910 likes | 2.57k Views
ระบบต่อมไร้ท่อ Endocrine System. ระบบประสาทกับต่อมไร้ท่อ. ระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine System).
E N D
ระบบประสาทกับต่อมไร้ท่อระบบประสาทกับต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ต่อมไร้ท่อ(Endocrine Gland)หมายถึงต่อมไม่มีท่อ สิ่งที่หลั่งจากต่อมเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรง ไม่ต้องผ่านท่อ ดังนั้นเซลล์ของต่อมไร้ท่อจะสัมผัสกับหลอดเลือดฝอยภายในต่อมอย่างใกล้ชิด ต่อมเหล่านี้จึงมีเลือดมาเลี้ยงอย่างมากมาย
ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ • ต่อมไพเนียล ( Pineal ) • ต่อมใต้สมอง ( pituitary gland ) • ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid ) • ต่อมพาราไทรอยด์(parathyroid hormone) • ตับอ่อน (Pancreas) • ต่อมหมวกไต(adrenal gland) • อวัยวะเพศ • รก • ต่อมไทมัส( Thymus ) • กระเพาะอาหารและลำใส้เล็ก
ต่อมไพเนียล ( Pineal ) • ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล (pineal gland) อยู่ บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจาากต่อมนี้ คือ เมลาโทนินยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่ง โกนาโคโพรฟิน ให้น้อยลง ถ้าต่อมไพนิลไม่สามารถสร้างเมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ
ต่อมใต้สมอง ( pituitary gland ) • ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัสแบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์(Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland Hormone) • ต่อมใต้สมอง( Pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง3. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( Anterior lobe of pituitary gland ) เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่ 1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า • 1. ฮอร์โมนมากเกินไป - เด็ก ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายสูงผิดปกติเรียกว่า ไจแอนทิซึม(gigantism)พบในวัยรุ่นไม่ค่อยพบในวัยเด็ก อาจเกิดจากการที่มีเนื้องอกของเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน หรือของไฮโพทาลามัส ทำให้มีการสร้าง ฮอร์โมนมากกว่าปกติ
- ผู้ใหญ่ ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดูกตาม แขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้มยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้านิ้วมือ นิ้วเท้า เรียกอาการดังกล่าวนี้ว่า "อะโครเมกาลี"( acromegaly )
2.ฮอร์โมนน้อยเกิน - เด็ก ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายน้อยผิดปกติเกิดลักษณะเตี้ยแคระเรียกว่า Dwarfism - ผู้ใหญ่ จะไม่มีอาการปรากฏเด่นชัดแต่พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะต่ำกว่าคนปกติทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆทางอารมณ์ได้และสมองอาจได้รับอันตรายจากการขาดน้ำตาลกลูโคสไปเลี้ยงหากเป็นมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง(Intermediate lobe) • จะมีความสำคัญและหน้าที่เด่นชัดเฉพาะในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเท่านั้น โดยทำหน้าที่ผลิตและหลั่งเมลาโนไซต์สติมิวเลติงฮอร์โมน(melanocyte-stimulating hormone = MSH ) จะทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ (melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างหนังกำพร้า (epidermis) และหนังแท้ (dermis) ให้สังเคราะห์รงควัตถุสีน้ำตาล-ดำที่เรียกว่า เมลานิน (melanin) นอกจากนั้น MSH ยังทำหน้าที่กระตุ้นให้เมลานินภายในเมลาโนไซต์กระจายตัวออกไปทั่วเซลล์ เป็นให้สีผิวเข้มขึ้นในสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีผิวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการพรางตัวได้อย่างรวดเร็วการเปลี่ยนสีผิวดังกล่าวเกิดจากการกระจายตัวของเมลานินภายในเมลาโนไซต์ซึ่งได้รับการกระตุ้นจาก MSH นั่นเองในคนต่อมใต้สมองส่วนกลางจะมีขนาดเล็กมาก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตและหลั่ง MSH ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ ACTH มาก แต่ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่ 3.1Oxytocinทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนอาจแท้งลูกได้3.2 Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH )ทำให้เส้นเลือดมีการ หดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาด จะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)
ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid ) • ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งอยู่บริเวณลำคอ อยู่ด้านหน้าของกล่องเสียง ติดกับฐานของคอหอยเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในคนปกติมีน้ำหนักประมาณ 25 กรัม แบ่งออกเป็น 2 พูและเชื่อมกันตรงกลาง ด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (isthmus) ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน ที่สามารถดึงไอโอดีนจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ต่อมไทรอยด์ ประกอบด้วยถุงหุ้มที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เรียกว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ซึ่งเป็นที่สร้างและหลั่ง ฮอร์โมนไทรอกซิน ( thyroxine ) ซึ่งมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบแล้วเก็บไว้ในของเหลว ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า คอลลอยด์(colloid cell)นอกจากนั้นในต่อมไทรอยด์ ยังพบกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า เซลล์ซี (C-cell) หรือ เซลล์พาราฟอลลิคูลาร์( parafollicular cell )เป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ ในระหว่างไทรอยด์ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์ซึ่งสร้าง ฮอร์โมนแคลซิโทนิน ( calcitonin )
ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์(thyroid gland) • ต่อมไทรอยด์แต่ละพูสร้างฮอร์โมน 2 ประเภท คือ - ฮอร์โมนที่มีสารประกอบไทโรนีนที่มีไอโอดีน ได้แก่ ไทรอกซิน (Thyroxine / Tetraiodothyronin; T4) กับ ไตรไอโอโดไทโรนิน (Triiodthyronine; T3) ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกายโดยเพิ่มอัตราเมตาโบลิซึมและการใช้ออกซิเจนของเซลล์ เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน และทำหน้าที่ร่วมกับ GH ในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมการเจริญและพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมเมตามอร์โฟซิสของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ถ้าร่างกายคนขาดหรือมีไทรอกซินน้อยเกินไป จะทำให้มีเมตาโบลิซึมต่ำกว่าปกติการเจริญเติบโตของร่างกายและจิตใจด้อยลง - ฮอร์โมนแคลซิโตนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นสารประกอบพวกโพลีเปปไทด์ ทำหน้าที่ ลดระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินไปให้เข้าสู่ระดับปกติและฮอร์โมนนี้ยังมีผลในการเร่งขับฟอสเฟตที่ไตด้วย
ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอกซินความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน เด็ก : การขาดไทรอกซินในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมากโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมองพัฒนาการทาง ด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism) ผู้ใหญ่ : จะส่งผลให้อัตราเมแทบอลิซึมลดน้อยลง -ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เซื่องซึม -เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เรียกกลุ่มอาการดังกล่าวนี้ว่ามิกซีดีมา( myxedema )ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิตไทรอกซินได้น้อย (hypothyroidism) ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน ( TSH ) เพิ่มมากขึ้นเพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มมากขึ้น จนต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมจะขยายขนาดโตขึ้นทำให้เกิดเป็น โรคคอพอก (simple goiter)
ถ้ามีฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไปถ้ามีฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป ผู้ใหญ่ : ถ้าฮอร์โมนไทรอกซินผลิตออกมามากเกินไป(hyperthyroidism)จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) จะทำให้ร่างกายมีอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมสูงกว่าปกติ อาการเหมือนมีการสร้างพลังงานหรือกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไปได้แก่ -หงุดหงิด -นอนไม่หลับ -ตื่นเต้นง่าย อาจมีอาการคอพอกแต่ไม่มากและตาโปน เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง
ผลของฮอร์โมนไทรอกซินในสัตว์ทำให้มีการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่น กบ จะเจริญจากลูกอ็อดเจริญไปเป็นกบโตเต็มวัยได้ตามปกติ -ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซินจะทำให้ลูกอ็อดไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างกลายเป็นกบโตเต็มวัย -ถ้ามีมากเกินไปก็จะเจริญไปเป็นกบอย่างรวดเร็ว
ต่อมพาราไทรอยด์(parathyroid hormone) • ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
ความผิดปกติของปริมาณ Parathormone • ความผิดปกติของปริมาณ Parathormone1. Hypoparathyroidismเป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนต่ำเกินไปอาการ - Ca2+ และ PO3- ในเลือดต่ำ- กล้ามเนื้อชักกระตุก- ปอดไม่ทำงาน- เลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผลการแก้ไขฉีด Parathormoneร่วมกับวิตามิน D2. Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนมากเกินไปอาการ - Ca2+ และ PO3- ในเลือดสูง- Ca2+ สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง- เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล- กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่ายการแก้ไขฉีด Calcitoninเพื่อต้านการทำงานของ Parathormone
ตับอ่อน (Pancreas) • ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้ 1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ2) กลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
ฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน (Pancreas hormone ) • อินซูลิน (insulin) อินซูลินมีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยมีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญคือ ตับ กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน อินซูลินได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความอุดมสมบูรณ์ (hormone of abundance) เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีการสะสมกลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโนไว้ภายในเซลล์ต่างๆ และสำรองไว้ใช้ระหว่างช่วงมื้ออาหารและเมื่อร่างกายขาดแคลน ทำให้ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีค่าปกติ • กลูคากอน ( Glucagon) คือฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต กลูคากอนผลิตโดยตับอ่อนและจะถูกปล่อยเมื่อระดับน้ำตาลในเส้นเลือดลดระดับต่ำกว่าปกติ ที่เป็นผลห้ตับเปลี่ยนไกลโคเจนที่สะสมไว้เป็นกลูโคสและปล่อยเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อเป็นการเพิ่มระดับน้ำตาลในเส้นเลือดที่เป็นการป้องกันร่างกายจากการเกิดภาวะน้ำตาลในเส้นเลือดต่ำ (hypoglycemia) ฉะนั้นการปล่อยกลูคากอนจึงตรงกันข้ามกับอินซูลินที่บอกให้เซลล์ในร่างกายดึงกลูโคสจากเลือด แต่กลูคากอนสามารถกระตุ้นการปล่อยอินซูลินได้ด้วย ฉะนั้นกลูโคสที่ปล่อยออกมาตามสายเลือดสามารถดึงไปใช้โดยเนื้อเยื่อที่ต้องพึ่งอินซูลิน
ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนจากตับอ่อนความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนจากตับอ่อน การมีฮอร์โมนนี้มากเกินไป(insulinexcess) การมีฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์ของสมอง อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการสับสน มึนงง อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นกาทำงานของประสาทซิมพาเทติก ทำให้มีอาการหิว ใจสั่น เหงื่อออกมาก และเพิ่มการหลั่งแคททีโคลามีนจากต่อมหมวกไต ให้ตับมีการสลายไกลโคเจน เป็นกลูโคสมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยการให้กลูโคสทดแทนอาการจะรุนแรงคือชัก หมดสติ และเสียชีวิต การขาดฮอร์โมนอินซูลิน (insulin insufficiency) การขาดฮอร์โมนอินซูลินทำให้กลูโคสเข้าเซลล์เนื้อเยื่อไม่ได้ ทำให้ร่างกายเสมือนขาด อาหาร (starvation) ตับจึงสลายไกลโคเจนมายังหลอดเลือดทำให้ระดับน้ำตาลยิ่งสูงมากขึ้น (hyperglycemia)
ต่อมหมวกไต(adrenal gland) • ต่อมหมวกไตมีลักษณะเป็นต่อมขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมครอบอยู่ทางส่วนบนของไตทั้ง 2 ข้างประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่แตกต่างกันและแยกออกจากกันอย่างชัดเจน คือ- เนื้อเยื่อชั้นนอก เรียกว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex)เจริญมาจากเนื้อชั้นกลาง (mesoderm) สร้างฮอร์โมนประเภทสารสเตียรอยด์ได้มากชนิดที่สุด- เนื้อเยื่อชั้นใน เรียกว่า อะดรีนัลเมดุลลา (adrenal medulla)เจริญมาจากเนื้อชั้นนอก (ectoderm) สร้างฮอร์โมนจำพวก Amine , Polypeptide
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก • อะดรีนัลคอร์เทกซ์สร้างฮอร์โมน 3 กลุ่ม คือ2.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) เช่น คอร์ติซอลCortisol hormone ทำหน้าที่ ดังนี้1. กระตุ้นการสลาย glycogen ไปเป็น glucose2. กระตุ้นการสลายไขมันไปเป็นกรดไขมัน3. เพิ่มการดูด Na+ กลับที่ท่อของหน่วยไต ถ้า cortisolมากเกินไปจะเป็น Cushing's syndrome ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ- ไขมันสะสมมากตามใบหน้า หน้าท้อง ต้นขา- ใบหน้ากลมนูนคล้ายพระจันทร์เต็มดวง (Moon face)- ขาดประจำเดือนในหญิง ผู้เป็นโรคคูชิง (อ้วน ไขมันสะสม)
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก(ต่อ)ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก(ต่อ) ผู้ป่วยโรคแอดดิสัน 2.2 มิเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoids) เช่น Aldosterone hormone ทำหน้าที่ ดังนี้1. ควบคุมเมตาโบลิซึมของเกลือแร่ เป็นสำคัญ2. เพิ่มการดูด Na+ กลับ และเพิ่มการขับ K+ และ Cl- ทิ้งไปกับปัสสาวะ2.3 อะดรีนัลเซกส์ ฮอร์โมน (Adrenal sex hormone)ได้แก่ ฮอร์โมนเพศต่างๆ คือ Estrogen , Progesterone และ Testosteroneถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็น Addoson's disease ซึ่งมีอาการ คือ- คนไข้จะซูบผอม- ผิวหนังตกกระ- ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ-อาจถึงแก่ความตาย
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน ต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medullaเป็นเนื้อเยื่อที่เปลียนแปลงมาจากเนื่อเยื่อประสาทในระหว่างการเจริญ เติบโตในระยะเอ็มบริโอ ทำหน้าที่สังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิดคือ 1.อะดรีนาลีน หรือ เอพิเนฟรีน (epinepinephirne)มีผลต่อการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายมากมายได้แก่ ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง หลอดลมขยาย ม่านตาขยาย ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี่ที่ไปหล่อเลี้ยงที่สมอง หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อขยาย เป็นต้น 2.นอร์อะดรีนาลีนหรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinefphirne)เป็นสารเดียวกับสารสื่อประสาทที่หลั่งจากปลายประสาทที่ซิมพาเทติก ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้ายกับอะดรีนาลีน ยกเว้นผลที่มีต่อเส้นเลือด เมื่อร่างกายเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เช่น เมื่อเผชยหน้ากับสัตว์ร้าย หรือศัตรู ตื่นเต้น ตกใจ ฯลฯ ไฮโพทาลามัสจะส่งกระแสประสาทซิมพาเทติกมากระตุ้นอะดรีนัลเมดัลลา ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน และนอร์อะดรีนาลีน
อวัยวะเพศ อวัยวะเพศในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน 1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
อวัยวะเพศ(ต่อ) ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้ 1) ในเด็ก – ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ – ไม่มี Secondary sexual characteristic – มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ – เป็นหมัน 2) ในผู้ใหญ่ – เป็นหมัน – ไม่มีความรู้สึกทางเพศ มีลักษณะไปทางเพศหญิง
อวัยวะเพศ(ต่อ) • ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone)ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต
อวัยวะเพศ(ต่อ) ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้ 1)ในเด็ก – อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ – ไม่มีเลือดประจำเดือน – มีลักษณะคล้ายชาย 2) ในผู้ใหญ่ – ประจำเดือนหยุด – ไม่มีความรู้สึกทางเพศ – มีลักษณะคล้ายชาย – ไม่มี Secondary sexual characteristic
รก • ฮอร์โมนจากรก โกนาโดโทรฟินจากรก สามารถวัด HCG ในปัสสาวะของมารดาได้ตั้งแต่วันที่ 9 ของการตั้งครรภ์และระดับจะสูงขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 หลังจากนั้นจะลดลง การตรวจพบ HCG ในปัสสาวะหรือเลือดใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ HCG ทำหน้าที่ยืดอายุการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนณัแลกซินเพื่อยับยั้งการหดตัวของมดลูก
รก(ต่อ) Human chorionic somatomammotropin (HCS) เป็นฮอร์โมนชนิดเปปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน191 หน่วย มีโครงร้างเหมือนฮอร์โมน โซมาโทโทรฟินหรือโกรทฮอร์โมน และโพรแลกทิน แต่มีผลแบบโพรแลกทินสูงกว่าโกรทฮอร์โมน ขณะที่ระดับ HCG ลดต่ำลงหลังจาก 3 เดือนของการตั้งครรภ์ รกจะสร้าง HCS ในสัปดาห์ที่ 4 และจะเพิ่มระดับขึ้น เรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
รก(ต่อ) โพรเจสเทอโรนรกจะเริ่มสร้างโพรเจสเทอโรนในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด โพรเจสเทอโรนถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ โพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์โดยเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรับตัวอ่อน ทำงานร่วมกับฮอร์โมนรีแลกซิน ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแม่ไม่ให้ต่อต้านการมีทารกซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์แปลกปลอมในร่างกายของแม่ เอสโทรเจน รกสร้างเอสโทรเจนได้ทั้งเอสทราไดออลเอสโทรนและเอสไทรออล แต่สร้างเอสไทรออลได้มากกว่าฮอร์โมนอีก 2 ชนิดและมีระดับเพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์คือช่วยในการพัฒนเต้านมและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้เอ็นยึดต่างๆในอุ้งเชิงกราน และ หังหน่าว ช่วยให้บริเวณช่องคลอดขยายออกได้กว้างขึ้น
ต่อมไทมัส( Thymus ) • ต่อมไทมัสเป็นต่อมขนาดเล็ก เป็นพูของเนื้อเยื่อที่คล้ายกับต่อมน้ำเหลือง มี 2 พู อยู่ที่ขั้วหัวใจ มีความสำคัญในช่วงอายุน้อย ในผู้ใหญ่ต่อมาจะฝ่อสลายไป จึงเป็นต่อมไร้ท่อที่มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น สร้างฮอร์โมนไทโมซิน ( thymosin ) เพื่อกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีจากพลาสมาเซลล์ในม้าม และต่อมน้ำเหลือง และยังสร้างฮอร์โมนไทโมวิดิน ( thymovidin ) ยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ( คล้ายฮอร์โมนเมลาโตนินจาก ต่อมไพเนียล )
กระเพาะอาหารและลำใส้เล็ก • กระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastrointestinal tract )จัดเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อคือสร้างเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารและเป็นต่อมไร้ท่อคือสร้างฮอร์โมน เยื่อชั้นในของกระเพาะอาหารและลำไส้มีเซลล์สำหรับสร้างฮอร์โมนหลายชนิดแต่ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ Gastrin, Secretinเป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอวัยวะเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และทำงานร่วมกับระบบประสาทอัตโนมัติ
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนการรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน • การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อชนิดต่างๆของร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่ร่างกายสามารถควบคุมให้ฮอร์โมนเหล่านั้นทำงานมากหรือน้อยได้ตามความต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้าทั้งภายในและสิ่งเร้าภายนอก หากต่อมไร้ท่อรับสัญญาณจากสิ่งเร้าให้หลั่งฮอร์โมนโดยไม่จำกัด อวัยวะเป้าหมายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานตลอดเวลา ทำให้เกิดผลเสียจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อโดยระบบ ควบคุมดังกล่าว อาจเป็นปริมาณของฮอร์โมนเอง หรือ ระดับสารเคมีอื่น ๆ ในเลือด เพื่อให้ระบบต่างๆทำงานสัมพันธ์กันและสอดประสานกันได้อย่างสมดุล เพื่อเป็นการรักษาดุลยภาพของร่างกายที่เรียกว่า Homeostasis ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนให้พอเหมาะพอดี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะ • การควบคุมแบบยับยั้งย้อนกลับ ( negative feedback ) • การควบคุมแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback )
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน(ต่อ)การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน(ต่อ) • การควบคุมแบบยับยั้งย้อนกลับ ( negative feedback ) -การควบคุมแบบยับยั้งย้อนกลับ : เกิดจากเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาแล้วจะมีการส่งสัญญาณบางอย่างกลับไปยังแหล่งที่หลั่งฮอร์โมนออกมาให้ลดหรือห้ามการหลั่ง ฮอร์โมนจากแหล่งนั้นอีกตัวอย่างเช่น -การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ : เมื่อระดับCa++ ในเลือดลดลงกว่าปกติของร่างกาย ต่อมพาราไทรอยด์จะหลั่งพาราทอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย เช่น กระดูกจะปล่อยCa++ เข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติ เมื่อระดับCa++ อยู่ในระดับปกติแล้ว ก็จะย้อนกลับไปยับยั้งต่อมพาราไทรอยด์ไม่ให้มีการหลั่งพาราทอร์โมนออกมาอีก -การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ : เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอกซินในเลือดสูงขึ้นจะไปยับยั้งไฮโพทาลามัสไม่ให้หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำให้ต่อมไทรอยด์หยุดหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน(ต่อ)การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน(ต่อ) • การควบคุมแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback ) -การควบคุมแบบกระตุ้นย้อนกลับ : เกิดจากเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาแล้วจะมีการส่งสัญญาณบางอย่างกลับไปยังแหล่งที่หลั่งฮอร์โมนนั้นออกมาให้เพิ่มการหลั่ง ฮอร์โมนจากแหล่งนั้นอีก เช่น -การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน : • ขณะคลอดศีรษะของทารกจะขยายปากมดลูกให้กว้างออก หน่วยรับความรู้สึกบริเวณปากมดลูกจะส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินเพิ่มขึ้นกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกให้ดันทารกออกมาเพื่อขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้นยิ่งปากมดลูกกว้างขึ้นก็ยิ่งมีผล กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินมากขึ้นจนกระทั่งทารกคลอดออกมา การหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินจึงจะหยุดลง • ขณะทารกดูดนมแม่จะเกิดกระแสประสาทไปกระตุ้นไฮโพทาลามัสให้ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้ต่อใต้สมองส่วนหน้าหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินเพื่อกระตุ้นให้เต้านมบีบตัวหลั่งน้ำนมออกมาเมื่อทารกยิ่งดูดนมมากขึ้นยิ่งมีการหลั่งออกซิโทซินมากขึ้น
ฟีโรโมน (Phreomone) • ฟีโรโมน (Phreomone) : ฟีโรโมนต่างจากฮอร์โมนตรงที่ ฮอร์โมนมีผลทางสรีรวิทยาเฉพาะแต่ภายในร่างกายของสัตว์เท่านั้น ส่วนฟีโรโมนจะไปมีผลต่อสัตว์อื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน บางครั้งจึงเรียกว่า External hormone (Ectohormone) นอกจากนี้ยังต่างตรงที่ไปมีผลต่อสัตว์ต่างชนิดกัน
ฟีโรโมน (Phreomone) (ต่อ) • เมื่อสัตว์ตัวหนึ่งปล่อยฟีโรโมนออกมานอกร่างกายแล้ว สัตว์ตัวอื่นจะได้รับฟีโรโมน 3 ทางด้วยกัน คือ 1. ทางกลิ่น (Olfaction) : พบในแมลงหลายชนิด ส่วนมากก็เพื่อการดึงดูดเพศตรงข้ามให้มาหาหรือไม่ก็เป็นการบอกให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน หรือเป็นสัญญาณอันตรายเตือนให้รู้ เช่น ฟีโรโมนของตัวชะมดมีกลิ่นแรงมากเราสกัดเอามาทำเป็นหัวน้ำหอม 2. การกิน (Ingestion) : เช่น ผึ้งนางพญาจะสร้างสารจากต่อมบริเวณระยางค์ปาก เรียกว่า Queen substance สำหรับเอาไว้ล่อผึ้งงาน เมื่อผึ้งงานกินเข้าไปจะไปยับยั้งรังไข่ของผึ้งงานไม่ให้มีการเจริญเติบโตและสร้างรังไข่จึงไม่มีโอกาสสืบพันธุ์เหมือนนางพญา
ฟีโรโมน (Phreomone) (ต่อ) 3. การดูดซึม (Absorption) : พบเฉพาะในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น เช่น แมงมุมบางชนิดและแมลงสาบ ตัวเมียจะปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้จนกระทั่งตัวผู้มาสัมผัส ก็จะซึมเข้าไปกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศติดตามหาตัวเมียจนพบและทำการผสมพันธุ์ แต่ในตั๊กแตนตัวผู้จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้หลังจากผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสฟีโรโมนนั้นก็จะดูดซึมเข้าไปกระตุ้นให้เติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสืบพันธุ์ได้ ฟีโรโมน (Pheromone)สารเคมีที่ผลิตจากต่อมมีท่อของสัตว์ที่สร้างออกมาแล้วไม่มีผลต่อร่างกายของสัตว์เอง แต่สามารถไปมีผลต่อสัตว์อื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายและพฤติกรรมได้ ผลของฟีโรโมน : บอกอาณาเขต ให้รวมกลุ่ม : การหาอาหารหรือขับไล่ศัตรู ผสมพันธุ์
ผู้จัดทำ นางสาวปิยะมาศ คำเหมา เลขที่ 25 ชั้น ม.4/15 เสนอ คุณครู สุรชัย ดอกแก้ว โรงเรียนสตรีสิริเกศ