1 / 43

สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์. ครูสมเรียน วงค์สัมพันธ์. 1.ความหมายของ “ สารสนเทศ ”. 1.1 สารสนเทศ ( Information)  หมายถึง ข้อมูลต่างๆทั้งทีบันทึกด้วยตัวอักษรตัวเลข หรือรูปภาพ โดยสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาแล้ว. 1.ความหมายของ “ สารสนเทศ ”.

albert
Download Presentation

สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ครูสมเรียน วงค์สัมพันธ์

  2. 1.ความหมายของ “สารสนเทศ” • 1.1 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆทั้งทีบันทึกด้วยตัวอักษรตัวเลข หรือรูปภาพ โดยสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาแล้ว

  3. 1.ความหมายของ “สารสนเทศ” • 1.2 แหล่งสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ แผนที่ เอกสารทางวิชาการ หนังสือตำรา วารสารภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

  4. 2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ • 2.1 ด้านตำแหน่งที่ตั้ง สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ช่วยให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญ เช่น เขื่อน เกาะ อุทยานแห่งชาติ และแหล่งทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น

  5. 2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ • 2.2 ด้านการศึกษา เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาของนักวิชาการในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการป่าไม้ นักธรณีวิทยา นักวิชาการการเกษตร นักวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น

  6. 2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ • 2.3 ด้านการวางแผน ฝ่ายปกครองของบ้านเมืองใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มาจากดาวเทียม ช่วยทราบข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น การก่อตัวของเมฆและแนวโน้มการเกิดพายุฝน ทำให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้าและป้องกันภัยธรรมชาติได้ทัน

  7. 3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 3.1 ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต

  8. 3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ • 3.2 ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น

  9. 4. แผนที่ • 4.1 แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่างๆที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ

  10. 4. แผนที่ • 4.2 ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ชนิด (1) ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น (2) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน เขื่อน ที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ

  11. 5.รูปถ่ายทางอากาศ • 5.1รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน • 5.2หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม

  12. 5.รูปถ่ายทางอากาศ • 5.3การนำไปใช้ประโยชน์ • ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบจากรูปถ่ายในระยะเวลาแตกต่างกัน • การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน • การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้

  13. 5.รูปถ่ายทางอากาศ • 5.4 การศึกษาข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่าและศึกษาด้วยกล้องสามมิติ เนื่องจากรูปถ่ายทางอากาศไม่มีคำอธิบายใดๆ ดังนั้น จึงควรศึกษาควบคู่กับแผนที่ด้วยจะทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

  14. 6. ภาพจากดาวเทียม • 6.1 ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ

  15. 6. ภาพจากดาวเทียม • 6.2 การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิงโดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้นๆบนพื้นผิวโลก

  16. 6. ภาพจากดาวเทียม • 6.3 ภาพจากดาวเทียมให้ประโยชน์ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิประเทศของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น

  17. 7.อินเตอร์เน็ต • 7.1 อินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์สเปซ คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่างๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค “การสื่อสารไร้พรมแดน”

  18. 7.อินเตอร์เน็ต • 7.2 บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพ็จ” (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม

  19. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้

  20. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.1 เข็มทิศ เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่ายๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก

  21. เข็มทิศ

  22. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด

  23. Planimeter

  24. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.3 เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่

  25. เทป-ล้อ วัดระยะทาง

  26. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.4 เครื่องย่อขยายแผนที่ (pantograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ

  27. pantograph

  28. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.5 กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ

  29. Telescope

  30. 8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์8.อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ • 8.6 กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ

  31. Stereoscope

  32. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.1 เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิ 2 ระบบ ดังนี้ (1)ระบบเซลเซียส (0-100 องศา C) (2)ระบบฟาเรนไฮต์(32-212 องศา F)

  33. เทอร์โมมิเตอร์

  34. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.2 บารอมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด คือ (1) แบบปรอท (2)แบบแอนิรอยด์

  35. บารอมิเตอร์

  36. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.3 แอโรเวน(Aerovane)เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้ (1) แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม (2) วินเวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม

  37. Aerovane

  38. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.4 เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge) ทำด้วยโลหะทรงกระบอกซ้อนกัน 2 ชั้น

  39. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.5 ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)ใช้วัดความชื่นของอากาศ โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชิ้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว

  40. ไฮโกรมิเตอร์

  41. 9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ • 9.6 ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท ( เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง ) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)

  42. ไซโครมิเตอร์

  43. จบ

More Related