากันเอ่ย ?

  20. สเปสของวัตถุ (Space) หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่อยู่ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้ว สเปสของวัตถุ จะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง 6. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและ สเปสกับเวลา

  21. สเปสกับสเปส 1. ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ 2. บอกตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ 3. บอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงา และภาพที่ปรากฏในกระจกได้ 4. เปรียบเทียบสเปสของวัตถุหรือสิ่งของ 2 อย่าง

  22. ถ้าตัดรูปทรงกระบอกตามแนว ดังภาพ จะเกิดรอยตัดเป็นรูปใด ก. วงกลม ข. วงรี ค. สี่เหลี่ยม ตัวอย่าง ให้บอกรูปที่เกิดจากการตัดวัตถุเป็น 2 ส่วน

  23. คำตอบคือ ข้อ ข (วงรี)

  24. ให้บอกตำแหน่งและทิศทางของสิ่งต่างๆ ที่เห็นในภาพนี้

  25. ภาพที่ท่านเห็นเป็นภาพของสมศรีในกระจกเงา ท่านคิกว่าสมศรีซึ่งยืนอยู่หน้ากระจกผูกนาฬิกามือใด ก. มือซ้าย ข. มือขวา

  26. คำตอบ คือ ข้อ ก สมศรีผูกนาฬิกาข้อมือซ้าย

  27. หนูฝนทำแจกันตกแตก และหาชิ้นส่วนไม่เจอ เด็กๆ คนเก่งช่วยทีครับ หนูฝนปวดหัวไปหมดแล้ว

  28. ชิ้นส่วนไหน...จะสวมเข้าช่องไหนได้พอดีชิ้นส่วนไหน...จะสวมเข้าช่องไหนได้พอดี

  29. ยิ่งทิ้งก้อนน้ำแข็งไว้ในจานนานเข้าขนาดของก้อนน้ำแข็งจะเป็นอย่างไรยิ่งทิ้งก้อนน้ำแข็งไว้ในจานนานเข้าขนาดของก้อนน้ำแข็งจะเป็นอย่างไร คำถามนี้มุ่งหมายให้บอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด ก. การเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของสิ่งต่างๆ กับเวลา ข. การเปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ กับเวลา

  30. บ้านของดนัยอยู่ห่างจากโรงเรียน 500 เมตร ส่วนบ้านของเตือนใจอยู่ห่างจากโรงเรียน 550 เมตร ถ้าดนัยและเตือนใจออกจากบ้านเวลา 7.00 น. แล้วเดินตรงมาโรงเรียน ปรากฏว่า ทั้งคู่ถึงโรงเรียนเวลา 7.25 น. พร้อมกัน เด็ก ๆ คิดว่าใครเดินเร็วกว่ากัน เตือนใจเดินเร็วกว่าคะ คำถามนี้มุ่งหมายให้บอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใดก. การเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของสิ่งต่างๆ กับเวลาข. การเปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ กับเวลา

  31. 7. การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล การจัดกระทำข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดลำดับ การจัดกลุ่ม หรือ การคำนวณหาค่าใหม่

  32. การสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วนำมาเสนอ และแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นได้ดีขึ้น การนำเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ 1. พูดหรือเล่าให้ฟัง 2. เขียนเป็นรายงาน 3. ทำเป็นตาราง แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง กราฟ สมการ 4. โดยผสมผสานหลายวิธีตามความเหมาะสม

  33. ผีเสื้อที่โตเต็มที่แล้ว จะออกไข่ภายใน 2-3 วัน ผีเสื้อเจริญมาจากดักแด้ ซึ่งใช้เวลา 7-13 วัน กว่าจะเป็นผีเสื้อ สำหรับตัวหนอนได้มาจากไข่ซึ่งใช้เวลา 4 วัน ตัวดักแด้ได้มาจากตัวหนอนใช้เวลา 35-42 วัน ชีวิตของผีเสื้อ จะวนเวียนอยู่เช่นนี้ ผีเสื้อที่เจริญเต็มวัย 2-3 วัน 7-13 วัน ไข่ ตัวดักแด้ ตัวหนอน 35-42 วัน 4 วัน ข้อมูลชุดที่ 1 ข้อมูลชุดที่ 2

  34. การเปลี่ยนแปลงหรือจัดกระทำกับข้อมูลของผีเสื้อ เป็นการจัดกระทำโดยวิธีใด ก. การทำกราฟ ข. การทำวงจร

  35. ช้างหากินเป็นฝูงกวางหากินเป็นฝูงจิ้งจกหากินตามลำพังมดหากินเป็นฝูงผึ้งหากินเป็นฝูงค้างคาวหากินตามลำพังแมลงวันหากินตามลำพังช้างหากินเป็นฝูงกวางหากินเป็นฝูงจิ้งจกหากินตามลำพังมดหากินเป็นฝูงผึ้งหากินเป็นฝูงค้างคาวหากินตามลำพังแมลงวันหากินตามลำพัง สัตว์ที่หากินเป็นฝูงช้าง กวาง มด ผึ้งสัตว์ที่หากินตามลำพังจิ้งจก ค้างคาว แมลงวัน ข้อมูลชุดที่ 2 ข้อมูลชุดที่ 2 เป็นข้อมูลที่จัดกระทำแล้วด้วยวิธีใด ก. หาความถี่ ข. จัดเรียงข้อมูล ค. แยกประเภท ง. คำนวณหาค่าใหม่ ข้อมูลชุดที่ 1

  36. ภาพข้างล่างนี้มีใครบ้าง อะไรที่ชี้บ่งว่าเป็นบุคคลนั้น และกำลังเกิดเหตุการณ์ใด

  37. ประชากรในประเทศไทยจากการสำรวจในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2519 เรียงลำดับจำนวน ดังนี้ 38.4, 40.0, 41.3, 42.4 และ 43.3 ล้านคน นักเรียนจะแสดงวิธีการจัดกระทำกับข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างไร

  38. จำนวนประชากร (ล้านคน) แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรในประเทศไทย 45.5 - 40.0 – 35.5 – 30.0 – พ.ศ. 2515 2516 2517 2518 2519

  39. 8. การพยากรณ์ หมายถึง การทำนาย หรือ การคาดคะเนสิ่งที่เกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือ ความรู้ที่เป็นความจริง หลักการ กฎ หรือทฤษฏีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป

  40. การวัด การสังเกต การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ข้อมูล + ประสบการณ์ที่มีอยู่ การพยากรณ์/ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้น

  41. นายแดงกินปู เป็นครั้งที่ 6 จะเกิดอะไรขึ้น…………..? สามารถคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า เพราะมีข้อมูลมาก่อนเป็น การพยากรณ์ ข้อมูล นายแดงกินปู 5 ครั้ง ต่อมาท้องเดินทั้ง 5 ครั้ง ถ้านายแดงกินกุ้ง เป็นครั้งที่ 6 จะเกิดอะไรขึ้น…………..? ไม่สามารถคาดคะเนผลที่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลมาก่อน เป็น การตั้งสมมติฐาน

  42. 9. การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) หมายถึง การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจความถูกต้องในเรื่องนั้นๆ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางใน การออกแบบการทดลอง2. บอกความสัมพันธ์ของตัวแปร3. อาจถูกหรือผิดก็ได้ สมมติฐาน

  43. **เด็กที่กินนมแม่จะแข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว****เด็กที่กินนมแม่จะแข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว** ตัวแปรต้น คือ................................................ ตัวแปรตาม คือ................................................... ต้องควบคุม คือ................................................ ตัวแปรที่ คำที่ต้อง กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ........................................... จะทำการ ทดสอบสมมติฐาน นี้ได้อย่างไร...............................

  44. 10. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) หมายถึง การให้ความหมายของ คำหรือ ข้อความเพื่อให้เข้าใจตรงกันและ สามารถ สังเกตหรือ วัดได้

  45. ตัวอย่าง ออกซิเจนเป็นก๊าซที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อนำ ก้านไม้ขีดไฟที่คุแดง แหย่ลงไปในก๊าซนั้นแล้ว ก้านไม้ขีดไฟจะลุกเป็นเปลวไฟ(สังเกตและระบุสถานการณ์ทดสอบได้) ออกซิเจนเป็นก๊าซที่มี เลขอะตอม 8 และมีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 16 (ไม่สามารถสังเกตและระบุสถานการณ์ทดสอบได้)

  46. ข้อความใด เป็นการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ น้ำสะอาด คือ น้ำที่ต้มแล้วและไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส น้ำสะอาด คือ น้ำที่ปราศจากเชื้อโรค

  47. ข้อความใด เป็นการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่อ้วนมาก ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่มีน้ำหนักมาก

  48. ความเจริญเติบโตของพืช อาจวัดได้จาก 1. ความสูงของลำต้น 2. ขนาดและจำนวนใบไม้ 3. เส้นรอบวงของลำต้น ในการทดลองเพื่อหาคำตอบว่า “ ปุ๋ย ก. ทำให้พืชเจริญเติบโต ได้ดีกว่า ปุ๋ย ข. จริงหรือไม่ ” • ในกรณีนี้จะกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของคำว่า “ เจริญเติบโต ” ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

More Related