1 / 25

ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก

ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก. สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ก.ย. 2553 พญ.รมร แย้มประทุม กุมารแพทย์ พัฒนาการและพฤติกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รพ.ม.บูรพา. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลเด็กสามารถ เข้าใจปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยเด็ก

tegan
Download Presentation

ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ก.ย. 2553 พญ.รมร แย้มประทุม กุมารแพทย์ พัฒนาการและพฤติกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รพ.ม.บูรพา

  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลเด็กสามารถ • เข้าใจปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยเด็ก • ประยุกต์ใช้ในการดูแล และให้คำแนะนำปัญหาพฤติกรรมในเด็กได้ถูกต้อง เหมาะสม • ส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมได้เหมาะสม • สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก ครอบครัว และชุมชน

  3. ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก • Colic • Breath holding spell • Temper tantrums • Thumb sucking • Enuresis • Encorpesis

  4. พฤติกรรมแค่ไหนจึงเป็นปัญหา?พฤติกรรมแค่ไหนจึงเป็นปัญหา? • ขึ้นอยู่กับอายุ และพัฒนาการของเด็ก • แปรตามสังคม และวัฒนธรรม (ความคาดหวัง) • ความกังวลของผู้ใกล้ชิด

  5. ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • พบบ่อยในช่วงอายุ 2 สัปดาห์ - 4 เดือน • พบประมาณ 10-30% ของทารก • ร้องมากโดยหาสาเหตุไม่ได้ ในเด็กที่มีสุขภาพทั่วไปปกติ • ร้อง • > 3 ชั่วโมง/ วัน • > 3 วัน/ สัปดาห์ • > 3 สัปดาห์

  6. ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • สาเหตุ: ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน • ระบบทางเดินอาหาร • ระบบประสาท • พื้นอารมณ์ • การกังวล และการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง • การวินิจฉัย: ลักษณะการร้อง สภาพทั่วไปอื่นๆ หาปัญหาการเจ็บป่วยอื่น ถ้าสงสัยควรส่งตรวจ

  7. ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • การดูแล • ให้ความมั่นใจว่าไม่เป็นอะไรร้ายแรง • ลดความกังวล ความรู้สึกผิดของผู้ปกครอง • ติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นระยะๆ

  8. ร้องกลั้น (Breath holding spell) • พบในช่วงอายุ 1-3 ปี • 50% หายไปเมื่ออายุ 4 ปี, 90% หายเมื่ออายุ 6 ปี • ถ้าพบในเด็กโต มากกว่า 6 ปี หรือมีอาการรุนแรงควรหาสาเหตุอื่น • ต้องแยกจากอาการชัก ปัญหาโรคหัวใจ • แนะนำปรึกษาแพทย์

  9. ร้องกลั้น (Breath holding spell) • การดูแล • ป้องกันอุบัติเหตุ • ปรับพฤติกรรมที่กระตุ้น • เมื่อเด็กตื่นไม่ควรเอาใจเกินปกติ เพราะจะทำให้ได้ secondary gain คือพฤติกรรมนี้เป็นตัวทำให้ผู้ปกครองสนใจ

  10. ดูดนิ้ว (Thumb sucking) • พบในช่วงอายุ 1ปีครึ่ง – 3 ปี • พบได้ 30-45% ในเด็กปฐมวัย • หายเมื่ออายุ 4 ปี • มักเป็นขณะง่วง เบื่อ เหนื่อย หิว กังวล

  11. ดูดนิ้ว (Thumb sucking): ปัญหาที่พบตามมา • สบฟันผิดปกติ ในเด็กที่ดูดนิ้วต่อเนื่องเกินอายุ 4 ปี • แผลบริเวณนิ้ว • ปัญหาจิตใจ ถูกล้อ ปัญหากับผู้ปกครอง ความมั่นใจในตัวเองลดลง

  12. ดูดนิ้ว (Thumb sucking): การรักษา • ก่อนอายุ 4 ปี • ไม่ให้ความสนใจกับพฤติกรรม • เบี่ยงเบนความสนใจ • หลังอายุ 4 ปี • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรม • มีเครื่องช่วยเตือน เช่น พลาสเตอร์ • ชมเชย หรือมีรางวัลเมื่อทำได้ตามเป้าหมาย

  13. อาละวาด (Temper tantrums) • พฤติกรรมอาละวาดที่เกินกว่าเหตุ เช่น กรีดร้องอย่างรุนแรง ลงดิ้น ตะโกน ตี ปาสิ่งของ • พบได้ 50-80% ของวัยเตาะแตะ

  14. อาละวาด (Temper tantrums) • ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิด • พัฒนาการในช่วงวัยนี้: autonomy เอาแต่ใจตัว • พื้นอารมณ์เด็กเลี้ยงยาก • เด็กกำลังมีปัญหาเจ็บป่วย ง่วง หิว • เด็กมีข้อจำกัดเรื่องพัฒนาการ เช่น พูดช้า • สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ ไม่ค่อยมีกิจกรรมนอกบ้าน • การเลี้ยงดูที่ไม่สม่ำเสมอในเรื่องกฎระเบียบ การใช้วิธีลงโทษโดยการตี

  15. อาละวาด (Temper tantrums): การจัดการ • อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจ บันทึกเหตุการณ์ (ก่อนเกิด-ลักษณะพฤติกรรมนั้นๆ-ผลหลังจากเกิดพฤติกรรม) • ลดสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรม • ป้องกันอุบัติเหตุ • กำหนดกฎระเบียบ ในกิจวัตรที่ชัดเจน และทำสม่ำเสมอโดยทุกคนในบ้านรับรู้ • เมื่อเกิด • ไม่ให้ความสนใจ ระวังการเกิดรุนแรงในช่วงแรกๆ • Time-out

  16. Time out คืออะไร • เป็นช่วงเวลาที่เด็กไม่ได้รับความสนใจ หรือสิ่งจูงใจใดๆ • ไม่มีอิสระ • ไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำ • ให้รับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นๆของเด็กไม่ได้รับการยอมรับ • ผู้ปกครองต้องมีช่วงเวลาที่ดีมีคุณภาพ (Time in) กับเด็กเพียงพอจึงสามารถทำ Time out ให้ได้ผลดี

  17. Time out ทำอย่างไร • เลือกพฤติกรรมเป้าหมาย: พฤติกรรมก้าวร้าว เช่นตีผู้อื่น • เลือกสถานที่: มุมห้อง ไม่มีสิ่งน่าสนใจ ไม่เลือกที่ลับตาที่อาจเป็นอันตราย หรือในห้องนอน • อธิบายกฎ ให้ชัดเจน • เมื่อเกิดพฤติกรรมนั้น: พูดให้น้อย เตือนสั้นๆ • ใช้เครื่องจับเวลา ประมาณ 1 นาที/ปี • ไม่ให้ความสนใจ จนกว่าจะหมดเวลา

  18. ปัสสาวะราด (Enuresis) • หมายถึงการที่เด็กมีปัสสาวะไหลโดยไม่รู้ตัว หรือไม่สามารถควบคุมได้ • ความถี่ 2 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างน้อย 3 เดือน หรือ ทำให้เกิดผลต่อการอยู่ในสังคม • อายุ อย่างน้อย 5 ปี

  19. ปัสสาวะราด (Enuresis): สาเหตุ • พันธุกรรม • ถ้าบิดาหรือมารดาเคยมีอาการ โอกาสเกิด 40% • ถ้าบิดาและมารดาเคยมีอาการ โอกาสเกิด 70% • ความล่าช้าในการควบคุมการขับถ่ายของระบบประสาท • ความผิดปกติของการหลั่ง vasopressin

  20. ปัสสาวะราด (Enuresis): แยกกับโรคอื่นๆ • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อ ความผิดปกติทางกายวิภาค • โรคระบบประสาท เช่น ลมชัก • โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน เบาจืด

  21. ปัสสาวะราด (Enuresis): การรักษา • การปรับพฤติกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจในอาการ และสร้างแรงจูงใจ ให้เด็กมีส่วนร่วม งดการลงโทษรุนแรง • ไม่ดื่มน้ำ หรืออาหารที่มีคาเฟอีนก่อนนอน • Wet stop alarm • การใช้ยา : Imipramine (anticholinergic) DDAVP (desmopressin)

  22. อุจจาระราด (Encopresis) • หมายถึง การถ่ายอุจจาระรดกางเกง หรือในที่ไม่สมควร เกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ • ความถี่ อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน, 3 เดือนขึ้นไป • อายุ 4 ปีขึ้นไป • มักมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมด้วย

  23. อุจจาระราด (Encopresis): การรักษา • อธิบายให้ผู้ปกครอง และเด็กเข้าใจถึงสาเหตุ และการดำเนินโรค • ใช้ยาระบาย เพื่อขับอุจจาระที่ค้างออกให้หมด และกินต่ออีกระยะจนถ่ายไม่แข็ง จึงค่อยๆลดขนาดยาลง จนหยุดถ้าอาการปกติ 3-6 เดือน • กินอาหารที่มีกาก • ฝึกนั่งถ่าย 2 ครั้ง/วัน

  24. Toilet training • ฝึกในเวลาที่เหมาะสม • ร่างกายพร้อมการควบคุมการทำงานของหูรูด การกลั้น • พัฒนาการพร้อมทั้งด้านการเคลื่อนไหว ความเข้าใจภาษา การทำตามขั้นตอนง่ายๆ • การนั่งถ่ายที่เหมาะสม (positive toilet sit) • กำหนดเวลาทำทุกวัน สม่ำเสมอมักเป็นเวลาหลายเดือน • ควรใช้ยาระบายจนกว่าจะฝึกนิสัยการขับถ่ายที่ดี

  25. Toilet training: Positive toilet sit • ฝึกนั่งช่วงสั้นๆ ครั้งละ 30 วินาที แล้วค่อยๆเพิ่มจนได้ 5 นาที มีสัญญาณเตือนเมื่อหมดเวลา • อาจเริ่มนั่งทั้งผ้าอ้อม หรือกางเกง • มีเก้าอี้เล็กรองเท้าเด็กให้พอเหมาะในการเบ่งถ่าย • ผ่อนคลาย ไม่บังคับ • ผู้ปกครองอยู่ใกล้ๆ ให้ความสนใจ • มีกิจกรรมที่เด็กสนใจ

More Related