1 / 73

นิรุจน์ อุทธา (Ph.D. candidate: Human Resource Development Administration)

หมออนามัย ได้อะไรจาก ... พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. นิรุจน์ อุทธา (Ph.D. candidate: Human Resource Development Administration) นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ถามว่า ... หมอ อนามัย คือใคร ?. และต้องการอะไร ?. www.anamai.org.

yukio
Download Presentation

นิรุจน์ อุทธา (Ph.D. candidate: Human Resource Development Administration)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หมออนามัย ได้อะไรจาก ... พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นิรุจน์ อุทธา(Ph.D. candidate: Human Resource Development Administration) นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  2. ถามว่า ... หมออนามัย คือใคร ? และต้องการอะไร ?

  3. www.anamai.org

  4. วิเคราะห์และทบทวนตัวตนของเรา ... แล้วค้นหาให้เจอ บทบาทและสถานภาพในปัจจุบัน • ตำแหน่ง หน้าที่ ภาระงาน • ความก้าวหน้า • ความสามารถ สมรรถนะ • ความคาดหวังของกระทรวงสาธารณสุข ประชาชน และสังคม • พัฒนาด้านใดบ้าง เช่น ความรู้ หลักสูตร มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะการทำงาน • ความก้าวหน้า • การศึกษา เป็นต้น สิ่งที่ควร พัฒนา บทบาทหน้าที่ หมออนามัย • โครงสร้าง สถาบันการศึกษา หลักสูตรการผลิต • มาตรฐานการผลิต ระดับการศึกษา หลักสูตรการผลิต ปัญหาอุปสรรค • มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง / เป็นอย่างไร • ทั้งภายใน ภายนอก ทั้งระบบ

  5. เรื่องหมู ๆกับหมออนามัย สอ.บ้านโคกสูง ... จังหวัด ( ) ทำโครงการดูแลเด็กขาดสารอาหารในหมู่บ้าน ได้ซื้อหมูมาหนึ่งตัว ราคา ๑๐๐บาท เลี้ยงอยู่ระยะหนึ่งก็ขายไปในราคา ๒๐๐บาท ต่อมานึกเสียดายจึงไปซื้อคืนมา ในราคา ๓๐๐บาท และอีกไม่นานนัก มีผู้มาติดต่อขอซื้อ สอ.บ้านโคกสูง ก็ขายไปในที่สุดราคา ๔๐๐บาท ถ้าไม่คิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ สอ.บ้านโคกสูงได้กำไร หรือเท่าทุน หรือขาดทุนเป็นเงินเท่าไหร่ ?

  6. แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของวิชาชีพสาธารณสุขแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของวิชาชีพสาธารณสุข 2.กำหนดจุดหมายปลายทาง เราจะไปไหน? 3.เขียนแผนที่การเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง 1.วิเคราะห์สถานการณ์ เราอยู่ที่ไหน?

  7. แนวคิดองค์ประกอบของวิชาชีพสาธารณสุขแนวคิดองค์ประกอบของวิชาชีพสาธารณสุข องค์ความรู้Knowledge วิชาชีพProfession ความเชี่ยวชาญSpecialist * ผู้ประกอบวิชาชีพ คือ นักสาธารณสุข * นำความรู้และความ เชี่ยวชาญไปประกอบวิชาชีพ * ควบคุมและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ * มีจริยธรรม คุณธรรม * เกิดประโยชน์ต่อสังคม * การสาธารณสุขศาสตร์ของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๖๓ * วิทยาศาสตร์ ที่ว่าด้วยการป้องกันควบคุมโรค การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาว • สุขาภิบาลและอนามัย สิ่งแวดล้อม • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ • วิทยาการระบาด การป้องกัน และควบคุมโรค • โภชนาการ • พฤติกรรมสุขภาพ และ สุขศึกษา

  8. คำจำกัดความของ“ สาธารณสุข ”(Public Health) Winslow(1920) / USA (บิดาของวงการสาธารณสุข) “ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ เพื่อการป้องกันโรค เพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาว ทำการส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและจิตใจ ประกอบด้วย (๑) การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (๒) การป้องกันควบคุมโรค (๓) การให้สุขศึกษาและสุขวิทยาส่วนบุคคล (๔) การวิเคราะห์โรคและการรักษา และ (๕) การพัฒนากลไกของสังคมเพื่อให้ประชาชนมีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีได้มาตรฐาน อันเหมาะสมเพื่อดำรงไว้ซึ่งสุขภาพของตนเอง”

  9. คำจำกัดความของหมออนามัย“ สาธารณสุขชุมชน ”(Community Health) Bachelor of science (Community Health) “ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพ รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยที่กำหนดสุขภาวะของประชาชน ”

  10. หมออนามัย คือ ? Public Health Professional ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเชี่ยวชาญด้าน/สาขา สาธารณสุขชุมชน Specialist:Community Health บุคลากรสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย มาตรฐานการผลิต

  11. ความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุข ประชาชนได้รับบริการด้านการป้องกันการเจ็บป่วย ที่มีมาตรฐาน ระดับประชาชน (Valuation) ภาครัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ และองค์กรเอกชน ระดับภาคี (Stakeholder) กระบวนการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพด้านอื่นๆ โดยสภาวิชาชีพฯ ที่เป็นองค์กรอิสระ ระดับกระบวนการ (Management) ส่งเสริม พัฒนา และควบคุมมาตรฐานหลักสูตรการผลิต และสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ระดับพื้นฐาน(Learning /Development)

  12. หมออนามัยหมายถึง ...

  13. ตอบคำถามพร้อมกัน ... • หมออนามัย คือ

  14. สัญลักษณ์เชิงคุณค่าที่เป็นอุดมการณ์ ของหมออนามัยและบุคลากรสาธารณสุข • สัญลักษณ์สากลรูปงูพันคบเพลิง • สุขศาลา และสถานีอนามัย • ๑๔ กันยายน วันหมออนามัยแห่งชาติ • ชุดสีฟ้าสาธารณสุข / ชุดสีฟ้าสภาหมออนามัยแห่งชาติ • หมออนามัยที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ • นักสาธารณสุขชุมชน ผู้บุกเบิกด้านการสร้างสุขภาพ • ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

  15. การครอบงำทางวิชาชีพ และปัญหาที่เกิดขึ้นของกระทรวงสาธารณสุข การครอบงำทางวิชาชีพ (Dominated)หมายถึง การที่วิชาชีพที่มีกฎหมายวิชาชีพรองรับ มีอำนาจเหนือกว่าบุคลากรสาธารณสุข ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา คือ • การกำหนดนโยบาย, การจัดสรรงบประมาณ, กำหนดกรอบอัตรากำลัง, การกำหนดเงินค่าตอบแทน และสวัสดิการอื่นๆ มุ่งเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาลในวิชาชีพของตน • บุคลากรสาธารณสุข ไม่สามารถเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารได้ • ไม่ยอมรับหรืออยู่ใต้บังคับบัญชาของบุคลากรสาธารณสุข

  16. การครอบงำทางวิชาชีพ และปัญหาที่เกิดขึ้นของกระทรวงสาธารณสุข • เกิดความขัดแย้งในพฤติกรรม และการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ • เกิดความขัดแย้งและเหลื่อมล้ำทางวิชาชีพอย่างมาก • วิชาชีพเวชกรรม กำลังเข้าครอบงำความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์ ทำให้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันควบคุมโรค มีคุณค่าน้อยกว่าการรักษาผู้ป่วย • หน่วยงานที่มีภารกิจด้านสาธารณสุข ถูกวิชาชีพแพทย์เข้าไปครอบงำอำนาจทางการบริหารและกำหนดนโยบาย • แนวทางแก้ไขที่ผ่านมา มักใช้วิธีการเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นกลุ่มที่มีกฎหมายวิชาชีพแล้ว ยิ่งเพิ่มความแตกแยกระหว่างวิชาชีพมากขึ้น

  17. ทางออก/ผ่าทางตันของบุคลากรสาธารณสุข ... คือ การขับเคลื่อนกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขของประเทศไทย มาร่วมขีดเขียนประวัติศาสตร์ให้เป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าแห่งการต่อสู้ของ... นักสาธารณสุข... ทั่วประเทศ เอกสารประกอบการจัดงานสัมมนาวิชาการสมัชชาหมออนามัยแห่งชาติ และพิธีมอบรางวัลหมออนามัยแห่งชาติ ๑๔-๑๕ ก.ย.๒๕๕๒ (สงวนลิขสิทธิ์)

  18. ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน คือ ... สิ่งที่เจริญงอกงามที่เกิดขึ้น “ ครั้งแรกของการเสนอกฎหมายวิชาชีพของไทย ” เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗ ต่อ นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สมัยนั้น) ... (ยกร่างโดย นิรุจน์ อุทธา เครือข่ายหมออนามัยแห่งชาติ พ.ศ.2545และนำเสนอในนาม สมาคมหมออนามัย) สมาคมหมออนามัย

  19. ขับเคลื่อนและผลักดันภาคประชาชน ... กระบวนการภาคประชาชน “ รวบรวม ๑๘๗,๓๒๐ รายชื่อ เสนอต่อประธานรัฐสภา(โภคิน พลกุล) และประธานวุฒิสภา(สุชน ชาลีเครือ)” โดยการขับเคลื่อนของหมออนามัยนับหมื่นคน เคลื่อนขบวนจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปถึงรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ย.๒๕๔๘ ในปี ๒๕๔๙ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้สถาปนาให้วันที่ ๑๔ กันยายนของทุกปี เป็นวันหมออนามัยแห่งชาติ และได้จัดตั้ง สภาหมออนามัยแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนวันหมออนามัยแห่งชาติและวิชาชีพสาธารณสุข ในปีถัดมา . (ขับเคลื่อนโดย ... เครือข่ายหมออนามัยแห่งชาติและพันธมิตรภาคประชาชน) สมาคมหมออนามัย

  20. ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน เข้าสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วาระแรก รับหลักการ โดย นพ.มงคล ณ สงขลา รมต.สาธารณสุข ,นพ.อำพล จินดา วัฒนะ สมาชิก สนช. (เลขานุการ รมต.สธ.),นายนิรุจน์อุทธา เลขานุการคณะกรรมการวิชาชีพสาธารณสุข และคณะ ... วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๐ “ วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ” หมายความว่าวิชาชีพที่กระทำกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคเพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย การวิเคราะห์ เฝ้าระวัง ค้นหา การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงจากปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ก่อโรค การกำจัดพาหะนำโรค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ (ตามคำแนะนำของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,2550: ขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการพิจารณาวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยสมาคมหมออนามัย ,สมาคมสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์(ประเทศไทย) , และชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย) สมาคมหมออนามัย

  21. ภาคีสภาวิชาชีพ ๖ สภา ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุข ขอเลื่อนการผ่านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๙ ก.พ.๕๐)( แพทยสภา, ทันตแพทยสภา, สภาเภสัชกรรม, สภาการพยาบาล, สภากายภาพบำบัด และสภาเทคนิคการแพทย์ ) เหตุผล คือ (๑) เป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน และขัดต่อรัฐธรรมนูญ (๒) วิชาชีพสาธารณสุข มีความหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น พนักงานอนามัย ผู้ช่วยเภสัช ผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งไม่มีความเป็นลักษณะเฉพาะเจาะจง ตามความหมายสากล (๓) ยังไม่สามารถที่จะให้องค์กรสำคัญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ (ที่ยังไม่มี) พิจารณาให้ความเห็นได้

  22. (๔) ขัดต่อการสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งประชาชนมีสิทธิดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ด้วยตนเอง รวมทั้งยังมี ผสส. , อสม. ซึ่งเป็นผู้นำในการดูแลสาธารณสุขชุมชนแบบบูรณาการอยู่แล้ว (๕) เป็นกฎหมายที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนของการประกอบอาชีพโดยเสรี และบุคคลย่อมมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของ จนท.ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตน * พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ยังมิได้ผ่านการประชาพิจารณ์ ซึ่งการพิจารณาอย่างเร่งรีบนี้ โดยที่มิได้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและรอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมาภายหลังได้ จึงขอให้เลื่อนการผ่านร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้ไปก่อน เพื่อมิให้บังเกิดความเสียหายที่ร้ายแรงต่อระบบการสาธารณสุขของประเทศไทย และประชาชนทั้งประเทศ

  23. ผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .... ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ ๒๘ มี.ค.๒๕๕๐ บุคคลสำคัญที่อภิปรายค้าน (๑) นายโคทม อารียา “... ไม่แน่ใจว่าจะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่ เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องการจำกัดสิทธิประชาชน เราควรส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพมากกว่า และคำจำกัดความก็มีความหมายกว้างเกินไป จะมีขอบเขตไปถึงการกำจัดแมลงต่างๆหรือไม่ และมีการควบคุมและกำหนดบทลงโทษสมาชิกมากเกินไป ... ” (๒) ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโน “ ... ตั้งใจมาคัดค้านพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิคนอื่น ทำเพื่อกลุ่มคน ๔๐,๐๐๐ คน แต่ไปกำจัดสิทธิประชาชนในการประกอบอาชีพ ๖๐ ล้านคน มีคำจำกัดความที่กว้างไม่ชัดเจน เป็นการเสนอกฎหมายทางการเมืองให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นลูกไล่ของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงาน ที่เสนอกฎหมายมากที่สุด เพื่อให้ตัวเองมีตำแหน่งเพิ่มขึ้น และแถมด้วยการเป็นตัวแทนเพื่อไปอยู่ในคณะกรรมการด้านต่างๆอีกด้วย หากมีกฎหมายวิชาชีพนี้ ก็จะมีอาชีพอื่นอีกเป็นร้อยที่จะมาขอกฎหมายวิชาชีพฯเพิ่ม ... ” จึงมีผลให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่รับร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้ ด้วยคะแนน ๕๙ ต่อ ๓๖

  24. สรุปบทเรียนการผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ... ที่ผ่านมา (๑) • เกิดแรงต้านจาก สภาวิชาชีพต่างๆ (ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข) เหตุผลสำคัญคือ ไม่มีความจำเป็นต้องทำเป็นกฎหมาย และเห็นว่ามีความทับซ้อนกับวิชาชีพอื่นที่มีอยู่แล้ว ทำให้สังคมมองว่า มีความขัดแย้งกันเอง ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมภายนอก • สภาวิชาชีพต่างๆ รวมตัวกันเป็นสหพันธ์วิชาชีพ ต่อต้านการเสนอกฎหมายวิชาชีพอื่นๆ • การขับเคลื่อนทางสังคมยังไม่เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง จำกัดอยู่ในวงการสาธารณสุข หรือหมออนามัย • พลังการรวมกลุ่มของหมออนามัยและบุคลากรสาธารณสุข ที่มีต่อการเสนอความจำเป็นต่อกฎหมายวิชาชีพขาดความเป็นเอกภาพ

  25. สรุปบทเรียนการผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ... ที่ผ่านมา (๒) • การนำเสนอเนื้อหาของวิชาชีพสาธารณสุข ยังไม่ชัดเจน โดยขาดการสังเคราะห์องค์ความรู้ให้เป็นมาตรฐานและมีจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข ให้สังคมภายนอกยอมรับได้ • หมออนามัยและบุคลากรสาธารณสุข บางกลุ่ม ให้ความสำคัญกับช่องทางการเมืองมากกว่า การทำความเข้าใจกับกระทรวงสาธารณสุข • กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ทำบทบาทหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพเสนอกฎหมายวิชาชีพ ทำให้พลังผลักดันเป็นขององค์กรเครือข่ายฯ เมื่อขาดความเป็นเอกภาพ จึงทำให้กระบวนการเคลื่อนไหวขาดประสิทธิภาพ

  26. ความรู้ที่ได้จากบทเรียนการผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ... ที่ผ่านมา (กระบวนการ) • ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ อ.ประเวศ วะสี สามารถอธิบายความไม่สำเร็จของการผลักดันกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขได้ เมื่อ การเมืองพร้อม แต่ ความรู้ และสังคม ยังไม่พร้อม ก็ยากที่จะสำเร็จ • ความเป็นเอกภาพของบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และสถาบันการศึกษาซึ่งเป็นผู้ผลิต เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ • องค์ความรู้เฉพาะที่ไม่ทับซ้อนกับวิชาชีพอื่น คือหัวใจที่จะไม่ได้รับการต่อต้านจากวิชาชีพอื่นๆ • กระทรวงสาธารณสุข คือกลไกสำคัญของความสำเร็จ

  27. ความรู้ที่ได้จากบทเรียนการผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข ... ที่ผ่านมา (ขั้นตอน) ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓ เสนอ ครม. รับฟังความเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กระบวนการนิติบัญญัติ วัฏจักรทางปัญญา ใช้เวลานานมาก อ่างวังวนไม่สิ้นสุด

  28. บทสรุปการผลักดัน พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข • โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จ ตามแนวทางเดิม คือ ปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ตามคำแนะนำของ สนช. แล้วเสนอต่อ รมต.สธ.ใหม่ มีโอกาสประสบผลสำเร็จน้อย และต้องใช้เวลานาน • ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวิชาชีพสาธารณสุข ( ม.มหิดล) มีมติให้ สมาคมสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหลักในการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข • ศึกษาแนวทางใหม่ โดยเฉพาะ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่อยู่ระหว่างการเข้าสู่การพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย เพราะสาธารณสุขคือ วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง (โดย นายนิรุจน์อุทธา)

  29. ยุทธศาสตร์การพัฒนากฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขแนวใหม่ยุทธศาสตร์การพัฒนากฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขแนวใหม่ กฎหมายวิชาชีพสาธารณสุข จุดหมายปลายทาง (Destination) FINISH ไม่สำเร็จ กำแพงกั้นขวาง ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข พ.ศ. .... พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ (บังคับใช้ ๙ ก.พ.๕๑) START แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (SRM) วิชาชีพสาธารณสุข หลักการเดินทางไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ควรเลือกใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพและสถานการณ์ เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้

  30. อย่าลืม !สาธารณสุข (Public Health) คืออะไร ? สาธารณสุข คือ ... * วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการป้องกันควบคุมโรค การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาว

  31. การกำหนดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกำหนดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำแนกตาม ISCED / OECD / UNESCO และเทียบเคียงกับตำแหน่งกลุ่มสายงานของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้ ๔ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (๒) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (๓) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (๔) กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ที่ยังไม่มีกฎหมายวิชาชีพรองรับ) ได้แก่ สาขาวิชาสาธารณสุข , วิทยาศาสตร์การแพทย์ และโภชนาการ

  32. หมออนามัย คือ ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มีเกียรติ และศักดิ์ศรี เทียบเท่ากับวิชาชีพอื่นๆ ทุกประการ

  33. การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ ความปลอดภัยสาธารณะ สกอ. ประกอบวิชาชีพ ๓๐ ปี ๔ ปี ๑๒ ปี

  34. ความเป็นมา พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) เริ่มดำเนินการร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. .... ๗ ธันวาคม ๒๕๔๐ ครม.อนุมัติหลักการ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๓ และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๘ ปรับร่างจนเสร็จกระบวนการ ๘ เมษายน ๒๕๔๘ ในยุครัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ๒ ได้ผ่านร่างกฎหมายสู่วิปรัฐบาล และผ่านวาระรับหลักการของสภาผู้แทนฯ เข้าสู่วาระ ๒ ขั้นกรรมาธิการ แต่ถูกยุบสภาไปก่อน

  35. ในระหว่างการดำเนินการ เพื่อออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาวิศวกรได้ดำเนินการกำหนดวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพิ่มเติมใน ๒ สาขา คือ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และสาขาวิศวกรรมเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อนักเคมี และนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จึงเกิดการรวมตัวกันเพื่อคัดค้านการกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพิ่มเติม ต่อมามีการรวมตัวกันของสมาพันธ์สภาวิชาชีพ เพื่อคัดค้านการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเป็นมา (ต่อ) พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑

  36. ต่อมามีการยุบสภา ทำให้ร่างกฎหมายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาต้องตกไป กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อ ครม.ชุด พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ โดย ครม.รับหลักการเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ นำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระที่ ๑ วาระรับหลักการ วาระที่ ๒ ขั้นกรรมาธิการ และเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ ๓ ก่อนส่งกลับคืนคณะรัฐมนตรีเพื่อกราบบังคมทูลให้ทรงลง พระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ความเป็นมา (ต่อ) พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑

  37. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ ขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ เล่มที่ ๑๒๕ ตอนที่ ๓๑ ก หน้า ๔ – ๒๕ ทำให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป

  38. สาระสำคัญ สภาวิชาชีพฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคล (มาตรา ๘) ใช้โครงสร้างของพ.ร.บ.วิชาชีพอื่น เป็นแนวทาง มีการแบ่งกลุ่มวิชา (มาตรา ๕) และกำหนดวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (มาตรา ๓) มีการกำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และรายได้ตามมาตราที่ ๙-๑๑ สมาชิกเป็นได้ทั้งบุคคล (สมาชิกสามัญ) และสมาคม (สมาชิกวิสามัญ) (หมวด ๒ มาตรา ๑๓-๒๐) ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพฯ (หมวด ๖ มาตรา ๓๙-๔๐) รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้กำกับดูแล โดยอยู่ในฐานะสภานายกพิเศษ (มาตรา ๗ และ ๑๒)

  39. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสภาวิชาชีพอื่น (มาตรา ๔) มีสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีกลางในการกำหนดทิศทางของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (มาตรา ๒๑) สร้างเครือข่ายและส่งเสริม การประกอบวิชาชีพของนักวิทยาศาสตร์ และ นักเทคโนโลยี โดยอาศัยความร่วมมือจากสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ใช้อำนาจรัฐในการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมโดยใช้ใบอนุญาตเป็นเครื่องมือ ภายใต้ข้อบังคับตามหมวดที่ ๗ เพื่อให้สามารถจัดงบประมาณของรัฐมาสนับสนุนกลุ่มวิชาที่ปรากฏ ในมาตราที่ ๕ ได้ สาระสำคัญ (ต่อ)

  40. โครงสร้างสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโครงสร้างสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภานายกพิเศษ กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน กรรมการจากสมาชิกสามัญ ๑๒ คน สมาชิกสามัญ วิสามัญ และกิตติมศักดิ์

  41. ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการสภาวิชาชีพ (มาตรา ๒๑) และคณะกรรมการจรรยาบรรณ (มาตรา ๔๘) รวมทั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ออกข้อบังคับว่าด้วยสภาวิชาชีพ (มาตรา ๓๗) ออกข้อบังคับว่าด้วยวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม มีสำนักงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนส่งเสริมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาฯ

  42. สิ่งที่ต้องดำเนินการ จัดทำอนุบัญญัติต่างๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ อาทิ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎกระทรวง และประกาศรัฐมนตรี จัดทำรายละเอียดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะได้รับการส่งเสริม โดยจัดแบ่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็น ๔ กลุ่ม (๑) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (๒) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (๓) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (๔) กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  43. กำหนดมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุมทั้ง ๔ สาขา สาขานิวเคลียร์ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และการควบคุมมลพิษ สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค จัดทำเวปไซด์เพื่อประชาสัมพันธ์ และเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาวิชาชีพฯ www.cstp.or.th จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รับฟังความคิดเห็น และรับสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพฯ จัดการประชุมใหญ่สมาชิกสภาวิชาชีพฯ เพื่ออนุมัติระเบียบชั่วคราว และเลือกตั้งคณะกรรมการสภาวิชาชีพฯ (๑๖ ม.ค.๕๒) สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ)

  44. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่งตั้งโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการก่อตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตามมาตรา ๖๖) (๓ มี.ค. ๒๕๕๑) (๑ พ.ค. ๒๕๕๑) (๑ พ.ค. ๒๕๕๑) คณะกรรมการบริหารโครงการสรรหากรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกำหนดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม คณะกรรมการบริหารโครงการ ศึกษาวิจัยจัดทำร่างอนุบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ปรึกษา กำหนด (๑) ออกระเบียบ ที่ปรึกษา (๑) ระเบียบชั่วคราวว่าด้วย การรับสมัคร / ค่าลงทะเบียนสมาชิก  กลุ่มวิชาชีพ สาขาวิชาชีพควบคุม รับสมัครสมาชิก มาตรฐานวิชาชีพ / ผู้ประกอบวิชาชีพ (๒) จัดทำระเบียบ ภายใน ๑๘๐ วัน ตาม (๑) ( ๒ มีค.. ๒๕๕๑๒ สมาชิก Y (๒) ระเบียบชั่วคราวว่าด้วย การเลือกตั้ง / การสรรหา / การแต่งตั้งบุคคล ตามมาตรา ๒๗ เปลี่ยนแปลง / เพิ่มเติม  (๓) ภายใน ๙๐ วัน (๑๖ มค.. ๒๕๕๒) N จัดประชุมสมาชิก เพื่ออนุมัติระเบียบชั่วคราว ตาม (๒)  N แนวทางการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของสภาวิชาชีพฯ Y (๔) ภายใน ๖๐ วัน ตาม (๓) (๑๗ มี.ค. ๒๕๕๒) (กรรมการตาม ม. ๒๑ (๒)) อุปนายก (กรรมการตาม ม. ๒๑ (๒)) ตามมาตรา ๒๓ สรรหา เลือกตั้ง แต่งตั้ง แต่งตั้ง เลขาธิการ (กรรมการตาม ม. ๒๑ (๒)) เหรัญญิก นายก ตามมาตรา ๒๑ (๑) กรรมการ ตามมาตรา ๒๑ (๔) กรรมการ ตามมาตรา ๒๑ (๒) กรรมการ ตามมาตรา ๒๑ (๓)  ( สมาชิกสามัญ ๑๒ คน ) ( ผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน ) ( สมาชิกสามัญ ๑ คน ) ( โดยตำแหน่ง ๕ คน ) ตามมาตรา ๓๕ * คณะกรรมการก่อตั้งพ้นจากหน้าที่ * ตามมาตรา ๖๖ หัวหน้าสำนักงาน สภาวิชาชีพ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรา ๘ จัดตั้งสำนักงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชั่วคราว) สำนักงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรา ๓๔ หมายถึง ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว 

  45. ขั้นตอนกระบวนการสมัครเป็นสมาชิกและคัดเลือกคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัครเป็นสมาชิกสามัญรอบแรก (ยกเว้นค่าสมัคร) ภายใน ๖๐ วัน ๙ ก.พ.๕๑ ๑๖ ม.ค.๕๒ ภายใน ๔๕ วัน ๒ มี.ค.๕๒ ๑๖ มี.ค.๕๒ สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกสภาและกรรมการ บังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.๒๕๕๑ ประชุมใหญ่สามัญ อนุมัติ ระเบียบชั่วคราวว่าด้วยการเลือกตั้ง การสรรหา และแต่งตั้งบุคคล ตามมาตรา ๒๑(๑) และ (๒) คัดเลือกนายกสภา และกรรมการ จำนวน ๑๒ คน สมาชิกสามัญผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หมายเหตุ: คณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการคัดเลือกผู้แทนจาก กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ , กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ , กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร และกลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มละ ๓ คน รวมจำนวน ๑๒ คน

  46. กระบวนการของ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒) คณะกรรมการสภาวิชาชีพ ฯ (๑) กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา , เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน , เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (๒) นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วาระแรก) คือ นายนิรุจน์อุทธา (๓) กรรมการจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญ ๑๒ คน ได้แก่ (เมื่อวันที่ ๑๖ มี.ค.๕๒) ๓.๑ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ นายมนตรี จุฬาวัฒนฑล , นายมานิต รุจิวโรดม , นายธวัช ชิตตระการ ๓.๒ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ นายไพฑูรย์ พรหมเทศ , นายสนอง คล้ำฉิม , นายบุญมี แก้วจันทร์ ๓.๓ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ได้แก่ นายเปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต , นายไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน , น.ส.รัตนา ก้วยเจริญพานิชก์ ๓.๔ กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ นายวิเทียน นิลดำ , นายวุฒนิพงษ์วราไกรสวัสดิ์ , นางลออศรี เสนาะเมือง (๔) คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน - คัดเลือกจากผู้แทนองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ ๒๒ พ.ค.๕๒

  47. กระบวนการของ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒) สมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๑) สมาชิกสามัญ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน (๒) สมาชิกวิสามัญ ยังไม่ได้ดำเนินการรับสมัคร (๓) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ยังไม่ได้ดำเนินการรับสมัคร การรับสมัครสมาชิก - สามารถสมัครได้ โดยได้รับการยกเว้นค่าสมัครในระยะแรก - กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก การจัดตั้งสำนักงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ.พระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

  48. ยุทธศาสตร์การพัฒนา สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมความร่วมมือ และพัฒนาศักยภาพ • เครือข่ายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • การพัฒนาทางวิชาการและการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • การพัฒนาเพื่อส่งเสริมสวัสดิการ ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และความเป็นธรรม • ทางวิชาชีพ • การพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นนโยบายระดับชาติและนานาชาติ • การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น • สนับสนุนแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

More Related