1 / 50

CHARPTER 10

CHARPTER 10. การพัฒนาระบบสารสนเทศ Development Information System. สาระการเรียนรู้. บอกความแตกต่างของคำว่าข้อมูลและสารสนเทศ ทราบความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศและแนวทางการใช้ สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ เข้าใจแนวทางการวิเคราะห์ระบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ziva
Download Presentation

CHARPTER 10

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHARPTER 10 การพัฒนาระบบสารสนเทศ Development Information System

  2. สาระการเรียนรู้ • บอกความแตกต่างของคำว่าข้อมูลและสารสนเทศ • ทราบความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศและแนวทางการใช้ สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ • เข้าใจแนวทางการวิเคราะห์ระบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ • อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ในวงจรการพัฒนาระบบได้ • เห็นความสำคัญของการจัดจัดทำโปรโตไทป์ • สามารถนำเทคนิคหรือแนวทางในการติดตั้งระบบไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเหมาะสม

  3. ระบบสาสนเทศ (Information System) ระบบ (System) คือชุดขององค์ประกอบหลาย ๆ ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันเพื่อทำงานให้บรรลุจุดประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกัน ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามา ประยุกค์ใช้กับการจัดการข้อมูลในองค์การดังนั้นระบบสารสนเทศจึงมีส่วนประกอบหลาย ส่วนด้วยกัน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์

  4. เพื่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์โดยระบบสารสนเทศประกอบด้วยส่วน เพื่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์โดยระบบสารสนเทศประกอบด้วยส่วน ต่าง ๆ 5 ส่วน ดังนี้ • ฮาร์แวร์ (Hard ware) • ซอฟต์แวร์ (Soft ware) • ข้อมูล (Data) • บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware) • กระบวนการทำงาน (Procedures)

  5. Software Hardware DATA Procedure Peopleware

  6. กระบวนการของระบบสาสนเทศกระบวนการของระบบสาสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System) ระบบที่มีการนำองค์ประกอบต่าง ๆ ของ เทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ แล้วผ่านกระบวนการ ประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคลากร ในองค์กรได้ FEED BACK DATA PROCESSING INFORMATION

  7. ลักษณะการทำงานอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ส่วนนำเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Processing) , ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output) Input ของระบบสารสนเทศ คือ ซึ่งเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง เพื่อนำไปทำการประมวลผล Processing ของระบบสารสนเทศ คือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพข้อมูลที่นำเข้า สู่ระบบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สารสนเทศที่ต้องการ Output ของระบบสารสนเทศ คือ สารสนเทศซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ข้อมูลในรูปแบบของรายงาน (Report) หรือเป็นแบบฟอร์ม ต่าง ๆ Feedback ของระบบสารสนเทศคือ ข้อมูลป้อนกลับที่ทำให้เกิดกาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การนำเข้าข้อมูลหรือประมวลผลข้อมูล

  8. ลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กรลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กร • ฝ่ายบัญชี • ฝ่ายการตลาด • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล • ฝ่ายการผลิต • ฝ่ายวิจัย Page 322

  9. การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ผู้บริหารระดับต่าง ๆ จะมีการนำสารสนเทศไปใช้งานแตกต่างกัน โดยระดับการ ผู้บริหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน 1. ผู้บริหารระดับสูง 2. ผู้บริหารระดับกลาง 3. ผู้บริหารระดับล่าง

  10. ระดับการบริหารจัดการ • ระดับการบริหารจัดการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ • ผู้บริหารระดับสูง รับผิดชอบการวางแผนระยะยาว (แผนกลยุทธ์) • ผู้บริหารระดับกลาง รับผิดชอบการวางแผนยุทธวิธี • หัวหน้างาน รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำวัน Page 324

  11. ผู้บริหารระบบสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบายรวมทั้งการวางกลยุทธ์เพื่อไปสู่เป้าหมาย แหล่งทรัพยากรหรือสารสนเทศภายในส่วนใหญ่เป็นผลสรุปเพื่อสามารถนำไปใช้ในการ ประกอบการตัดสินใจ ผู้บริหารระบบกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น ด้วยการสั่งการให้เกิดข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสำเร็จตาม เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผู้บริหารระดับกลางมักข้องเกี่ยวกับงานด้านงบประมาณ ด้านเวลา และด้านการประเมินผลการทำงาน โดยใช้สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในองค์กรและนอก องค์การ แต่จะใช้สารสนเทศกับแหล่งภายในมากกว่า

  12. ผู้บริหารระบบล่าง เป็นระดับปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการทำงานของผู้บริหารระดับกลางและ ผู้บริหารระดับสูงสารสนเทศที่ใช้งานของผู้บริหารระดับล่างนั้น มักเป็นเรื่องของภายใน เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ

  13. ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน Page 327

  14. ชนิดของระบบสาสนเทศ (Type of Information System) • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Information System/Office Automation System: OIA/OAS ) • ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System : TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) • ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

  15. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Information System/Office Automation System: OIA/OAS ) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือเรียกชื่อย่อว่า OIS หรือ OAS เป็นระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดการสำนักงานและการสื่อสาร • Microsoft Office • โปรแกรมออกแบบกราฟิก (Graphic) = Photoshop • จอหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) = Outlook Express • เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) = Internet Explorer • โปรแกรมด้านการสื่อสารและกรุ๊ปแวร์ (Groupware) • ฯลฯ

  16. ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System : TPS) ระบบประมวลผลรายการประจำวัน เป็นการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจประจำที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานประจำวันที่ต้องทำในธุรกิจ เช่น การบันทึกยอดขายแต่ละวัน, การบันทึกการสั่งสินค้าในแต่ละวัน, รายการฝากถอนเงินตู้ ATM • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ MIS ซึ่งโดยปกติจะเป็นแหล่งรวมของระบบประมวลผลราการ ประจำวันหรือ TPS ด้วยการนำไปประมวลผลเช่น เมื่อมีการซื้อสินค้า ระบบ TPS ก็จะมีการจัดเก็บรายการ สินค้าต่าง ๆ มีการ อัปเดต รายการบัญชี ดังนั้นระบบ MIS ก็จะสามารถทำการสร้าง รายงานการขายสินค้า ประจำวัน,สัปดาห์,เดือนเป็น มีการสร้างกราฟเพื่อช่วยวิเคราะห์

  17. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบสารสนเทศของผู้บริหารด้วยการจัดทำรายงาน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เพื่อช่วยตัดสินใจ และแก้ปัญหา รวมทั้งใช้วางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ • ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงในระดับกลยุทธ์และนโยบาย ที่ทำให้ผู้บริหารสามารถค้นคืน สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกมาพิจารณา รวมถึงความสามารถในการอธิบายเหตุผลว่าทำไม เหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้นได้

  18. แบบจำลองการตัดสินใจ • แบบจำลองกลยุทธ์ • แบบจำลองยุทธวิธี • แบบจำลองการปฏิบัติงาน Page 330

  19. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมของความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งสามารถนำเหตุการณ์ต่าง ๆ มาทำการประมวลผลเป็นภาพรวมและให้คำตอบแก่ผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกับระบบ DSS ที่นำเสนอเพียงแนวทาง หรือทางเลือกและให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้เอง

  20. ลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กรลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กร • ฝ่ายบัญชี • ฝ่ายการตลาด • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล • ฝ่ายการผลิต • ฝ่ายวิจัย Page 322

  21. ระบบธุรกิจ(Business System) เนื่องจากคำว่า “ระบบ” หมายถึงองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อ แสดงจุดประสงค์เดียวกัน ดังนั้นระบบธุรกิจก็จะประกอบด้วย ระบบย่อยพื้นฐานต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ระบบการผลิต, ระบบการตลาด, ระบบบัญชี, ระบบสินค้าคงคลัง, ระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งก็อาจมีระบบย่อยอื่น ๆ อีกได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เป็นสำคัญ

  22. ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบบัญชี ระบบสินค้า คงคลัง ระบบบริหาร งานบุคคล ระบบธุรกิจ

  23. การวิเคราะห์ระบบ(SystemAnalysis)การวิเคราะห์ระบบ(SystemAnalysis) การวิเคราะห์ระบบเป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบันเพื่อหาแนวทาง ในการจัดการกับระบบให้อยู่ในรูปแบบทิศทางให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยนักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์การเพื่อกำหนด บุคคล ข้อมูล การ ประมวลผล การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าจะจัดการอย่างไร เพื่อพัฒนาระบบ ธุรกิจไปสู่เป้าหมายได้

  24. ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ยังคงใช้ระบบงานเดิม ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากงบประมาณ หรือระบบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป • ปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • พัฒนาระบบใหม่

  25. นอกจากที่ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเองแล้วเราสามารถที่จะหาซื้อซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ นอกจากที่ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเองแล้วเราสามารถที่จะหาซื้อซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ งานโยการจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้ในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตาม วัตถุประสงค์ที่ เราต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยสิ่งที่ต้องดำมาพิจารณา 4 อย่างคือ What คือ วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไรมีขั้นตอนอย่างไรเพื่อไปสู่ความสำเร็จ How คือ วิธีการทำงานอย่างไร เพื่อให้งานสำเร็จ When คือ เวลาที่จะเริ่มดำเนินการจนกระทั่งระบบงานสำเร็จเมื่อไร Who คือ บุคคลใดที่รับผิดชอบในโครงการดังกล่าว

  26. การพัฒนาระบบสารสนเทศนั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยากและซับซ้อน ซึ่งการพัฒนา สารสนเทศมานั้นควรจะจ้องมีการวางแผนและปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยคำถาม พื้นฐานที่ข้องเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย • ระบบที่พัฒนานั้นใช้กับฮาร์ดแวร์ชนิดใด และฮาร์ดแวร์เดิมที่มีอยู่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ • งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายเท่าไร • เวลาที่ใช้ในการพัฒนาใช้ระยะเวลานานแค่ไหน • ซอฟต์แวร์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพและตรงความต้องการหรือไม่

  27. ทีมงานพัฒนาระบบ ในทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานนั้น มักแตกต่างกัน กล่าว คือจะไม่มีกฎเกณฑ์ที่สามารถระบุลงไปอย่างชัดเจน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทีมงานพัฒนาระบบ ก็ยัง สามารถแจงเป็นกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  28. 1.คณะกรรมการดำเนินงาน เป็นผู้บริหารระดับสูง ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำ นโยบาย กำหนดแนวทาง และกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2.ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ผู้จัดการโครงการเป็นหัวหน้าโครงการที่มีหน้าที่ในการควบคุมทีมงาน กำหนดทิศทาง เพื่อให้ทีมงานสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลาโดยผู้จัดการโครงงานต้องบริหารงานให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้

  29. 3.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงาน 4.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงาน 5.วิศวกรระบบ (System Engineer) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาด้านระบบคอมพิวเตอร์ การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ การวางแผนและออกแบบระบบเครือข่ายและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารและเครือข่าย ต่าง ๆ

  30. 6.ฝ่ายงานเทคนิคและสนับสนุน (Technical Support) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านเทคนิคต่าง ๆ ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจเป็นส่วนงานหนึ่งของฝ่ายวิศวกรระบบ 7.เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ 8.ผู้ใช้งาน (End User) เป็นผู้ใช้งานปลายทาง ซึ่งก็คือผู้ใช้ระบบนั่นเอง

  31. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle :SDLD) เมื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องได้รับการวางแผนที่ดี ดังนั้น จึงมีการ กำหนดขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า “วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ” สาเหตุที่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาสืบเนื่องจาก วงจรชีวิต และซอฟต์แวร์ เหมือนกันก็มีวงจรการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงใช้งานจริง ซึ่งวงจรในการที่ พัฒนาระบบ สารสนเทศนั้นประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  32. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) • การวิเคราะห์ (Analysis) • การออกแบบ (Design) • การพัฒนา (Development) • การทดสอบ (Testing) • การติดตั้ง (Implementation) • การบำรุงรักษา (Maintenance)

  33. 1.การกำหนดปัญหา (Problem Definition) 7.การบำรุงรักษา(Maintenance) 2.การวิเคราะห์(Analysis) 3.การออกแบบ(Design) 6.การติดตั้ง(Implementation) 4.การพัฒนา(Development) 5.การทดสอบ(Testing) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ(System Development)

  34. การกำหนดปัญหา(Problem Definition) การกำหนดปัญหาเป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของปัญหา สาเหตุของปัญหา ที่เกิดจากการดำเนินงานปัจจุบัน ความเป็นไปของการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ การ กำหนดความต้องการ (Requirements) ซึ่งขั้นตอนของการกำหนดปัญหา เราเรียกว่า “ขั้นตอน การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)” สรุปขั้นตอนการกำหนดปัญหา คือ • รับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน • สรุปสาเหตุของปัญหา และสรุปผลเป็นรายงานยื่นต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา • ศึกษาความเป็นไปได้ทั้งด้านบุคลากร ต้นทุน และทรัพยากร • รวบรวมความต้องการ ซึ่งอาจได้จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการตอบแบบสอบถาม • สรุปข้อกำหนดที่ชัดเจน ถูกต้อง และยอมรับทั้งสองฝ่าย

  35. การวิเคราะห์ (Analysis) เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และมี ความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับสิ่งใด สรุปขั้นตอนการวิเคราะห์ คือ • วิเคราะห์ระบบงานเดิม • กำหนดความต้องการของระบบใหม่ • สร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ (Logical Model) • สร้างพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

  36. เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ชนิด ได้แก่ • แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) • แผนภาพกระแสข้อมูลในลักษณะเชิงวัตถุ (OOP:Uses Case Diagram)

  37. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)

  38. 2.แผนภาพกระแสข้อมูลในลักษณะเชิงวัตถุ (OOP: Uses Case Diagram)

  39. การออกแบบ (Design) การออกแบบเป็นขั้นตอนของการนำผลลัพธ์ที่ได้จากวิเคราะห์ตรรกะ หรือ ลอจิกมา พัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพหรือทางฟิสิคัล เช่น การออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟส การออกแบบฐานข้อมูล เป็นต้น • การออกแบบรายงาน ฟอร์มต่าง ๆ • การออกแบบจดภาพ • การออกแบบข้อมูลนำเข้า • การออกแบบผังระบบ • ออกแบบฐานข้อมูล • สร้างต้นแบบ

  40. การออกแบบจอภาพ การออกแบบรายงาน การอินพุต+เอาต์พุต

  41. การพัฒนา (Development) การพัฒนาเป็นขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียน โปรแกรมด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งควรเลือก ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่เหมาะสมกับระบบงาน บำรุงรักษา ง่าย โดยในขั้นตอนของการพัฒนาอาจใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า CASE Z(Computer Aided Software Engineering) มาช่วยในการพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สรุปขั้นตอนการพัฒนา คือ • พัฒนาโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไว้ • เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานพัฒนาและบำรุงรักษาง่าย • สามารถใช้เครื่องมือ CASE ช่วยในการพัฒนาเพื่อให้ระบบมีคุณภาพยิ่งขึ้น • สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม

  42. การทดสอบ (Testing) การทดสอบเป็นขั้นตอนของการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งาน จริง โดยทำการตรวจสอบรูปแบบภาษาเขียน (Syntax) และการตรวจสอบระบบว่าตรง กับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ สรุปขั้นตอนการทดสอบ คือ • ระหว่างที่ทำการพัฒนาควรมีการทดสอบโปรแกรมร่วมไปด้วย • การทดสอบควรทดสอบข้อมูลที่ได้จำลองขึ้นมาเองก่อน • ควรทดสอบทั้งในส่วนของตัวซอฟต์แวร์ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ที่ • พัฒนานั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ • 5. ฝึกอบรมการใช้งาน

  43. การติดตั้ง (Implementation) การติดตั้งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง โดยเทคนิคการ ติดตั้งระบบสามารถติดตั้งได้ทันทีทนใด ติดตั้งทีละเฟส หรือติดตั้งแบบคู่ขนาน สรุปขั้นตอนการติดตั้ง คือ • ศึกษาสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง • เตรียมอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์สื่อสารและเครือข่ายให้พร้อม • ติดตั้งระบบ ลงโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ • ดำเนินการใช้ระบบใหม่ • จัดทำคู่มือการใช้งาน

  44. การบำรุงรักษา (Maintenance) การบำรุงรักษาเป็นขั้นตอนของการแก้ไขปรับปรุงระบบงานหลังจากทีได้ พบปัญหาบางอย่างและรวมถึงความต้องการเพิ่มเติม รวมทั้งการบำรุงรักษาท้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ สรุปขั้นตอนการบำรุงรักษา คือ • หากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดของโปรแกรม รีบแก้ไขโดยด่วน • อาจจำเป็นต้องเพิ่มเติมความต้องการของโปรแกรมใหม่ในกรณีผู้ใช้ต้องการ • อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ต้องได้รับการตรวจเช็กตามระยะเวลา • บำรุงรักษาทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

  45. การจัดทำต้นแบบ (Prototype) การสร้างต้นแบบโดยขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เห็น รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นว่าเป็นอย่างไร พอใจหรือไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้หรือ เปล่า ก่อนที่จะดำนินการสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นจริง ๆ ต่อไป การจัดทำโปรโตไทป์ก็ยังสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ • โปรโตไทป์ใช้แล้วโยนทิ้ง คือ พัฒนาอย่างเร็วและมีการเปลี่ยนบ่อยจนลูกค้าพอใจ • โปรโตไทป์แบบมีการพัฒนา คือ สร้างอยู่มั่นคงตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นโปรแกรม

  46. การเลือกในการพัฒนาโปรแกรมการเลือกในการพัฒนาโปรแกรม ในการพิจารณาว่าจะใช้ทางเลือกใดในการพัฒนาโปรแกรม คงต้องคำนึงถึง ปัจจัยและความเหมาะสมหลายด้านด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามสามารถเลือกทางเลือกเพื่อ พัฒนาโปรแกรมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • การพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง (In-house) • การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป (Software Package) • การว่าจ้าบริษัทพัฒนาระบบ (Outsourcing)

  47. การเลือกในการพัฒนาโปรแกรมการเลือกในการพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งระบบก็ คือ การเปลี่ยนระบบงานเดิมมาเป็น ระบบงานใหม่ซึ่งจัดเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว โดยฉพาะเมื่อระบบงานเดิมนั้นที่เคยใช้ คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลมาก่อนและต้องการปรับเปลี่ยนระบบเดิมด้วยการใช้ระบบใหม่ ซึ่งคอมพิวเตอร์มีความแตกกต่างกันในเรื่องเพลตฟอร์ม ดังนั้นการถ่ายโอนข้อมูลมายัง ระบบงานใหม่ เป็นเรื่องไม่ง่าย ซึ่งต้องทำการระมัดระวัง แต่อย่างไรก็ตาม การติดตั้ง ระบบมีเทคนิคการติดตั้งให้สามารถพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าเราจะใช้เทคนิคการ ติดตั้งระบบด้วยวิธใด

  48. แนวทางหรือเทคนิคในการติดตั้งระบบประกอบด้วย แนวทางหรือเทคนิคในการติดตั้งระบบประกอบด้วย • การติดตั้งเพื่อใช้ระบบงานใหม่ทันที (Direct Changeover) • การติดตั้งระบบแบบคู่ขนาน (Parallel Running) • การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phase Changeover) • การติดตั้งระบบแบบโครงการนำร่อง (Plot Project)

  49. สรุปท้ายบทที่ 10 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ การใช้สารสนเทศ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ชนิดของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยระบบสำนักงาน อัตโนมัติ ระบบประมวลผลผลรายการประจำ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง และระบบ ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ระบบและทีมงานพัฒนาระบบ วงจรการพฒนาระบบ การ จัดทำโปรโตไทป์ ทางเลือกในการพัฒนาโปรแกรม และเทคนิคแนวทางในการติดตั้ง ระบบ ซึ่งรายละเอียดดังกล่าว ทำให้มองภาพของการพัฒนาระบบสารสนเทศได้เข้าใจ และชัดเจนยิ่งขึ้

More Related