360 likes | 785 Views
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551. มีทั้งหมด 80 มาตราแบ่งเป็น 7 หมวด ดังนี้ * หมวด 1.. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ * หมวด 2.. รายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ * หมวด 3.. การส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมวิชาชีพ
E N D
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 80 มาตราแบ่งเป็น 7หมวด ดังนี้ *หมวด 1.. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ *หมวด 2.. รายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ *หมวด 3.. การส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมวิชาชีพ *หมวด 4.. การสร้างโครงข่ายพื้นฐาน การใช้และการต่อโครงข่าย *หมวด 5.. การส่งเสริมและพัฒนากิจการฯ *หมวด 6.. การกำกับดูแล *หมวด 7.. การกำหนดโทษ
นิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 4) *กองทุน: กองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม *แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์: แผนแม่บทกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามกฏหมายว่าด้วย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
นิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 4) *คลื่นความถี่: คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเยียน ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี ความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ ลงมาที่ถูกแพร่กระจาย ในที่ว่าง โดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น *คณะกรรมการ: คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่ง ชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจกา รโทรคมนาคม *กรรมการ:กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ *สำนักงาน: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์แห่งชาติ
นิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 4) *เลขาธิการ: เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ *พนักงานเจ้าหน้าที่: ผู้ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้
การประกอบกิจการฯ (มาตรา 7-0) การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ กำหนดไว้ดังนี้ *1..ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ *2..ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาต หรือถูกเพิกถอนมาแล้วยังไม่ครบ 3 ปี *3..ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง การแบ่งเวลาให้ผู้อื่น ดำเนินการให้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
สรุปใบอนุญาตประเภทต่างๆ มี 7 ประเภท (มาตรา 10) ประเภท ๑ (ส่งเสริมความรู้ ) ประเภท ๒ (ความมั่นคงของรัฐ) ประเภท ๓ (ส่งเสริมความเข้าใจ อื่นใดระหว่างรัฐกับประชาชน) บริการสาธารณะ ใบอนุญาต ประกอบกิจการ บริการชุมชน ประเภท ๑ (ระดับชาติ ) ประเภท ๒ (ระดับภูมิภาค) ประเภท ๓ (ระดับท้องถิ่น) บริการธุรกิจ
ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ (มาตรา 11-13) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ *1..กิจการบริการสาธารณะ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มิใช้รัฐวิสาหกิจ (2) สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่บริการโดยไม่ แสวงหากำไร (3) สถาบันอุดมศึกษา
ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ (มาตรา 11-13) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ *2..กิจการบริการชุมชน ต้องเป็น (1) สมาคมมูลนิธินิติบุคคลอื่นที่มุ่งการบริการไม่แสวงหากำไร (2) กลุ่มคนในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล *3..กิจการประกอบธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคล และมีลักษณะ ดังนี้ (1) ระดับภูมิภาคหรือระดับท้องถิ่น ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีภูมิลำเนาในถิ่นนั้น ฐานะการเงินมั่นคง (2) กิจการประเภทอื่นนอกจากนี้ ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัท
การอนุญาตให้ประกอบกิจการ (มาตรา 17) การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ โดย ใช้คลื่นความถี่ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาต คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ *1..หน้าที่ตามกฎหมาย หรือความจำเป็นเพื่อบริการสาธารณะ *2..ความต้องการที่หลากหลาย ความพร้อมและประโยชน์สาธารณะ ของชุมชน *3..การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
อายุของใบอณุญาต • ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง มีอายุไม่เกิน 7ปี • ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ มีอายุไม่เกิน 15ปี
การหารายได้จากการโฆษณาของกิจการฯ (มาตรา 20-23) การหารายได้จากการโฆษณาของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กำหนดไว้ *1.. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ประเภทที่ 1 จะหารายได้จากการ โฆษณามิได้ เว้นแต่การโฆษณาของหน่วยงานรัฐหรือ นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร *2.. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสาธารณะประเภทที่ 2 หารายได้จากการโฆษณาได้ เท่าที่จำเป็น โดยไม่แสวงหากำไร *3.. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อบริการชุมชน จะหารายได้จากการโฆษณามิได้ *4.. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อธุรกิจ ต้องส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนากิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นรายปี ซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ ก่อนหักค่าใช้จ่าย *5.. การประกอบกิจการทางธุรกิจให้ดำเนินการหารายได้โดยการโฆษณา การบริหารธุรกิจ การจัดเก็บค่าสมาชิกหรือโดยวิธีอื่นใดได้
กำหนดเวลาในการโฆษณา (มาตรา 23) การดำเนินการโฆษณาและบริการธุรกิจให้ทำได้ไม่เกิน ชั่วโมง ละ12นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณา ตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน ชั่วโมงละ 10นาที
กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (มาตรา 25-26) กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่หมายถึง กิจการที่กระจายเสียงและภาพไปตามสายเคเบิล ผู้ประกอบกิจการต้องมีคุณสมบัติดังนี้ *1..เป็นบุคคลสัญชาติไทย และต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกพักหรือถอนใบอนุญาต *2..มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคล *3..ไม่เป็นบุคคลที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ยังไม่ครบ 3 ปี *4..เป็นนิติบุคคลที่มีคนสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
หลักเกณฑ์ของกิจการฯ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (มาตรา 27) กิจการฯ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ให้คณะกรรมการมีอำนาจ ประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ *1..สัดส่วนรายการและผังรายการ *2..การหารายได้ *3..การบันทึกรายการออกอากาศ และการเก็บรักษาบันทึกนั้น
การหารายได้จากการโฆษณาของกิจการฯ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (มาตรา 28) กิจการฯ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่จะโฆษณาหรือบริการธุรกิจได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 6นาที เมื่อรวมตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้ว ต้องไม่เกิน ชั่วโมง ละ 5นาที นอกจากนี้ต้อง... *..ส่งเงินรายปีเข้าของทุนไม่เกินร้อยละ 2 ของรายรับ *..อาจจะหารายได้โดยวิธีอื่นได้ *..รายงานสถานการณ์ทางการเงินต่อคณะกรรมการ
การป้องกันการผูกขาด (มาตรา 31) ห้ามผู้รับใบอนุญาต ถือครองธุรกิจในกิจการประเภท เดียวกัน หรือครองสิทธิห้ามถือในกิจการฯ ที่ใช้คลื่นความถี่ ให้การประกอบกิจการของผู้รับใบอนุญาต อยู่ใน บังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า และ มาตรการเฉพาะที่คณะกรรมการประกาศ
ผังรายการของกิจการกระจายเสียงผังรายการของกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (มาตรา 33) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ที่ใช้คลื่นความถี่ต้องจัดผังรายการ ให้มีสัดส่วนดังนี้ *1..กิจการบริการสาธารณะ ต้องมีข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ 70% *2..กิจการบริการชุมชน ต้องมีข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ 70% *3..กิจการธุรกิจ ต้องมีข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ 25% ต้องเสนอผังรายการให้คณะกรรมการอย่างน้อย 15 วัน ก่อนเริ่ม ให้บริการ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงผังรายการต้องขออนุญาตก่อน 7 วัน
การบริการตามคำร้องของหน่วยราชการ (มาตรา 35-38) ให้ดำเนินการตามคำร้องขอของทางราชการ ในกรณีต่อไปนี้ *1..เมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือมีเหตุฉุกเฉิน *2..จัดบริการให้คนพิการหรือคนด้อยโอกาส *3..ห้ามออกรายการที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
การส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมวิชาชีพ (มาตรา 39-40) *1..ให้คณะกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ของผู้รับใบอนุญาต และผู้เกี่ยวข้อง จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของวิชาชีพขึ้น เพื่อควบคุมกันเอง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน เป็นหลัก *2..ผู้ได้รับความเสียหายจากรายการที่ออกอากาศที่เป็นเท็จหรือ ละเมิดสิทธิ อาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการได้
การส่งเสริมและพัฒนากิจการฯ (มาตรา 51-52) การส่งเสริมและพัฒนากิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้ *1..จัดให้มีการประเมิน ประสิทธิภาพ และผลสำฤทธิ์ ของการประกอบ กิจการ *2..จัดให้มีการประเมิน คุณภาพของรายการ *3.. จัดให้มีการรับฟังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง *4.. ส่งเสริมการปรับปรุงให้ดีขึ้น
การกำกับดูแล (มาตรา 53-55) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ. นี้ ให้คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังนี้ *1..เรียกให้มาชี้แจง หรือส่งเอกสารพยานหลักฐาน *2..มีหนังสือแจ้งให้บุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสาร *3.. เข้าไปในสถานที่ประกอบการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง *4.. สั่งให้ผู้กระทำการรบกวนการรับส่งหรือแพร่สัญญาณระงับ หรือเปลี่ยนแปลงการกระทำนั้น