1 / 62

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อินเทอร์เนท

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อินเทอร์เนท. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Ch. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet. หัวข้อเรื่อง Internet คืออะไร ประวัติความเป็นมาของ Internet Internet ทำงานอย่างไร

abrial
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อินเทอร์เนท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เนทความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เนท ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

  2. Ch. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet หัวข้อเรื่อง • Internet คืออะไร • ประวัติความเป็นมาของ Internet • Internet ทำงานอย่างไร • รับส่งข้อมูลได้ถูกที่ด้วย IP Address • Intranet & Extranet คืออะไร

  3. 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet • อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network • อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

  4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet • ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

  5. 2) ประวัติโดยย่อของอินเทอร์เน็ต (History of Internet) • มีต้นกำเนิดมาจากโครงการ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งได้รับสนับสนุนโดยกระทรวงกลาโหม(Department of Defense) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางการทหารต่อมาในปี 2523 National Science Foundation (NFS) นำซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ ARPANET ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน NFS จึงสร้าง NFSnet ขึ้นเองเพื่อเชื่อมต่อกับ ARPANET ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต • ชนิดของคอมพิวเตอร์

  6. พัฒนาการของ Internet (1/2) • ชนิดของเครือข่ายมี 3 แบบ • Local Area Network: LAN • Metropolitan Area Network: MAN • Wide Area Network : WAN • ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

  7. พัฒนาการของ Internet (2/2) • ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

  8. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (1/6) • ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย • โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC • สายโทรศัพท์ทองแดง

  9. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (2/6) • ในปีพ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและตั้งชื่อโครงการนี้ว่าTCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้งจ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาทและใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการUNIX ประเภทหนึ่งที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)

  10. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (3/6) • ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP 1 ไบต์(Byte) เท่ากับ 8 บิต 1 กิโลไบต์(Kilobyte) เท่ากับ 1024 ไบต์ 1 เมกะไบต์(Megabyte) เท่ากับ 1024 กิโลไบต์ 1 กิกะไบต์(Gigabyte) เท่ากับ 1024 เมกะไบต์ 1 เทอราไบต์ เท่ากับ 1024 กิกะไบต์

  11. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(4/6)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(4/6) • เครือข่ายแห่งใหม่นี้ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆในTCSNetและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ" • ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกาทำให้จุฬาฯเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อThaiNetอันประกอบด้วยAIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วยภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)

  12. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(5/6)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(5/6) • และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 • AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร

  13. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(6/6)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(6/6) • ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนขึ้นมากในปัจจุบัน • รายชื่อบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน http://sweedare.tripod.com/isp.html

  14. 3) การทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต • สิ่งสำคัญบนระบบอินเทอร์เน็ตคือ ทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์หลายรูปแบบหลายระบบ ที่แตกต่างกัน และใช้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน จากเครือข่ายทั่วโลกนี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ • ภาษากลางซึ่งเป็นมาตรฐานของโลก คือ ภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกัน การติดต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต ย่อมต้องมีมาตรฐานกลาง ได้แก่ โพรโตคอล TCP/IP • Transmission Control Protocol / Internet protocol (TCP/IP) เป็นระเบียบวิธีหรือข้อกำหนดกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  15. 3) การทำงานของอินเทอร์เน็ต • โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

  16. TCP/IP: The Universal Language of the Internet • ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆใน Internet จะต้องสื่อสารกันโดยใช้วิธีปฏิบัติเดียวกัน หรือ Protocol เดียวกันที่ชื่อ TCP/IP

  17. โปรโตคอล(TCP/IP) Transmission Control Protocol/Internet Protocol) • TCP เป็นโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งข้อมูลที่เป็น Packet ไปยังเครื่องรับปลายทางและจะทำการควบคุมตรวจสอบข้อมูลในขณะส่งว่ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ ถ้า Packet ที่ส่งไปมีปัญหา โปรโตคอล TCP ก็จะกำหนดวิธีการให้เครื่องรับปลายทางแจ้งให้ส่ง Packet ไปใหม่ Software ภายใต้โปรโตคอล TCP ของเครื่องส่งจะแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อย และใส่หมายกำกับ Packet ก่อนส่งไป Software ของเครื่งรับปลายทางจะรวม Packet แล้วจัดลำดับโดยรวมข่าวสารข้อมูลเข้าด้วยกันให้เหมือนต้นฉบับที่ส่งมา • IP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในการเลือกเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย และทำการตรวจสอบที่อยู่ของผู้รับโดยการใช้ IP Address

  18. โปรโตคอล (HTTP) • HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง Web Page ที่อยู่บนเครื่อง Server มาให้เครื่อง Client ที่ทำการร้องขอไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถท่องไปใน Web site ต่างๆทั่วโลกได้

  19. 4) การอ้างอิงที่อยู่ของอุปกรณ์บนระบบเครือข่าย • การส่งจดหมาย ต้องระบุชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่งเช่นเดียวกันสำหรับการติดต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดชื่อ ที่อยู่ของอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายเช่นเดียวกัน • การอ้างอิงชื่อ-ที่อยู่ของอุปกรณ์บนระบบเครือข่าย 3 แบบ 1. MAC address 2. IP Address 3. Domain Name

  20. MAC Address • MAC Address เป็นหมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายที่มีมากับการ์ดแลนด์ หรือ Network Interface Card ซึ่งถูกกำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตจะมีหมายเลขที่ไม่ซ้ำกันและ ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขได้ (เป็นตัวเลขหกกลุ่ม เลขฐานสิบหก) • ตัวอย่าง MAC Address เช่น 08:0a:0e:12:b5:05 • ข้อเสียของการใช้ MAC address คือ จดจำได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนหรือย้ายเครื่องต้องทำการกำหนดค่าเริ่มต้นใหม่

  21. IP Address (1/3) • ใช้เป็นหมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งหมายเลขจะต้องไม่ซ้ำกัน • ข้อดีคือ หมายเลย IP ไม่ผูกติดกับฮาร์ดแวร์ เนื่องจากเป็นการกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ ผู้ใช้จึงสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ InterNIC เป็นหน่วยงานในการดูแลและจัดสรรไอพี แอดเดรสให้แต่ละหน่วยงานที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

  22. IP Address (2/3) • ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบเลขฐานสองในการประมวลผล ดังนั้น IP Address จึงประกอบด้วย เลขฐานสองจำนวน 32 บิต • เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงใช้รูปแบบเลขฐานสิบจำนวน • 4 ชุด คั่นด้วยจุด แทน เช่น • 1111 0000 1100 0001 0000 0001 1111 1111 • 240 . 193 . 1 . 255

  23. IP Address (3/3) • IP Address ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น หมายเลขเครือข่าย และส่วนที่เป็นหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังภาพ เปลี่ยนแปลงค่าได้ตามจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีในระบบ 32 บิต หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายเลขเครือข่าย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้

  24. ปัญหาของ IP Address • จำนวนหมายเลข IP ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้งาน • อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อแก้ปัญหาความไม่เพียงพอของ IP Address ที่มีใน ปัจจุบัน จึงมีการคิดค้นพัฒนา IP Address เวอร์ชั่น 6 ซึ่งประกอบด้วย 128 บิต • ซึ่งเพิ่มจำนวนหมายเลข IP ได้อีกมากมาย

  25. Domain Name System • เป็นระบบการแทนชื่อในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำได้ง่าย โดยระบบชื่อ โดเมนจะประกอบด้วยชื่อหรือชุดของตัวอักษรเป็นกลุ่มๆ โดยใช้เครื่องหมายจุดเป็นตัวแบ่งกลุ่ม เช่น www.rmutt.ac.th • โครงสร้างของระบบชื่อโดเมนจะมีลักษณะเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า โดเมนย่อย (Sub-domain) โดเมนย่อยที่อยู่ทางซ้ายมือจะถือเป็นเป็นส่วนย่อยของโดเมนที่อยู่ทางขวามือ โดยโดเมนที่อยู่ทางขวามือสุด มีชื่อเรียกว่า "โดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain)" ซึ่งจะกำหนดให้เป็นชื่อย่อของประเทศหรือประเภทขององค์กร แล้วมีลำดับลดลงมาจน ถึงโดเมนซ้ายสุดเป็นชื่อเครื่องที่ให้บริการ

  26. การขอจดทะเบียนโดเมน • การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ • 1. การขอจดทะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net • 2. การขอจดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net

  27. Figure

  28. Domain Name System 202.29.21.3 www.rmutt.ac.th

  29. โครงสร้าง DNS • โครงสร้างของ DNS แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรกเป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอเมริกา) ซึ่งจะลงท้าย เช่น com หรือ edu • ประเภทที่สองเป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน ประเทศอื่น จะลงท้ายด้วยตัวย่อชื่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย หรือ jp หมายถึงประเทศญี่ปุ่น

  30. โดเมนระดับบนสุดในยุคเริ่มต้นอินเตอร์เน็ตในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาโดเมนระดับบนสุดในยุคเริ่มต้นอินเตอร์เน็ตในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา • com (Commercial Organizations) คือกลุ่มธุรกิจการค้า • edu (Educational Organizations) คือสถาบันการศึกษา • gov (Government Organizations) คือหน่วยงานรัฐบาล • mil (Military Organizations) คือหน่วยงานทางทหาร • net (Networking Organizations) คือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่าย • org (Non-commercial Organizations) คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

  31. ความหมายของกลุ่มโดเมนเนมความหมายของกลุ่มโดเมนเนม • .biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com • .info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ • .us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย • .co.th ย่อมาจาก commercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย • .ac.th ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย • .or.th ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย • .in.th ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย • .net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

  32. Domain Name System (DNS) • การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องระบุหมายเลข IP ทุกครั้ง เหมือนการโทรศัพท์ จำเป็นต้องกดหมายเลขปลายทาง ลองพิจารณาหมายเลข IP ต่อไปนี้ ยากในการจดจำ • 10.3.4.18 • 200.7.8.234 • 100.8.3.1 • 102.33.33.98 • 203.204.152.8

  33. Domain Name System (DNS) • ระบบ DNS จึงออกแบบชื่อมาเพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำชื่อแทน IP Address ซึ่งจำและใช้งานได้ง่ายกว่าคล้ายการโปรแกรมหมายเลขโทรศัพท์ในโทรศัพท์มือถือ • www.bu.ac.th • www.yahoo.com • www.sanook.com • www.google.com • www.networks.com

  34. 5) Intranet คืออะไร • อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีแนวความคิดเหมือนกับอินเทอร์เน็ต แต่จะเชื่อมโยงกันเฉพาะภายใน เช่น ภายในบริษัทหรือองค์กรมากกว่า เครือข่ายอินทราเน็ตจะมีคุณลักษณะที่ให้ประสิทธิภาพและความสามารถในการบริการได้เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตมีให้

  35. อินทราเน็ต-เป็นคำนาม เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันของ client ภายในเครือข่าย ภายใต้อนุสัญญาอินเตอร์เน็ตพื้นฐานโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP และ HTTP ตัวคอมพิวเตอร์ 1 ตัว (node) ของเครือข่ายมูลฐาน IP จะอยู่ภายใต้ไฟร์วอล์ล โดยที่หลายๆ ไฟร์วอล์ลจะเชื่อมต่อเพื่อให้มีความปลอดภัยที่เป็นไปได้ และมีได้หลายเครือข่าย คำจำกัดความของ Intranet

  36. Internal web ที่รู้จักกันในนามของ intranet คือ การร่วมกันระหว่างองค์กรทั่วโลกจนเป็นที่สนใจของสังคม ประกอบไปด้วยหลายๆ HTTP บนอินเตอร์เน็ตส่วนตัวเช่น LAN หรือ WAN ของระบบ web คือ เครือข่ายของClient/server ที่ไม่มีรูปร่างและโครงสร้าง ซึ่ง HTTP เป็นตัวดำเนินการ Internal web และ A corporate web

  37. ความสนใจของสังคมก็เป็นปัจจัยในการดำเนินการของ web แต่ก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือจาก client ในการสร้าง intranet เช่น กลุ่มงาน (workgroup) กับ 1 server ,บริษัทกับหลายร้อย server และ องค์กรกับหมื่น server ที่สามารถร่วมกันพิจารณาในการใช้ intranet Intranet Journal จึงอ้างถึง extranet ซึ่งเป็นเวปส่วนตัวที่เป็น intranet ที่ขยายพื้นที่ให้กว้างขวางออกไป แสดงให้เห็นว่าได้มีการประยุกต์ WAN ให้มีการใช้กับระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ความสามารถมากมายของ Intranet

  38. Groupware จัดตั้งขึ้นโดยนักการตลาดในปี ค.ศ.1995 ซึ่งหมายถึง software ที่มีความสะดวกต่อการทำงานเป็นกลุ่มที่ยังไม่เคยปรากฏอยู่ในคำจำกัดความของประเภทของ software. ในปัจจุบันมีการใช้น้อยลงและที่ยังใช้อยู่ก็มีเพียง 3 ผลิตภัณฑ์ คือ Lotus Notes, Microsoft Exchange, Novell Group เทคโนโลยีอินทราเน็ต เหมาะกับการใช้งานจำนวนมาก มีการทำให้มันสมบูรณ์ในกรณีที่พื้นที่นั้นยังไม่มีในเรื่องของความปลอดภัยและการค้นหารวบรวม ผลิตภัณฑ์ของ groupware ขนาดใหญ่จะเปลี่ยนจากเดิมเป็นพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมทางอินเตอร์เน็ต เช่น Microsoft Exchange 5.5 ยังมีการสนับสนุน POP3 และ IMAP4 ,กลุ่มข่าวพื้นฐานNNTP และการบริการการชี้แจง LDAP ความเกี่ยวโยงกันของ intranet กับ groupware

  39. E-mail ถูกสร้างขึ้นโดย CyberHeaven โดยที่ e-mail เป็น network’s killer web และเป็นพื้นฐานของข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งอินทราเน็ตจะมีการขนส่ง mail โดยมีโปรโตคอล TCP/IP เหมือนกับอินเตอร์เน็ต intranet มักใช้ MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) เนื่องจากมีความสามารถในการส่งข้อมูลที่หลากหลายมากกว่า ที่จริงแล้ว MIME ก็คือเวปอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพิ่มรูปแบบข้อมูลได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น streaming audio ความเกี่ยวโยงกันของ intranet กับ e-mail

  40. Extranet คืออะไร Extranet คือ อินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลกด้วยสายโทรศัพท์หรือวงจรเช่าต่างๆ แต่ทำงานด้วยมาตรฐานกลาง TCP/IP เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตหรือสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความปลอดภัยสูง

  41. ลักษณะที่สำคัญของ Extranet 1. Extranet ใช้มาตรฐานเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือใช้โปรโตคอล TCP/IP 2. เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างบริษัท ลูกค้า และบริษัทอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน 3. มีลักษณะคล้ายกับอินเตอร์เน็ตที่มีการเปิดออกสู่โลกภายนอกมากขึ้น คล้ายกับอินเตอร์เน็ตมีผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งจะสามารถมองว่าเป็นอินเตอร์เน็ตที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นก็ได้

  42. ข้อกำหนดของ Extranet • องค์กรและบุคคลที่จะมารวมอยู่ในระบบเดียวกันได้ จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เช่น ระบบ World Wide Web • ระบบใหม่จะต้องช่วยส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบสินค้า การติดต่อสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการสำรองสินค้าคงคลังได้ การทำให้กิจกรรมที่แต่ละองค์กรทำอยู่ดำเนินไปได้ด้วยดี ถือว่าเป็นความสำเร็จของระบบ Extranet

  43. ข้อกำหนดของ Extranet • นอกจากจะรักษาสถานะภาพเดิมขององค์กรไว้ได้แล้ว ระบบจะต้องสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งระบบเก่าทั้งหมด แต่นำสิ่งใหม่ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสื่อสารมารวมเข้ากับระบบเดิม • ความสำเร็จของระบบจะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ซอฟท์แวร์ด้วย โดยจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถพอที่จะสามารถใช้งานได้จริงๆ ไม่ใช่โปรแกรมทดลองหรือโปรแกรมที่เขียนโดยมือสมัครเล่น และที่สำคัญต้องรองรับการขยายตัวของระบบได้ ซึ่งในขณะนี้ก็มีบริษัทหลายแห่งเริ่มสร้างซอฟต์แวร์สำหรับช่วยให้การดูแลระบบทำได้ง่ายขึ้น

  44. ตารางแสดงให้เห็นความแตกต่างของวิธีการเชื่อมต่อ และระดับของความปลอดภัย โดยที่ระดับของความปลอดภัย จะต่ำกว่า LAN & WAN เพราะ การเชื่อมต่อและส่งข้อมูลเป็นไปโดยผ่านทางเครื่องข่าย Internet โดยการสื่อสารผ่าน internet จะต้องผ่านการควบคุม และ รักษาความปลอดภัย โดยการเชื่อมต่อที่มีระดับความปลอดภัยที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ก็คือ Extranet

  45. ในส่วนแรก การติดต่อสื่อสารของ Intranet Extranet และ e-commerce เป็นการสื่อสารผ่าน internet เพื่อ connect business users ในส่วนที่สองIntranet เป็น Local network มากกว่า Extranet จึงสามารถเคลื่อนย้ายหรือส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่า Extranet ในส่วนที่สาม network managers จะมีสามารถควบคุมเหนือกว่าผู้ใช้ ได้แตกต่างกันในแต่ละระบบ ความสัมพันธ์ระหว่าง Intranet, Extranet และ e-commerce

  46. ใน Intranet Administrators สามารถจำกัดกลุ่มผู้ใช้ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทสามารถเจาะจง OS, standard browser และ mail client ที่ใช้ในการติดต่อ บริษัทสามารถเขียน applications เพื่อใช้งานให้เป็น uniform เดียวกันในเครือข่ายเพื่อการควบคุม ใน B2B Extranet Architects ในแต่ละบริษัท จะต้องแน่ใจว่าส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและแลกความหมาย จะใช้ได้ทั่วไป เพราะลำพังบริษัทเดียว ไม่สามารถมีเหตุผลใดๆ ที่ดึงดูดลูกค้า Extranet จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อติดต่อสื่อสารในวงกว้าง เป็นต้นว่า ในบริษัทที่เป็นคู่ค้าแต่ละแห่งใช้ standard browsers ไม่เหมือนกัน เมื่อจะต้องติดต่อสื่อสารกันผ่าน Extranet applications จึงต้องถูกเขียนขึ้นอย่างเหมาะสมที่สุด โดยจะต้องใช้ได้กับระบบที่มีรูปแบบต่างๆ

  47. มาตรฐานของ internet ถูกพัฒนาเพื่อความต้องการทางเศรษฐกิจ โดยลักษณะเด่นของ business internetworking อยู่ที่การใช้พื้นที่ในการทำงานที่น้อยก็สามารถจะทำงานได้ มาตรฐานของ internet พัฒนาเพื่อ business internetworking - XML [eXtensible Markup Language] - LADP [Lightweight Directory Access Protocol] - PPTP and IPsec - Fast Ethernet - IPv6 - ADSL[Asymmetric Digital Subscriber Line] - IMAP[Internet Message Access Protocol]

  48. นอกจากนี้ การระบุตำแหน่ง[address]อาจเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานวิศวกรรม softwere กำลังพัฒนาให้สะดวกในการพัฒนา application การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานวิศวกรรมนี้รวมไปถึงJava UML XML DNA DEN Linux and Perl

  49. มีคำถามไหมค่ะ????

More Related