320 likes | 1.36k Views
การดูแลแบบเอื้ออาทร. การดูแล ( Caring ) คือ อะไร. การดูแล คือ......
E N D
การดูแล(Caring)คือ อะไร การดูแล คือ...... “ การแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างบุคคลต่อสัตว์ และระหว่างบุคคลต่อสรรพสิ่งต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม โดยมีความเมตตาเอื้ออาทร ความสนใจ ความเอาใจใส่ เป็นพื้นฐานเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตและสรรพสิ่ง”
Morse และคณะ(1991)จำแนกตาม ontology(คุณวิทยา) หรือตามธรรมชาติความเป็นจริงของการดูแลไว้ 5 ประการ คือ • การดูแลเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์ ซึ่งติดตัวมา และมนุษย์ปฏิบัติการ ดูแลได้เองตามธรรมชาติ • การดูแลเป็นมโนธรรม คุณธรรม จริยธรรม หากผู้ใดปฏิบัติถือได้ว่าเป็นผู้มีคุณธรรม ได้ปฏิบัติสิ่งที่มีคุณค่าและดีงาม • การดูแลเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ที่มีต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และหน้าที่การปฏิบัติการพยาบาล • การดูแลเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งหมายถึงผู้ให้และผู้รับการดูแล • การดูแลเป็นการบำบัด ซึ่งรับรู้ได้ทั้งการสัมผัสทางกายและการสัมผัสในจิตใจที่เกิดจากการดูแลเอาใจใส่ที่ได้รับ
ทฤษฎีการดูแล • แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลของ Mayeroff (Mayeroff ‘s Philosophy, 1971) • แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลของ Roach (Roach’ five Cs of caring model, 1987) • ทฤษฎีการดูแลมนุษย์แบบองค์รวมของ Howard (Holistic Dimension of Humanistic Caring Theory, 1975) • ทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคลของ Watson (Watson’Theory of Transpersonal Human caring, 1979)
ทฤษฎีการดูแลระหว่างวัฒนธรรมของ Leininger (Leininger’sTranscultural Caring Theory, 1981) • ทฤษฎีการดูแล Swanson (Swanson’Caring Theory, 1991) • โมเดลการดูแลของSherwood (Sherwood Therapeutic Caring Model, 1997)
ทฤษฎีการดูแลแบบเอื้ออาทรของWatsonทฤษฎีการดูแลแบบเอื้ออาทรของWatson • Watson มีแนวคิดว่าการดูแลเป็นศาสตร์(Science)ซึ่งเป็นกระบวนการหรือปรากฏการณ์ที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ การดูแล นอกจากจะเป็นศาสตร์และศิลป์(Art)แล้ว ยังเป็นธรรมชาติของมนุษย์ • Watson เชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน(Connectedness)เป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity) ดังนั้นจุดเด่นของทฤษฎีจึงเน้นอยู่ที่การดูแลระหว่างบุคคล(Transpersonal caring)
Watson เชื่อว่าCaring หรือการดูแล จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์หรือสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การดูแลกับผู้ได้รับการดูแล รวมถึงการรับรู้การถ่ายทอดพลังจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเพื่อการบำบัดเยียวยาของผู้รับการดูแลเอง
มโนทัศน์หลัก 3 ประการ * สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Transpersonal Caring Relationship) ** การดูแลที่เกิดขึ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (Caring moment) *** ปัจจัยการดูแล (Carative factors) 3 มโนทัศน์หลักนี้ทำให้ทฤษฎีของWatson มีความสำคัญในแนวลึกถึงระดับจิตวิญญาณ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆที่เป็นสาระสำคัญของชีวิต เพื่อจะได้รู้จักตนเอง เคารพตนเองและเยียวยาตนเอง พยาบาลหรือผู้ให้การดูแลเป็นผู้มีส่วนร่วมและสร้างเสริมพลังในกระบวนการเยียวยาจิตใจและจิตวิญญาณ(Mental-Spiritual Mechanism)ของผู้ป่วยให้คงไว้ซึ่งภาวะสมดุลของร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ ทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยการดูแล 10 ประการ
Caring Moment • องค์รวมของการมีสติ รู้ตัวของการดูแล เยียวยา ความรัก ประกอบกันชั่วขณะหนึ่งของการดูแล • บุคคลที่ดูแลและดำรงอยู่เพื่อการดูแล จะเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อการมีสติ รู้ตัว เกี่ยวกับการดูแล เยียวยา ความรัก ที่สื่อสารกับบุคคลในขณะของการดูแล • เป็นกระบวนการผ่องถ่ายจากใจถึงใจซึ่งกันและกัน
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ • สร้างค่านิยมเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์(Humanistic Altruistic System of value) • สร้างความศรัทธาและความหวัง(Faith-Hope) • ไวต่อการรับรู้ต่อตนเองและผู้อื่น(Sensitivity of Self and Others) • สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือไว้วางใจ(Helping-Trusting Human Caring Relation) • ยอมรับการแสดงออกถึงความรู้สึกทางบวกและทางลบ(Express Positive and Negative Feeling)
ใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในกระบวนการดูแลใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในกระบวนการดูแล (Creative Problem Solving Caring Process) • มีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในกระบวนการเรียนการสอน(Transpersonal Teaching and Learning) • ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ (Supportive, Protective, and / or Corrective Mental, Physical, Social and Spiritual Environment) • ให้การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล(Human Need Assistance) • การเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่(Existential-Phenomenological-Spiritual Forces)
แนวทางการประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรแนวทางการประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทร การดูแลเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่สามารถแสดงออกและวัดประเมินได้ โดยอาศัยการวัดการดูแลที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในขณะที่มีการให้การดูแลและได้รับการดูแล การประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรตามแนวทฤษฎีของWatson มี 2 ลักษณะคือ การนำปัจจัยการดูแลทั้ง 10 ปัจจัย มาประเมิน หรือ ประยุกต์ใช้เพียงบางส่วน เช่น ......
เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทร • Caring Behavior Inventory (42 ข้อ) • Caring Behavior Assessment (63 ข้อ) • Nyberg Caring Attributes Scale (20 ข้อ) • Caring Assessment Tools (100 ข้อ) • Caring Efficacy Scale (30 ข้อ)