1 / 13

Basic Electronics for Automation Engineering

Basic Electronics for Automation Engineering. Student Name: Natthawut Sooksawatmongkol Student ID: 53010520 (2S) Program: Automation Engineering Homework no.: 3 Date of Assignment: July 19, 2011 Date of Submission: August 8, 2011. ความเป็นมาของออปแอมป์.

zonta
Download Presentation

Basic Electronics for Automation Engineering

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Basic Electronics for Automation Engineering Student Name: Natthawut SooksawatmongkolStudent ID: 53010520(2S) Program: Automation Engineering Homework no.: 3 Date of Assignment: July 19, 2011 Date of Submission: August 8, 2011

  2. ความเป็นมาของออปแอมป์ความเป็นมาของออปแอมป์ จอร์จฟิลบริกค์ ( George Philbrick ) เป็นผู้พัฒนาที่ทำให้ออปแอมป์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยได้ออกแบบและผลิตออปแอมป์แบบหลอดสุญญากาศเดี่ยว ( Single vacuum tube op amp ) ใน ปี พ.ศ. 2491 เพื่อใช้งานกับแอนะลอกคอมพิวเตอร์ ใช้งานในเชิงคณิตศาสตร์เท่านั้น ออปแอมป์เป็นกลุ่มวงจรที่ใช้งานมากสุดแบบหนึ่งในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เราใช้ออปแอมป์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งวงจรขยายเสียงวงจรเร็กกูเลเตอร์วงจรเครื่องมือวัดจงจรกำเนิดสัญญาณและวงจรอื่น ๆ อีกมากด้วยการใช้เทคโนโลยีทางด้านไอซีดังนั้นออปแอมป์จึงกลายเป็นไอซีที่เรียกได้ว่า “มาตรฐาน” และ “ทั่วไป” ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  3. ในปัจจุบันออปแอมป์ได้มีการพัฒนาที่สำคัญ คือ มีการนำ FET มาแทน Bipolar Transistor โดยนำ JFET มาเป็นส่วนอินพุต ทำให้กินกระแสน้อย MOSFET มาเป็นส่วนเอ้าต์พุต ทำให้มีการทำงานได้เร็วขึ้น และใช้งานที่ความถี่สูงขึ้นกว่าเดิม

  4. คุณลักษณะของ OP-AMP ในอุดมคติ (Ideal Op-Amp) 1.   อัตราขยายของ Op-Amp แบบวงจรรอบเปิด (Open Loop Gain) มีค่าสูงมากจนเป็นอนันต์ AVOL = infinity 2.   Zin มีค่าสูงมากจนถือได้ว่าเป็น infinity 3.   Zout มีค่าต่ำมากจนถือได้ว่าเป็น 0 4.   อัตราขยายของ Op-Amp ไม่ขึ้นกับความถี่ 5. เมื่อ Vin = 0 จะได้ Vout เป็น 0 ด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าวมาแล้วมีผลสืบเนื่องคือ Iin = 0 เนื่องด้วย Zin สูงมากความต่างศักย์ระหว่างขั้ว input ทั้งสองของ Op-Amp เป็น 0 เนื่องจาก Iin และยังให้ค่า Z out มีค่าต่ำมากจนประมาณได้ว่า Zout = 0

  5. Bipolar Transistor เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง เป็นอุปกรณ์สามขั้วต่อถูกสร้างขึ้นโดยวัสดุสารกึ่งตัวนาที่มีการเจือสารและอาจจะมีการใช้ในการขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สวิทชิ่ง ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ถูกตั้งขึ้นมาตามชื่อของมันเนื่องจากช่องการนาสัญญาณหลักมีการใช้ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลเพื่อนากระแสไฟฟ้าหลัก โดยแบ่งออกได้อีก2ชนิดคือ ชนิดเอนพีเอน(NPN) และชนิดพีเอนพี(PNP) ตามลักษณะของการประกบสารกึ่งตัวนา

  6. Bipolar Transistorมีทั้งหมดสามขาด้วยกัน คือ 1. ขาเบส (Base) 2. ขาคอลเล็กเตอร์ (Collector) 3. ขาอีมิเตอร์ (Emitter) หน้าที่การทางานของขาทั้งสาม มีดังนี้ ขาเบสเป็นขาสาหรับควบคุมการไหลของกระแสปริมาณมากระหว่างคอลเล็กเตอร์ และ อีมิเตอร์ โดยใช้กระแสปริมาณเพียงเล็กน้อยที่ขาเบสนี้ ทรานซิสเตอร์จะนำกระแสได้ทิศทางเดียว เช่น NPN จะนำกระแสจาก คอลเล็กเตอร์ มายัง ขาอีมิเตอร์ ส่วน PNP ก็จะนำกระแสกลับกัน คือกระแสจะไหลจากอีมิเตอร์ มายังขาคอลเล็กเตอร์ โดยทิศทางกระแส IB ที่ใช้ในการควบคุมนี้ก็จะมีทิศทางกลับกันด้วย

  7. JFET เจเฟตมีโครงสร้างดังรูปคือ JFET(n-channel) และ JFET(p-channel)โดย เจเฟตทั้งสองมีขา 3 ขา คือ ขาเดรน(Drain, D), ขาเกต(Gate, G), ขาซอร์ส(Source, S)

  8. การทำงานของเจเฟตเจเฟตทำงานโดยป้อนแรงดันไบอัสที่เดรนและซอร์สโดยแหล่งจ่าย VDD ให้ขั้วบวกกับเดรนและขั้วลบกับขาซอร์ส สำหรับเกตของเจเฟตจะให้ไบอัสกลับ โดยเจเฟตชนิดn-channel จะมีเกตเป็นp ดังนั้นแรงดันไบอัสที่เกต VGG ต้องให้ขั้วลบกับเกตและขั้วบวกกับซอร์ส ดังรูป

  9. การทำงานของJFET เมื่อให้ไบอัสกลับที่เกต(BGS= VGG) ดังรูป ก จะเกิดสนามไฟฟ้าที่รอยต่อ p-n จำนวนหนึ่ง ทำให้ช่องทางเดนของกระแสใน(n-channel) ระหว่างเดรนกับซอร์สแคบลง กระแสเดรน(ID) จะไหลจากเดรนไปยังซอร์ส ถ้าปรับค่าแรงดัน VGS ให้มีค่าไบอัสกลับมากขึ้น จะทำให้สนามไฟฟ้าที่รอยต่อมีปริมาณมากขึ้น ทำให้ช่องทางเดินกระแสแคบลงกระแสเดรน(ID)ไหลผ่านได้น้อยลงดังรูป ข แต่ในทางตรงข้ามปรับค่า VGS ให้มีค่าน้อยลงจะทำให้ช่องทางกระแสเดรน(ID) กว้างมากขึ้นทำให้กระแสเดรน(ID) ไหลผ่านมากขึ้นดังรูป

  10. MOSFET MOSFET แตกต่างจากJFET ที่โครงสร้างภายใน JFETนั้นระหว่างเกตกับช่วงทางเดินกระแสมีโครงสร้างเป็นรอยต่อp-n แต่MOSFETนั้นระหว่างเกตกับช่องทางเดินกระแสมีโครงสร้างเป็นชั้นของซิลิคอลออกไซด์(SiO2) MOSFET มี 2 ชนิดคือ 1.ดีพีทชั่น (Depletion, D) 2.เอนแฮนซ์เมนต์(Enhancement, E)

  11. MOSFETชนิดดีพีทชั่น (Depletion MOSFET, D-MOSFET) โครงสร้างพื้นฐานของ D-MOSFET เป็นชนิด(n-channel)ช่องทางเดินกระแสระหว่างเดรน และซอร์ส จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด n และวัสดุฐานรอง(Substance) เป็นสารกึ่งตัวนำชนิด p สำหรับ D-MOSFET ชนิดp-channelจะมีช่องทางเดินกระแสระหว่างเดรนและซอร์สเป็นสารชนิด p และมีฐานรองเป็นสารชนิด n และมีเกตติดอยู่ระหว่างช่องทางเดินกระแส โดยมีซิลิคอนออกไซด์(SiO2)เป็นฉนวนกั้นระหว่างเกตและช่องทางเดินกระแส

  12. เอนแฮนซ์เมนมอสเฟต (Enhancement MOSFET , E-MOSFET) โครงสร้าง E-MOSFETแตกต่างจาก D-MOSFET ที่ช่องทางเดินกระแสของ E-MOSFETจะถูก สร้างขึ้นโดยการไบอัสที่เกตในสภาวะที่เกตไม่มีการไบอัสจะไม่มีช่องทางเดินกระแสเชื่อมต่อระหว่างเดรนกับ ซอร์ส เป็นE-MOSFET (n-channel) ส่วนเดรนและซอร์สเป็นสารกึ่งตัวนำ ชนิดเอ็น แต่ไม่มีแซนเนลต่อถึง กัน มีสารชนิดพีเป็นวัสดุฐานรองและระหว่างเกตกับวัสดุฐานรองเป็น(SiO2) เป็นฉนวนกั้นกลาง

More Related