1 / 18

ระบบ ห่อหุ้มร่างกาย

ระบบ ห่อหุ้มร่างกาย. ผิวหนัง ปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายในมีปลายประสาทรับความรู้สึกมากมาย เพื่อรับรู้การสัมผัส การกดความเจ็บ และอุณหภูมิร้อนเย็น ระบบผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และยังมีหน้าที่เป็นอวัยวะขับเหงื่อและไขมันด้วย.

tana-weeks
Download Presentation

ระบบ ห่อหุ้มร่างกาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบห่อหุ้มร่างกาย

  2. ผิวหนังปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายในมีปลายประสาทรับความรู้สึกมากมาย เพื่อรับรู้การสัมผัส การกดความเจ็บ และอุณหภูมิร้อนเย็น ระบบผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และยังมีหน้าที่เป็นอวัยวะขับเหงื่อและไขมันด้วย

  3. ผิวหนังยืดหยุ่นได้มาก บนผิวของหนังมีรูเล็กๆ อยู่ทั่วไป รูเล็กๆ นี้ เป็นรูเปิดของขุมขน ท่อของต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ ผิวหนังที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้ามีรอยนูนเป็นสันจำนวนมาก  โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือทั้งห้ามีสันนูนเรียงกันเป็นร้อยหวายหรือก้นหอย จึงใช้รอยพิมพ์ปลายนิ้วมือเป็นประโยชน์ในการแยกหรือทำนายบุคคลได้โดยการ พิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากรายละเอียดในการเรียงตัวของรอยนูนนี้แตกต่างกัน ในแต่ละบุคคล 

  4.  บริเวณผิวหนังที่มีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ ผิวหนังจะเกิดเป็นรอยย่นได้เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือบริเวณใบหน้า มีกล้ามเนื้อมายึดติดที่หนังมาก จึงทำให้เกิดรอยย่น ซึ่งแสดงอารมณ์โกรธ กลัว ยิ้มแย้มแจ่มใสหรือเศร้าหมองได้          ส่วนใหญ่ของร่างกาย ผิวหนังจะเลื่อนไปเลื่อนมาได้แต่บางแห่งก็ติดแน่นกับอวัยวะภายใต้ เช่น หนังศีรษะ ด้านนอกของใบหู ฝ่ามือและฝ่าเท้า และตามรอยพับของข้อต่อต่างๆ

  5. ผิวหนังประกอบด้วย 2ส่วน หนังกำพร้า หนังแท้

  6. หนังกำพร้า          คลุมอยู่บนหนังแท้ ความหนาของหนังกำพร้าแตกต่างกันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หนาตั้งแต่ ๐.๓ ถึง ๑ มิลลิเมตร  หนังกำพร้าที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าหนาที่สุด และบางที่สุดที่หนังตาชั้นนี้ไม่มีหลอดเลือดเลยและประกอบด้วยเซลล์รูปร่าง ต่างๆ กันหลายชั้น ชั้นตื้นที่สุดที่ผิวเป็นเซลล์แบนๆ และตายแล้วจะลอกหลุดออกไปเป็นขี้ไคล

  7. หนังแท้          ประกอบด้วยเส้นใยพังผืดเป็นส่วนใหญ่ประสานไขว้กันไปมา ส่วนตื้นของชั้นนี้ยื่นเป็นปุ่มนูนขึ้นมาสวมกับช่องทางด้านลึกของหนังกำพร้า ในปุ่มนูนนี้มีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึก ส่วนลึกของหนังแท้จะมีแต่เส้นใยพังผืดประสานกันค่อนข้างแน่น ความยืดหยุ่นของผิวหนังที่อยู่เส้นใยพังผืดและเนื้อเยื่อใต้หนัง ในคนชรา เส้นใยพังผืดยึดหยุ่นลดน้อยลงจึงเกิดเป็นรอยย่น หย่อนยาน

  8. สิ่งที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปจากผิวหนังสิ่งที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปจากผิวหนัง เล็บ ขนและรูขุมขน ขนหรือผม ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ

  9. เล็บ เจริญมาจากหนังกำพร้า เป็นแผ่นแข็งยืดหยุ่นได้ อยู่ทางด้านหลังของปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าปล้องสุดท้าย เล็บมีลักษณะโปร่งแสง มีส่วนที่ยื่นพ้นปลายนิ้ว ซึ่งไม่มีหลอดเลือดและประสาทมาเลี้ยง ซึ่งเป็นส่วนที่เราตัดออกและตกแต่งให้สวยงามได้          ส่วนของเล็บที่ฝังอยู่ในหนัง เรียกว่า รากเล็บ และ สองข้างของเล็บมีผิวหนังยื่นมาคลุมเล็กน้อยทางด้านลึกของเล็บมีปลายประสาท รับความรู้สึกมากมาย ดังนั้นเมื่อเป็นฝี มีดบาดหรือหนามตำใต้เล็บ จึงเจ็บปวดมากและมีหลอดเลือดมาเลี้ยงมาก สีของเลือดจึงสะท้อนผ่านเล็บ ทำให้เล็บมีสีชมพูในคนปกติ ในขณะเป็นโรคโลหิตจางจะมีสีซีดขาว          การงอกของเล็บเฉลี่ยประมาณ ๑ มิลลิเมตร ใน ๑ สัปดาห์ หรือ ๓ มิลลิเมตร ใน ๑ เดือน เล็บเท้างอกช้ากว่าเล็บมือ เมื่อเล็บถูกดึงหลุดไปจะมีเล็บใหม่งอกขึ้นมาได้

  10. ขนหรือผม  ขนหรือผมเจริญมาจากหนังกำพร้าชั้นลึก ขนเจริญเกือบทั่วทั้งร่างกาย ยกเว้นในบางแห่งเท่านั้น เช่น หัวนม สะดือ ขอบปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และด้านหลังของนิ้วปล้องสุดท้าย            ขนมีความยาว ความหยาบ ความหนาแน่น รูปร่างและสีแตกต่างกันในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ลักษณะของขนเหล่านี้แตกต่างกันตามอายุ เพศ และเชื้อชาติด้วย เช่น เชื้อชาติมองโกเลียมีเส้นผมกลมและตรง เชื้อชาตินิโกรมีเส้นผมแบนและหยิก และเชื้อชาติคนผิวขาวมีเส้นผมรูปรีและหยักศก           ขนหรือผมประกอบด้วยสารที่ไม่นำความร้อน ดังนั้นจึงช่วยป้องกันความร้อนได้ เช่น นำขนสัตว์มาทำเสื้อกันหนาว  ขนในที่บางแห่งหนาแน่นก็ป้องกันการเสียดสีกระทบกระเทือนได้  สัตว์บางชนิดใช้ขนเป็นอวัยวะรับความรู้สึก เช่น แมวหากินกลางคืน ก็อาศัยหนวดคลำทาง 

  11. ขนและรูขุมขน เส้นขน เป็นส่วนของขนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาขุมขน เป็นส่วนของหนังกำพร้าและหนังแท้ ยื่นลึกเข้าไปถึงเยื่อใต้หนัง มาประกอบเป็นท่อล้อมรอบรากขน มีท่อของต่อมไขมันมาเปิดสู่ชุมชน          การเจริญของขน ขนงอกยาวขึ้นเรื่อยๆ จนยาวเต็มที่ตามชนิด และตำแหน่งที่อยู่ของขนนั้น แล้วก็หยุดงอกไประยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะร่วงหลุดไป อายุของขนรวมถึงระยะหยุดงอกก่อนจะหลุดนั้น แตกต่างกันตามชนิดและตำแหน่งของขน เช่น ขนคิ้ว ขนตา ขนรักแร้มีอายุประมาณ ๓-๔ เดือน ขนอ่อนตามร่างกายอายุประมาณ  ๔ เดือนครึ่ง ผมอายุ ๔ ปี          ส่วนใหญ่ของร่างกายมีขนอ่อนอยู่ทั่วไป อาจมีขนอ่อนชนิดเดียว พบได้ที่หน้า คอ และลำตัวของหญิง ที่แขน ขา และศรีษะมีขนอ่อนและขนชุดสุดท้ายรวมกัน ขนชุดสุดท้ายอย่างเดียว ได้แก่ คิ้ว ขนตา ขนรักแร้ ขนจมูก และขนหัวหน่าว ที่ศีรษะส่วนใหญ่เป็นขนชุดสุดท้าย แต่อาจะมีขนอ่อนปะปนบ้าง

  12. ต่อมไขมัน           เป็นต่อมรูปกระเปาะเล็กๆ อยู่ในหนังแท้ พบได้ในผิวหนังเกือบทั้งหมดที่มีขน มีมากที่หนังศีรษะ ใบหน้า รอบๆรูเปิดต่างๆ คือ ทวารหนัก จมูก ปาก และรูหู แต่บางแห่งก็ไม่มีต่อมไขมันเลย เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนก้นของต่อมกว้างออกเป็นรูปกระเปาะ ๑-๕ กระเปาะ แต่มีท่ออันเดียวไปเปิดสู่ขุมขน ยกเว้นที่บริเวณลานหัวนมท่อเปิดสู่ผิวหนังโดยตรง ขนาดของต่อมไม่สัมพันธ์กับขนาดของคน เช่น ทารกในครรภ์และเด็กเกิดใหม่ขุมขนเล็กแต่ต่อมไขมันโต ที่จมูกและใบหน้ามีต่อมไขมันมากจึงเป็นมันอยู่เสมอ ต่อมไขมันเกิดขึ้นในเดือนที่ ๕ ของทารกในครรภ์ เจริญจากหนังกำพร้าที่เป็นผนังของขุมขนต่อมที่รูหูดัดแปลงเป็นต่อมขี้หู สารที่หลั่งออกมาจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศเป็นขี้หู

  13. ต่อมเหงื่อ • ต่อมเหงื่อในร่างกายมีประมาณ 2-4 ล้านต่อม กระจายอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นริมฝีปาก ต่อมเหงื่อมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ต่อมเหงื่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่บริเวณรักแร้ รอบหัวนม และจมูกส่วนนอก โดยปกติร่างกายจะหลั่งเหงื่อแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ต่อมเหงื่อทำหน้าที่หลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย การหลั่งเหงื่อเป็นการตอบสนองต่อร่างกาย เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการออกกำลังกายหรือร่างกายได้รับความร้อน เพื่อให้การปรับความสมดุลของร่างกาย ถ้าร่างกายไม่หลั่งเหงื่อจะเกิดภาวะอ่อนเพลีย และถ้าร่างกายหลั่งเหงื่อมากเกินไปจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกายเหงื่อเป็นของเหลวที่ประกอบด้วยน้ำ เกลือโซเดียมคลอไรด์ เป็นองค์ประกอบหลัก การหลั่งเหงื่อออกจากร่างกายนอกจากได้รับความร้อนแล้ว ยังเกิดจาก ความกลัว ตกใจ ตื่นเต้น ก็จะทำให้เกิดการหลั่งเหงื่อมากขึ้น

  14. เกร็ดความรู้ระบบห่อหุ้มร่างกายเกร็ดความรู้ระบบห่อหุ้มร่างกาย ความผิดปกติของผิวหนัง หน้าที่ของผิวหนัง การดูแลรักษาผิวหนัง

  15. หน้าที่ของผิวหนัง 1. เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะซึ่งอยู่ภายในร่างกาย2. เป็นเครื่องสำหรับรับความรู้สึก เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด ความหนาว3. ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น เหงื่อ เพื่อให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย4. ช่วยสกัดและขับสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่ในต่อมของผิวหนัง เช่น ขับเหงื่อและน้ำมันออกจากร่างกาย5. ดูดซึมสารบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เช่น ยาทาภายนอก ยาคลายกล้ามเนื้อ6. ป้องกันแสงแดดไม่ให้ผิวได้รับอันตราย7. ช่วยทำให้ความร้อนในร่างกายคงที่อยู่เสมอรักษาอุณหภูมิภายในร่างร่างกายให้คงที่8. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย9. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย

  16. ความผิดปกติของผิวหนังความผิดปกติของผิวหนัง 1. สิว เกิดจากสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น 2. ตาปลา เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ 3. กลิ่นตัว เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อเซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัว 4. โรคราที่เท้าหรือฮ่องกงฟุต หรือโรคเท้านักกีฬา เกิดจากเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรองเท้าอับชื้นหรือลุยน้ำสกปรก ทำให้มีอาการคันบริเวณซอกนิ้ว 5. ผิวหนังแห้งกร้าน เกิดจากสภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่นอากาศ ร้อนจัด อากาศแห้งมาก 6. เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว แขน ขา คอ หน้า 7. กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่เกิดขึ้นทั่วไปตามร่างกายมีลักษณะเป็นวง 8. ฝี เกิดจากเชื้อบัคเตรีชนิดหนึ่งซึ่งมีบนผิวหนังทั่วไป มีลักษณะบวมแดงจนกลายเป็นหนอง9. เล็บขบ มักเป็นกับนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าไปในเนื้อบริเวณซอกเล็บ 10. เชื้อราที่เล็บ มักเป็นกับผู้ทำงานที่ทำให้มือต้องเปียกน้ำเป็น

  17. การดูแลรักษาผิวหนัง 1. นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ 3. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ4. ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน 5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่6. สวมเสื้อผ้าที่สะอาด พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป7. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด8. รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นแผล9. ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย

  18. วิดีโอประกอบการสอน

More Related