1 / 15

ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013

ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐละเอกชน The e-Learning Readiness of PhD. Students in Public and Private Management. ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013. The e-Learning Readiness.

Download Presentation

ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐละเอกชนThe e-Learning Readiness of PhD. Students in Public and Private Management ไพศาล จันทรังษี 5 August 2013

  2. The e-Learning Readiness การเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็นการจัดการการศึกษา รูปแบบใหม่ ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้จากเนื้อหาบทเรียนที่จัดเตรียมไว้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่และทุกเวลา เป็นการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) การจัดการการเรียนรู้ ยุคใหม่ตามแนวคิดของศาสตราจารย์แบรนด์สัน (Robert K Branson)

  3. The e-Learning Readiness รูปแบบของการเรียนรู้จำแนกออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้เนื้อหาวิชาด้วยตนเองตามระดับความสามารถทางการเรียนของแต่ละบุคคลจากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน (Horton, 2012)

  4. The e-Learning Readiness วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการภาครัฐละเอกชน ต่างชั้นปี แต่ละช่วงอายุและเพศ

  5. The e-Learning Readiness ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับปริญญาเอก ชั้นปีที่ 1-6 สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 20 คน

  6. The e-Learning Readiness เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นการนำแบบประเมินความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่ง เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้เรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Watkins, Leigh and Triner, 2006)

  7. ผลการวิจัย

  8. The e-Learning Readiness ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่งทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี ด้านความสัมพันธ์และทักษะออนไลน์ ด้านการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ด้านการจัดเก็บข้อมูลด้วยภาพและเสียงออนไลน์ ด้านการอภิปรายบนอินเตอร์เน็ต และด้านการสนับสนุนที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 6 ชั้นปี ไม่ว่าจะระดับอายุเท่าไหร่หรืออยู่ในเพศใด

  9. The e-Learning Readiness ผลการวิจัย

  10. The e-Learning Readiness ผลการวิจัย

  11. The e-Learning Readiness ผลการวิจัย

  12. The e-Learning Readiness ผลการวิจัย

  13. The e-Learning Readiness การอภิปรายผล นักศึกษาระดับปริญญาเอกรับรู้ถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่ง และเห็นความสำคัญของการเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเพราะสามารถค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันการสนับสนุนที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนก็มีค่าเฉลี่ยในระดับรองลงมาเพราะสามารถสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่งจะเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่

  14. The e-Learning Readiness การอภิปรายผล ผลการวิจัยเป็นไปตามรูปแบบของ การเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่งของฮอร์ตันที่กล่าวว่า อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ (Horton, 2012)

  15. The e-Learning Readiness บทสรุป นักศึกษาระดับปริญญาเอกมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองหรืออีเลิร์นนิ่ง นักศึกษาอยู่ในระดับผู้บริหารมีประสบการณ์และมีความรับผิดชอบสูงซึ่งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่ออิเล็คทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อทำวิจัยเป็นหลักเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านการจัดการ

More Related