1 / 67

Fruit

GAP. Home. Next. Previous. Others. Fruit. Vegetable. Field crop. Pomelo. Asparagus. Orchid. Tobacco . Pathumma. Durian. Okra. Cassava. Citrus. Onion. Coffee. Chinese kale. Corn. Chinese cabbage. Rubber. Durian/thrips. Cabbage. Asparagus bean. agg,. shallot. Chili.

Leo
Download Presentation

Fruit

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GAP Home Next Previous Others Fruit Vegetable Field crop Pomelo Asparagus Orchid Tobacco Pathumma Durian Okra Cassava Citrus Onion Coffee Chinese kale Corn Chinese cabbage Rubber Durian/thrips Cabbage Asparagus bean agg,. shallot Chili Okra-JJ, Mango-KS, Egg plant, Asparagus Click the crop to go

  2. Okra Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่ส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ทำรายได้ปีละมากกว่า 200 ล้านบาท การส่งออกมีตลาดหลักคือ ประเทศญี่ปุ่น ในรูปผักสด และแช่แข็ง ประเทศไทยมีสัดส่วนการตลาดสูงที่สุด และมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นตลอดมา ในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก ผลผลิตกระเจี๊ยบเขียวที่ได้มาตรฐานแต่ละปียังมีปริมาณไม่พอเพียงความต้องการ ซึ่งปัญหาสำคัญในการผลิต ได้แก่ การระบาดของศัตรูพืช กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตกึ่งร้อน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 35 ํC และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดไม่ต่ำกว่า 18 ํC จะเป็นสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำแฉะขัง หรือระบายน้ำยาก และดินกรดจัด พีเอชควรอยู่ระหว่าง 6.6 - 6.8 การปลูกเพื่อส่งออกตลาดญี่ปุ่นจะมีความต้องการในเดือน กันยายน ถึง พฤษภาคม ผลผลิตที่ต้องการคือ กระเจี๊ยบเขียวความยาวฝัก 7 - 10 เซนติเมตร

  3. Okra Home แหล่งปลูก / ผลผลิต Next Previous พื้นที่รวมทั้งประเทศ 5,288 ไร่ ( พ.ศ. 2540 / 41) พื้นที่ปลูกส่งออก 1,800 ไร่ พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจ จังหวัด กทม, ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่สามารถขนส่งกระเจี๊ยบเขียวทางเครื่องบินได้สะดวก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ สงขลาพื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด กทม สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง สุพรรณบุรี จันทบุรี เชียงใหม่ สระแก้ว ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 9,326 ตัน ( พ.ศ. 2540 / 41) ผลผลิตเฉลี่ย 1,626 กก. / ไร่ ( พ.ศ. 2540 )ผลผลิตเฉลี่ยในการผลิตเพื่อการส่งออก 3,000 กก. / ไร่ราคาที่เกษตรกรขายได้ 10 - 16 บาท / กก. ( พ.ศ. 2540 )ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 5,540 ตัน ( พ.ศ. 2541 )การส่งออก ปริมาณ 3,786 ตัน มูลค่า 330.3 ล้านบาท ( พ.ศ. 2541 ) ต้นทุนการผลิต เพื่อส่งออก 25,285 บาท / ไร่ ( พ.ศ. 2539 )

  4. Asparagus Home แหล่งปลูก Next Previous ลักษณะดิน • เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ • มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี • มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5-6.8 สภาพภูมิอากาศ • อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 24-35 องศาเซลเซียส แหล่งน้ำ • มีแหล่งน้ำสะอาด ปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน • มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก ทำเล • อยู่ในแหล่งที่มีการรับซื้อของบริษัทที่ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง

  5. Asparagus Home พันธุ์ Next Previous การเลือกพันธุ์ • มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานพันธุ์ ให้ผลผลิตสูงและตลาดต่างประเทศต้องการ • การเจริญเติบโตดี เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก พันธุ์ที่นิยมปลูก • บร็อคอิมพรู๊ฟ (Brocked lmprove) • บร็อคอิมพีเรียล (Brocked lmperial) • แมรี่ วอชิงตัน (Mary Washington) • ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แคลิฟอร์เนีย เบอร์ 309 หรือ ยูซี 309 (UP 309) • ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แคลิฟอร์เนีย เบอร์ 500 หรือ ยูซี 500 (UC 500)

  6. Asparagus Home การปลูก Next Previous การเตรียมพื้นที่ • ไถตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง • ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-4 ตัน/ไร่ จะช่วยให้ดินร่วนซุยได้หน่อที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด วิธีการปลูก • การเพาะกล้า • เมล็ดพันธุ์ควรแช่น้ำเย็น 1 คืน แล้วห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปวางในที่ชื้นจนกระทั่งเมล็ดปริออกมา   ต้องระวังอย่าให้เมล็ดแห้ง หรืออาจแข่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิ  50-55  องศาเซลเซียส นาน 30 นาที โดยใช้ปริมาณน้ำ 10 เท่าของเมล็ด จากนั้นนำมาแช่ในน้ำธรรมดาที่สะอาด 1 คืน แล้วนำเมล็ดมาผึ่งพอหมาด

  7. Asparagus Home การปลูก Next Previous วิธีการปลูก (ต่อ) • นำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำอุ่นหรือน้ำเย็นแล้วมาคลุกยากันรา แล้วนำไปหยอดในแปลงเพาะกล้า • การเพาะหน่อไม้ฝรั่งสำหรับปลูก1ไร่โดยเตรียมแปลงเพาะกล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร สูงไม่น้อยกว่า 30 ซม. ทำร่องลึก 2 ซม. ห่างกัน 25 ซม.ตามแนวหยอดเมล็ดและกลบดินแล้วใช้ฟางคลุมทับ การปลูกในแปลง • เตรียมหลุมปลูกลึก 20 ซม. ระยะปลูกระหว่างต้น 40-50 ซม. ระหว่างแถว 100-120 ซม. • ย้ายต้นกล้าที่มีอายุ 4 เดือน  ตัดยอดให้เหลือลำต้นเหนือดินสูง 15-20 ซม.นำไปปลูกหลุมละ 1 ต้น • ใช้เชือกฟางกั้นจัดให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว

  8. Asparagus Home การดูแลรักษา Next Previous การให้ปุ๋ย • ระยะต้นกล้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน อัตรา 2 ปี๊บ (15-20 กก.)/แปลง • กล้าอายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร   15-15-15 อัตรา  300-500 กรัม/แปลง • ระยะย้ายปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กรัม/หลุม รองก้นหลุม กลบดินหนา3-5 ซม.  เพื่อป้องกันไม่ให้รากสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง ระยะก่อนการเก็บเกี่ยว • หลังปลูก 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ และใส่อีกทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้งรวม 4 ครั้ง

  9. Asparagus Home การดูแลรักษา Next Previous การให้ปุ๋ย (ต่อ) • ระยะที่กำลังให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ ทุกเดือน • ระยะพักต้นใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ • ปีที่ 2 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3-5 ตัน/ไร่ /ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกัน 6เดือน • ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไปใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200 กก./ไร่ แบ่งใส่4 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน การให้น้ำ • ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม • ควรให้น้ำทันทีหลังจากใส่ปุ๋ยและปลูกแล้ง

  10. Asparagus Home การดูแลรักษา Next Previous การอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ • แตนเบียน หนอนโคทีเซีย ตัวเต็มวัยมีสีดำขนาดเล็กเท่ายุง วางไข่ในตัวหนอนกระทู้หอม  และหนอนกระทู้ผัก  หลังไข่ฟักเป็นตัวจะอาศัยอยู่ภายในประมาณ7 วัน  แล้วออกมาถักรังเข้าดักแด้ภายนอก  ดักแก้มีสีน้ำตาล ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารแต่ยาวเพียงครึ่งเดียวทำให้หนอนศัตรูหน่อไม้ฝรั่งไม่กินอาหารและตายในที่สุด • แมลงห้ำ เช่น มวนพิฆาต วางไข่เป็นกลุ่มสีทองแดง ตังอ่อนวัยแรกสีดำ วัยต่อมาสีดำแต้มแดง ตังเต็มวัยสีน้ำตาล บ่ามีหนามแหลมข้างละอัน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินหนอนศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง

  11. Asparagus Home การดูแลรักษา Next Previous • ควรรักษาแปลงปลูกให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ • กำจัดวัชพืข ควรกำจัดขณะวัขพืชยังเล็ก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต • ควรเก็บวัชพืช เศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก • อุปกรณ์ เช่น กรรไกร เครื่องพ่นสารเคมี ภาชนะที่ใช้เก็บผลผลิต ฯลฯ หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาด และเก็บให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ • ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ให้ล้างทำความสะอาด นำน้ำที่ล้างไปพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับภาชนะบรรจุให้ทำลายอย่างเหมาะสม เช่น ฝังดิน ไม่ควรนำมาใช้ใหม่อีก

  12. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด • โรคลำต้นไหม้ • สาเหตุ        เชื้อรา • ลักษณะอาการเป็นแผลยาวรีสีน้ำตาลบนลำต้น เมื่อโรครุนแรงขึ้น ทำให้ลำต้นไหม้แห้งเป็นทางยาวโรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะเพาะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โรคระบาดได้รวดเร็วในฤดูฝน • โรคใบเทียมร่วง • สาเหตุ         เชื้อรา • ลักษณะอาการเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอนสีม่วงอมน้ำตาลบนใบเทียมเมื่อ โรครุนแรงทำให้ใบเทียมร่วงและกิ่งแห้งตาย โรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนเก็บเกี่ยวผลผลิต พบมากในฤดูฝน

  13. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคเน่าเปียก • สาเหตุ     เชื้อรา • ลักษณะอาการเกิดแผลช้ำสีเขียวบริเวณปลายหน่อ ในสภาพที่มีความชื้นสูงเชื้อราจะสร้างก้านสั้น ๆปลายก้านมีตุ่มสีดำเล็ก ๆ อยู่บริเวณแผลนั้น โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝน

  14. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคแอนแทรคโนส • สาเหตุ     เชื้อรา • ลักษณะอาการเกิดแผลเป็นวงรีสีน้ำตาลหรือเทาดำซ้อน ๆ กันตามยาวของลำต้น เมื่อโรครุนแรงขึ้นส่วนที่เกิดโรคยุบตัวลง ทำให้ลำต้นลีบแห้งตายไป โรคนี้แพร่ระบาดในฤดูฝน • การป้องกันกำจัดโรคของหน่อไม้ฝรั่งแช่กล้าก่อนปลูกด้วยการป้องกันกำจัดโรคพืชตามตารางที่ 1ถอนต้นที่เป็นโรคออกเผาทำลาย เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชตามตารางที่ 1

  15. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ตารางที่ 1 การใช้สารป้องกันกำจัดโรคของหน่อไม้ฝรั่ง

  16. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด หนอนกระทู้หอม • ลักษณะและการทำลายตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวมีขนปกคลุมอยู่ตามส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบ ก้านใบ หนอนทำความเสียหายรุนแรงเมื่ออยู่ในวัยที่ 3ขึ้นไป โดยกัดกินทุกส่วนของพืช พบการทำลายตามแหล่งปลูกหน่อไม้ฝรั่งทั่วไป หนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแก้ในดิน • การป้องกันกำจัดเก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนทำลายไถพรวน พลิก และตากหน้าดินเพื่อกำจัดดักแด้

  17. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous หนอนเจาะสมอฝ้าย • ลักษณะการทำลายตัวเต็มวัยวางไช่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบ ก้านใบ หนอนที่ฟักออกจากไข่ไหม่ ๆ จะกัดกินทำลายภายในกาบใบ บริเวณข้อต่อของหน่อเมื่อโตขึ้นจะแยกย้ายไปทำลายส่วนต่าง ๆ ของหน่อไม้ฝรั่ง หนอนเข้าดักแด้ในดิน พบทำลายได้รวดเร็วและตลอดทั้งปี • การป้องกันกำจัดเก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนทำลาย เพลี้ยไฟหอม • ลักษณะและการทำลายเพลี้ยไฟหอมทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายหน่อไม้ฝรั่งโดยดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชที่ปลายหน่อ กาบใบและใบ ลักษณะการทำลายจะเห็นชัดเจนเมื่อพืชถูกทำลายมากแล้วทำให้หน่อไม้ฝรั่ง เสียคุณภาพและราคา เพลี้ยไฟที่ติดไปกับหน่อไม้ฝรั่งไม่สามารถส่งออกไปจำหน่วยยังต่างประเทศได้

  18. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ตารางที่ 2 การใช้สารชีวินทรีย์และสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง

  19. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ตารางที่ 3 การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่ง

  20. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous วัชพืชและการป้องกันกำจัด • วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด • วัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าดีนนก หญ้าดีนติด หญ้านกสีชมพูและหญ้าปากควาย เป็นต้น • วัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักโขม หญ้ายางเทียนนา หญ้ากำมะหยี่ สะอึก ตดหมูตดหมา และสาบแร้งสาบกา เป็นต้น • วัชพืชประเภทกก ได้แก่ กกทราย หนวดปลาดุก เป็นต้น • วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยหัว เหง้า ไหล • วัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ สอึก ตดหมูตดหมา • วัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าตีนติด หญ้าแพรก หญ้าขนเล็ก • วัชพืชประเภทกก ได้แก่ แห้วหมู

  21. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous วัชพืชและการป้องกันกำจัด • การป้องกันกำจัด • กำจัดขณะที่วัชพืชยังเล็ก โดยถอน พรวนหรือถากติดตื้น ๆ • คลุมดินหลังปลูกด้วยฟางข้าวหรือเศษพืช เฉพาะแถวปลูกห่างโคนต้น • หากพบวัชพืชข้ามปี ให้รีบกำจัดส่วนขยายพันธุ์ออกให้หมดอย่าให้เหลือแม้แต่ต้นเดียว • ในช่วงพักต้นเมื่อตัดต้นและกิ่งหน่อไม้ฝรั่งออกหมดแล้ว หากมีปัญหาวัชพืขรุนแรง ควรกำจัดโดยตัดลำต้นแล้วใช้สารกำจัดวัชพืชพ่นหลังงอก

  22. Asparagus Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ตารางที่ 4 การใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงหน่อไม้ฝรั่ง

  23. Asparagus Home การเก็บเกี่ยว Next Previous ช่วงที่เหมาะในการเก็บเกี่ยว • ช่วงที่หน่อไม้ฝรั่งให้ผลผลิตสูงสุดคือ ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิจากต่ำไปหาสูง นั่นคือประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ (สำหรับภาคกลาง) แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงที่มีอากาศร้อนจัด และช่วงที่มีฝนตกชุก ซึ่งมักจะมีการระบาดของโรคแมลง จึงควรพักใต้ในช่วงดังกล่าวสำหรับการไว้จำนวนต้นในกอที่เหมาะสมในขณะเก็บเกี่ยวคือ ประมาณ 4-5 ต้น วิธีการเก็บเกี่ยว มี 2 วิธี ได้แก่ • วิธีถอน โดยการจับโคนหน่อที่ติดกับดินแล้วดึงขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในดินเหนียว • วิธีการตัดใชัมีดสอดลงไปในดินโคนหน่อแล้วตัด วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในดินทรายหยาบ ๆ

  24. Asparagus Home การเก็บเกี่ยว Next Previous วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บหน่อมาแล้ว รับนำเข้าที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทำความสะอาดโคนหน่ออย่าให้ปลายหน่อถูกน้ำ ทำการคัดขนาดตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการอย่างระมัดระวังอย่าให้ช้ำ ตัดโคนหน่อให้เสมอกัน ใช้กระดาษหุ้มแล้วมัดด้วยเชือกหรือยาง บรรจุในตะกร้าโปร่ง เอาผ้าขาวบางชุบน้ำหมาด ๆ คลุมไว้ จะเก็บได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง ถ้าต้องเก็บไว้นานกว่านั้น ให้เอาตะกร้าที่บรรจุหน่อไม้ฝรั่งใส่ถังน้ำแข็ง แต่อย่าให้หน่อถูกน้ำ จะเก็บได้นานประมาณ2 วัน

  25. Asparagus Home การเก็บเกี่ยว Next Previous มาตรฐานคุณภาพหน่อไม้ฝรั่ง 1. ลักษณะทั่วไปหน่อตรง ยอดแน่น ไม่บานหน่อยาวไม่เกิน 25 ซม. ส่วนที่มีสีเขียวต้องยาวมากกว่า 20 ซม.หน่อต้องสะอาด 2. ขนาดหน่อ • เกรด เอ ที่ยาว 25 ซม. ต้อมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนหน่อตั้งแต่1 ซม.ขึ้นไป และมีน้ำหนักตั้งแต่ 14 กรัมต่อหน่อขึ้นไป • เกรด บี ที่ยาว 25 ซม. ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนหน่อตั้งแต่0.8 ซม. ขึ้นไป และมีน้ำหนักตั้งแต่ 8 กรัมต่อหน่อขึ้นไป

  26. Asparagus Home การเก็บเกี่ยว Next Previous การบันทึกข้อมูล เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติการในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆให้มีการตรวจสอบได้ หากเกิดข้อผิดพลาดบกพร่องขึ้น สามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที เช่น • บันทึกสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน • พันธุ์ วันปลูก วันถอนแยก • วันใส่ปุ๋ย สารเคมี และชนิดชีวินทรีย์ พร้อม อัตราการใช้ • วันที่ศัตรูพืชระบาด • ค่าใช้จ่าย ปริมาณผลผลิต และรายได้ • ปัญหาอุปสรรค์อื่น ๆ ในช่วงฤดูปลูก

  27. Pomelo Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous • เป็นไม้ผลที่มีศักยภาพในการส่งออกเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสามารถเก็บรักษาได้นาน • เป็นผลไม้ที่มีเปลือกหนา ทนทานต่อการกระทบกระเทือน ระหว่างขนส่งได้ในระยะทางไกล

  28. Pomelo Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous ปริมาณและมูลค่าการส่งออกส้มโอสด ปี 2533-2544 ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ปีพ.ศ. ที่มา : กรมศุลกากร

  29. Pomelo Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous ปริมาณและมูลค่าการส่งออกส้มโอสด ปี 2544 ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ที่มา : กรมศุลกากร

  30. Pomelo Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous ผลผลิตของส้มโอตามพันธุ์ปี 2543 ปริมาณ (ตัน) ราคา(บาท/กก.) ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

  31. Pomelo Home สถานการณ์ทั่วไป Next Previous ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส • ปัญหาด้านศัตรูพืชตกค้างกับส้มโอที่ส่งออก เช่นแผลโรคแคงเกอร์ • การตกค้างสารเคมีบางชนิดที่ผิวผล • โรคแมลง ทำให้ส้มโออายุสั้นลง • ศักยภาพของพันธุ์ ทำให้ผลผลิตต่ำ • ขาดพันธุ์ต้นตอที่เหมาะสมกับส้มโอพันธุ์การค้า • แหล่งปลูกเดิม ๆ โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง ที่ดินราคาแพง เกษตรกรขายที่และย้ายพื้นที่การผลิตไปยังแหล่งปลูกใหม่ ๆ ตามภาคต่าง ๆ  ของประเทศ ซึ่งยังไม่มีพันธุ์ที่เหมาะสมของแต่ละแหล่งปลูก

  32. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคแคงเกอร์ (Canker) สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonascampestrispv.citri Hasse ลักษณะอาการของโรค อาการบนใบ ใบอ่อนเกิดเป็นจุดกลม และฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอ่อน เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระนูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล แผลจะเกิดได้ทั้งสองด้านของใบ และเกิดรุนแรงมากบริเวณหนอนชอนใบทำลาย ใบที่เป็นโรคนี้มักร่วงก่อนกำหนด อาการบนกิ่งก้าน เมื่อเชื้อทำลายกิ่งอ่อนเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูบนเปลือกของกิ่งก้าน ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตายและทรุดโทรมอาจถึงตายได้

  33. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคแคงเกอร์ (Canker) อาการบนผล เกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวผลอ่อน แผลนูนคล้ายฟองน้ำมีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์ เชื้อสาเหตุ สามารถเข้าทางปากช่องใบ หรือบาดแผลได้ง่าย และสามารถฟักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ดังนั้น โรคนี้จะระบาดรุนแรงเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม การแพร่ระบาด โดยเชื้อติดไปกับกิ่งพันธุ์ ดิน และน้ำ

  34. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคแคงเกอร์ (Canker) การป้องกันและกำจัด 1. ใช้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงปราศจากโรคปลูก 2. ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการระบาด 3. สารเคมี     3.1 ฉีดพ่นสารประกอบทองแดงคอบเปอร์ออกซี่ดลอไรด์ (คูปราวิต 80 ดับบลิวพี) เพื่อ ป้องกันโรคในระยะส้มเริ่มแตกใบอ่อน อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร     3.2 ป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบด้วย อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอล)     3.3 ในกรณีที่เกิดโรคแคงเกอร์รุนแรงมากอาจใช้สาร streptomycin-sulfate หรือ agrimycin ฉีดพ่น แต่ไม่ควรซ้ำเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้     3.4 ควรกำจัดโรคให้หมดสิ้นในฤดูแล้งซึ่งทำได้ง่าย และควบคุมโรคตลอดฤดูฝน จะทำ ให้ไม่เกิดการระบาดของโรคนี้ได้

  35. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคกรีนนิ่ง (โรคใบแก้ว) สาเหตุ เกิดจากเชื้อคล้ายบักเตรี Fastidious bacteria (FB)  Bacterial like organism แพร่ระบาดโดยแมลงพาหะ เพลี้ยกระโดดส้ม (Citrus psylla :Diaphorina citri) อาการคล้ายขาดธาตุอาหาร ใบส้มโอที่เป็นโรคนี้จะมีสีเหลืองจนถึงเหลืองซีด เส้นกลางใบและเส้นแขนงมีสีเขียวอยู่ด้วย บางครั้งพบว่าใบจะมีจุดสีเหลืองเป็นแต้ม ๆ หรือจ้ำ กระจายไปทั่วบนใบ ส่วนมากจะพบกับใบอ่อน ขนาดของใบจะเล็กลงและหนากว่าปกติ ปลายใบตั้งชี้ขึ้น กิ่งและข้อสั้นกว่าปกติ แตกกิ่งมาก ขนาดผลเล็กเมล็ดลีบ ผลมักร่วงก่อนแก่ จะพบกิ่งแห้งตายจากส่วนปลายยอด แล้วลุกลามไปทั่วต้น การแพร่ระบาด โดยเชื้อติดไปกับกิ่งพันธุ์ และถ่ายทอดโดยเพลี้ยกระโดดส้ม หรือเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

  36. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคกรีนนิ่ง (โรคใบแก้ว) การป้องกันกำจัด1.  หมั่นตรวจทำลายกิ่งที่เป็นโรค2.  ในกรณีที่ถ้าหากเป็นโรคกรีนนิ่งรุนแรง ให้ขุด ถอน และเผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 3.  การปลูกใหม่ต้องเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค 4.  ฉีดพ่นสารเคมีควบคุมเพลี้ยกระโดดส้มแมลงพาหะอย่างสม่ำเสมอด้วย อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอลหรือ แอดมาย 50 อีซี) ในระยะที่มีใบอ่อน

  37. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคทริสเตซ่า (Tristeza) สาเหตุ เชื้อไวรัส Citrus tristeza virus ( CTV) อาการต้นพืชจะแสดงอาการใบเหลือง ผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว ผลส้มมีขนาดเล็กร่วงหล่น บริเวณลำต้นส้มหรือกิ่งใด ๆ จะพบลักษณะเป็นแอ่งบุ๋มตามความยาว เมื่อลอกเปลือกดูจะพบเนื้อไม้สีน้ำตาลเป็นแอ่งบุ๋มแคบ ๆ เป็นทางยาว หรือส่วนเปลือกมีเนื้อเยื่อคล้ายเป็นหนามยื่นออกมา ลักษณะอาการของโรคพบได้ชัดเจนในมะนาว ซึ่งจะพบเส้นใบเป็นขีดโปร่งแสง เมื่อส่องดูย้อนแสงพบเห็นได้ชัด และใบจะซีดเหลืองหงิกงอ อาการเนื้อไม้เป็นแอ่งบุ๋มรุนแรงเมื่อลอกเปลือกตรวจดูกิ่งตายทำให้ลำต้นโทรมอย่างรวดเร็ว อาการของโรคชนิดนี้ในส้มโอใบจะด่างเหลืองเป็นจ้ำ ๆ ใบอาจบิดงอ และเส้นใบอาจนูนแข็งเป็นสีน้ำตาล ผลมีอาการด่างเขียว และเมื่อผ่าดูจะพบว่ามีเปลือกหนา ไส้โต เนื้อน้อย และเมล็ดลีบ

  38. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรคทริสเตซ่า (Tristeza) การแพร่ระบาดโดยการถ่ายทอดทางกิ่งพันธุ์ที่มีแมลงเพลี้ยอ่อนส้ม และเพลี้ยอ่อนชนิดอื่น ๆ และถ่ายทอดโดยการติดตาต่อกิ่ง ต้อนตอที่เป็น sour orange และยอดพันธุ์ sweet orange grape fruit และ mandarin มีความอ่อนแอต่อโรคและแสดงอาการของโรคเป็นแอ่งบุ๋มของเนื้อไม้ไม่ชัดเจน การป้องกันกำจัด1. ใช้ส้มสามใบเป็นต้นตอ ไม่ใช้ต้นตอที่เป็น sour orange           2. ควบคุมการระบาดของเพลี้ยอ่อนส้ม ด้วยสารป้องกันและกำจัดแมลง  อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอลหรือ แอดมาย 50 อีซี) ในระยะที่มีใบอ่อน 3. ใช้ยอดพันธุ์และต้นตอที่ปราศจากโรค

  39. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรครากเน่า (Foot rot and Root rot)  สาเหตุ Phytophthora parasitica อาการต้นพืชมีอาการเหี่ยวใบเหลืองและร่วง รากฝอยเน่าเปื่อยมีสีดำ รากใหญ่ เปลือกรากจะเปื่อยยุ่ย เนื้อไม่เน่าเสีย ลำต้นระดับโคนมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ มียางไหลซึมสีครีมหรือน้ำตาล เนื้อไม้บริเวณที่เป็นโรคเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะนี้ต้นส้มแสดงอาการใบเหลืองลู่ลง ใบร่วงมาก กิ่งตาย และเมื่อโคนเน่ารอบต้นก็จะยืนแห้งตาย ต้องโค่นทิ้ง ในสภาพที่มีฝนตกชุก ลมฝนแรง หรือเขตมรสุม เชื้อราจะถูกพัดพาไปทำลายดอก ใบ และผลส้ม ทำให้ดอกส้มเน่าสีน้ำตาลเหี่ยวแห้งตาย ใบส้มจะเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเนื้อเยื่อเน่าลุกลามทำให้ใบร่วง และผลส้มจะเน่าเป็นจุดสีน้ำตาล แผลลุกลามขยายวงกว้าง ผลร่วงหล่นมาก และพบเชื้อราสร้างสปอร์เป็นคราบขาวที่ผลส้มบนพื้นดิน ผลส้มเป็นโรคเน่าหลังเก็บเกี่ยวเนื่องจากโรคนี้ด้วย

  40. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous โรครากเน่า การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดในดินที่มีน้ำขังได้ดี สามารถว่ายน้ำไปเข้าทำลายราก ทำให้รากเน่าเปื่อย และลุกลามสู่โคนต้น เชื้อราสร้างสปอร์ที่ผิวเปลือกโคนต้น ระบาดไปกับลมฝนและน้ำชลประทาน ในสภาพที่มีความชื้นสูงเข้าทำลายราก ลำต้น ดอก ใบ และผลส้ม การป้องกันกำจัด 1. ใช้ต้นกล้าที่ปลอดโรค 2. รวบรวมต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย 3. ทาโคนต้นป้องกันด้วยสารคอบเปอร์ออกซี่ดลอไรด์ (คูปราวิต 80 ดับบลิวพี) หรือสารชนิดดูดซึม เช่น เมธาแลคซิล และฟอสเซทธิล อะลูมินั่ม (อาลีเอท 80 ดับบลิวจี) อัตรา 80-150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร 4. ต้นที่เป็นโรคควรรีบตัดแต่งถากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคออกและทาด้วย ฟอสเซทธิล อะลูมินั่ม (อาลีเอท 80 ดับบลิวจี) ให้ทั่วถึงอัตรา 80-150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และฉีดลำต้นด้วยสารฟอสเซทธิล อะลูมินั่ม (อาลีเอท 80 ดับบลิวจี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

  41. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ( Asian citrus psyllid ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Diaphorina citri Kuawayamaรูปร่างลักษณะ ตัวเต็มวัย เป็นแมลงขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ความยาวจากหัวถึงปลายปีกประมาณ 3.0 - 4.0 มิลลิลิตร ขณะที่เกาะอยู่กับที่ลำตัวของแมลงจะทำมุม 45 องศา กับต้นส้ม วางไข่เป็นฟองเดี่ยวที่บริเวณตาหรือใบ ของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ไข่ สีเหลืองเข้ม รูปร่างคล้ายขนมทองยอด ปลายข้างหนึ่งมีก้านเล็ก ๆ ฝังติดกับเนื้อเยื่อพืช ตัวอ่อน สีเหลืองค่อนข้างกลมแบน มีตาสีแดง 1 คู่เห็นชัดเจนการแพร่ระบาด พบมากในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม และพฤษภาคม - กรกฎาคม หรือในช่วงฤดูฝน

  42. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ( Asian citrus psyllid ) ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตา และยอดอ่อน ตัวอ่อนจะกลั่นสารสีขาวมีลักษณะ เป็นเส้นด้าย และอาจทำให้เกิดราดำติดตามมา ใบที่ถูกทำลายจะเป็นคลื่น ถ้าทำลายรุนแรงจะทำให้ใบร่วงติดผล หรือไม่ติดผลเลย เพลี้ยไก่แจ้ส้มนอกจากจะทำความเสียหายยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคใบเหลืองต้นโทรมและตายในที่สุด การป้องกันและกำจัด หมั่นสำรวจโดยการสุ่ม 10-20 ต้น/สวน ต้นละ 5 ยอด และสำรวจตัวเต็มวัยโดยการใช้ กับดังการเหนียวติด 5 กับดัก/ไร่ เมื่อพบต้องดำเนินการควบคุมทันที สำหรับยอดที่ พบไข่ให้ตัดออกและนำไปเผาทำลาย สารเคมี พ่นอิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอล หรือ แอดมาย 050 อีซี) อัตรา 8 หรือ 16 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือน้ำมันปิโตรเลียม เช่น DC Tron Plus อัตราความเข้มข้น 0.3% พ่นให้เปียกโชกทั่วต้น

  43. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  44. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous เพลี้ยไฟ (Thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis, Thrips hawaiiensis รูปร่างลักษณะ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็ก สีเหลือง ลำตัวแคบยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีปีก 2 คู่ ประกอบด้วยขนเป็นแผง ตัวเมียจะวางไข่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณด้านบนของใบอ่อน ผลอ่อนและยอดอ่อน เมื่อฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ มีสีขาวใสจากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ตัวอ่อนชอบซ่อนอยู่ภายใต้กลีบเลี้ยงของดอกและผล Scirtothrips dorsalis เป็นเพลี้ยไฟที่พบทำลายที่ยอดอ่อนและผลอ่อน อีกชนิดหนึ่งคือ Thrips hawaiiensis พบทำลายเฉพาะที่ดอกเท่านั้น เมื่อดูด้วยตาเปล่าจะมีลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกันมาก

  45. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous เพลี้ยไฟ (Thrips) ลักษณะการทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล การทำลายรุนแรงอยู่ในระยะผลอ่อนนับตั้งแต่เริ่มติดผลคือ ภายหลังกลีบดอกร่วง ผลที่ทำลายจะปรากฏรอยสีเทาเงินเป็นวงที่บริเวณขั้วผล และก้นผลหรือทางสีเทาเงินตามความยาวของผล ผลที่ถูกทำลายรุนแรงจะบิดเบี้ยว และร่วง ทำให้ผลผลิตต่ำ

  46. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous เพลี้ยไฟ (Thrips) การป้องกันและกำจัด 1. สำรวจปริมาณเพลี้ยไฟที่ดอก เคาะบนกระดาษสีขาว จำนวน 5 ช่อดอก/ต้น ถ้า พบให้นับว่าดอกนั้นถูกทำลาย และพบเกิน 50 % ของจำนวนที่สำรวจทำการป้องกัน และกำจัด ที่ผล ให้ตรวจบริเวณขั้วผล 5 ผล/ต้น ถ้าพบการทำลายถือว่าผลนั้นถูกทำลาย ตรวจพบเกิน 20 % ต้องทำการป้องกัน 2. เด็ดผลที่แคระแกรนเนื่องจากถูกทำลายด้วยเพลี้ยไฟทิ้ง 3. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 4. ใช้สารเคมีเมื่อพบเพลี้ยไฟเกินระดับที่ตั้งไว้ด้วยอิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอลหรือ แอดมาย 50 อีซี)อัตรา 10 หรือ 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

  47. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  48. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leaf miner) ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllocnistiscitrella Stainton รูปร่างลักษณะ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็กมาก เมื่อกางปีกทั้งสองข้าง ความกว้างจากปลายปีกด้านหนึ่งจรดปลายปีกอีกด้านหนึ่ง ประมาณ 8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเทา ปีกสีเทาเงิน และมีจุดสีดำอยู่บริเวณขอบปีก หลังจากผสมพันธุ์แม่ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใกล้เส้นกลางใบ ส่วนใหญ่พบด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายใน 3 - 5 วัน หนอนระยะแรกมีสีเหลืองอ่อนโตเต็มที่ จะมีสีเหลืองเข้ม ก่อนเข้าดักแด้จะชักใยยึดริมขอบใบพันเข้ามาคลุมตัวแล้วเข้าดักแด้อยู่ในใบที่พันนั้น ดักแด้มีสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำตาล มีหนามแหลมที่ปลายส่วนหัว ระยะหนอน 8-10 วัน ดักแด้อายุ 5-10 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบอยู่ตามพงหญ้าบริเวณใต้ต้นส้ม รอเวลาที่จะวางไข่บนยอดอ่อนต่อไป

  49. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leaf miner) ลักษณะการทำลาย เมื่อหนอนฟักออกจากไข่ จะเจาะเข้าไปใต้ผิวใบทันที และกัดกินชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบนั้น ทำให้เห็นเป็นทางขาว ๆ หากทำลายมาก ๆ ใบจะแห้งและร่วงหล่น ถ้าถูกทำลายมากทำให้พืชขาดอาหารที่จะสะสมไว้สำหรับการออกดอกและติดผล ศัตรูธรรมชาติ แตนเบียน Quadrastichus sp., Citrostichus phyllocnistoides, Teleopterus sp., Cirrospilus ingenuus, Ageniaspis citricola, Sympiesis striatipes , Zaommentedon brevipetiolatus, Eurytoma sp., Kratoysma sp., Closterocerus trifasciatus

  50. Pomelo Home ศัตรูและการป้องกันกำจัด Next Previous หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leaf miner) การป้องกันและกำจัด 1. สุ่มสำรวจปริมาณหนอนชอนใบที่ยอดอ่อน 5 ยอด/ต้น และใบแต่ละยอด สำรวจที่ใบอ่อน 5 ใบ ต่อยอด ถ้าพบการทำลายมากกว่า 3 ใบ ให้ถือว่ายอดนั้นถูกทำลาย และให้ทำการป้องกันกำจัดเมื่อพบยอดถูกทำลายมากกว่า 50 % แต่ถ้าพบศัตรูธรรมชาติมากกว่า 25 % ไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด 2. ตัดแต่งกิ่ง ใบ ที่ถูกหนอนชอนใบทำลายรุนแรงไปเผา 3. กำจัดวัชพืช แหล่งที่หลบซ่อนของตัวเต็มวัย หนอนชอนใบ 4. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 5. ใช้สารสะเดาฉีดพ่นตั้งแต่ระยะแตกใบอ่อน สารเคมี เมื่อพบหนอนชอนใบเกินกำหนดที่ตั้งไว้ ใช้สารเคมี อิมิดาคลอพริด (คอนฟิดอร์ 100 เอสเอล)อัตรา 8-10 ซีซี/น้ำ20 ลิตร

More Related