1 / 30

บทที่ 8 การจัดการความรู้ ( Knowledge Management )

บทที่ 8 การจัดการความรู้ ( Knowledge Management ). สอนโดยอาจารย์สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. อ้างอิงจากหนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของรศ.ดร.ไพบูลย์ เยรติโกมลและคณะ. เนื้อหา. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ลำดับขั้นของความรู้ การสร้างความรู้

topaz
Download Presentation

บทที่ 8 การจัดการความรู้ ( Knowledge Management )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8 การจัดการความรู้(Knowledge Management) สอนโดยอาจารย์สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย อ้างอิงจากหนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการของรศ.ดร.ไพบูลย์ เยรติโกมลและคณะ

  2. เนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ลำดับขั้นของความรู้ การสร้างความรู้ ความรู้เป็นสินทรัพย์ แนวคิดการจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  3. เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจนทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่าเมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจนทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ (Information Society) สังคมแห่งความรู้ (Knowledge Society) สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) จึงก่อให้เกิดแนวคิดของการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

  4. การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) คืออะไร? การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการ ไปพร้อมๆ กัน คือ 1. บรรลุเป้าหมายของงาน 2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization = LO)

  5. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ข้อมูล (Data) คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่มีการประมวลผลแต่อย่างใด สารสนเทศ(Information) คือการรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บ ประมวลผล และจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ความรู้(Knowledge) คือสารสนเทศที่สามารถตีความ ทำความเข้าใจ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ดังภาพในหน้าถัดไป

  6. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความรู้ (Knowledge) ประมวลผลแล้ว ข้อมูล (DATA) สารสนเทศ (Information) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้

  7. ลำดับขั้นของความรู้ ความสามารถ (Capability) ความชำนาญ (Expertise) ความรู้ (Knowledge) สารสนเทศ (Information) ข้อมูล (Data)

  8. การสร้างความรู้ LkujiroNonaka (1995) กล่าวว่า “องค์การที่ประสบความสำเร็จคือ องค์การที่มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ และเผยแพร่ความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์การ รวมทั้งนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว” IkujiroNonakaและ Takeuchi (1995) ได้นำเสนอโมเดลการสร้างความรู้ที่ชื่อว่า “SECI-Knowledge Conversion Process” มาจากการขยายผลประเภทของความรู้

  9. ประเภทความรู้(Types of Knowledge) • ความรู้เด่นชัด(Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือวิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน •  ความรู้ซ่อนเร้น(Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

  10. โมเดลการสร้างความรู้ (SECI Model) ความรู้โดยนัย Tacit Knowledge Explicit Knowledge Tacit Knowledge ความรู้ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge

  11. โมเดลการสร้างความรู้ หรือ SECI Socialization : เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้โดยนัย จึงเป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนโดยไม่ผ่านการเขียน เกิดจากการแบ่งปันประสบการณ์เป็นหลักเช่นการถ่ายทอดความรู้ระหว่างหัวหน้างานกับพนักงาน Externalization: เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้โดยนัยไปเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยมีการถ่ายโอนความรู้ผ่านสื่อต่างๆทำให้องค์การสามารถจัดเก็บและกระจายความรู้ได้อย่างกว้างขวาง เป็นการทำความรู้โดยนัยให้ชัดเจนด้วยวิธีการเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัย สมมติฐาน หรือถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นลายลักษณ์อักษร

  12. โมเดลการสร้างความรู้ หรือ SECI(ต่อ) Combination: เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ชัดแจ้ง เช่นการแลกเปลี่ยนเอกสารการประชุม การสนทนาทางโทรศัพท์ Internalization : เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ชัดแจ้งไปเป็นความรู้โดยนัย โดยการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคลไม่ว่าจะเป็นความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่ชัดแจ้งจะรวมกลับมาเป็นความรู้โดยนัยที่ซ่อนฝังลึกอยู่กับองค์การตลอดไป

  13. บทบาทของอินเทอร์เน็ตต่อการสร้างความรู้บทบาทของอินเทอร์เน็ตต่อการสร้างความรู้

  14. KMโมเดลปลาทู : กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ที่มา :ประพนธ์ ผาสุกยืด 2550: การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อน

  15. Knowledge Vision (KV)คือวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ ผู้บริหารจะทำหน้าที่เป็น Chief Knowledge Officer = CKO Vision/Mission ของสำนักวิชาศึกษาทั่วไป หัวปลาใหญ่(KV) ปัจจัย/ประเด็น 1 KV 1 ปัจจัย/ประเด็น 2 KV 2 ปัจจัย/ประเด็น 3 KV 3 ประเด็น 2A ประเด็น 2B ประเด็น 2C ที่มา :ประพนธ์ ผาสุกยืด 2550: การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อน

  16. Knowledge Sharing (KS) เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม สำนักฯได้เกิดโครงการกินข้าวร่วมกันสรรสร้างความรู้ (Lunch Talk for Knowledge Management = LTKM) Knowledge Asset คือ คลังความรู้เป็นระบบการจัดเก็บความรู้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย : ภารกิจนี้งานสารสนเทศรับผิดชอบ

  17. ความรู้เป็นสินทรัพย์ การจัดการความรู้ (Knowledge Management :KM) ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Assets) : ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ความรู้เป็นเป็นทรัพย์สินที่แตะต้องไม่ได้ (Intangible Assets) ความรู้ในเรื่องต่างๆมากเพียงใดนั้น จะไม่มีความหมายหรือเป็นประโยชน์เลยถ้าไม่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังสุภาษิตว่า “มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด”

  18. แนวคิดการจัดการความรู้แนวคิดการจัดการความรู้ Trapp(1999) กล่าวว่า “ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยงานต่างๆจำนวนมาก ซึ่งมีการบริหารจัดการในลักษณะบูรณาการ เพื่อก่อให้เกิดคุณประโยชน์ที่คาดหวังไว้ การจัดการความรู้จึงเป็นแนวคิดองค์รวมที่จะจัดการทรัพยากรที่เป็นความรู้ในองค์การ” Kucza(2001) กล่าวว่า “การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการของการสร้างความรู้ การจัดเก็บ และการแบ่งปันความรู้ กล่าวโดยทั่วไปจะรวมถึง การระบุสภาพปัญหาในปัจจุบัน การกำหนดความต้องการและการแก้ไขปรับปรุง และกระบวนการที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดการความรู้ให้ดีขึ้น เพื่อบรรลุถึงความต้องการ”

  19. แนวคิดการจัดการความรู้ (ต่อ) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (2001) สรุปว่า “การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบสำหรับได้รับ การสร้าง การบูรณาการ การแบ่งปัน และการใช้สารสนเทศ รวมทั้งการเข้าใจอย่างลึกซึ้งและประสบการณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ” IkujiroNonakaและ Takeuchi (2004) ให้คำนิยามของการจัดการความรู้ว่า “เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง การเผยแพร่ความรู้อย่างกว้างขวางตลอดทั้งองค์การและนำไปสู่ผลิตภัณฑ์/บริการ เทคโนโลยี และระบบใหม่อย่างรวดเร็ว บางครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ”

  20. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์การพัฒนาขึ้นมาเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

  21. กระบวนการจัดการความรู้กระบวนการจัดการความรู้ การจัดและเก็บความรู้(Capture /Store) การกระจายความรู้ (Distribute) การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Create) การเลือกหรือกรองความรู้(Refine) การใช้ความรู้ (Use) การสร้างความรู้ (Create) กระบวนการจัดการความรู้ของ Turbanและคณะ

  22. กระบวนการจัดการความรู้กระบวนการจัดการความรู้ การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification) การเก็บ/จดจำความรู้ (Knowledge Retention) การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization) การจัดหาความรู้(Knowledge Acquisition) การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development) การแบ่งปัน/กระจายความรู้ (Knowledge Sharing/Distribution) กระบวนการของการจัดการความรู้ของ Probstและคณะ

  23. กระบวนการจัดการความรู้กระบวนการจัดการความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การใช้/แพร่ความรู้ การถ่ายทอดความรู้ การจัดเก็บความรู้

  24. การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่ยุคปลายปี 1980 มีการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ (Enterprises Resource Planning: ERP) จนกระทั่งปลายปี 1990 จนถึงปัจจุบัน มีระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) Brain Quiun(1992) ผู้แต่งหนังสือเรื่อง The Intelligent Organization ระบุว่า “เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการจัดการความรู้ขององค์การ และองค์การส่วนใหญ่ที่นำการจัดการความรู้มาใช้ จะมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่หลักในการช่วยการจัดการความรู้คือ การรวบรวม การจัดเก็บ และการนำความรู้ไปใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วย

  25. การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) : ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) :ช่วยให้เกิดการประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง เทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage Technology) : ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

  26. การจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการความรู้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ • ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะ เรียกว่า Know Ware เช่น • Electronic Document Management หรือ Enterprise Knowledge Portal • Knowledge-base Systems(KBS) • Data Warehouse • Genetic Algorithms • Intelligent Agent

  27. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์กรบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์กร • เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้โดยเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้ เช่น • ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems) • ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines) • ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) • ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)

  28. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์กรบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์กร • การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (e-Broadcasting) • การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย (Web Board หรือ e-Discussion) • ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Groupware) • บล็อก (Blog หรือ Weblog)ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ ผ่านพื่นที่เสมือน (Cyber Space)สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องบล็อกสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.gotoknow.org

  29. ตัวอย่างของระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการไหลเวียนข่าวสารและจัดการความรู้ตัวอย่างของระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการไหลเวียนข่าวสารและจัดการความรู้

  30. แบบฝึกหัดท้ายบท • จงหาตัวอย่างระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management)ที่ใช้ในบริษัท หรือหน่วยงานต่างๆ พร้อมอธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบนั้นโดยละเอียด

More Related