290 likes | 573 Views
วัคซีน. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค . ทำได้ 2 วิธีคือ 1. Active immunization คือ การ ให้ วัคซีน/ ท๊อกซอยด์ ป้องกันโรคโดยทั่วไป โดยให้สารแอนติเจน ซึ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค
E N D
วัคซีน วัคซีน
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค • ทำได้ 2 วิธีคือ • 1. Active immunization คือ การให้วัคซีน/ ท๊อกซอยด์ป้องกันโรคโดยทั่วไป โดยให้สารแอนติเจน ซึ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค • 2. Passive immunizationคือ การได้รับภูมิคุ้ม ซึ่งรวมถึงได้รับจากแม่และได้รับเมื่อสัตว์โตแล้วโดยการให้ซีรั่ม (เซรุ่ม) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคสูง เพื่อย่นระยะเวลาที่ร่างกายจะต้องค่อยๆ สร้างภูมิคุ้ม วัคซีน
การสร้างภูมิคุ้มกันโรคไม่จำเป็นจะต้องต่อต้านตัวเชื้อโรคแต่อาจต่อต้านสารพิษที่เชื้อนั้นสร้างขึ้นได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ ชีวภัณฑ์ที่สร้างขึ้นอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน • เซรุ่ม (serum) ได้มาจาก hyperimmune serum ของสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้ได้รับสารพิษทีละน้อย เช่น เซรุ่มพิษงู • ท๊อกซอยด์ (toxoid) ได้มาจากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น และถูกทำให้ลดความรุนแรงลง เช่น เชื้อบาดทะยัก วัคซีน
วัคซีนคืออะไร • คือ สิ่งที่ได้จากเชื้อจุลชีพหรือพยาธิรวมทั้งสารพิษของเชื้อซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการเกิดโรค ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์สิ่งที่มีโครงสร้างคล้ายกับตัวเชื้อและ ก่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกัน วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีนหลักการทั่วไปของวัคซีน • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้าง ชนิดของภูมิคุ้มกันโรคที่มีความจำเพาะต่อการป้องกันโรค ตัวอย่างเช่น • วัคซีนปัองกันโรควัณโรคหรือไทฟอยด์จะต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มชนิดพึ่งเซลล์ (cell-mediated immunity) • วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองหรือโปลิโอจะต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดที่มีในเลือด (humoral immunity) วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทจำเพาะในตำแหน่งที่มีผลต่อการเกิดโรค • วัคซีนที่ป้องกันโรคที่เกิดที่เซลล์เยื่อบุผิวจะต้องกระตุ้นการสร้าง secretory IgA ไม่ใช่ IgG หรือ IgM และต้องมีผลกระตุ้นเซลล์ที่ตำแหน่งที่มีการเกิดโรคด้วย ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ วัคซีนป้องกันหวัด จะต้องกระตุ้นการทำงานของเซลล์เยื่อบุที่ลำไส้ และที่จมูกและคอ เป็นต้น วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนของเชื้อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการก่อโรค • วัคซีนที่ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อ Herpes virus หรือ Pox virus สามารถผลิตแอนติเจนได้มากกว่า 100 ชนิด และแอนติเจนที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่บนผิวของเชื้อโรคนั้นก็ได้ และหากเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนยีนส์มากขึ้นก็จะยิ่งมีแอนติเจนมากขึ้น เช่นเชื้อมาเลเรีย > แบคทีเรีย > ไมโคพลาสมา > ไวรัส วัคซีน
ชนิดของวัคซีน • 1. Inactivated / Killed vaccineได้จากเชื้อที่ทำให้ตายหรืออ่อนกำลังลง ไม่จำเป็นจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น • 2. Live attenuated vaccineได้จากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ (ช่องธรรมดา) วัคซีนที่ได้เชื้อไวรัสมักเป็นชนิดนี้ • 3. Subunit vaccineได้จากบางส่วนของเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้ม มีความจำเพาะมาก เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียม • 4. Toxoid ได้จากสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้น วัคซีน
ชนิดของวัคซีน (ต่อ) • มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวัคซีนเชื้อเป็นและวัคซีนเชื้อตาย • วัคซีนเชื้อเป็นคือ วัคซีนที่ได้จากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนกำลังลง ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ วัคซีนที่เตรียมด้วยวิธีนี้จะยังมีเชื้ออยู่จำนวนเล็กน้อย เมื่อฉีดเข้าไปก็จะสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในร่างกายโฮสต์ได้อีก ทำให้มีเซลล์ที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันจำนวนมาก และเกิดการสร้างภูมิคุ้มได้ดีกว่าวัคซีนเชื้อตาย และภูมิคุ้มจากวัคซีนเชื้อเป็นจะอยู่ในร่างกายได้สั้นกว่า ทำให้ต้องฉีดซ้ำบ่อย วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีนหลักการทั่วไปของวัคซีน • วัคซีนเชื้อตายคือวัคซีนที่ได้จากเชื้อที่ตายแล้ว แต่มีส่วนของแอนติเจนซึ่งเป็นโปรตีนเหลืออยู่ ทำให้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เช่นกัน ดังนั้นวัคซีนชนิดนี้จะใช้เวลากระตุ้นภูมิคุ้มนานกว่า แต่จะอยู่ในร่างกายได้นานกว่าวัคซีนเชื้อเป็นและต้องมีการฉีดซ้ำเมื่อถึงระยะเวลาที่โปรตีนที่เป็นแอนติเจนเสื่อมสลายไป วัคซีน
เชื้อถูกทำให้อ่อนกำลังลงโดยผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงหรืออาหารเลี้ยงเชื้อเชื้อถูกทำให้อ่อนกำลังลงโดยผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงหรืออาหารเลี้ยงเชื้อ มีปริมาณเชื้อในวัคซีนน้อย ค่อนข้างไม่คงตัว (less stable) ต้องเก็บในตู้/ ที่เย็น ไม่ใช้ adjuvant ต้องผสมน้ำยาละลายก่อนใช้ ก่อให้เกิดการแพ้วัคซีนได้ง่าย เชื้อมาจากโรคที่มีความรุนแรงโดยตรงและทำให้ตาย ต้องเตรียมจากเชื้อจำนวนมากกว่า ค่อนข้างคงตัว (more stable) ใช้ adjuvant ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ แต่อาจเป็นฝีได้เนื่องจากสื่อที่ผสมมา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัคซีน เชื้อเป็น เชื้อตาย ที่มา: เกรียงศักดิ์ พูนสุข. 2536. โรคติดเชื้อในไก่
ถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มจากแม่ถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มจากแม่ ถ่ายทอดภูมิคุ้มสู่ลูกได้ต่ำ ให้โดยวิธีฉีดหรือวิธีธรรมดาได้ เช่น ทา กระตุ้น humoral & cell-mediated immunity กระตุ้นได้เร็วแต่ภูมิคุ้มสั้น มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ไม่ได้ทำวัคซีน การผลิตวัคซีนรวมทำได้ยาก ราคาถูก ภูมิคุ้มจากแม่มีผลทำลายวัคซีนได้น้อย ถ่ายทอดภูมิคุ้มสู่ลูกได้สูง มักให้โดยการฉีด กระตุ้น humoral immunity เป็นหลักกระตุ้นได้ช้าแต่อยู่ได้นาน ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อ การผลิตวัคซีนรวมทำได้ง่าย ส่วนใหญ่ราคาแพงกว่า เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัคซีน เชื้อตาย เชื้อเป็น วัคซีน
เปรียบเทียบการตอบสนองต่อการทำวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็นเปรียบเทียบการตอบสนองต่อการทำวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็น วัคซีน
ปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรคปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรค • การเกิดreinfectionหรือ subclinical infectionหรือ การ boosterจะช่วยให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคสูง • โรคบางชนิดไม่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของเชื้อ ทำให้ภูมิคุ้มที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันโรคได้นาน ในขณะที่บางโรค เช่น หวัดใน คน ปากเท้าเปื่อยในสัตว์ เชื้อมีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนตลอดเวลา และการฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งจะไม่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มข้ามสายพันธุ์ได้ วัคซีน
ปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรคปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรค • อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างสำหรับโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ สามารถให้วัคซีนเพียงเข็มเดียวและป้องกันได้ตลอดชีวิต วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) Adjuvant • คือสารที่เติมเข้าไปรวมกับแอนติเจนเพื่อทำให้เกิดปฏิกริยาค่อยๆ ปลดปล่อยแอนติเจน ทำให้กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มได้ดีขึ้น • โดยทั่วไปแล้วจะใช้น้ำมันเป็น adjuvant เข้าไปรวมตัวกับแอนติเจนที่อยู่ในสภาพสารละลาย ทำให้เกิดเป็นสถานะ water in oil emulsion • ข้อเสียของน้ำมันคือ มีแนวโน้มทำให้เกิดเป็นฝีในตำแหน่งที่ฉีด และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง • ปัจจุบันมีสารสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น muramyl dipeptide, synthetic lipid vesicle (liposomes) เป็นต้น วัคซีน
หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) ปฏิกิริยาขัดแย้งกัน • เกิดขึ้นเมื่อวัคซีนนั้นมีแอนติเจนหลายชนิด ได้ทำปฏิกริยาขัดแย้งกัน ทำให้การสร้างภูมิคุ้มเกิดขึ้นไม่ดีเท่าที่ควร • วัคซีนจากเชื้อไวรัสเชื้อเป็นบางชนิดก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อกัน อายุที่ควรให้วัคซีน • ทารก/ ลูกสัตว์ จะได้รับ IgG จากแม่โดยผ่านทางรก และได้ IgA จาก colostrum และน้ำนม ซึ่งภูมิคุ้มจากแม่จะป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และจะมีผลต่อเชื้อที่ได้รับจากการทำวัคซีนด้วย • ดังนั้นจะต้องทำวัคซีนในลูกสัตว์เมื่อภูมิคุ้มของแม่กำลังจะหมดไป วัคซีน
การทดสอบวัคซีน • วัคซีนที่ผลิตออกมาก่อนจะเข้าสู่ท้องตลาด ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ • วัคซีนที่ดีไม่ได้วัดที่ระดับไตเตอร์ของภูมิคุ้มซึ่งแสดงถึงการตอบสนองต่อการถูกกระตุ้น แต่วัดผลที่ความสามารถป้องกันการติดเชื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในกลุ่มผู้ทดลองจำนวนมากและมีการทดสอบหลายครั้ง แต่บางโรคก็ยากแก่การทดสอบด้วยวิธีนี้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคเอดส์ เป็นต้น วัคซีน
วัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไรวัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไร • สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค แต่ไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อโรค • ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถปรากฏได้นาน • สามารถใช้ได้อย่างความปลอดภัย หากมีผลข้างเคียงควรจะปรากฏน้อยมาก (ยิ่งเวลาผ่านไปวัคซีนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงก็จะค่อยๆ หมดไป) วัคซีน
วัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไร (ต่อ) • วัคซีนจะต้องมีความคงตัว ปัจจุบันวัคซีนสามารถผลิตในรูปแบบ freeze and dry ทำให้สะดวกในการเก็บรักษาและขนส่งที่อุณหภูมิปกติ • วัคซีนควรมีราคาไม่แพงเกินไป • วัคซีนควรให้ได้พร้อมกันหลายชนิดโดยที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดการ วัคซีน
ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัคซีนฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัคซีน • เชื้อที่ยังอาจหลงเหลือความรุนแรงในกรณีที่ใช้วัคซีนเชื้อเป็น • เชื้อโรคอื่นที่ปนเปื้อนกับเซลล์เพาะเลี้ยง • การก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลังจากให้วัคซีนซ้ำเข็มที่ 2 เป็นต้นไป • ความเป็นพิษจากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น เช่น วัคซีนโรคไทฟอยด์ วัคซีน
การเก็บรักษาวัคซีน • ส่วนใหญ่เก็บไว้ในตู้เย็นในส่วนที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น ในช่องที่มีฝาปิด เพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากขณะเปิดตู้เย็น (การเปิดตู้เย็นแต่ละครั้ง อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเกิน 8 C) • โดยทั่วไปวัคซีนที่เป็นน้ำ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ห้ามใส่ใน freezer และไม่ควรไว้ในช่องใต้ freezer • วัคซีนที่เป็นผงแห้ง (lyophilized) สามารถเก็บในfreezer ได้ • วัคซีนที่มีส่วนผงแห้งและส่วนน้ำ สามารถแยกเก็บตามข้างต้น แต่ห้ามเอาทั้งสองส่วนเก็บใน freezer • ควรมีน้ำแข็ง (มีขายเป็นถุงน้ำสีฟ้า) แช่ไว้ในตู้เย็น เผื่อไฟฟ้าดับ อุณหภูมิจะไม่ลดลงมาก วัคซีน
วิธีการให้วัคซีน • 1. การกิน ให้เมื่อต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มเฉพาะที่ เช่น ลำไส้ และมักเป็นวัคซีนเชื้อเป็น • 2. การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal route)ใช้เมื่อต้องการลดจำนวนแอนติเจนลง ทำให้ใช้วัคซีนในปริมาณน้อย แอนติเจนเข้าไปทางท่อน้ำเหลืองได้ดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มชนิด CMI เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิด human diploid cell ซึ่งให้ในคน • 3. การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous route) ใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป • 4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เมื่อต้องการให้ดูดซึมดี วัคซีน
หลักทั่วไปในการให้วัคซีนหลักทั่วไปในการให้วัคซีน • กรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด หรือ ไอ สามารถให้วัคซีนได้ แต่ถ้ากำลังมีไข้สูง ควรเลื่อนการฉีดจนกว่าจะหายไข้ • ควรสอบถามเจ้าของสัตว์ว่าสัตว์มีพฤติกรรม (โดยเฉพาะการกินอาหาร) ปกติหรือไม่ • การให้วัคซีนในลูกสัตว์ต้องคำนึงว่าหากลูกสัตว์ได้รับภูมิคุ้มจากแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะต้องรอให้ระยะเวลาที่ภูมิคุ้มนี้หมดไป ก่อนที่จะมีการให้วัคซีน นอกจากนี้เมื่อให้วัคซีนแล้ว จำเป็นต้องมีการกระตุ้นซ้ำ (booster) วัคซีน
หลักทั่วไปในการให้วัคซีน (ต่อ) • ไม่ควรให้วัคซีนหลายชนิดในวันเดียวกัน ยกเว้นแต่เป็นวัคซีนรวมที่ได้ผลิตขึ้นมา โดยผ่านการทดสอบแล้ว เช่น วัคซีน DHL ในสุนัข ซึ่งใช้ป้องกันโรค Distemper, Hepatitis และ Leptospirosis • ในกรณีที่ต้องการให้วัคซีนเป็น( inactivated) พร้อมกัน ควรให้คนละตำแหน่งกัน • โดยทั่วไปภูมิคุ้มจะสร้างขึ้นจนถึงระดับที่ป้องกันโรคได้ หลังจากฉีด15 วัน • การให้วัคซีนควรทำตามโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด • หากต้องการให้วัคซีนโรคอื่นเข็มต่อมา ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ยกเว้นวัคซีนที่ได้ทำการทดสอบและระยะที่เหมาะสมในการให้ วัคซีน
ตัวอย่างวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยของกรมปศุสัตว์ตัวอย่างวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยของกรมปศุสัตว์ • เป็นวัคซีนเชื้อตาย สามารถป้องกันโรคได้นาน 6 เดือน (ฉีดปีละ 2 ครั้ง) • ในสุกรใช้สื่อแบบอีมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (oil emulsion vaccines) • ในโคกระบือใช้สื่อแบบน้ำ (aqueous vaccines) วัคซีน
Influenza vaccines ชนิดของวัคซีน • 1. Inactivated vaccine • Homologous vaccine ใช้วัคซีนสายพันธุ์เดียวกับสายพันธุ์ที่มีการระบาดของโรคในพื้นที่ • Heterologous vaccine ใช้วัคซีนสายพันธุ์ที่มี Haemagglutinin สายพันธุ์เดียวกับเชื้อที่ระยาดเป็น marker แต่ต่างกันในส่วนของ Neuraminidase (DIVA) เช่น H5N2, H5N3, • 2. Recombinant vaccine ใช้ fowl poxvirus หรือ baculovirus เป็น vector • สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการทำวัคซีนและการป่วยได้ วัคซีน
Influenza vaccines • การใช้วัคซีนต้องมีการ booster เพราะโดยทั่วไป การระบาดจะมี 2nd wave ตามหลังในเวลา 3-9 เดือน วัคซีน
บรรณานุกรม • 1. คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา วพม. 2542. สาระสำคัญวิชาเภสัชวิทยา. โครงการตำรา วพม. ฉลองวาระคบรอบ 25 ปี วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า. บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. กรุงเทพฯ. • 2. Mims, C.A., Dimmock, N.J., Nash, A. and Stephen, J. 1995. Mims’ Pathogenesis of Infectious Disease. 4th Edition. Academic Press Inc. USA. วัคซีน