1 / 26

(Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ

กลุ่มที่ 8. (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning).

andres
Download Presentation

(Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มที่ 8 • (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ

  2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม

  3. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้ อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 121) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถต่างกัน ได้ร่วมมือกันทำงานกลุ่มด้วยความตั้งใจและเต็มใจรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในกลุ่มของตน ทำให้งานของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายของงานได้

  4. สลาวิน (Slavin, 1987 : 7-13)อ้างใน ไสว ฟักขาว (2544 : 192) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยทั่วไปมีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน สมาชิกกลุ่มมีความสามารถในการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มจะรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับการสอน และช่วยเพื่อนสมาชิกให้เกิดการเรียนรู้ด้วย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน คือ เป้าหมายของกลุ่ม

  5. ไสว ฟักขาว (2544 : 193) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และส่วนรวม

  6. จากความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 4-6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จของกลุ่ม

  7. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีองค์ประกอบ 5 ประการด้วยกัน คือ 1. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโดยสมาชิกแต่ละคนมีเป้าหมายในการทำงานกลุ่มร่วมกัน ซึ่งจะต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จของการทำงานกลุ่ม 2. มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นการให้สมาชิกได้ร่วมกันทำงานกลุ่มกันอย่างใกล้ชิด โดยแสดงความคิดเห็นกันของสมาชิกภายในกลุ่ม ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน

  8. 3. มีความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน หมายความว่า สมาชิกภายในกลุ่มแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดในการทำงาน โดยที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล 4. มีการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่มย่อย ทักษะระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะเหล่านี้เสียก่อน เพราะเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบผลสำเร็จ เพื่อให้นักเรียนจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  9. 5. มีการใช้กระบวนการกลุ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนหรือ วิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการวางแผนปฏิบัติงานและเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน โดยจะต้องดำเนินงานตามแผนตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงงาน

  10. ความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนเป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม

  11. ไสว ฟักขาว ( 2544 : 195) กล่าวว่า 1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ได้แก่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก การปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันและกัน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล การใช้ทักษะระหว่างบุคคล การทำงานกลุ่มย่อย และกระบวนการกลุ่ม 2. การเรียนรู้เป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม (Traditional Learning) กล่าวคือ การเรียนเป็นกลุ่มแบบดั้งเดิมนั้น เป็นเพียงการแบ่งกลุ่มการเรียนเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมกัน แบ่งงานกันทำ สมาชิกในกลุ่มต่างทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ เน้นที่ผลงานมากกว่ากระบวนการในการทำงาน ดังนั้นสมาชิกบางคนอาจมีความรับผิดชอบในตนเองสูง แต่สมาชิกบางคนอาจไม่มีความรับผิดชอบ

  12. ตารางความแตกต่างของการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้แบบดั้งเดิมตารางความแตกต่างของการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้แบบดั้งเดิม

  13. วิธีการเรียนแบบร่วมมือ วิธีการเรียนแบบร่วมมือนิยมใช้กันมีเทคนิคสำคัญ 2 แบบ คือ 1.แบบเป็นทางการ (Formal cooperative learning) 2.แบบไม่เป็นทางการ (Informal cooperative learning)

  14. แบบร่วมมือร่วมกลุ่ม การเรียนร่วมกัน การแข่งขันระหว่าง กลุ่มด้วยเกม การตรวจสอบ เป็นกลุ่ม เทคนิคการเรียน แบบเป็นทางการ การต่อภาพ การแบ่งกลุ่มแบบ กลุ่มสัมฤทธิ์ การร่วมมือในการ อ่านและเขียน การจัดกลุ่มแบบ ช่วยรายบุคคล

  15. ทำเป็นกลุ่ม ทำเป็นคู่ และทำคนเดียว อภิปรายเป็นทีม การพูดเป็นคู่ อภิปรายเป็นคู่ เทคนิคการเรียน แบบไม่เป็นทางการ การเขียนเป็นคู่ คิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด การพูดรอบวง การแก้ปัญหาด้วย การต่อภาพ การเขียนรอบวง

  16. ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ วันเพ็ญ จันเจริญ กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ มีดังนี้ 1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพราะทุก ๆ คนร่วมมือใน การ ทำงานกลุ่ม ทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน • 2.สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูดแสดงออก แสดงความคิดเห็น • ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน

  17. 3. เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน เช่น เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง ทำให้เด็กเก่งภาคภูมิใจ รู้จักสละเวลา ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน • 4. ร่วมกันคิดทุกคน ทำให้เกิดการระดมความคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาก และวิเคราะห์และตัดสินใจเลือก

  18. 5. ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น การอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกันและกัน อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

  19. แบบทดสอบ 1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) หมายถึงอะไร ? 2. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง ? 3. การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้เป็นกลุ่มแบบดั่งเดิมเหมื่อนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? 4. วิธีการเรียนแบบร่วมมือที่นิยมใช้กันมีกี่เทคนิค อะไรบ้าง ? 5. จงบอกประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ ?

  20. จัดทำโดย ภาษาอังกฤษ G3 กลุ่มที่ 8 • การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) นางสาวเจนจิรา วงศ์นุกูล เลขที่ 49 นางสาวนิชาภา ไชยมาศ เลขที่ 50 นางสาวประไพร กลิ่นหอม เลขที่ 54 นางสาวอรณี พิมสารี เลขที่ 63 นางสาวธิดา วงษ์คำ เลขที่ 64

  21. ขอบคุณ ครับ / ค่ะ

  22. เฉลย 1. หมายถึง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม 2. มี 5 องค์ประกอบ 1. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโดยสมาชิกแต่ละคนมีเป้าหมายในการทำงานกลุ่มร่วมกัน ซึ่งจะต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จของการทำงานกลุ่ม 2. มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นการให้สมาชิกได้ร่วมกันทำงานกลุ่มกันอย่างใกล้ชิด โดยการเสนอและแสดงความคิดเห็นกันของสมาชิกภายในกลุ่ม ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน

  23. 3. มีความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน หมายความว่า สมาชิกภายในกลุ่มแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดในการทำงาน โดยที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล 4. มีการใช้ทักษะกระบวนการกลุ่มย่อย ทักษะระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนทักษะเหล่านี้เสียก่อน เพราะเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบผลสำเร็จ เพื่อให้นักเรียนจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. มีการใช้กระบวนการกลุ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนหรือ วิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการวางแผนปฏิบัติงานและเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน โดยจะต้องดำเนินงานตามแผนตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงงาน

  24. 3. แตกต่างกัน เพราะการเรียนรู้แบบดั่งเดิมจะทำให้นักเรียนในต่งละกลุ่มขาดความรับผิดชอบและไม่เกิดความคิดใหม่ๆ และจะพึ่งพาเพื่อนไม่มีความร่วมมือในการทำงาน ต่างจากการเรียนรู้แบบร่วมมือเพราะ จะทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีความร่วมมือในการทำงาน มีการพัฒนาในด้านสมองมากเพิ่มขึ้น • 4. วิธีการเรียนแบบร่วมมือที่นิยมใช้กันมี 2 เทคนิคคือ • 1.แบบเป็นทางการ (Formal cooperative learning) • 2.แบบไม่เป็นทางการ (Informal cooperative learning)

  25. 5.ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ5.ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ • 1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่มทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน • 2. สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูดแสดงออก แสดงความคิดเห็น • ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน • 3.เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน เช่น เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง ทำให้เด็กเก่งภาคภูมิใจ รู้จักสละเวลา ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน • 4.ร่วมกันคิดทุกคน ทำให้เกิดการระดมความคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาก และวิเคราะห์และตัดสินใจเลือก

  26. 5.ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น การอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกันและกัน อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

More Related