410 likes | 607 Views
กิจการประเภท การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร. คำนิยาม. สถานประกอบกิจการ หมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับ การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร . ลักษณะกระบวนการผลิต.
E N D
กิจการประเภท การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
คำนิยาม สถานประกอบกิจการ หมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับ การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
ลักษณะกระบวนการผลิต ขั้นตอนที่ 1 การเปิดปีกไม้เป็นการนำซุงไม้ท่อน ที่มีขนาดต่าง ๆ เข้าเครื่องเลื่อยสายพาน ทำการเปิดปีกไม้ เพื่อปอกเปลือกไม้และตัดตาไม้ ให้เรียบ และดูเป็นรูปร่าง ขั้นตอนที่ 2 การตัด การซอยไม้เป็นการนำไม้ที่ผ่านขั้นตอนการเปิดปีกไม้แล้ว มาทำการ ตัด ซอย ให้เป็นแผ่นไม่ที่มีขนาดต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า
ขั้นตอนที่ 3 การอัดน้ำยาไม้ แบ่งได้ 2 วิธี คือ 1. ปล่อยให้น้ำยาซึมเข้าไปในเนื้อไม้ตามธรรมชาติ ได้แก่ การทาด้วยแปรง พ่น หรือ นำไม้จุ่มหรือแช่ลงไปในน้ำยา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายไม่ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ 2. ใช้ความดัน การใช้ความดันก็เพื่อช่วยให้น้ำยาเข้าไปในเนื้อไม้ได้ลึก และทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม้ก่อสร้างธรรมดานั้นน้ำยา สามารถซึมเข้าไปได้เกือบถึงใจกลางไม้ ซึ่งเป็นการป้องกันแมลงได้ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 4 การอบไม้ เป็นการนำไม้ มาทำให้ความชื้นหรือน้ำระเหยออกจากเนื้อไม้ที่สด โดยเหลือปริมาณความชื้นอยู่ในเนื้อไม้ได้ส่วนสมดุลกับบรรยากาศที่อยู่ สำหรับสภาวะอากาศของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการผึ่งและอบไม้ เพื่อให้เสียเวลาน้อยที่สุดและต้องไม่ทำให้ไม้เมื่อผึ่งและอบแล้วมีตำหนิ
ขั้นตอนที่ 5 การไสไม้เป็นการนำแผ่นไม้ที่ผ่านการอบแห้งมาทำการไสให้ผิวมีความเรียบ เพื่อเกิดลวดลายของไม้ที่สวยงาม และไม่เป็นเสี้ยน เครื่องมือที่ใช้ในการไสไม้ คือ เครื่องไสไม้ 2 หน้า และเครื่องไสไม้ 4 หน้า ขั้นตอนที่ 6 การตัดแต่งไม้ เป็นการตัดแต่งไม้อีกครั้ง เพื่อให้ได้ขนาดความยาว ความกว้างตามความต้องการของลูกค้า ก่อนนำส่งไม้เหล่านี้ไปยังที่ต่าง ๆ ต่อไป
ปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการ จากขั้นตอน การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ ด้วยเครื่องจักร พบว่า แต่ละกระบวนการมีปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ ปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาเสียงดัง เสียงดัง และอุบัติเหตุ นำซุงไม้เข้าเครื่องเลื่อยสายพาน เสียงดังฝุ่นละออง และอุบัติเหตุ เครื่องเลื่อยสายพานซอยไม้ ใช้สาร C.C.A.(Copper Chromium Arsenate), ไอความร้อนจากหม้อน้ำ อุณหภูมิ 110-160ðF ความร้อน การรับสัมผัสสารเคมี และอุบัติเหตุ เสียงดัง ฝุ่นละออง และอุบัติเหตุ เครื่องไสไม้,ไม้ เสียงดัง ฝุ่นละออง และอุบัติเหตุ เครื่องตัดไม้,แผ่นไม้
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากฝุ่นละออง • การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากเสียงดัง • การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุและอัคคีภัย การควบคุมปัจจัยเสี่ยงกิจการประเภท การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
1.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากฝุ่นละออง1.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากฝุ่นละออง 1.1 เครื่องแยกฝุ่นโดยอาศัยแรงเฉื่อย (Inertial Separators)อาศัยหลักการแยกฝุ่นออกจากอากาศ ด้วยแรงดึงประเภทต่าง ๆ เช่น แรงเหวี่ยง (Centrifugal) แรงโน้มถ่วง (Gravitational) และ แรงเฉื่อย (Inertial) โดยฝุ่นจะถูกแรงดึงแยกไปรวมเก็บไว้ที่ภาชนะเก็บกัก (Hopper) ก่อนนำไปกำจัดต่อไป 1.2 ระบบถุงกรองฝุ่นละออง (Baghousesfilters) เป็นกระบวนการที่สามารถแยกฝุ่นละอองในช่วงขนาด 0.1 - 10 ไมครอน อาศัยหลักการกรองอากาศผ่านใยผ้าที่มีลักษณะคล้ายถุง ที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือผ้าสักหลาด
1.4 เครื่องดักฝุ่นละอองแบบไฟฟ้าสถิตย์(Electrostatic Precipitator; ESP) เป็นเครื่องมือที่มีหลักการคัดแยกฝุ่นละอองออกจากอากาศ โดยอาศัยแรงดึงดูดของระบบไฟฟ้าสถิตย์ 1.3 ระบบสครับเบอร์ (Scrubbers) เป็นการกำจัดฝุ่นละออง ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน โดยอาศัยการพ่นน้ำปะทะกับอากาศที่มีฝุ่นละอองปนเปื้อนอยู่ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงมากวิธีการหนึ่ง โดยอากาศที่ผ่านระบบ Wet scrubber จะถูกส่งต่อไปยังกระบวนการกำจัดความชื้น เพื่อขจัดละอองน้ำออกก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ
2. การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากเสียงดัง 2.1 การลดระดับเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียง (Source Noise Control) • 2.1.1 การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง หรือวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการสะท้อนของเสียง • 2.1.2 การเลือกใช้วิธีการแยกเสียงสั่นสะเทือน (Vibration Isolation) จะช่วยป้องกันการเคลื่อนที่ของพลังงานความสั่นสะเทือนจากเครื่องจักร โดยอาศัยหลักความยืดหยุ่น เช่น สปริง (Spring) แผ่นยาง (Rubber mounts) จุกยาง (Cork) ครอบไว้เฉพาะที่เครื่องจักร หรือตำแหน่งที่ก่อให้เกิดเสียงดัง (Existing Machine Guard)
2. การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากเสียงดัง (ต่อ) 2.1.3 การตรวจสภาพเครื่องจักร และการติดตั้ง ให้มีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ให้มีความชำรุด เสียหาย และต้องมีประสิทธิภาพเป็นประจำ เนื่องจากเครื่องจักรกลที่ใช้งานมานาน เป็นสาเหตุของเสียงดังได้เช่นกัน 2.1.4 การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีเสียงเบา มาใช้แทนเครื่องจักรที่มีเสียงดัง เช่น การเปลี่ยนจากการใช้โซ่หมุน (Chain drive) มาเป็นการใช้สายพาน (Timing belts drive) ซึ่งสามารถลดระดับเสียงลงได้ 6 – 20 เดซิเบล 2.1.5 การลดกำลังเครื่องจักร บางกรณีพบว่ากำลังเครื่องจักรก็มีส่วนทำให้เสียงดังมากขึ้น เช่น ความเร็วของพัดลม (Fan speed) เป็นต้น
2.2 การลดระดับเสียงที่ทางผ่าน (Pathway Noise Control) • 2.2.1 การเลือกใช้อุปกรณ์กันเสียง (Sound Insulation) เป็นการจำกัดพื้นที่ของการเกิดเสียง เพื่อไม่ให้เสียงเคลื่อนผ่านอากาศออกไปยังพื้นที่โดยรอบ แสดงแนวกันเสียงรูปแบบต่าง ๆ
2.2.2 การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง (Sound Absorption) ทำให้เสียงเปลี่ยนสภาพจากพลังงานสียง (Sound energy) เป็นความร้อน เก็บสะสมไว้ในวัสดุดูดซับ ที่มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ (Sponge) วัสดุดูดซับเสียงมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิด และประเภทของเสียงที่เกิดขึ้น
2.3 การลดระดับเสียงที่ตัวบุคคล (Personal Control)เป็นการแก้ไขปัญหา ในทางอาชีวอนามัย วิธีการนี้เหมาะสำหรับการป้องกันเสียงที่เกิดขึ้นกับพนักงานหรือคนงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยสถานประกอบการเหล่านี้มักจะจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ไว้ให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานภายในบริเวณที่มีเสียงดัง เป็นการช่วยป้องกันอันตรายอันเกิดจากเสียง ตัวอย่างเช่น ที่อุดหู (Ear plugs) ที่ครอบหู (Ear muffs) เป็นต้น
3.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุและอัคคีภัย3.การควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุและอัคคีภัย • 3.1 การแต่งกายของพนักงานควรแต่งกายให้กระชับ รัดกุม สวมเครื่องป้องกันอันตรายอันเกิดมาจากทำงานไม้ ได้แก่ • ผ้าปิดจมูก • ถุงมือผ้า • Ears Plug ตัวเสียบหูและชุดครอบหู • แว่นตา
3.2 การป้องกันที่เครื่องจักร - ตัวกันไม้ตีกลับ ติดมากับเลื่อยวงเดือน • - การ์ดป้องกันฟันเลื่อย สำหรับป้องกันปัญหาอันตรายจากฟันเลื่อย
เครื่องทำเดือย สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้งาน • ที่ได้มีคุณภาพและปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน • - อุปกรณ์ประคอง ติดมากับเครื่องเร้าเตอร์ • - ตัวพาไม้ แบบมือจับ สามารถสร้างขึ้นมาก็ได้ ช่วยในกรณีที่พนักงานดันไม้เข้าเครื่องเลื่อยซอยไม้ในพื้นที่แคบ ๆ และมือมีโอกาสเข้าใกล้ใบเลื่อยมากเกินไป
3.3 การป้องกันอัคคีภัย - อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ส่วนมากใช้เป็นเครื่องดับเพลิง เพราะงานไม้บางครั้งต้องมีวัตถุไวไฟเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉเพาะงานสี
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ 1.สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถานสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงงาน กฎหมายว่าด้วยผังเมือง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นระยะทางที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและปัญหาเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง 2. สุขลักษณะสถานประกอบกิจการ 2.1 กรณีที่สถานประกอบกิจการมีอาคารและอยู่ในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายนั้น (ตรวจสอบได้จากเอกสาร อ1 ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร)
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ(ต่อ) 2. สุขลักษณะสถานประกอบกิจการ (ต่อ) 2.2 กรณีที่สถานประกอบกิจการอยู่นอกเขตพื้นที่ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้ปฏิบัติดังนี้ 1) อาคารสถานประกอบกิจการ ต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และประกอบด้วยวัสดุทนไฟ 2) พื้นอาคาร ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง เรียบ ไม่ลื่น ทำความสะอาดง่าย และไม่ดูดซึมน้ำ สำหรับพื้นห้องที่มีน้ำเปียกอยู่เสมอ ต้องมีความลาดเอียงเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ดี 3) ฝาผนังอาคาร ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง เรียบ และทำความสะอาดง่าย 4) หลังคามุงด้วยกระเบื้องหรือวัสดุทนไฟ
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ (ต่อ) 2. สุขลักษณะสถานประกอบกิจการ (ต่อ) 2.3 มีการแยกพื้นที่กระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การเลื่อยการซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร ให้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน และจัดให้มีระบบการระบายอากาศที่เหมาะสม 2.4 จัดให้มีช่องทางระหว่างเครื่องจักรผ่านสู่ทางออก มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร1 2.5 จัดให้มีพื้นที่หรือบริเวณสำหรับเก็บสะสมไม้ดิบที่เพียงพอ เหมาะสมกับปริมาณไม้ดิบในกระบวนการผลิตและต้องมีมาตรการในการควบคุม ป้องกันปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพานะนำโรคในพื้นที่ดังกล่าว 2.6 จัดให้มีพื้นที่สำหรับการขน-ส่งสินค้า และการจอดที่เพียงพอ
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ (ต่อ) 2. สุขลักษณะสถานประกอบกิจการ (ต่อ) 2.7 มีระบบการระบายอากาศภายในอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เช่น (1) กรณีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ : มีประตู หน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศด้านติดกับอากาศภายนอกเป็นพื้นที่รวมกัน ไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ของห้องนั้น (2) กรณีการระบายอากาศโดยวิธีกล : ถ้าเข้าข่ายโรงงาน หรืออาคารพาณิชย์ มีอัตราการระบายอากาศ ไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมง เท่ากับ 4 เป็นต้น) 2 2.8 กรณีที่สถานประกอบกิจการมีอาคาร ต้องจัดให้มีทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ พร้อมแผนผังแสดง โดยต้องมีป้ายแสดงให้เห็นเด่นชัด สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แม้ในขณะไฟฟ้าดับ ทั้งนี้ รูปแบบให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ตัวอักษรขนาดความสูง ไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร หรือสัญลักษณ์ที่อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน และต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอ ที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจนขณะเพลิงไหม้) 2
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ (ต่อ) 3. ความปลอดภัยของ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ 3.1 เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ที่มีส่วนที่เป็นอันตราย ต้องมีครอบป้องกันอันตราย 3.2 เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เปลือกนอกเป็นโลหะ จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เช่น สายดิน เครื่องตัดไฟรั่ว เป็นต้น 3.3 การเดินสายไฟ ต้องเดินสายไฟให้เรียบร้อย หรือเดินในท่อร้อยสาย 3.4 การติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในลักษณะ ที่มั่นคง ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงาน สามารถป้องกัน การปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิต และสามารถทำความสะอาดเครื่องจักร เครื่องมือ และบริเวณที่ตั้งได้ง่ายและทั่วถึง
ส่วนที่ 2 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบการ ระยะก่อนประกอบการ (ต่อ) 3. ความปลอดภัยของ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ (ต่อ) 3.5 จัดให้มีสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน - กรณีห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูง ไม่เกิน 2 ชั้นต้องมีระบบสัญญาณเตือน เพลิงไหม้ติดตั้งอยู่ในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา - กรณีโรงงานหรืออาคารพาณิชย์ ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ติดตั้งอยู่ภายในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่องทุกชั้น7 4. การป้องกันเหตุรำคาญ จัดให้มีมาตรการ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ เพื่อป้องกัน เหตุรำคาญที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่โดยปกติแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ 1.สุขลักษณะสถานประกอบกิจการ มีการทำความสะอาด และบำรุงรักษาอาคารสถานประกอบกิจการ รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เป็นประจำ 2. ความปลอดภัยของ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ 2.1 เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ รวมถึงสวิตซ์และสายไฟต่างๆ ต้องจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัย 2.2 เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ต้องได้รับการตรวจตรา ทำความสะอาด ซ่อมแซม และบำรุงรักษาให้อยู่ใน สภาพดี หากพบการชำรุด ต้องดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไข พร้อมทั้ง จัดให้มีป้ายหรือสัญญาณเตือนกรณีเครื่องจักรชำรุดหรือขัดข้อง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 3.การจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ และการสุขาภิบาลอาหาร 3.1 จัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ (น้ำดื่ม ไม่น้อยกว่า 1 ที่ สำหรับผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 40 คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1 ที่ สำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกๆ 40 คน เศษของ 40 คน ถ้าเกิน 20 คน ให้ถือเป็น 40 คน) 3 และต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม โดยลักษณะการจัดบริการน้ำดื่ม ต้องไม่ก่อให้เกิดความสกปรกหรือการปนเปื้อน 3.2 จัดให้มีน้ำใช้ที่สะอาด และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน 3.3 สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้ให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 3.4 จัดให้มีอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ ที่มีจำนวนเพียงพอและ ถูกสุขลักษณะ
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 4. การจัดการมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง 4.1 มีการป้องกัน ควบคุม หรือบำบัด กลิ่น และฝุ่นละออง จากการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) ในเวลา 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 0.33 มก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในเวลา 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 0.12 มก./ลบ.ม.) 4 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.2 จัดให้มีระบบดูดฝุ่น และรวบรวมฝุ่นเฉพาะที่ จากบริเวณที่มีการเลื่อยการซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ ที่มีประสิทธิภาพ ก่อนเข้าสู่ระบบดังกล่าวทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน และต้องมีการควบคุมปริมาณฝุ่นให้เป็นตามมาตรฐานของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 4.การจัดการมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง (ต่อ) 4.3 มีการควบคุมระดับเสียงจากการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (เช่น ระดับเสียงสูงสุดไม่เกิน 115 dBAและระดับเสียงรบกวน ไม่เกิน 10 dBAเป็นต้น) 6 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. การจัดการน้ำเสีย มูลฝอย ของเสียอันตราย และสิ่งปฏิกูล 5.1 มีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากการประกอบกิจการก่อนระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และต้องดูแลทางระบายน้ำไม่ให้อุดตัน 5.2 จัดให้มีภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอย มีการทำความสะอาดภาชนะรองรับ และบริเวณ ที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอรวมทั้งมีการรวบรวมและกำจัดมูลฝอย ที่ถูกสุขลักษณะ
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 5. การจัดการน้ำเสีย มูลฝอย ของเสียอันตราย และสิ่งปฏิกูล (ต่อ) 5.3 มีการทำความสะอาด เก็บรวบรวมเศษไม้ ขี้เลื่อย หรือเศษวัสดุ ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ทิ้งลงภาชนะรองรับมูลฝอย เป็นประจำทุกวันหลังเลิกงาน หรือทุกครั้ง ที่พบว่าเศษไม้ ขี้เลื่อยหรือวัสดุอื่นใด มีปริมาณเกินสมควร 5.4 มีการจัดการของเสียอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 5.5 จัดให้มีห้องส้วม และอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม โดยจัดห้องส้วมแยกชาย-หญิง และมีจำนวนอย่างน้อยในอัตรา 1 ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 15 คน(กรณีสถานประกอบกิจการมีทั้งเพศชาย และหญิง ควรแบ่งเป็นชาย 1 ที่ และหญิง 1 ที่) อัตรา 2 ที่ ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 40 คน อัตรา 3 ที่ ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 80 คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ ในอัตราส่วน 1 ที่ ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 50 คน
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 6. การป้องกันเหตุรำคาญ จัดให้มีมาตรการ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ เพื่อป้องกัน เหตุรำคาญที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่โดยปกติแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน 7.1 จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง และเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่เหมาะต่อการใช้งาน ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้ดีโดยสะดวก และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งนี้จะต้องมีการบันทึกผลการตรวจสอบสภาพเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างน้อย 6 เดือน ต่อครั้ง9 7.2 จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละแผนกของสถานประกอบกิจการนั้น มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งมีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง9
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.3 มีสถานที่จัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการประกอบกิจการ ที่มีความมั่นคง แข็งแรง แยกออกจากพื้นที่อื่นๆ โดยต้องจัดให้มีป้ายแสดงชนิด ประเภทของสารเคมีแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน กรณีสถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ต้องจัดให้มีบัญชีรายชื่อและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS; safety data sheets) โดยเอกสารทั้งหมดให้แสดงเป็นภาษาไทย จัดเก็บไว้ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย 7.4 จัดให้มีอุปกรณ์รองรับสำหรับภาวะฉุกเฉิน เช่น ที่ชำระล้างร่างกายฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย รวมถึงมีการส่งต่อผู้ป่วย กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.5 จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน กรณีสถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ต้องจัดให้มีความเข้มแสงสว่าง ดังนี้ - บริเวณเลื่อย ไส ตัด และการทำคิ้ว ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ - บริเวณขัด เจาะ และซอยไม้ ไม่น้อยกว่า 400 ลักซ์ - บริเวณทางเดิน ไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ - บริเวณทั่วไป ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ - ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ เฉลียง และบันไดในบริเวณสถานที่ประกอบการ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์2
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.6 จัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุมปัญหาเสียงดังภายในสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (เช่น ค่า TWA ไม่เกิน 90 dBAในช่วงเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง ค่า TWA ไม่เกิน 91 dBAในช่วงเวลาทำงาน 7 ชั่วโมง และค่า TWA ไม่เกิน 92 dBAในช่วงเวลาทำงาน 6 ชั่วโมง เป็นต้น)6 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 7.7 มีการควบคุมความเข้มข้นฝุ่นละอองเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวอนามัยความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฝุ่นหรือละอองของ : ทองแดง ไม่เกิน 1 มก./ลบ.ม. โครเมี่ยมและสารประกอบของโครเมี่ยม ไม่เกิน 1 มก./ลบ.ม. สารหนูและสารประกอบของสารหนู ไม่เกิน 0.5 มก./ลบ.ม.) หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.8 จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ผู้ปฏิบัติงาน เช่น หน้ากากป้องกันไอระเหย หรือ สารเคมี หรือ ฝุ่นที่อุดหู หมวก ถุงมือ รองเท้ายาง แว่นตานิรภัย และเสื้อคลุม เป็นต้น ตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลดังกล่าวตลอดเวลาการปฏิบัติงานทุกครั้ง 7.9 จัดให้มีการป้องกันอันตรายจากความร้อนในการทำงาน เช่น ลดเวลาในการสัมผัสความร้อนของผู้ปฏิบัติงาน การใช้ฉากหรือผนังกั้นความร้อน มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดการสัมผัสกับไอร้อนหรือลมร้อน และน้ำร้อน เป็นต้น
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.10 จัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานแรกรับเข้าทำงาน และผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและตรวจตามปัจจัยเสี่ยง (เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด) ตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 7.11 ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมหรือให้ความรู้ก่อนเข้าปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการทำงานพร้อมทั้งมีการบันทึกผลของการอบรมทุกครั้ง 7.12 จัดให้มีคู่มือหรือเอกสารที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน ณ จุดปฏิบัติงาน ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 7. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) 7.13 มีการควบคุมการเกิดประกายไฟจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบริเวณที่มีไอระเหยของสารเคมี 7.14 มีการตรวจตรา และควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในห้องเก็บฝุ่นไม้ เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอัคคีภัย 7.15 มีผนังอาคารโรงงานลดเสียงดังหรือมีกำแพงกั้นลดความดังของเสียงหรือสิ่งอื่นใดที่สามารถลดความดังของเสียง หรือ มีระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงดังจนถึงแนวเขตของโรงงานเพียงพอที่จะไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง8
ส่วนที่ 3 มาตรการตรวจสอบสถานประกอบกิจการระยะประกอบการ (ต่อ) 8. การป้องกัน ควบคุม สัตว์และแมลงพาหะนำโรค จัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุม สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ในพื้นที่สถานประกอบกิจการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดในการแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อ 9. มาตรการอื่นๆ (ต่อ) 9.1 จัดให้มีพื้นที่สำหรับจอดรถผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ ให้เป็นสัดส่วน และไม่กีดขวางการจราจร 9.2 มีการจัดทำแผนและดำเนินการติดตามตรวจสอบสถานประกอบกิจการ ก่อนขอใบอนุญาตหรือต่อใบอนุญาตประกอบกิจการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 9.3 สภาพทั่วไปของโรงงานมีการรักษาความสะอาด มีความ เป็นระเบียบ เรียบร้อย