1 / 46

(Outpatient classification system: Adjusted clinical group)

(Outpatient classification system: Adjusted clinical group). ระบบการจัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก : กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก. นางสาวสุภาพร น้อยเมล์ รหัส 515150038-9. Outline. บทนำ ลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอก หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก

aquila
Download Presentation

(Outpatient classification system: Adjusted clinical group)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. (Outpatient classification system: Adjusted clinical group) ระบบการจัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก:กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก นางสาวสุภาพร น้อยเมล์ รหัส 515150038-9

  2. Outline • บทนำ • ลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอก • หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล

  3. Outline • แบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในประเทศต่าง ๆ • วิจารณ์ • สรุป

  4. บทนำ • กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในโครงการสวัสดิการผู้สูงอายุ (medicare) • ระบบกลุ่มโรคร่วมชนิดแรกที่เริ่มใช้ในประเทศไทย คือ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมผู้ป่วยใน (Diagnosis Related Group; DRG)เป็นระบบแบ่งกลุ่มผู้ป่วย (patient classification system) ที่ใช้จัดกลุ่มผู้ป่วยใน (inpatient)

  5. บทนำ • มีการพัฒนาระบบกลุ่มโรคร่วมทั้งระบบให้ครอบคลุมทั้งกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยนอก (ambulatory patient group) • ระบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายระบบหนึ่งคือ กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก (adjusted clinical groups: ACGหรือ ambulatory care groups) • ACGเป็นการจัดกลุ่มโดยปรับตามความเสี่ยง พัฒนาเริ่มแรกโดยกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอหน์ฮอปกินส์ เพื่อวัดความเจ็บป่วยของแต่ละบุคคล

  6. ลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอกลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอก • ลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอกควรมีลักษณะต่อไปนี้ • มีความครอบคลุม (comprehensive) • มีความหมายทางคลินิก (clinical meaningful) • ทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมีความคล้ายคลึงกัน (homogeneous resource use)

  7. ลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอกลักษณะของระบบจัดกลุ่มผู้ป่วยนอก • สะดวกในการบริหารจัดการ (administrative simple) • การให้รหัสที่สูงขึ้นหรือแตกเป็นรหัสย่อยหลายรหัส (upcode and code fragment) จะต้องมีน้อย • มีความยืดหยุ่น (flexible)

  8. หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก การจัดกลุ่มACGขึ้นกับลักษณะของสภาวะการเจ็บป่วย อาศัยเกณฑ์ทางคลินิก 5ประการ ดังนี้ 1. ช่วงเวลา (duration) การดำเนินไปของสภาวะโรคเป็นแบบเฉียบพลัน (acute) กลับเป็นซํ้า (recurrent) หรือเรื้อรัง (chronic)

  9. หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 2. ความรุนแรง (severity) การดำเนินหรือสภาวะของโรคที่ก่อความสูญเสียหรือการตาย กลุ่มADGแบ่งสภาวะเฉียบพลันเป็นแบบไม่รุนแรง(minor) หรือเป็นหนัก(major) และสภาวะเรื้อรังมีสภาวะหรืออาการของโรคที่ค่อนข้างคงที่ (stable) หรือไม่คงที่(unstable) ขึ้นกับความรุนแรง

  10. หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 3. การวินิจฉัยที่แน่นอน (diagnostic certainty) รหัสการวินิจฉัยโรคบางรหัสสำหรับสัญญาณหรืออาการและเกี่ยวกับการวินิจฉัยที่ไม่แน่นอน อาจต้องการการเฝ้าระวังหรือติดตามผลสำหรับสัญญาณหรืออาการ ขึ้นกับความถี่ของการวินิจฉัยตั้งแต่น้อยจนถึงมาก

  11. หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกหลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 4. สาเหตุของการเกิดโรค(etiology) สาเหตุของโรคที่เฉพาะเจาะจงแสดงถึงการรักษาที่แตกต่างกัน โรคติดเชื้อมักจะต้องการการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การบาดเจ็บต้องการการรักษาอย่างฉุกเฉิน

  12. หลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกหลักการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 5. ความจำเป็นในการรักษาเฉพาะทาง(expected need for specialty care) ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ต้องการการรักษาเฉพาะทาง เช่น ศัลยกรรมกระดูก ตา ผิวหนัง

  13. ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 1. การจัดกลุ่มโดยให้รหัสการวินิจฉัยโรค เป็นกลุ่ม “Aggregated Diagnosis Group (ADG)” หนึ่งหรือหลายกลุ่มจากทั้งหมด32กลุ่ม ถ้าผู้ป่วยมีหลายโรคหรือหลายรหัสจะมีกลุ่มADGได้หลายกลุ่มมากที่สุดถึง32กลุ่ม • รหัสการวินิจฉัยโรคที่อยู่ในกลุ่มADGเดียวกันจะมีความคล้ายคลึงกันทางคลินิก และคาดว่าจะมีการใช้ทรัพยากรที่คล้ายคลึงกันในการรักษา • บางกลุ่มADGจะใช้ทรัพยากรในการรักษามาก เรียกว่า“major ADG”

  14. ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 2. ADG 32 กลุ่ม จะรวมเป็นกลุ่มรวมของ “Collapsed ADG (CADG)” หนึ่งหรือหลายๆ กลุ่มจาก12กลุ่ม ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกคล้ายคลึงกัน ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนอาจไม่มีหรือมีได้หลายกลุ่มCADG ในการจัดกลุ่มCADGจากกลุ่มADGยังคงเน้นใช้เกณฑ์ทางคลินิกในการจัดกลุ่ม

  15. ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 3. การรวมกันของCADGเป็นกลุ่มที่เรียกว่า “Major Ambulatory Categories (MAC)”กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก23กลุ่ม - กลุ่มMACs ที่1-11กลุ่มเด็กแรกเกิดจากกลุ่มCADGเดียว - กลุ่มMACที่12เป็นกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด - กลุ่มMACsที่13-23เป็นกลุ่มที่พบบ่อยในการรวมกันของCADGs

  16. ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก - กลุ่มMACที่24เป็นกลุ่มที่มีการรวมกันของCADGsอื่นๆ นอกเหนือไปจาก23กลุ่ม - กลุ่มMACที่25สำหรับไม่มีการใช้บริการ หรือรหัสการวินิจฉัยโรค ที่ไม่ถูกต้อง - กลุ่มMACที่26เป็นกลุ่มเด็กแรกเกิด (อายุน้อยกว่า12เดือน)

  17. ขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก 4. การแบ่งกลุ่มย่อยของ MAC ซึ่งเป็นแขนงหลัก(major branches) ออกเป็นกลุ่มACGตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งกลุ่ม ได้แก่ อายุ เพศ การมีกลุ่มspecific ADG, จำนวนmajor ADG และจำนวนADGทั้งหมด

  18. แผนภาพการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกแผนภาพการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก

  19. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • ในประเทศไต้หวัน มีการทดลองใช้การจัดกลุ่ม ACGเพื่อดูผลการจัดกลุ่มและ การทำนายค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายได้แก่ อายุ เพศ และกลุ่มADG • พบว่าการจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ในประเทศไต้หวัน • ร้อยละของการลงรหัสไม่ได้มีน้อยกว่าร้อยละ 5 • มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบการกระจายของ ADGs, ACGs และค่า RWทั้ง 2 ปี พบว่ามีความคงที่ (Lee W, 2008)

  20. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • Barbara S et al. ศึกษาผลของการใช้ระบบ ACGในหลายฐานข้อมูลหลายฐานข้อมูล ได้แก่ Columbia Medical Plan;CMP, Maxicare, MedCenters Health Plan;MCHP, Harvard Community Health plan;HCHP และ Maryland Medicaid โดยดูการกระจายของ ADGs, ACGs, No. of visit และสร้างโมลเดลในการทำนายค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ • พบว่าโมเดลที่มีการมีระบบ ACGร่วมด้วยสามารถทำนายค่าใช้จ่าย ได้มากกว่าร้อยละ 30

  21. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • การจัดกลุ่มACG กับประชากรในโครงการประกันสุขภาพใน3รัฐ คือGeorgia, MississippiและCalifornia สำหรับใช้ในการจ่ายเงินที่ปรับตามความเสี่ยงของประชากร ตัวแปรที่ใช้ทำนายการจ่ายเงิน ได้แก่ อายุ เพศ และกลุ่มACG • พบว่ากลุ่มโรคร่วมปรับค่าทางคลินิกจะทำนายการจ่ายเงินได้ดีในประชากรกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีต้นทุนสูง แต่สำหรับกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทและยากจน ต้องพิจารณาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางสุขภาพร่วมด้วย (Adams E et al., 2002)

  22. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • ประเทศแคนาดาทดลองจัดกลุ่มACG ใน2รัฐ คือManitobaและBritish Columbia ดูผลการจัดกลุ่มและการทำนายค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายได้แก่ อายุ เพศ และกลุ่มACGหรือADG • พบว่าการจัดกลุ่ม ACGสามารถใช้ได้กับข้อมูลในประเทศแคนาดา • ความสามารถในการการทำนายค่าใช้จ่ายด้วยตัวแปรอายุ เพศ และADG จะสามารถทำนายได้ดีกว่าเมื่อใช้ตัวแปร อายุ และเพศ เพียงอย่างเดียว • กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ สามารถทำนายต้นทุนปัจจุบันได้ดีกว่าในอนาคต (Reid R et al., 2001)

  23. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • ในประเทศสเปนมีการศึกษาการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก และมีการ ประเมินความถูกต้องของฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะนำมาใช้ • พบว่า การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก สามารถอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลได้ โดยสามารถอธิบายเกี่ยวกับจำนวนครั้งของการมาพบแพทย์ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับยา การส่งต่อและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการฉายรังสี ได้มากกว่าร้อยละ 50ร้อยละ 25-40ร้อยละ 25-30และ ร้อยละ 14-16 ตามลำดับ (Orueta J et al., 2006)

  24. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาลการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเพื่อทำนายค่ารักษาพยาบาล • ประเทศอังกฤษ มีการศึกษาการใช้การจัดกลุ่ม ACGในการอธิบายค่าใช้จ่ายจากการสั่งจ่ายยา โดยการศึกษาย้อยหลังเป็นเวลา 1ปี ในประชากรทุกช่วงอายุ • พบว่า อายุ และเพศ สามารถอธิบายค่าใช้จ่ายได้เพียงร้อยละ 10ในขณะที่ถ้าเพิ่มโรคร่วมเข้าไปในโมเดล จะทำให้โมเดลนั้นสามารถอธิบายค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งการศึกษานี้สรุปว่า การใช้กลุ่มโรคร่วมสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการงบประมาณได้ (Omar R et al., 2008)

  25. แบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกแบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • การจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายรายหัว(capitation) ของผู้ป่วยให้แก่องค์กรประกันสุขภาพในรัฐมิเนสโซตา เมื่อใช้การจัดกลุ่มACGร่วมกับแบบประเมินสถานะทางสุขภาพ โดยพิจารณาจากปัจจัยทางประชากร สถานะทางสุขภาพที่วัดด้วยแบบสอบถามผลลัพธ์ทางสุขภาพ(Medical Outcome Study: MOS)กับแบบสำรวจสถานะ36 รายการ อย่างย่อ(36-Item Short-Form Functional Survey: SF-36)และการใช้ทรัพยากรในช่วงที่ผ่านมา

  26. แบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกแบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • พบว่า การประเมินสถานะทางสุขภาพและการใช้ทรัพยากรในองค์กรประกันสุขภาพ ให้ผลดีกว่าการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายโดยปรับตามความเสี่ยงทางประชากรอย่างเดียวเมื่อใช้ในการทำนายต้นทุนของผู้ป่วยทั้งกลุ่มประชากร • ผลการทำนายด้วยโมเดลแบบย้อนหลัง(retrospective model)ที่สร้างจากข้อมูลการเบิกจ่ายเงินในองค์กรประกันจะให้ค่าการทำนายมากกว่าโมเดลแบบไปข้างหน้า(prospective model) จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจประมาณสองถึงสามเท่า

  27. แบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกแบบประเมินสถานะทางสุขภาพกับกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก • ในประเทศสวีเดนมีการศึกษาประเมินใช้ กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก ร่วมกับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้จากแบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ • พบว่าการเพิ่มข้อมูลจากแบบสอบถามสามารถเพิ่มความถูกต้องของ predictive modelได้ (Halling A et al., 2006)

  28. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในประเทศต่าง ๆ • ในประเทศแคนนาดา British Columbia เริ่มใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในปี 2000โดยเริ่มจากการใช้ทำนายค่ารักษาพยาบาลของแพทย์ (Fee for service) • ใน Nordic countries กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก ถูกใช้ในประเทศสวีเดนในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้งในเรื่องของการทำวิจัย การศึกษานำร่อง การประเมินการใช้ระดับประเทศ ซึ่งพบว่า กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์และการทำนายการใช้ทรัพยากรในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิในประเทศสวีเดนได้

  29. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในประเทศต่าง ๆ • ในประเทศสเปน มีหลายงานวิจัยที่ใช้ระบบ ACGดูการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายโดยรวม ซึ่งสรุปว่า ACGเป็นระบบที่เหมาะสมในการใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายการใช้ทรัพยากรในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิในประเทศสเปน และในBasqueมีการใช้ระบบ ACGมานานกว่า 2ปี ส่วนใน Cataloniaอยู่ในช่วงกำลังทำการประเมินระบบว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ ใน Aragonระบบ ACGถูกใช้ในการทำนายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับยา

  30. การใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในประเทศต่าง ๆ • ประเทศเยอรมันถึงแม้จะให้ความสนใจกับการใช้ disease management programs และยังใช้อย่างแพร่หลาย แต่เริ่มมีการศึกษาที่ศึกษาถึงประสิทธิภาพของ ระบบ ACGซึ่งในปัจจุบัน บริษัทยาได้นำมาใช้ศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษา • ใน United Kingdom ระบบ ACGถูกวิจัยใน Englandมาเป็นเวลาหลายปี และในปัจจุบันความสนใจในการใช้โมเดล risk adjustment ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าระบบ ACGจะถูกนำมาใช้

  31. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • การประเมินการให้รหัส ACGในManitoba มีการทดสอบความถูกต้องของรหัสการวินิจฉัยโรค โดยการคำนวณร้อยละ mismatchพบว่ามีน้อยกว่าร้อยละ 5 แสดงว่ารหัสการวินิจฉัยโรคของ Manitobaมีความถูกต้องเพียงพอที่จะใช้ระบบ ACGได้ • การกระจายของ ADG และ ACGพบว่าร้อยละ 82ของผู้ป่วยสามารถให้รหัส ADGได้อย่างน้อย 1รหัส และร้อยละ 18ไม่มีรหัส ADGs (non-users) ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พบร้อยละของ non-usersร้อยละ 15-22 (Tataryn, Roos, Black 1995)

  32. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • สัดส่วนของคนที่มาพบแพทย์แต่ไม่มีรหัสการวินิจฉัยโรคมีน้อยมา (<0.01%) • การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ็บป่วยกับการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล โดยการหาค่า ACG resource intensity weight (RW) • พบว่า RW มีความถูกต้องโดยถ้า ACG ที่มีความรุนแรงมากที่สุด จะได้ค่า RW มากที่สุด และ ACGที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด จะได้ค่า RW น้อยที่สุดเช่นกัน

  33. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • เมื่อเปรียบเทียบค่า RWระหว่าง Manitobaและ British Columbia • พบว่ามีความแตกต่างกันน้อยมาก โดยร้อยละ 54ของรหัส ACGมีค่า RWแตกต่างกันน้อยกว่า 0.2โดยภาพรวมแล้วการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลเมื่อแบ่งตาม ACGมีความคล้ายคลึงกันระหว่าง British Columbia และ Manitoba

  34. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • เมื่อนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับการศึกษาที่ทำใน Minnesota’s Medicaid Programในปี 1995และใน U.S. staff-model Health Maintenance Organization (HMO)ในปี 1994 • พบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก โดยรหัส ACGที่ได้ค่า RWมากใน Manitobaก็จะมีค่า RWมากเช่นกันในทั้ง 2กลุ่มประชากร(Reid R. et a., 1999)

  35. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • การทดสอบความสามารถของการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกในการอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล • ใน Manitobaได้ทำการศึกษาตัวแปรที่สนใจศึกษาได้แก่ อายุ เพศ รายได้ ADGsและ ACGsโดยสร้างโมเดลแล้วทดสอบความสามารถในการอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาล • พบว่าตัวแปร เพศ และอายุ เพียงอย่างเดียวสามารถอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลได้น้อยกว่าร้อยละ 5และถ้าเพิ่ม ADGsเข้าไปในโมเดล เพศ และอายุ จะทำให้มีความสามารถในการอธิบายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 27

  36. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • สำหรับการใช้ ACGsอย่างเดียวสามารถอธิบายได้ประมาณร้อยละ 32เมื่อ เพิ่มตัวแปร รายได้ พบว่าความสามารถในการอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น • เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาใน U.S. โมเดล อายุ/เพศ/ADGและโมเดล ACG-only สามารถอธิบายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลได้ประมาณร้อยละ 19-23และ ร้อยละ 18-25ตามลำดับ ในขณะที่การศึกษาในManitobaสามารถอธิบายได้มากกว่าเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบโมเดลเดียวกัน คือ ร้อยละ 28และร้อยละ 33 ตามลำดับ

  37. การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้การทดสอบการใช้กลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกก่อนการนำมาใช้ • การทดสอบความน่าเชื่อถือของระบบ ACGโดยการทดสอบความคงที่ของการกระจายของ ACGในหลาย ๆ ปี การศึกษาในประเทศไต้หวันที่ดูการกระจายของ ACGในช่วงระยะเวลา 5ปี โดยใช้ฐานข้อมูลจากNational Health Insurance (NHI) ตั้งแต่ปี 2000-2004 • พบว่าการกระจายของรหัส ACGในแต่ละปีทั้ง 5 ปี มีความคงที่ โดยค่า pearson’s correlation coefficient อยู่ในช่วงระหว่าง 0.975-0.999 (Lee W. et al., 2008)

  38. วิจารณ์ • ระบบการจัดกลุ่มสำหรับผู้ป่วยนอกเพื่อใช้ในการจ่ายเงินที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ 1. มีความครอบคลุม(comprehensive) 2.มีความหมายทางคลินิก(clinical meaningful) 3.ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันควรมีการใช้ทรัพยากรในการรักษาคล้ายคลึงกัน(homogeneous resource use) 4.สะดวกในการบริหารจัดการ(administrative simple) 5. มีความยืดหยุ่น(flexible)

  39. วิจารณ์ • ระบบACGsมีเป้าหมายในการพัฒนาคือ ทำให้เป็นระบบที่ง่าย มีความถูกต้องทางสถิติ และมีความสัมพันธ์ทางคลินิก ในการที่จะทำนายความต้องการการให้บริการสุขภาพในผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน • ระบบACGsสามารถใช้ในทำนายการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  40. วิจารณ์ • ข้อมูลที่ใช้ในการจัดกลุ่มควรเป็นข้อมูลที่เข้ากันได้กับข้อมูลที่มีการเก็บ การให้รหัส และมีการปฏิบัติที่เป็นประจำอยู่แล้ว และควรมีการทดสอบการใช้ระบบ ACGs ก่อนการนำมาใช้จริง • ควรทดสอบความเข้ากันได้ของข้อมูล ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ ความผิดพลาดของข้อมูลควรมีน้อย โดยผู้พัฒนาโปรแกรมระบุไว้ว่า ร้อยละของ mismatchควรน้อยกว่า ร้อยละ 5ถึงจะยอมรับได้ (Reid R et al. 1999)

  41. วิจารณ์ • ข้อจำกัดของระบบ • การใช้ฐานข้อมูลอ้างอิงต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจต่างกัน • ตัวแปรที่จะทำให้เกิดความแปรปรวนของการใช้ระบบ ACGsได้แก่ เวอร์ชั่นของ software ชนิดของฐานข้อมูล จำนวนของโรคที่ได้รับการวินิจฉัยต่อครั้งของการมาพบแพทย์ การจัดกลุ่มของทารก และในคนท้อง ความแตกต่างของระยะเวลาในการคัดผู้ป่วยเข้าการศึกษา ขนาดของประชากรอ้างอิง • ดังนั้น การใช้ ACGsในแต่ละประเทศจะให้ค่าน้ำหนักที่แตกต่างกันไป

  42. วิจารณ์ • ข้อจำกัดในเรื่องของการวินิจฉัยโรค การลงรหัสการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือแนวทางในการวินิจฉัยที่แตกต่างกันออกไป อาจทำให้ได้รหัสการวินิจฉัยที่ต่างกัน ทำให้ความน่าเชื่อถือของการวินิจฉัยลดลง ซึ่งส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของการใช้ระบบ ACGเช่นกัน

  43. สรุป • การจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกเป็นการจัดกลุ่มผู้ป่วยนอกเป็นรายบุคคลที่มีลักษณะทางคลินิกคล้ายคลึงกันในช่วงเวลาหนึ่ง ลักษณะของการจ่ายเงินเป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว (capitation) ที่ปรับตามความเสี่ยงของกลุ่มอายุ เพศ ความรุนแรงของโรค (risk-adjusted capitation rate)

  44. สรุป • การจัดกลุ่มโรคร่วมปรับค่าคลินิกอาศัยเกณฑ์ทางคลินิก5ประการ ได้แก่ • ช่วงเวลา(duration) • ความรุนแรง(severity) • การวินิจฉัยที่แน่นอน(diagnostic certainty) • สาเหตุของการเกิดโรค(etiology) • ความจำเป็นในการรักษาเฉพาะทาง(expected need for specialty care)

  45. สรุป • ระบบ ACGเป็นระบบที่สามารถทำนายความเสี่ยงของประชากรแต่ละคน และเป็นฐานในการคำนวณงบประมาณประกอบการจ่ายเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกระบบหนึ่ง

  46. The presentation has been finished Thank you for your attention

More Related